backup og meta

คุณแม่ตั้งครรภ์ ไวรัสซิก้า ภัยร้ายที่ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ ไวรัสซิก้า ภัยร้ายที่ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์

สำหรับ คุณแม่ตั้งครรภ์ ไวรัสซิก้า ฟังดูแล้วอาจจะดูน่ากังวลใจ เพราะไวรัสซิก้า (Zika virus) สามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้น การป้องกันไวรัสซิก้าอาจทำได้ด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจครรภ์ตามที่คุณหมอนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

ไวรัสซิก้า สามารถติดต่อได้ ผ่านการมีเพศสัมพันธ์

ไวรัสซิก้า สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก นอกจากนี้ หากใช้เซ็กส์ทอยร่วมกับคู่นอนก็อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสซิก้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ไวรัสซิก้ายังสามารถอยู่ในน้ำอสุจิได้นานกว่าของเหลวในร่างกายประเภทอื่น ๆ ดังนั้น ระยะเวลาติดเชื้อไวรัสซิก้าจะแตกต่างกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรป้องกันตัวเองอย่างไร ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และกิจกรรมทางเพศทุกประเภท เพื่อลดโอกาสของการติดเชื้อไวรัสซิก้า
  • เรียนรู้วิธีการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ด้วยการสอบถามหมอและผู้ให้บริการด้านสุขภาพ นอกจากนี้ การอ่านคำแนะนำบนฉลากของผลิตภัณฑ์อย่างระมัดระวัง

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำอย่างไร หากต้องเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงต่อ ไวรัสซิก้า

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรอยู่ให้ห่างจากพื้นที่ซึ่งอาจมีไวรัสซิก้า หรือได้รับการยืนยันว่ามีไวรัสซิก้า หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปยังพื้นที่เหล่านั้น ก่อนที่จะเดินทาง ควรพูดคุยกับหมอเพื่อมีแผนป้องกันที่ดีที่สุด

หากคุณแม่ตั้งครรภ์และคู่รักจำเป็นต้องเดินทางไปยังพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสซิก้า ควรใช้ถุงยางในกิจกรรมทางเพศทุกชนิด นอกจากนี้ อาจหยุดการมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งสองคนและทารกในครรภ์ปลอดภัย

สำหรับคู่รักที่ตั้งใจจะลูกควรตระหนักถึงการป้องกันไวรัสซิก้าให้มากขึ้น โดยควรเข้ารับการตรวจร่างกายเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขามีสุขภาพที่แข็งแรง และเหมาะสมแก่การตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ควรปรึกษาแผนการตั้งครรภ์กับหมอ เพื่อทำความเข้าใจถึงความเสี่ยง และทางเลือกต่าง ๆ ทั้งหมด แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งครรภ์ ไม่มีความตั้งใจที่จะตั้งครรภ์ แต่ก็ควรต้องตระหนักถึงเรื่องไวรัสซิก้าเช่นกัน เพราะจนถึงบัดนี้ ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อใด ๆ

ทุกคนจำเป็นต้องระมัดระวัง เนื่องจากบางคนที่ติดเชื้อไวรัสซิก้าไม่แสดงอาการใด ๆ แม้ว่าในความเป็นจริงอาจจะติดเชื้อซิก้าไปแล้ว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sexual Transmission & Prevention https://www.cdc.gov/zika/prevention/sexual-transmission-prevention.html Accessed April 17, 2017

Passing on Zika through sex http://www.star2.com/living/viewpoints/2016/09/25/passing-on-zika-through-sex/ Accessed April 17, 2017

How Relevant Is Sexual Transmission of Zika Virus? https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5079617/ Accessed April 17, 2017

Zika virus. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/zika-virus?gclid=CjwKCAiAkrWdBhBkEiwAZ9cdcO6_vGnB_LaGJTwxGG0jdaOdsTVdf4iVu1fjLLFbwtTwqPlmyZHBNxoCM88QAvD_BwE. Accessed December 29, 202

Zika virus. https://www.nhs.uk/conditions/zika/#:~:text=Zika%20virus%20can%20harm%20a,virus%20without%20having%20any%20symptoms. Accessed December 29, 2022

Zika virus. https://www.cdc.gov/zika/pregnancy/index.html. Accessed December 29, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/12/2022

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจครรภ์ มีวิธีตรวจอย่างไร หากตั้งครรภ์ควรดูแลตัวเองอย่างไร

คนท้อง ความดันต่ำ เป็นอันตรายหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 29/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา