โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นอาการที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ ส่วนใหญ่เกิดจากคราบไขมันหรือเนื้อเยื่อเกาะสะสมในผนังหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่สะดวก อาจทำให้หัวใจวายได้ เรียนรู้ข้อมูลสุขภาพดี ๆ เกี่ยวกับ โรคหลอดเลือดหัวใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหัวใจขาดเลือด สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดชนิดหนึ่งที่เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก และเสี่ยงต่อการมีภาวะหัวใจวาย ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้ เพื่อป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลิกสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณจำกัด [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ โรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart Disease) หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นภาวะที่หัวใจขาดออกซิเจน เนื่องจากมีเลือดไหลไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ส่งผลให้เสี่ยงที่จะหัวใจวายหรือเสียชีวิตได้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา รายงานว่า โรคหัวใจขาดเลือดเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดที่พบได้บ่อยที่สุด และในปี พ.ศ. 2563 ชาวอเมริกันเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดจำนวน 382,820 ราย อาการ อาการของ โรคหัวใจขาดเลือด เมื่อเป็นโรคหัวใจขาดเลือด จะรู้สึกแน่นหน้าอก บริเวณด้านซ้ายของหน้าอก โดยอาการมักเกิดขึ้นตอนกลางคืนหรือหลังจากออกกำลังกายหรือมีอารมณ์รุนแรง เช่น โกรธ เครียด โดยทั่วไป อาการแน่นหน้าอกจะหายเองได้ภายในไม่กี่นาที แต่บางรายโดยเฉพาะผู้หญิง อาจมีอาการเจ็บบริเวณคอ แขน หรือหลัง ร่วมด้วย ทั้งนี้ อาการอื่น ๆ ของโรคหัวใจขาดเลือด ได้แก่ หายใจไม่ออก ใจสั่น อ่อนเพลีย เหงื่อออก นอกจากนี้ โรคหัวใจขาดเลือดยังอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้ หัวใจวาย หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อบางส่วนของหัวใจได้รับเลือดไม่เพียงพอ ส่งผลให้มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก อ่อนแรง […]

สำรวจ โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ

7 ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่คุณไม่ควรมองข้าม

โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายแรงที่อาจส่งผลเสียถึงชีวิตได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำ 7 ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ มาให้ทุกคนได้เช็กกันดูค่ะ มาดูกันสิคะว่า ตนเองเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวนี้หรือไม่ รู้ก่อน ป้องกันไว้ เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคหลอดเลือดหัวใจ คืออะไร โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) เป็นภาวะร้ายแรงที่เกิดจากการสะสมของคาบจุลินทรีย์ (การสะสมของไขมัน) ในหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงออกซิเจนเข้าสู่หัวใจ เมื่อหลอดเลือดแดงที่กล้ามเนื้อหัวใจแคบลง เลือดจึงไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง การตีบตันของเส้นเลือด อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย อย่างไรก็ตาม คุณอาจไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ จนกระทั่งหลอดเลือดเกิดอาการตีบตัน หรือมีภาวะหัวใจวาย  7 ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุส่วนใหญ่ของ โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากการสะสมของไขมันหรือการอักเสบในหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงพฤติการใช้พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ การนั่งอยู่กับที่เป็นระยะเวลานาน ๆ  เอาล่ะ! เรามาเช็กกันดูดีกว่าค่ะว่า คุณเสี่ยงต่อการเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือไม่? โดย ปัจจัยเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดหัวใจ มีดังต่อไปนี้ อายุที่เพิ่มขึ้น อายุที่เพิ่มมากขึ้นเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงเสียหายและตีบ โดยส่วนใหญ่มักพบในพศชายมากกว่าเพศหญิง (เพศหญิงจะมีความเสี่ยงสูงหลังจากวัยหมดประจำเดือน) ประวัติสมาชิกในครอบครัว  หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ เช่น บิดา พี่ชาย น้องชายได้รับการวินิจฉัยว่า […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นของ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease)

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เป็นหนึ่งในปัญหาของโรคหัวใจ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ และสุขภาพกายโดยรวมของคุณ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด คุณอาจต้องทำการทราบข้อมูลพื้นฐานของโรคนี้เอาไว้ ก่อนเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต คำจำกัดความ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) คืออะไร โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease : CAD) เกิดขึ้นจากการที่หลอดเลือดหลักที่ลำเลียงเลือด ออกซิเจน และสารอาหาร ไปยังหัวใจ (หลอดเลือดแดงที่กล้ามเนื้อหัวใจ) จนเกิดความเสียหาย และมีการสะสมของคราบพลัคจากคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด หรือเกิดจากอาการอักเสบในหลอดเลือดหัวใจ เมื่อคราบพลัคก่อตัวขึ้น จะทำให้หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบลง และส่งผลให้เลือดที่ลำเลียงไปยังหัวใจนั้นน้อยลง เกิดอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม หรืออาจจะเกิดสิ่งบ่งชี้และอาการอื่น ๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ การตีบตันของเส้นเลือดอย่างสมบูรณ์เกิดภาวะหัวใจวายได้ โรคหลอดเลือดหัวใจพบได้บ่อยเพียงใด โรคหลอดเลือดหัวใจมักจะพบได้บ่อยทุกเพศทุกวัย รวมถึงผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคหัวใจ รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นเวลานาน อาการ อาการของ โรคหลอดเลือดหัวใจ อาการที่มักพบได้มากที่สุดคืออาการปวดเค้นในหน้าอก (Angina) หรือเจ็บหน้าอก โดยอาการปวดเค้นในหน้าอกนี้สามารถอธิบายได้ว่าเป็น อาการหน่วง แรงกด อาการปวด อาการแสบร้อน อาการชา อาการแน่น อาการบีบคั้น อาการเหล่านี้อาจทำให้เข้าใจว่าเป็นอาการของอาการอาหารไม่ย่อยและภาวะกรดไหลย้อนได้ อาการปวดเค้นในหน้าอกมักรู้สึกที่บริเวณหน้าอก แต่ยังอาจรู้สึกในบริเวณอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น ไหล่ข้างซ้าย แขน คอ […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

กระบวนการและขั้นตอน การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ

การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass surgery: CABG) หรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในวิธีการที่ใช้กันบ่อยที่สุดในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจที่ตีบหรืออุดตัน เนื่องจากการสะสมของคราบไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง การผ่าตัดนี้จะเป็นการทำเส้นทางใหม่เพื่อให้เลือดไหลไปยังหัวใจได้ดีขึ้น โดยมักจะเป็นการสร้างเส้นทางใหม่สำหรับการไหลของเลือด 3, 4 หรือ 5 เส้น ทำไมถึงต้องมี การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ ใช้เพื่อรักษาอาการปวดเค้นในหน้าอก (Angina) ที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยา สาเหตุที่พบบ่อยๆ ของอาการปวดเค้นในหน้าอกก็คือ กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (myocardial infarction) การทำงานผิดปกติของลิ้นหัวใจไมตรัล (mitral valve) และการบาดเจ็บของหัวใจแบบอื่นๆ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของผู้ที่ป่วยจากแขนงหลอดเลือดหัวใจตีบตัน อย่างเช่นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน การผ่าตัดบายพาสทำอย่างไร การผ่าตัดบายพาสเป็นการผ่าตัดทำทางเบี่ยงของทางเดินเลือดใหม่ เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจในเส้นทางใหม่ โดยแพทย์จะต้องใช้หลอดเลือดเสริม (Graft) ด้านหนึ่ง ไปต่อที่ใต้จุดของหลอดเลือดหัวใจแดงเดิมที่มีการตีบหรือตัน และอีกด้านหนึ่งไปต่อกับหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ส่งผลให้เลือดจากหลอดเลือดแดงใหญ่เดินทางไปตามหลอดเลือดแดงเสริม เพื่ออ้อมการอุดตันและไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ในที่สุด ในปัจจุบันมีการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจหลักๆ ที่นิยมใช้กัน 2 วิธีคือ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On-Pump Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) วิธีการนี้ ผู้ป่วยจะถูกทำทำให้หัวใจหยุดเต้นและใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม เพื่อส่งเลือดและออกซิเจนไหลเวียนไปทั่วร่างกาย การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจแบบนี้จะกินเวลาราว 4 ชั่วโมง […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ และทางเลือกอื่นในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Coronary artery bypass surgery) หรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นวิธีการผ่าตัดเปิดหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา วิธีการคือการนำหลอดเลือดจากส่วนอื่นในร่างกายมา เพื่อเลี่ยงหรืออ้อมหลอดเลือดจุดที่อุดตัน ทำให้เลือดและออกซิเจนสามารถไหลเข้าสู่หัวใจได้อีกครั้ง แต่การผ่ตัดนี้จะมีข้อดี และข้อเสียอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนวันนี้กันได้เลยค่ะ เราจำเป็นต้องทำ การผ่าตัดบายพาสหัวใจ หรือไม่ การผ่าตัดบายพาสหัวใจ นั้นสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย และปัญหาอื่นๆ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจจะต้องรับการผ่าตัดบายพาสหัวใจ มีผู้ป่วยหลายคนที่สามารถควบคุมโรคได้ จากการเลือกรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย ใช้ยา รับการผ่าตัดขยายเส้นเลือด หรือวิธีการรักษาอื่น ๆ นอกจากนี้ คุณและแพทย์สามารถตัดสินใจร่วมกันได้ว่าจะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมอย่างไรหลังจากวิเคราะห์ข้อดี และข้อเสีย รวมถึงภาวะสุขภาพร่างกายของคุณ ข้อดีของ การผ่าตัดบายพาสหัวใจ การผ่าตัดบายพาสหัวใจสามารถรักษาอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (เจ็บหน้าอก) โดยที่การบรรเทาอาการนั้นมักจะมีระยะเวลานานถึง 10 ถึง 15 ปี หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยอาจจะต้องเพิ่มทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นหากมีอาการอุดตันอีกครั้ง ในกรณีที่คุณเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจระดับรุนแรง เช่น มีหลอดเลือดอุดตันหลายจุด การผ่าตัดบายพาสหัวใจจะช่วยให้คุณมีชีวิตที่ยาวนานขึ้นอีกด้วยค่ะ ข้อเสียของการผ่าตัดบายพาสหัวใจ ในช่วงการผ่าตัดบายพาสหัวใจยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อีกมากมาย จากรายงานของวารสารมหาวิทยาลัยโรคหัวใจและหลอดเลือดแห่งสหรัฐอเมริกัน ประมาณร้อยละ 3 ของผู้ป่วยทั้งหมดอาจจะเกิดโรคหลอดเลือดสมองระหว่างการผ่าตัด และอีก 3 เปอร์เซ็นต์อาจจะเสียสติได้ นอกจากนี้ยังพบความเสียหายของไตหลังจากการผ่าตัดบายพาสหัวใจล้มเหลวอีกด้วย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน