จัดเตรียมสำหรับวัยผู้ใหญ่

HPV คืออะไร?

HPV หรือ ไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา เป็นเชื้อที่พบได้บ่อยในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยไวรัสชนิดนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ โดยบางสายพันธุ์ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้เอง แต่บางสายพันธุ์ก็อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้

เริ่มต้นปกป้องตัวคุณเองได้ โดยการปรึกษาคุณหมอใกล้ตัว

ออกจาก Hello คุณหมอ

คุณกำลังเข้าสู่เว็บไซต์ภายนอกที่ดูแลโดยบุคคลที่สาม เราไม่รับผิดชอบต่อเนื้อหาใดๆ ที่ปรากฏบนเว็บไซต์ภายนอก

บทความแนะนำ

โรคติดเชื้อเอชพีวี

ตรวจมะเร็งปากมดลูก ควรตรวจเมื่อไร ใครคือกลุ่มเสี่ยง

ตรวจมะเร็งปากมดลูก เป็นการตรวจสุขภาพของปากมดลูกโดยนำเซลล์เนื้อเยื่อไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อดูว่าเซลล์ดังกล่าวมีความผิดปกติหรือมีโอกาสเกิดมะเร็งมากน้อยเพียงใด รวมทั้งการตรวจหาเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus หรือ HPV) อันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก ทั้งนี้ ผู้หญิงอายุ 25-65 ปี ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่สถานพยาบาล เพื่อหาวิธีรับมือและรักษาหากตรวจพบเซลล์ที่ผิดปกติและป้องกันความเสี่ยงจากโรคมะเร็งที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต มะเร็งปากมดลูก คืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูก หรือส่วนล่างของมดลูก ที่เชื่อมต่อกับช่องคลอด สาเหตุของมะเร็งชนิดนี้ คือการติดเชื้อเอชพีวี ซึ่งติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าทางอวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก ทั้งนี้ อาการของโรคมะเร็งปากมดลูกที่พบได้ ประกอบด้วย ช่องคลอดมีเลือดออก หลังจากมีเพศสัมพันธ์ ระหว่างมีรอบเดือน หรือขณะอยู่ในช่วงวัยทอง ตกขาวใส มีเลือดปน บางครั้งมีปริมาณมากผิดปกติ หรือมีกลิ่นเหม็น ประจำเดือนมามากหรือนานกว่าปกติ ปวดท้องน้อยระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ท้องน้อยบวม ตรวจมะเร็งปากมดลูก มีกี่รูปแบบ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มักช่วยให้ตรวจเจอเซลล์มะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งยังไม่เป็นอันตราย และง่ายต่อการรักษาโดยรูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่พบได้ตามสถานพยาบาล ประกอบด้วย การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) หรือ การตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูก (cervical cytology) คือ การสอดอุปกรณ์ทางการแพทย์เฉพาะเข้าไปในช่องคลอด เพื่อเก็บตัวอย่างเซลล์จากพื้นผิวปากมดลูก […]

มะเร็งปากมดลูก

ไขข้อสงสัย ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีกี่วิธี อะไรบ้าง

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นเรื่องที่ผู้หญิงไม่ควรละเลย โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากการติดเชื้อ HPV แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก อีกด้วย หากตรวจพบหรือเข้าข่ายว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง จะได้ปรึกษาคุณหมอเพื่อวางแผนการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำความเข้าใจกับ มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดในเซลล์ปากมดลูก ซึ่งเป็นช่วงล่างของมดลูกที่เชื่อมต่อกับช่องคลอด โรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HPV ระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามต่อสู้ไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำอันตรายต่อร่างกาย ร่างกายบางคนอาจต่อสู้กับเชื้อจนสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ ในขณะที่บางรายร่างกายอ่อนแอกว่าทำให้มีเชื้ออยู่ในร่างกายนานหลายปี นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งปากมดลูกได้ เช่น อายุ 50 ปีขึ้นไป การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ สูบบุหรี่ มีบุตรหลายคน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทั้งนี้ การ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นประจำ หรือรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก ได้ วิธีการ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก […]

มะเร็งปากมดลูก

เตรียมตัวก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก เตรียมอย่างไร และใครที่ควรตรวจ

สิ่งสำคัญที่ผู้หญิงหลายคนไม่ควรละเลยคือการ ตรวจมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้ในผู้หญิง ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus หรือ HPV) ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก ส่วนใหญ่แล้วโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก ๆ มักไม่แสดงอาการ ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ และ จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้พบมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ระยะแรก ๆ ซึ่งมีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้สูงและยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้อีกด้วย สำหรับการ เตรียมตัวก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก อาจทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการล้างช่องคลอดด้วยของเหลวต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อจะได้ไม่ส่งผลกระทบกับผลตรวจ ผู้ที่ควร ตรวจมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุในช่วง 30-65 ปี ดังนั้น ผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก ๆ 3 ปี เริ่มตั้งแต่อายุ 21 ปี ไปจนถึงอายุ 29 สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 30-65 ปี ควรปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางสำหรับการตรวจที่มีความเหมาะสม หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคมะเร็งปากมดลูก คือ การติดเชื้อเอชพีวี ส่วนใหญ่ในช่วงระยะแรก ๆ ของการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีมักจะไม่มีอาการใด ๆ บางครั้งระบบภูมิคุ้มกันก็จะกำจัดเชื้อนั้นออกไปจากร่างกายได้เอง แต่มีเพียงบางส่วนที่เชื้อไวรัสเอชพีวีติดนานหรือเรื้อรังจนทำให้เกิดเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก […]

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

สุขภาพหญิง

FAQ: คําถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับวัคซีน HPV

1. จําเป็นต้องตรวจคัดกรองด้วย Pap smear ก่อนฉีดวัคซีน HPV หรือไม่? ไม่จําเป็นต้องตรวจ Pap smear ก่อนจึงจะฉีดวัคซีน HPV ได้ ควรพิจารณาแยกเป็น 2 ประเด็นตามจุดประสงค์ของการป้องกันมะเร็งปากมดลูก การทํา Pap smear เป็น secondary prevention เป็นการตรวจคัดกรองหารอยโรคเพื่อทําการรักษา ส่วนการฉีดวัคซีน HPV นั้นเป็น primary prevention เป็นการป้องกันปากมดลูกไม่ให้ติดเชื้อ HPV ในทางปฏิบัติถ้ามีเพศสัมพันธ์แล้ว และไม่เคยตรวจคัดกรองมาก่อนแนะนําให้ทํา Pap smear ไว้ด้วย ถ้าผิดปกติให้ดูแลรักษาและตรวจ ติดตามตามแนวทางมาตรฐาน ส่วนการฉีดวัคซีน HPV ก็สามารถฉีดได้ตามปกติ ไม่ได้เป็นข้อห้าม 2. จําเป็นต้องตรวจ HPV testing ก่อนฉีดวัคซีน HPV หรือไม่? ไม่จําเป็นต้องตรวจ HPV testing หรือตรวจ HPV16/18 genotyping ก่อนจึงจะฉีดวัคซีน HPV ได้ ถ้าจะตรวจ HPV testing ก็ทําเพื่อ การตรวจคัดกรองหารอยโรคในสตรีที่อายุถึงเกณฑ์คําแนะนําเพื่อที่จะใช้ในการดูแลรักษาและการตรวจ […]

โรคติดเชื้อเอชพีวี

วัคซีน HPV ในสตรีวัยทำงาน ที่ผู้หญิงทุกคนจำเป็นต้องรู้!

จากสถิติมะเร็งในสตรีไทยของ GLOBOCAN 2018 มะเร็งปากมดลูกพบเป็นอันดับที่ 2 รองมาจากมะเร็งเต้านม โดยมี อุบัติการณ์ 16.2 ต่อสตรี 100,000 คน/ปี มีผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 8,622 คน หรือ ประมาณ 24 คนต่อวัน และเสียชีวิตปีละ 5,015 คน หรือประมาณ 14 คนต่อวัน มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ เนื่องจากสามารถป้องกันได้หลายวิธี ทั้งโดยการฉีดวัคซีน HPV ป้องกันการติดเชื้อ HPV และการตรวจคัดกรองซึ่งมีหลากหลายวิธี ที่มีประสิทธิภาพวัคซีน HPV ที่มีใช้ในประเทศไทย ในปัจจุบันสามารถ  ป้องกันการติดเชื้อ HPV16 และ HPV18 ซึ่งเป็นสาเหตุประมาณ 70-75% ของมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทย นอกจากนี้ ยังมีสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ได้แก่ HPV 31, HPV 33, HPV 45, HPV 52 […]

มะเร็งปากมดลูก

การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก มีกี่รูปแบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร

เนื้องอกมดลูก (Uterine Fibroids) เป็นการเจริญเติบโตของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกที่ผิดปกติ ขนาดของเนื้องอกในมดลูกมีตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าเมล็ดพืช จนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา ไปจนถึงขนาดใหญ่จนทำให้มดลูกขยายตัวได้ การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาเนื้องอกในมดลูกที่คุณหมออาจแนะนำ อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดเนื้องอกมดลูกรวมไปถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น เนื้องอกมดลูก คืออะไร อันตรายแค่ไหน เนื้องอกมดลูก เป็นการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก ซึ่ง เนื้องอกมดลูก ส่วนใหญ่แล้วไม่เกี่ยวข้องกับ การเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมดลูก เนื้องอกส่วนใหญ่แทบจะไม่พัฒนาไปเป็นมะเร็งมดลูกเลย แต่หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่ จนขยายไปถึงซี่โครง อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ จริง ๆ แล้วหากขนาดของ เนื้องอกมดลูก มีขนาดเล็กมาก ๆ และไม่มีอาการใด ๆ ที่แสดงออกมา ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่สำหรับผู้ที่มีอาการหรือสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับ เนื้องอกมดลูก อาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด อาการเหล่านี้เป็นอาการที่พบได้บ่อย อาการปวดท้อง ท้องอืด ความดัน เจ็บหรือปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน เจ็บหรือปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อย เลือดออกผิดปกติ ปวดหลังหรือปวดขา ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ โดยที่อาการไม่หายไปเลย หรือมีอาการอยู่เป็นประจำ ควรเข้าปรึกษาแพทย์ ประเภทของ การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก ในช่วงชีวิตของผู้หญิงหลาย ๆ คน อาจจะมีเนื้องอกโดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้ เพราะ เนื้องอกมดลูก ที่มีขนาดเล็กมักจะไม่มีอาการหรือสัญญาณใด […]