ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากจะมีลูก ปัญหาการมีบุตรยาก อาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญ ที่ทำให้พ่อแม่ไม่อาจสมหวังดั่งตั้งใจ แต่หากได้ทำความเข้าใจ ก็อาจสามารถรับมือกับปัญหาใหญ่นี้ได้ไม่ยาก Hello คุณหมอ ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับ ปัญหามีบุตรยากและการรักษา มาไว้ที่นี่ เพื่อเป็นอีกหนึ่งผู้ช่วยสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังมีปัญหา

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วย IUI คือ อะไร

Intrauterine insemination หรือ IUI คือ การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรงเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ ร่วมกับให้ผู้หญิงฉีดยาหรือรับประทานยากระตุ้นการเจริญพันธุ์เพื่อกำหนดช่วงไข่สุกที่แน่นอนในแต่ละรอบเดือน เมื่อทำติดต่อกันหลายครั้งจะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ วิธีนี้ใกล้เคียงกับการมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติ มีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีอื่น ไม่ต้องใช้เวลาพักฟื้นนาน และมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ ทั้งนี้ ผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน และปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้วิธีรักษาภาวะมีบุตรยากและเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ที่เหมาะสมที่สุด [embed-health-tool-ovulation] IUI คือ อะไร Intrauterine insemination หรือ IUI คือ การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรงในช่วงไข่สุก โดยคุณหมอจะฉีดเชื้ออสุจิที่คัดกรองแล้วว่ามีคุณภาพสูงและแข็งแรงสมบูรณ์ไปที่บริเวณใกล้กับท่อนำไข่ ทำให้อสุจิเดินทางไปหาเซลล์ไข่ได้ง่ายขึ้นและใช้เวลาเดินทางน้อยกว่าการมีเพศสัมพันธ์ตามปกติ จึงอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ IUI คือ วิธีที่ใกล้เคียงกับการมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติซึ่งปกติแล้วอสุจิของผู้ชายจะเดินทางเข้าสู่ช่องคลอดของผู้หญิง เดินทางผ่านปากมดลูกเข้าไปยังมดลูก และตรงเข้าสู่ท่อนำไข่ที่มีเซลล์ไข่รอรับการผสมอยู่แล้ว เมื่อไข่ผสมกับอสุจิหรือที่เรียกว่า การปฏิสนธิ จะทำให้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น วิธีนี้เป็นทางเลือกลำดับต้น ๆ ในการรักษาภาวะมีบุตรยากก่อนจะเลือกใช้วิธีที่ต้องผ่าตัดและพักฟื้นนาน หรือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าอย่างการทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization หรือ IVF) การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection หรือ ICSI) เป็นต้น มักเลือกใช้วิธีนี้ในกรณีที่หาสาเหตุของการมีบุตรยากแล้วพบว่า อสุจิมีการเคลื่อนที่ที่ไม่ดี เพราะจะเป็นการช่วยลดระยะเวลาการเดินทางของอสุจิไปที่เซลล์ไข่ได้ และช่วยเพิ่มเติมในกรณีที่ทางฝ่ายหญิงมีการตกไข่ที่ไม่ปกติ โดยการกินยาหรือฉีดยากระตุ้นไข่เพื่อให้รู้กำหนดวันไข่ตกที่แน่นอน แต่จะทำวิธีนี้ได้ จะต้องแน่ใจว่าท่อนำไข่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มีการตีบตัน โอกาสความสำเร็จของ […]

สำรวจ ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

รักษาภาวะมีบุตรยาก ทำได้อย่างไรบ้าง

ภาวะมีบุตรยาก เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางสุขภาพ ภาวะทางการแพทย์ รวมถึงการใช้ยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ดังนั้น การ รักษาภาวะมีบุตรยาก อาจทำให้สามารถตั้งครรภ์และมีลูกได้ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี โและพยายามมีบุตรมาเป็นระยะเวลานานกว่า 6 เดือน อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน [embed-health-tool-ovulation] ภาวะมีบุตรยาก คืออะไร ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะที่ผู้หญิงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้แม้จะมีเพศสัมพันธ์บ่อยและไม่มีการคุมกำเนิด ซึ่งภาวะนี้มักเกิดในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ซึ่งหลังจากพยายามมา 6 เดือนแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ โดยปกติแล้ว ภาวะมีบุตรยากอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางสุขภาพ ภาวะทางการแพทย์ รวมถึงการใช้ยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ภาวะมีบุตรยากนั้นอาจเกิดขึ้นจากหลาย ๆ สาเหตุดังต่อไปนี้ สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงนั้นอาจมีดังนี้ อายุที่มากขึ้น ภาวะมีบุตรยากอาจพบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป  มีประวัติการผ่าตัดกระดูกเชิงกราน อาจเสี่ยงทำให้ท่อนำไข่เสียหาย เมือกปากมดลูกหนา อาจทำให้อสุจิไหลผ่านเข้าสู่มดลูกได้ยาก เนื้องอกมดลูก อาจเสี่ยงต่อการอุดตันท่อนำไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) อาจส่งผลทำให้รังไข่ ท่อนำไข่ ไม่พร้อมต่อการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease หรือ PID) อาจส่งผลให้ท่อนำไข่เสียหาย […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ตรวจภาวะมีบุตรยาก เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปพบคุณหมอ

คู่สมรสบางคู่ หลังจากแต่งงานแล้วก็ตั้งความหวังที่จะมีเจ้าตัวเล็กมาวิ่งเล่นในบ้าน เติมเต็มความสุขในครอบครัวอีกหนึ่งระดับ แต่ก็ไม่ใช่คู่แต่งงานทุกคู่ที่จะสมหวังกับเป้าหมายนั้น บางคู่พยายามกันมาหลายต่อหลายครั้งแต่ก็ยังไม่มีลูกน้อยมาเป็นสมาชิกคนใหม่สักที ในกรณีนี้ ควรลอง ตรวจภาวะมีบุตรยาก เพื่อหาแนวทางรักษาและแก้ไขต่อไป [embed-health-tool-ovulation] ทำไมควร ตรวจภาวะมีบุตรยาก การตรวจหา ภาวะมีบุตรยาก มีจุดประสงค์เพื่อให้คู่แต่งงาน หรือผู้ที่ต้องการมีลูกทราบโอกาสหรือแนวโน้มในการมีลูก หากตรวจพบว่าอยู่ในภาวะการมีบุตรยาก คุณหมออาจช่วยเสนอแนวทางเพิ่มโอกาสในการมีลูกได้ โดยเฉพาะในคู่สมรสที่แต่งงานและมีเพศสัมพันธ์ตามปกติโดยไม่มีการคุมกำเนิดมาเป็นเวลากว่า 1 ปีแล้ว แต่ยังไม่ตั้งครรภ์ หรือสามีภรรยาที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป และต้องการจะมีลูก หากเข้าข่ายดังกล่าว ควรหาโอกาสเข้าปรึกษาคุณหมอและตรวจวินิจฉัยภาวะการมีบุตรยาก จะได้ทราบความเสี่ยงหรือแนวโน้มการตั้งครรภ์ในอนาคต เตรียมตัวก่อนไป ตรวจภาวะมีบุตรยาก อย่างไรดี ก่อนเข้ารับการตรวจภาวะมีบุตรยาก คู่สมรสสามารถเตรียมตัวไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้ดังนี้ เตรียมคำถามไว้ถามแพทย์ เพื่อให้ได้คำตอบสำหรับข้อสงสัยที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ หรือโอกาสในการตั้งครรภ์ หากเป็นไปได้ คู่สมรสควรไปด้วยกัน เพื่อให้ได้ทราบแนวโน้มหรือความเสี่ยงของสุขภาพทางเพศ โอกาสในการมีลูก รวมถึงความเสี่ยงว่าใครมีภาวะมีบุตรยาก เตรียมข้อมูลส่วนตัวให้พร้อม เช่น ประวัติการรักษาโรคที่ผ่านมา ยารักษาโรค อาหารเสริมที่บริโภคอยู่ ตลอดจนประวัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรสนิยมทางเพศ หรือปัญหาพันธุกรรม เลือกสถานพยาบาลที่ไว้วางใจ หรือมีราคาค่าตรวจภาวะมีบุตรยากในระดับที่พร้อมจ่าย เลือกวันและเวลาที่ตัวเองและคู่สมรสสะดวกตรงกัน เพื่อให้สามารถเข้ารับการตรวจได้พร้อม ๆ กัน และรับฟังคำวินิจฉัยร่วมกัน […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

อสุจิน้อย ควรดูแลสุขภาพอย่างไรเพื่อเพิ่มโอกาสการมีบุตร

อสุจิน้อย หมายถึง การที่มีจำนวนตัวอสุจิในน้ำเชื้อเมื่อหลั่งออกมาระหว่างการมีเพศสัมพันธ์หรือเมื่อถึงจุดสุดยอดในปริมาณที่น้อยกว่าปกติ ซึ่งส่งผลให้โอกาสที่ตัวอสุจิจะไปปฏิสนธิกับไข่ในร่างกายของเพศหญิงจนนำไปสู่การตั้งครรภ์นั้นต่ำกว่าปกติ ผู้ที่ต้องการมีบุตรหากไม่มั่นใจว่าตนเองมีปัญหาอสุจิน้อยหรือไม่ ควรเข้ารับการตรวจจากคุณหมอและขอคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อเพิ่มโอกาสมีบุตร   [embed-health-tool-ovulation] อสุจิน้อย เกิดจากอะไร ปัญหาน้ำอสุจิน้อย อสุจิไม่แข็งแรง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การใช้ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ (Anabolic Steroids) การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ โรคอ้วน การสัมผัสกับสารเคมีติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น ยาฆ่าแมลง สารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม การปนเปื้อนของสารโลหะหนัก ไม่เพียงแต่ทำให้อสุจิลดลง แต่ยังทำให้ อสุจิไม่แข็งแรง เสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก การได้รับรังสีในปริมาณสูง อัณฑะมีอุณหภูมิสูง เช่น การเข้าสปา ซาวน่า การแช่บ่อน้ำร้อน มีผลให้อสุจิลดลงชั่วคราว ภาวะหลอดเลือดดำอัณฑะขอด การติดเชื้อ เช่น หนองใน เอชไอวี หลอดน้ำอสุจิอักเสบ อัณฑะอักเสบ การบาดเจ็บ โดยเฉพาะการบาดเจ็บที่ท่อปัสสาวะ อัณฑะ ต่อมลูกหมาก ฮอร์โมนไม่สมดุล โครโมโซมบกพร่อง อาจมีสาเหตุอื่นที่นอกเหนือจากข้างต้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ควรเข้ารับการตรวจจำนวนอสุจิและขอรับคำแนะนำจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ  เมื่อมี อสุจิน้อย ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อมีภาวะของอสุจิน้อย อสุจิไม่แข็งแรง ควรมีการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใชีชีวิตประจำวันดังต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้อสุจิแข็งแรง และเพิ่มโอกาสการมีบุตร ควบคุมน้ำหนัก การมีน้ำหนักตัวมาก โรคอ้วน เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ปริมาณอสุจิลดลง […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

มินิไอวีเอฟ (Mini-IVF) ทางเลือกใหม่สำหรับผู้มีบุตรยาก

มินิไอวีเอฟ (Mini-IVF) หรือ Micro IVF เป็นกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้แก่ผู้ที่มีบุตรยาก โดยเป็นการใช้วิทยาการสมัยใหม่กระตุ้นรังไข่ซึ่งแตกต่างจากกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วปกติในเรื่องของปริมาณการใช้ยาเพื่อกระตุ้นรังไข่ให้มีไข่ตกจำนวนน้อยกว่าแต่คาดว่าจะได้ไข่ที่มีคุณภาพมากกว่า  [embed-health-tool-ovulation] มินิไอวีเอฟ.(Mini-IVF) เทคนิคการกระตุ้นรังไข่ เทคนิคมินิไอวีเอฟ..(Mini In Vitro Fertilization หรือ IVF) คือ กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วที่ใช้ยาปริมาณน้อยกว่าในการกระตุ้นรังไข่เพื่อให้ไข่ตก โดยวันที่ 3 ของการมีประจำเดือน คุณหมอจะให้ยารับประทานเพื่อไปกระตุ้นรังไข่เป็นระยะเวลา 8-10 วัน ร่วมกับการฉีดยาฮอร์โมนในปริมาณเล็กน้อย เพื่อกระตุ้นรังไข่ในช่วง 3-4 วัน  อย่างไรก็ตาม กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วมินิไอวีเอฟจะกระตุ้นรังไข่เพื่อให้ได้ฟองไข่ 3-4 ใบ และกลายเป็นตัวอ่อน 2-3 ตัว ที่มีคุณภาพ ซึ่งแตกต่างจากการทำไอวีเอฟทั่วไป เพราะเน้นการฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้นเพื่อให้ไข่ตกหลายใบ  แต่เนื่องจากร่างกายได้รับปริมาณยาและฮอร์โมนจำนวนมาก จึงอาจทำให้คุณภาพของตัวอ่อนด้อยกว่าการทำมินิไอวีเอฟ มินิไอวีเอฟมีประโยชน์แตกต่างจากการทำไอวีเอฟทั่วไปอย่างไร มินิไอวีเอฟมีประโยชน์แตกต่างจากการทำไอวีเอฟทั่วไป ดังต่อไปนี้ การทำมินิไอวีเอฟใช้ปริมาณยาที่ใช้ในการกระตุ้นรังไข่น้อยกว่า  ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการที่รังไข่เกิดการกระตุ้นมากเกินไป ไม่ต้องเจ็บปวดจากการโดนฉีดยากระตุ้นรังไข่ทุกวัน ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการทำไอวีเอฟแบบทั่วไป กระบวนการมินิไอวีเอฟสามารถผลิตไข่ได้มีคุณภาพสูงกว่าการทำไอวีเอฟทั่วไป อัตราความสำเร็จในการมีบุตรเมื่อเข้าสู่กระบวนการมินิไอวีเอฟ  จากผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการทดลองสำรวจกลุ่มตัวอย่างประชากร จำนวย  520 คน ซึ่งจัดแสดงในการประชุม American Society of Reproductive Medicine ( […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ภาวะมีบุตรยาก อาการ สาเหตุ และการรักษา

ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะที่ไม่สามารถมีบุตรได้แม้จะมีเพศสัมพันธ์บ่อยและไม่มีการคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปี โดยเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย มีสาเหตุจากปัญหาทางสุขภาพ ภาวะทางการแพทย์ รวมถึงการใช้ยาบางชนิด ทั้งนี้ ภาวะมีบุตรยากมักเกิดขึ้นในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี โดยไม่สามารถตั้งครรภได้หลังจากพยายามมีเพศสัมพันธ์นานกว่า 6 เดือน [embed-health-tool-”ovulation”] คำจำกัดความ ภาวะมีบุตรยาก คืออะไร ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถตั้งครรภ์ได้แม้จะมีเพศสัมพันธ์บ่อยและไม่มีการคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปี ภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงอาจเกิดขึ้นหากมีอายุมากกว่า 35 ปี และไม่สามารถตั้งครรภได้หลังจากพยายามมา 6 เดือน ความจริงแล้วปัญหามีบุตรยากสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย โดยสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก อาจเกิดขึ้นจากปัญหาทางสุขภาพ ความผิดปกติของการตกไข่ ความผิดปกติของอสุจิ ภาวะทางการแพทย์ รวมถึงการใช้ยาบางชนิด ภาวะมีบุตรยากพบได้บ่อยเพียงใด ภาวะมีบุตรยากมักพบในเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์  รวมถึงสภาวะเครียดทางจิตใจ อาการ อาการของภาวะมีบุตรยาก อาการหลักของภาวะมีบุตรยาก คือ การไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ กรณีผู้หญิงที่มีบุตรยากอาจเกิดจากความผิดปกติของประจำเดือน ส่วนในกรณีของผู้ชายอาจเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน โดยอาการที่แสดงออกของภาวะมีบุตรยากในเพศหญิงและเพศชายมีดังต่อไปนี้ อายุ 35 ปีขึ้นไปและพยายามตั้งครรภ์เป็นเวลา 6 เดือน หรือนานกว่านั้น ประจำเดือนมาไม่ปกติ เคยมีประวัติการแท้งมาก่อนหลายครั้ง เคยเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง ควรไปพบหมอเมื่อใด ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

PCOS กับการตั้งครรภ์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

PCOS หรือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นหนึ่งปัญหาในการตั้งครรภ์ที่เกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงจนส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์ และอาจนำไปสู่ภาวะการมีบุตรยาก มักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ุ PCOS กับการตั้งครรภ์ นั้นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS จึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ เพื่อลดอาการและความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีบุตรยาก [embed-health-tool-ovulation] PCOS คืออะไร PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) หรือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นความผิดปกติของฮอร์โมน อาจพบได้มากในผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ุ โดยผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มา ๆ หาย ๆ สำหรับสาเหตุของการเกิดภาวะ PCOS ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดจากการมีอินซูลินมากเกินไป อาการอักเสบชนิดต่ำที่กระตุ้นรังไข่ พันธุกรรม และร่างกายมีระดับฮอร์โมนเพศชายมากผิดปกติ เป็นต้น PCOS กับการตั้งครรภ์ PCOS เป็นหนึ่งในปัญหาการตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งอาจกระทบต่อการทำงานของระบบสืบพันธ์ุ ดังนี้ PCOS ส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอนโดรเจนมากผิดปกติ แอนโดรเจน (Androgen) เป็นฮอร์โมนเป็นชาย หากมีมากร่างกายจะเปลี่ยนฮอร์โมนชนิดนี้ไปเป็นเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง เมื่อมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงก็อาจส่งผลต่อการพัฒนาไข่และการตกไข่ ทำให้ไข่ที่แข็งแรงไม่ถูกปล่อยออกมา ตัวอสุจิไม่สามารถเข้าไปผสมกับไข่ได้ จึงไม่เกิดการตั้งครรภ์ PCOS ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ รอบเดือนของผู้หญิงแต่ละคนจะแตกต่างกันไป อาจขึ้นอยู่กับอายุและสภาวะสุขภาพ แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีรอบเดือนห่างกันทุก ๆ 28 […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Premature ovarian failure)

รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด คือภาวะที่รังไข่หยุดการทำงานก่อนอายุ 40 ปี ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ไม่มีประจำเดือน และส่งผลเสียต่อร่างกายอื่น ๆ ตามมาจากการที่ขาดฮอร์โมนเพศหญิงก่อนเวลาอันควร ทั้งนี้ ผู้หญิงควรสังเกตตนเองโดยเฉพาะสุขภาพประจำเดือน หากพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการเสี่ยงควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจร่างกาย [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด คืออะไร รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Premature ovarian insufficiency) คือภาวะที่รังไข่หยุดการทำงานก่อนอายุ 40 ปี หากรังไข่เสื่อมจะหยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ไม่เกิดการตกไข่ได้ตามปกติ ไม่มีประจำเดือน และเสี่ยงเกิดภาวะมีบุตรยาก รวมทั้งอาการของภาวะขาดฮอร์โมนต่าง ๆ ตามมาได้ การฟื้นฟูระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงที่มีภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนบางประการได้ เช่น โรคกระดูกพรุนที่เกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด พบบ่อยเพียงใด ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด พบได้น้อย โดยเกิดขึ้นกับผู้หญิง 1 คนใน 1,000 คน ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี และในผู้หญิง 1 คนใน 100 คน ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ทั้งนี้ โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของ ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด อาการทั่วไปของรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ได้แก่ ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนขาดซึ่งอาจเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี หรือเกิดขึ้นหลังการตั้งครรภ์ หรือหลังจากหยุดใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ตั้งครรภ์ได้ยาก […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ภาวะขาดไทรอยด์ ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงจริงหรือ

ภาวะขาดไทรอยด์ สามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะและการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะผลกระทบต่อการเจริญพันธุ์ของผู้หญิง อาจทำให้เกิดปัญหามีลูกยาก  หรือมีปัญหาระหว่างการตั้งครร์ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพ และตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี หากต้องการมีลูก ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อความปลอดภัยของตนเองและทารกที่จะเกิดมา ภาวะขาดไทรอยด์ คืออะไร ภาวะขาดไทรอยด์ (Underactive Thyroid) หรือไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ของผู้ป่วยทำงานผิดปกติ ทำให้ผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นบางชนิดออกมาไม่เพียงพอ ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมไทรอยด์นั้น ส่งผลต่อระบการทำงานแทบทุกส่วนในร่างกายตั้งแต่หัวใจ สมอง กล้ามเนื้อ ไปจนถึงผิวหนัง เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์มีหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย เมื่อขาดฮอร์โมนไทรอยด์จึงทำให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไปด้วย ภาวะขาดไทรอยด์ ทำให้มีลูกยากจริงหรือ ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะเกือบทุกอย่างของร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้อย่างเพียงพอ หรือที่เรียกว่า ภาวะขาดไทรอยด์ หากเกิดในผู้หญิง สามารถส่งผลต่อการตกไข่และการเจริญพันธุ์ได้ รวมถึงอาจทำให้ผู้หญิงเกิดปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ได้ด้วย [embed-health-tool-ovulation] ผู้หญิงประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ในประเทศสหรัฐอเมริกามีภาวะขาดไทรอยด์ หากเกิดภาวะนี้ในระหว่างตั้งครรภ์และไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนก่อนการคลอด เช่น แท้งลูก ครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ ภาวะขาดไทรอยด์ ยังส่งผลกระทบต่อทารกด้วย โดยทารกที่เกิดจากแม่ที่มีภาวะขาดไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์ […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ยาเพรดนิโซโลน ช่วยแก้ปัญหามีบุตรยากได้จริงเหรอ

ยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) หรือยาเพรดนิโซน (Prednisone) เป็นยาสเตียรอยด์ชนิดหนึ่งที่ใช้เพื่อรักษาอาการต่าง ๆ เช่น อาการอักเสบ ภูมิแพ้ ปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน ปัญหาระบบการหายใจ โรคมะเร็ง โดยออกฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันและช่วยลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ บางครั้งคุณหมอก็อาจให้ยาเพรดนิโซโลนสำหรับผู้ที่มีปัญหามีบุตรยาก หรือมีปัญหาแท้งบุตรบ่อยครั้ง เพื่อช่วยลดเซลล์ที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการใช้ยาเพรดนิโซโลนเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ [embed-health-tool-ovulation] เพรดนิโซนหรือ ยาเพรดนิโซโลน คืออะไร เพรดนิโซน หรือเพรดนิโซโลน เป็นคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ ที่มีสรรพคุณในการยับยั้งการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ในบางครั้งมีการสั่งยาเพรดนิโซโลนสำหรับผู้หญิงที่มีการแท้งซ้ำ และผู้ที่มีเซลล์เอ็นเค (NK cells) ซึ่งเป็นเซลล์ที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ สำหรับผู้ชายยาเพรดนิโซโลนใช้เพื่อช่วยลดการสร้างแอนติบอดีที่ต้านอสุจิ อย่างไรก็ดี เพรดนิโซโลน ไม่ได้ใช้สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์เท่านั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ มีความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด และมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจและผิวหนัง สามารถใช้ประโยชน์จากยาเพรดนิโซโลนได้เช่นกัน ซึ่งเป็นผลดีจากสรรพคุณเกี่ยวกับการต้านการอักเสบและการกดภูมิคุ้มกัน ยาเพรดนิโซโลนช่วยแก้ปัญหามีบุตรยากได้จริงเหรอ ถึงแม้ว่าเพรดนิโซโลน จะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในเวชปฏิบัติทั่วไป แต่สรรพคุณเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ยังไม่เป็นที่ยืนยัน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้ยานี้ ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทที่น่าสงสัยของเพรดนิโซโลน ในการลดความเสี่ยงในการแท้ง และและอันตรายของเซลล์เอ็นเค อย่างไรก็ดี การศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาขนาดเล็ก และจนกระทั่งปัจจุบันนี้ยังไม่มีการทดลองใช้อย่างกว้างขวาง ผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรเลียทำการศึกษา โดยการใช้ยาเพรดนิโซโลนในขนาดเล็กน้อยร่วมกับยาเจือจางเลือด Clexane ด้วยความหวังว่าจะช่วยยับยั้งเซลล์เอ็นเคในผู้หญิงที่มีการแท้งซ้ำ ผลลัพธ์เป็นไปในทางที่ดี และไม่เพียงพอที่จะได้ข้อสรุปที่หนักแน่น เนื่องจากมีกลุ่มตัวอย่างน้อย การใช้ยาเพรดนิโซโลนสำหรับผู้ที่มีบุตรยาก ในผู้ป่วยหญิงทั่วไป […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ไฮโปไทรอยด์ ส่งผลต่อโอกาสตั้งครรภ์อย่างไร

ไฮโปไทรอยด์ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxine) มากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนไทรอกซินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ในการควบคุมเมแทบอลิซึม เพื่อผลิตพลังงานให้แก่ร่างกาย โดยภาวะไฮโปไทรอยด์อาจพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ เช่น วงจรการตกไข่ ระดับโปรแลคตินสูง ความไม่สมดุลของฮอรโมนเพศ และหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก [embed-health-tool-ovulation] ไฮโปไทรอยด์ คืออะไร ไฮโปไทรอยด์ เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอกซินมากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนไทรอกซินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ในการควบคุมเมแทบอลิซึม เพื่อผลิตพลังงานให้แก่ร่างกาย โดยไฮโปไทรอยด์อาจพบได้บ่อยในเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ และอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ เช่น วงจรการตกไข่ ระดับโปรแลคตินสูง ความไม่สมดุลของฮอรโมนเพศ และหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ไฮโปไทรอยด์ กับการตั้งครรภ์ ไฮโปไทรอยด์อาจส่งผลต่อการตกไข่ โดยปกติผู้หญิงที่มีประจำเดือนในแต่ละเดือน ไข่จะถูกปล่อยออกมาจากรังไข่ แต่สำหรับผู้หญิงที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์ อาจตกไข่น้อยลงหรือไม่ตกไข่เลย ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ นอกจากนั้น ภาวะไฮโปไทรอยด์ยังอาจรบกวนการพัฒนาของตัวอ่อน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร หากคุณแม่ตั้งครรภ์โดยที่ไม่ได้รับการรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์ อาจส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระบบประสาท ดังนั้น ผู้ที่ต้องการมีบุตรหรือกำลังตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์และได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาการของภาวะไฮโปไทรอยด์ อาการของภาวะไฮโปไทรอยด์ที่อาจเกิดขึ้น อาจมีดังนี้ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น น้ำหนักลดทั้งที่รับประทานอาหารในปริมาณปกติ เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ หงุดหงิด วิตกกังวล สูญเสียกระดูก กระดูกบาง การตรวจและรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์ สำหรับการตรวจหาภาวะไฮโปไทรอยด์ คุณหมออาจตรวจร่างกายและตรวจเลือด เพื่อวัดระดับฮอรโมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน