โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ที่คุณผู้ชายควรรู้

ต่อมลูกหมากถือเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย แต่ถ้าหากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากควรทำอย่างไรดี วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ว่าถ้าหากพบแล้วสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก คืออะไร มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกคือ เกิดจากเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากได้เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ผิดปกติ มีการเจริญเติบโต และแบ่งตัวเซลล์ รวมถึงการทำลายเซลล์ปกติของต่อมลูกหมากด้วย แต่เซลล์มะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจายออกไปข้างนอกของต่อมลูกหมาก วิธีสังเกตตัวเองว่าเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือไม่ การสังเกตตนเองบางครั้งอาจไม่มีทางรู้ได้ นอกจากการไปหาคุณหมอเพื่อตรวจเช็คร่างกาย เนื่องจากผู้ชายส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกไม่มีอาการใด ๆ และไม่สามารถตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากได้ด้วยตัวเอง หากคุณอายุมากกว่า 50 ปี หรือคนในครอบครัวมีประวัติมะเร็งต่อมลูกหมาก แนะนำให้ไปตรวจเช็คเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณเอง อาการ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก โดยทั่วไป อาการมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นไม่ค่อยแสดงให้เห็นในระยะเริ่มต้น แต่บางคนก็อาจจะมีอาการได้ ดังต่อไปนี้ ปัสสาวะลำบาก และเจ็บขณะปัสสาวะ เวลาปัสสาวะ ปัสสาวะไหลอ่อนลง เหมือนไม่มีแรง ปัสสาวะบ่อยขึ้นในเวลากลางดึก เมื่อปัสสาวะเสร็จแล้ว รู้สึกเหมือนยังไม่เสร็จ อาจมีเลือดปนมากับปัสสาวะ หรือน้ำอสุจิ และบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวมาข้างต้น รวมถึงอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วย หากใครมีความกังวล หรือคิดว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเป็น ควรไปปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยและแพทย์อาจจะต้องพิจารณาข้อกำหนดในการรักษาหลาย ๆ ด้าน เพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกนั้นอาจมีตัวเลือกในการรักษา 2-3 ทาง ได้แก่ การเฝ้าติดตามอาการ เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกนั้นจะโตช้า […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งเต้านม

ไลฟ์สไตล์อันตรายที่อาจนำไปสู่ โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักการเสียชีวิตของผู้หญิงในยุคปัจจุบัน แล้วคุณรู้รึเปล่าว่า ลักษณะนิสัยบางอย่างนั้น สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมให้กับคุณได้ บทความนี้จะมาเจาะลึกถึง ไลฟ์สไตล์อันตราย ที่อาจนำคุณไปสู่โรคมะเร็งเต้านม ไลฟ์สไตล์เสี่ยงเป็น โรคมะเร็งเต้านม ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากข้อมูลทางระบาดวิทยาระบุว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมถึง 4% ในประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ทุก ๆ 10 มล. ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่คุณดื่มเข้าไป จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมขึ้น 10 % เท่ากับว่า ยิ่งคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเท่าไหร่ โอกาสเสี่ยงที่คุณจะเป็นโรคมะเร็งเต้านม ก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นมากเท่านั้น สูบบุหรี่ เสี่ยงเป็น โรคมะเร็งเต้านม การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ รวมไปจนถึงโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านมด้วย สารอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบอยู่ในบุหรี่ ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง ไฮโดรคาร์บอนที่ผสานเข้ากับความหลากหลายของลักษณะทางพันธุกรรม อาจก่อให้เกิดการพัฒนาเซลล์มะเร็งเต้านมขึ้นในร่างกาย รายงานของ US Surgeon General เมื่อปี 2014 แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่มีประวัติการสูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มากกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่มากถึง 10% เป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน การมีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน ในช่วงวัยหมดประจำเดือน อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ ช่วงที่ยังมีประจเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายส่วนใหญ่จะมาจากรังไข่ มีแค่ส่วนน้อยเท่านั้นที่มาจากเนื้อเยื่อไขมัน แต่หากรังไข่หยุดสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน […]


มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมครั้งที่สอง เป็นแล้วจะรับมือกับสภาพจิตใจอย่างไรดี

บางคนอาจจะคิดว่า มะเร็งเต้านมครั้งที่สอง คือการลงทัณฑ์รอบที่สอง เนื่องจากจะต้องทรมานจากโรคมะเร็งเต้านม และผลข้างเคียงจากการรักษามาแล้วครั้งหนึ่ง มาตอนนี้ยังต้องเจอกับความทรมานเป็นรอบที่สองอีก ความรู้สึกด้านลบที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องปกติ Hello คุณหมอ จะพาคุณผู้อ่านทุกท่านมาดูกันว่า จะมีความรู้สึกแบบไหนเกิดขึ้นบ้าง และคุณจะรับมือกับความรู้สึกเหล่านั้นอย่างไรดี คุณจะรู้สึกอย่างไร เมื่อมีอาการ มะเร็งเต้านมครั้งที่สอง หากคุณกำลังเป็นโรคมะเร็งเต้านมครั้งที่สอง นั่นหมายความว่าคุณกำลังจะกลับไปพบเจอกับสถานะทางอารมณ์ ที่คุณคิดว่าได้ผ่านไปแล้วหลังจากการเกิดมะเร็งเต้านมครั้งแรก คุณอาจจะรู้สึกกลัว โกรธ กระวนกระวาย และหดหู่ เริ่มกังวลว่าผลข้างเคียงของการรักษาจะเพิ่มมากขึ้นไปอีกหรือเปล่า คุณจะหัวเสียกับหมอของคุณ หรือผู้ให้บริการด้านการแพทย์คนอื่นๆ และแม้แต่ตัวเอง คุณอาจเริ่มสงสัยว่าหมอที่รักษาคุณนั้นไม่ดีพอ และคุณจะไม่สามารถเอาชนะโรคมะเร็งได้ บางทีคุณอาจจะรู้สึกโกรธ แล้วถามตัวเองว่า “ทำไมต้องเป็นฉัน ทำไมฉันถึงต้องทรมานกับเรื่องนี้ถึงสองครั้งด้วย” หรือในบางกรณี คุณอาจจะสามารถยอมรับความจริงได้ และรับมือกับการวินิจฉัยด้วยความคิดในแง่บวก ปฏิกิริยาและความรู้สึกจะแตกต่างไปตามแต่ละคน ไม่มีทางไหนถูกหรือผิด เพราะมันเป็นแค่สภาพอารมณ์ของคุณเท่านั้น คุณจะรับมือได้อย่างไร ถึงแม้ว่าความคิดและความรู้สึกในแง่ลบ จะเป็นเรื่องธรรมชาติ เมื่อคุณเผชิญกับมะเร็งเต้านมครั้งที่สอง สิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ หากจัดการได้ไม่ดีพอ ในบางกรณีอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและความหวาดกลัว แต่ก็มีเทคนิคและวิธีการบำบัดอยู่มากมาย ที่จะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับสภาพอารมณ์เหล่านี้ ซึ่งประกอบไปด้วย การปรึกษามืออาชีพ คุณสามารถหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายได้ การปรึกษามักจะอยู่ในห้องที่เป็นส่วนตัว อบอุ่น สบาย และปลอดภัย ทำให้คุณสามารถเปิดเผยความรู้สึกของคุณได้ ผู้ให้คำปรึกษาจะช่วยเปิดเผยอารมณ์ของคุณ หาสาเหตุของอารมณ์เหล่านั้น และช่วยให้คุณจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้นได้ อย่าอาย และจงกล้าที่จะพูดปัญหาของคุณออกมา เพื่อให้ที่ปรึกษาสามารถช่วยคุณได้ การเบี่ยงเบนความสนใจ คุณสามารถมุ่งเน้นความสนใจไปที่สิ่ง ๆ […]


มะเร็งเต้านม

ผลกระทบจากการฉายรังสี ในการรักษามะเร็งเต้านม ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

การฉายรังสี เพื่อรักษา โรคมะเร็งเต้านม คือ การฉายแสงพลังงานสูงเพื่อทำลาย หรือสร้างความเสียหาย ให้แก่เซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกาย เช่น บริเวณที่เกิดเนื้องอก หรือต่อมน้ำเหลือง เป้าหมายของวิธี การฉายรังสี เพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของมะเร็ง และลดโอกาสที่มะเร็งจะกลับมาเจริญเติบโตอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคนส่วนใหญ่อาจจะสามารถทนต่อการรักษาด้วย การฉายรังสี ได้ แต่มีบางคนบางกลุ่มที่ได้รับ ผลกระทบจากการฉายรังสี ซึ่งส่งผลต่อร่างกายและจิตใจของคนไข้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับผลกระทบของ การฉายรังสี ทั้งระยะสั้นและระยะยาวมาให้ได้อ่านกันค่ะ ผลกระทบจากการฉายรังสี ในการรักษามะเร็งเต้านม ผลกระทบจากการฉายรังสี ในระยะสั้น ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ของ การฉายรังสี มักจะเกิดขึ้นหลังจากรักษาไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ และหายไปภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจบการรักษาเช่นกัน ผลกระทบจาก การฉายรังสี เพื่อรักษามะเร็งเต้านมที่พบได้ในระยะสั้น มีดังนี้ การระคายเคืองที่ผิว ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสี จาก การฉายรังสี มักจะเกิดผลข้างเคียงเสมอ ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการรักษา บริเวณผิวหนังอาจจะกลายเป็นสีแดง และปวดแสบปวดร้อน คล้ายโดนแดดเผา ความรุนแรงของอาการระคายเคืองผิวหนัง จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน […]


มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม และ ชีวิตคู่ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เมื่อคุณพบว่า คุณเป็นมะเร็งเต้านม คุณอาจจะรู้สึกกลัวว่า โรคและการรักษานั้นอาจจะส่งผลกระทบกับเรื่องของสุขภาพ ภาพลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบกับความสัมพันธ์ของคุณและคนรัก อย่างเช่นเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ หรือการแสดงออกทางความรัก หากคุณไม่สามารถหาความช่วยเหลือเหมาะสม หรืออายเกินกว่าจะขอความช่วยเหลือ Hello คุณหมอ มีบทความที่ช่วยให้คุณได้เข้าใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่าง มะเร็งเต้านม และ ชีวิตคู่ ซึ่งอาจสามารถหาแนวทางรับมือกับปัญหาได้ดียิ่งขึ้น มะเร็งเต้านม และ ชีวิตคู่ ส่งผลกระทบต่อชีวิตรักอย่างไร เมื่อคุณเป็นโรคมะเร็งเต้านม ร่างกายของคุณจะเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เช่น รู้สึกเจ็บบริเวณหน้าอก หน้าอกมีอาการบวม เกิดรอยแดงขึ้นที่ผิวหน้าอก หรือมีสารคัดหลั่งออกมาแบบผิดปกติ การรักษาโรคมะเร็งเต้านม สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่าง ทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ รวมไปถึงความสัมพันธ์กับคนรักของคุณ ประกอบไปด้วย ความเปลี่ยนแปลงของรูปลักษณ์ภายนอก อาการเจ็บปวดและชา อาการเหนื่อยล้า อาการหมดประจำเดือน ภาวะช่องคลอดแห้ง คนรักจะมีปฏิกิริยาอย่างไรกับโรคมะเร็งเต้านมของคุณ ถ้าหากคุณมีคนรัก การเป็นโรคมะเร็งเต้านมสามารถส่งผลกระทบถึงเขาได้เช่นกัน บางคนสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างปกติโดยไม่เปลี่ยนแปลง บางคนอาจจะคอยห่วง กังวล และปกป้องคุณมากขึ้น เพื่อไม่ให้คุณต้องเครียดหรือเจ็บปวดเพียงลำพัง เพศสัมพันธ์หรือการแสดงความรักไม่ใช่เรื่องจำเป็นสำหรับพวกเขาและความรักที่เขามีต่อคุณ อาจจะมากกว่าสมัยก่อนที่คุณจะป่วยเสียอีก บางคนอาจต้องใช้เวลาสักพัก เพื่อทำความเข้าใจกับความจริงที่ว่า คนรักของเขาป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม บางคนอาจจะสามารถยอมรับ และกลับมาเป็นคนรักของคุณเหมือนเดิม ในขณะที่บางคนอาจเลือกที่จะยอมแพ้กับความสัมพันธ์นั้น มันเป็นเรื่องธรรมดา และคุณไม่ควรปล่อยให้มันมาทำร้ายคุณ เพราะสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า ก็คือ การต่อสู้กับมะเร็งร้ายให้ได้ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมไปจนถึงสุขภาพอารมณ์ สามารถส่งผลกระทบถึงความสัมพันธ์ของคุณกับคนรักได้ คุณควรจะขอความช่วยเหลือ หากคุณต้องการที่รักษาความสัมพันธ์ของคุณเอาไว้ คุณไม่จำเป็นต้องอาย […]


มะเร็งเต้านม

ตั้งครรภ์ หลังเป็นมะเร็งเต้านม เป็นไปได้และปลอดภัยหรือไม่

ผู้คนทุกวัยสามารถป็น มะเร็งเต้านม ได้ ซึ่งมันก่อให้เกิดความเจ็บปวดทั้งทางกาย และสร้างความกดดันทางจิตใจ มีผู้ป่วยหลายคนที่เกิดคำถามขึ้นว่า ตั้งครรภ์ หลังเป็นมะเร็งเต้านม จะเป็นไปได้และปลอดภัยหรือไม่? ทาง Hello คุณหมอได้หาข้อมูลมาตอบคำถามนี้พร้อมทั้งยังมีข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้อ่านกัน [embed-health-tool-due-date] ตั้งครรภ์ หลังเป็นมะเร็งเต้านม ได้หรือไม่ การรักษามะเร็งแต่ละประเภท อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการมีบุตรของแต่ละคน เช่น การให้ยาเคมีบำบัด อาจส่งผลให้ผู้หญิงเป็นหมัน เพราะผลเสียที่เกิดขึ้นกับรังไข่ระหว่างการรักษา โชคดีที่หลายคนสามารถคลอดบุตรได้หลังจากเข้ารับการรักษา เราแนะนำให้คุณแจ้งแผนการที่จะมีบุตรให้แพทย์ทราบ ก่อนจะเริ่มการรักษามะเร็งเต้านม ความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นหรือไม่จากการตั้งครรภ์ เราทุกคนรู้ว่า มะเร็งเต้านมสัมพันธ์กับฮอร์โมนเอสโตรเจน นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมผู้คนถึงเชื่อว่า อาจจะกลับมาเป็น มะเร็งเต้านม อีกในช่วงตั้งครรภ์ เพราะร่างกายผลิตฮอร์โมนมากในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า การตั้งครรภ์ไม่ได้เพิ่มโอกาสที่จะกลับไปเป็นมะเร็งเต้านมอีกครั้ง เช่นเดียวกัน การให้นมบุตรจะไม่เพิ่มโอกาสการกลับไปเป็น มะเร็งเต้านม อีก แท้จริงแล้ว งานวิจัยบางงานเสนอว่า ผู้ที่ให้นมบุตรอาจมีความเสี่ยงต่ำกว่า ที่จะกลับไปเป็นมะเร็งอีกครั้ง ตั้งครรภ์หลังเข้ารับการรักษา มะเร็งเต้านม ได้เมื่อไหร่ ไม่ได้มีการระบุเวลาที่แน่นอน แต่แพทย์จะแนะนำให้คนไข้ที่ป่วย มะเร็งเต้านม ควรรออย่างน้อย 2 ปี หลังการรักษาเสร็จสิ้น ก่อนที่จะเริ่มตั้งครรภ์ ระลึกไว้เสมอว่า สถานการณ์ของทุกคนล้วนต่างกัน และไม่ได้มีระยะเวลาแนะนำที่ได้รับการยืนยันโดยการทดลองทางคลินิก แผนที่คุณจะตั้งครรภ์ควรขึ้นอยู่กับอายุ ประเภทของมะเร็ง รวมถึงความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นมะเร็งอีก แม่เป็นมะเร็ง ลูกมีความเสี่ยงหรือไม่ ไม่ได้มีหลักฐานแน่ชัดว่า การป่วยเป็น […]


มะเร็งเต้านม

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ มะเร็งเต้านมอักเสบ (Inflammatory Breast Cancer)

มะเร็งเต้านมอักเสบ (Inflammatory breast cancer) เกิดขึ้นเมื่อเซลล์มะเร็งขัดขวางการทำงานท่อน้ำเหลืองในผิวบริเวณหน้าอก ทำให้เกิดมีลักษณะแดงและบวมที่หน้าอก คำจำกัดความมะเร็งเต้านมอักเสบ คืออะไร มะเร็งเต้านมอักเสบ (Inflammatory breast cancer) เกิดขึ้นเมื่อเซลล์มะเร็งขัดขวางการทำงานท่อน้ำเหลืองในผิวบริเวณหน้าอก ทำให้เกิดมีลักษณะแดงและบวมที่หน้าอก มะเร็งเต้านมอักเสบถือเป็นมะเร็งระยะลุกลามเฉพาะที่ หมายถึงมะเร็งที่ลุกลามจากจุดเดิมสู่เนื้อเยื่อใกล้เคียง และเป็นไปได้ที่จะลุกลามไปสู่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่โดยรอบ บางคนอาจสับสนระหว่างมะเร็งเต้านมอักเสบกับการติดเชื้อที่เต้านม การติดเชื้อที่เต้านมเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นทั่วไปมากกว่า และส่งให้หน้าอกแดงและบวม โปรดเข้ารับการวินิจฉัยโดยด่วน หากคุณสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงของผิวบนหน้าอก มะเร็งเต้านมอักเสบ พบได้บ่อยแค่ไหน มะเร็งเต้านมอักเสบเกิดได้ยาก ในสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพียงร้อยละ 1 – 5 ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมอักเสบ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของมะเร็งเต้านมอักเสบมีอะไรบ้าง อาการโดยทั่วไปของมะเร็งเต้านมอักเสบได้แก่ การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันของลักษณะเต้านมในช่วงหลายสัปดาห์ ความแน่น ความหนัก หรือการโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดของเต้านมข้างใดข้างหนึ่ง สีผิวเปลี่ยน ทำให้หน้าอกมีสีแดง ม่วง ชมพู หรือมีรอยช้ำเกิดขึ้น ความอุ่นผิดปกติของเต้านมที่เป็นโรค รอยบุ๋มหรือรอยนูนบนผิวเต้านมที่เป็นโรค คล้ายกับผิวส้ม เวลากดแล้วรู้สึกเจ็บ ต่อมน้ำเหลืองโตใต้แขน เหนือ หรือใต้กระดูกไหปลาร้า หัวนมแบนหรือบุ๋มลง โดยปกติแล้ว มะเร็งเต้านมอักเสบไม่ได้ก่อให้เกิดก้อนเนื้อ เหมือนกับที่เกิดขึ้นเมื่อเป็นมะเร็งเต้านมชนิดอื่น อาจจะมีอาการชนิดอื่นที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึงข้างต้น หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการของโรค โปรดปรึกษาแพทย์ เมื่อไหร่ที่ควรจะไปพบหมอ หากคุณมีสัญญาณหรืออาการตามที่กล่าวข้างตรงหรือมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของคนเราแสดงอาการต่างกัน ทางที่ดีที่สุดคือปรึกษาแพทย์ว่าอะไรเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุสาเหตุของ มะเร็งเต้านมอักเสบ สาเหตุของมะเร็งเต้านมอักเสบไม่ได้มีระบุไว้อย่างแน่ชัด แพทย์ทราบว่ามะเร็งเต้านมอักเสบเกิดจากเซลล์ผิดปกติในท่อน้ำนม การกลายพันธุ์ภายในดีเอ็นเอของเซลล์ผิดปกติ สั่งการให้เซลล์เติบโตและแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เซลล์ผิดปกติที่เพิ่มขึ้นแทรกซึมและอุดตันท่อน้ำเหลืองในผิวบริเวณหน้าอก การอุดตันในท่อน้ำเหลืองทำให้เกิดผิวแดง บวมและเป็นรอยบุ๋ม สัญญาณเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสัญญาณพื้นฐานของมะเร็งเต้านมอักเสบ ปัจจัยเสี่ยงอะไรเพิ่มความเสี่ยงของ มะเร็งเต้านมอักเสบ ปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านมอักเสบ เช่น เป็นผู้หญิง ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะตรวจพบมะเร็งเต้านมอักเสบมากกว่าผู้ชาย แต่ผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมอักเสบได้เช่นกัน เป็นคนผิวสี ผู้หญิงผิวสีมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมอักเสบสูงกว่าผู้หญิงผิวขาว เป็นคนน้ำหนักเกิน […]


มะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านม กับ ภาวะเจริญพันธ์ุ ส่งผลต่อกันอย่างไร

ปกติแล้ว เมื่อคุณเป็นมะเร็งเต้านม คุณจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีบางอย่าง และเพราะคุณเป็นผู้หญิง คุณอาจสงสัยว่าวิธี การรักษามะเร็งเต้านมจะส่งผลต่อภาวะเจริญพันธ์ุของคุณอย่างไรบ้าง เช่น จะส่งผลต่อความสามารถในการมีบุตรของคุณหรือไม่ Hello คุณหมอ อยากแนะนำให้คุณอ่านบทความนี้ดู แล้วคุณจะรู้ว่า การรักษามะเร็งเต้านม กับ ภาวะเจริญพันธ์ุ นั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร ข้อควรรู้เกี่ยวกับ การรักษามะเร็งเต้านม กับ ภาวะเจริญพันธ์ุ ภาวะเจริญพันธุ์ในผู้หญิง อันดับแรก บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจภาวะเจริญพันธุ์ในผู้หญิง จากนั้นคุณจะสามารถเข้าใจได้ว่า มะเร็งเต้านมส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์อย่างไร ผู้หญิงจะมีไข่จำนวนหนึ่งตั้งแต่คุณเกิด และร่างกายของคุณไม่สามารถผลิตไข่ได้อีกตลอดชีวิต เมื่อคุณเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ร่างกายของคุณจะเริ่มตกไข่เดือนละครั้งหรือมากกว่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป จำนวนเเละคุณภาพของไข่จะลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณมีอายุมากเเล้ว เมื่อไข่ปฏิสนธิกับอสุจิ และเกิดเป็นตัวอ่อนฝังอยู่ในมดลูก หรือหมายความว่าคุณกำลังตั้งครรภ์นั่นเอง หากไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ คุณจะมีประจำเดือน และเมื่อร่างกายของคุณไม่มีการตกไข่อีกต่อไป ก็จะทำให้คุณเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน การใช้ยาเคมีบำบัดส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ การใช้ยาเคมีบำบัด สามารถส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ได้ ถึงแม้คุณจะยังไม่ได้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก็ตาม เพราะการใช้ยาจะส่งผลต่อคุณภาพของไข่เเละรังไข่ ภาวะเจริญพันธุ์หลังจากการใช้ยาเคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับประเภทของยา ปริมาณยา เเละอายุของคุณ คุณอาจหยุดมีประจำเดือนเมื่อเริ่มการรักษา จากนั้น อาจเริ่มมีประจำเดือนอีกครั้ง หลังเสร็จสิ้นการรักษาไปเเล้วหลายเดือน หรือเป็นปี แต่การมีประจำเดือนอีกครั้ง ก็ไม่ได้หมายความว่าภาวะเจริญพันธุ์ของคุณเป็นปกติ และคุณจะสามารถตั้งครรภ์ได้ อายุ คุณมีเเนวโน้มที่จะตั้งครรภ์หลังใช้ยาเคมีบำบัด หากคุณเข้ารับการรักษาก่อนอายุ 30 ปี และถ้าคุณมีอายุ 40 ปีขึ้นไป […]


มะเร็งรังไข่

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ กินอาหารอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

หากคุณถูกวินิจฉัยว่า เป็น โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) หนึ่งในสิ่งสำคัญที่ ที่ควรใส่ใจคือ เรื่องโภชนาการ การรับประทานอาหาร โดยเฉพาะเรื่องความของสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เพื่อนำไปเป็นพลังงานในการรักษาสุขภาพ ให้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง ดังนั้น คุณจำเป็นต้องรู้เคล็ดลับทางโภชนาการ อาหารที่มีความเหมาะสมสำหรับผู่ป่วย โรคมะเร็งรังไข่ เพื่อการดูแลร่างกายอย่างถูกต้อง วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ไปดูกันว่าควรรับประทานอย่างไร เพื่อสุขภาพที่ดี อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ กินอย่างไรให้ดีต่อโรค รับประทานอาหารที่มีความสดใหม่ การรักษา โรคมะเร็งรังไข่ โดยวิธีการใช้เคมีบำบัด มักจะส่งผลกระทบต่อต่อมรับรส บางครั้งอาจทำให้ต่อมรับรสเปลี่ยนไป ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเลือกอาหารที่มีความสดใหม่ เพราะอาหารที่มีความสดใหม่ จะยังคงรสชาติแบบธรรมไว้อยู่ แถมยังมีรสชาติที่ดีกว่าอาหารที่ค้างไว้นาน มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ระหว่างที่เข้ารับการทำเคมีบำบัดนั้น อาจทำให้รู้สึกไม่อยากกินเนื้อสัตว์ ดังนั้นหากเกิดผลข้างเคียงเช่นนี้ ควรเพิ่มอาหารชนิดอื่น ๆ ที่อุดมไปด้วยโปรตีนสูง เพื่อทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เช่น ไข่  ผลิตภันฑ์จากถั่ว หรือปลา ที่สำคัญจะต้องดื่มน้ำมาก ๆ แต่หากว่าการดื่มน้ำเปล่าเป็นเรื่องยากสำหรับคุณ การดื่มน้ำแร่หรือน้ำผสมมะนาวซีก อาจช่วยเพิ่มความสดชื่นได้ ไม่ควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตอย่างเดียว ผู้ที่เป็น โรคมะเร็งรังไข่ ควรลดปริมาณของคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหารให้น้อยลง เนื่องจากอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตนั้นจะมีน้ำตาลอยู่ การลดอาหารประเภทนี้จะช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิตได้ ยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำก็จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้นได้ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อลดภาวะขาดน้ำ ร่างกายของคนเรานั้น ต้องการน้ำเป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณจึงควรรักษาความชุ่มชื้นของร่างกายโดยการดื่มน้ำอย่างเพียงพอ อาการท้องร่วงหรืออาเจียน […]


มะเร็งเต้านม

เพียงแค่ลดการบริโภคไขมันก็ช่วย ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม ได้

การ ลดไขมัน มีส่วนช่วย ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม ได้ โรคมะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับชายและหญิง จากการศึกษาวิจัยจำนวนมาก พบว่า ไขมัน มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งเต้านม ดังนั้น การควบคุมอาหาร ลดการบริโภคไขมัน มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ ไปดูกันว่าการ ลดไขมัน มีส่วนช่วย ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิธีการ ลดไขมัน มาฝากกันค่ะ ไปอ่านกันเลย ไขมันมีความสัมพันธ์กับ โรคมะเร็งเต้านม อย่างไร จากการศึกษาพบว่า ไขมัน มีส่วนช่วยเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็งเต้านม โดยผู้หญิงที่รับประทานไขมันมากกว่าปกติ มีเเนวโน้มที่จะเป็น โรคมะเร็งเต้านม มากกว่า ซึ่งไขมันในอาหารโดยทั่วไปเเบ่งเป็นสามประเภท ดังนี้ ไขมันอิ่มตัว ไขมันประเภทนี้ เป็นไขมันที่ส่วนใหญ่แล้ว พบได้ในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น เนื้อ นมสด มะพร้าว เเละน้ำมันปาล์ม บางครั้งยังสามารถพบไขมันอิ่มตัวได้ในอาหารแปรรูปด้วย ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ไขมันประเภทนี้ส่วนใหญ่มักพบในถั่วหรือน้ำมันมะกอก ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ไขมันประเภทนี้ พบได้ในอาหารทะเลเเละน้ำมันข้าวโพด การบริโภคไขมันที่มากเกินไป ยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อีกด้วย เช่น โรคหัวใจ และโรคอ้วน ลดไขมัน ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม […]


มะเร็งเต้านม

สัญญาณและอาการของ มะเร็งเต้านมระยะที่ 4

โรคมะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ที่เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตบริเวณเต้านม โรคมะเร็งเต้านมสามารถแบ่งออกได้ 4 ระยะ การเข้าใจเกี่ยวกับระยะของโรคมะเร็ง จะช่วยให้เข้าใจอาการที่เกิดได้ดีมากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมมูลเหี่ยวกับ มะเร็งเต้านมระยะที่ 4  หรือ มะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย ซึ่งถือเป็นระยะที่มีความรุนเเรงที่สุด มาให้อ่านกันค่ะ อาการของผู้ป่วย มะเร็งเต้านมระยะที่ 4 โรคมะเร็งเต้านมสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 4 ระยะ ซึ่ง มะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย เป้นระยะที่มีความรุนแรงและเป็นอันตรายต่อร่างกายมากที่สุด ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วย มะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย มักจะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ ก้อนเนื้อในหน้าอก เนื้องอกในช่วงที่เป็นมะเร็งเต้านมระยะเเรก ๆ มักจะมีขนาดที่เล็กมาก จนเราไม่สามารถสังเกตหรือสัมผัสได้ เเพทย์มักจะเเนะนำให้ตรวจแบบเเมมโมเเกรม (mammogram) เเละวิธีการตรวจมะเร็งอื่น ๆ เนื่องจากเนื้องอกในระยะเเรกมักมีขนาดเล็กมากนั่นเอง ส่วนผู้ป่วย มะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย มักจะมีเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่ บางครั้งเนื้องอกขนาดใหญ่นี้ก็ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในช่วง มะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย เสมอไป เเต่ผู้หญิงจำนวนหนึ่งจะสังเกตหรือสัมผัสได้ถึงก้อนเนื้อในหน้าอก ก้อนเนื้ออาจปรากฏขึ้นบริเวณด้านล่างหรือรอบ ๆ รักเเร้ ผู้หญิงยังอาจรู้สึกได้ถึงรอยบวมรอบ ๆ หน้าอกหรือรักเเร้ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ การเปลี่ยนเเปลงของผิว การเปลี่ยนเเปลงของผิว อาจเป็นผลมาจากมะเร็งเต้านมบางประเภท เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน