backup og meta

นับวันไข่ตก นับอย่างไร และสัญญาณวันไข่ตกที่ควรรู้

นับวันไข่ตก นับอย่างไร และสัญญาณวันไข่ตกที่ควรรู้

การตกไข่ วันตกไข่ หรือวันไข่ตก คือหนึ่งในปัจจัยในการตั้งครรภ์ หากสามารถนับวันไข่ตกได้อย่างใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดก็จะมีประโยชน์ในการวางแผนและการเตรียมพร้อมตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่ต้องการมีลูก เพราะหากมีความแม่นยำสูงก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงมากขึ้นตามไปด้วย

การตกไข่ คืออะไร

การตกไข่ (Ovulation) เป็นหนึ่งในกระบวนการของการเจริญพันธุ์และการมีประจำเดือนของเพศหญิง โดยภาวะตกไข่นี้จะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น โดยปกติแล้ว ผู้หญิงในช่วงวัยรุ่นมักจะมี วันตกไข่ หรือมีการตกไข่เดือนละ 1 ครั้ง  การตกไข่นี้ใช้เรียกกระบวนการเมื่อรังไข่ได้ผลิตเซลล์ไข่ขึ้น และปล่อยเซลล์ไข่ผ่านท่อนำไข่มายังมดลูก

หากไข่ที่ปล่อยออกมานั้นได้ปฏิสนธิกับตัวอสุจิ ก็จะเกิดการฝังตัวในเยื่อบุมดลูก และพัฒนากลายเป็นตัวอ่อนและเรียกว่า การตั้งครรภ์ แต่หากไข่ที่ร่างกายผลิตปไม่ได้ปฏิสนธิกับตัวอสุจิ ไข่นั้นจะฝ่อและสลายตัว และเยื่อบุมดลูกที่ไม่มีไข่มาฝังก็จะสลายออก และถูกขับออกมาเป็นเลือดประจำเดือน

โดยปกติแล้วผู้หญิงจะมีการตกไข่ออกมาครั้งละ 1 ใบ แต่ในบางครั้งรังไข่ก็อาจจะปล่อยไข่ออกมาออกมามากกว่า 1 ใบ และหากไข่ทั้งสองใบนั้นได้ทำการปฏิสนธิกับตัวอสุจิ และทำการฝังตัวในเยื่อบุมดลูกได้ทั้งคู่ ก็จะกลายเป็นการตั้งครรภ์แฝดไข่คนละใบ

วิธีการ-นับวันไข่ตก-เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ขอบคุณรูปจาก : กรมอนามัย

นับวันไข่ตก ต้องทำอย่างไรบ้าง

การจะคำนวณนับ วันไข่ตก สิ่งที่ต้องจดจำให้แม่นยำคือ ระยะการมีประจำเดือนของตัวเอง เนื่องจากผู้หญิงแต่ละคน จะมีระยะเวลาการมีรอบเดือนที่แตกต่างกัน โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีระยะรอบเดือนอยู่ที่ 28 วัน สำหรับผู้หญิงที่มีประเดือนมาตามปกติ และตรงเวลาในทุกครั้ง จะง่ายต่อการนับวันไข่ตก และแม่นยำมากยิ่งขึ้น

รอบที่ไข่ตกนั้นจะเริ่มต้นนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนไป 14 วัน จะเป็นวันไข่ตก หากคู่รักต้องการที่จะมีลูก ควรมีเพศสัมพันธ์กันในช่วงเวลา 1-2 วันก่อนวันไข่ตก เนื่องจากตัวอสุจินั้นสามารถอยู่ในมดลูกได้นานประมาณ 2 วัน จะทำให้ตัวอสุจิได้มีโอกาสมาเจอกับไข่และปฏิสนธิได้พอดี

สัญญาณของร่างกายที่บ่งบอกว่าใกล้วันไข่ตก

มีอารมณ์ทางเพศเพิ่มมากขึ้น ตามธรรมชาติในการสืบพันธุ์ของมนุษย์ ทำให้ผู้หญิงจะรู้สึกมีอารมณ์ทางเพศเพิ่มมากขึ้น ในช่วงที่ไข่ตก นอกจากนี้ เลือดมักไปหล่อเลี้ยงในบริเวณช่องคลอดมากขึ้น และร่างกายมีสร้างสารหล่อลื่นในช่องคลอดเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ในช่วงเวลาไข่ตก ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในร่างกายจะสูงขึ้น ส่งผลให้ระดับอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อยด้วยเช่นกัน

เต้านมคัด ในช่วงวันไข่ตก อาจเริ่มมีอาการเจ็บคัดที่เต้านม

ปวดท้องน้อย อาจมีอาการปวดท้องน้อยข้างเดียว เนื่องจากรังไข่ปรับสภาพให้เหมาะสมกับการฝังตัวอ่อน

หากไม่มั่นใจในการนับวันไข่ตกด้วยตนเอง ปัจจุบันนี้ มีแอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้การนับวันไข่ตกนั้นแม่นยำมากขึ้น หรือตามเว็บไซต์สุขภาพ มักมี เครื่องคำนวณการตกไข่ ที่จะช่วยคำนวณวันตกไข่ได้อย่างแม่นยำ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้มากขึ้น แต่พึงระลึกไว้เสมอว่า การนับวันตกไข่นั้นเป็นเพียงหนึ่งในวิธีการที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์เท่านั้น ไม่สามารถทำให้เกิดการตั้งครรภ์ 100% ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก อย่างไรก็ตามหากต้องการเตรียมพร้อมตั้งครรภ์โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ovulation Calculator. https://www.webmd.com/baby/healthtool-ovulation-calculator. Accessed January 27, 2022.

Ovulation Date Calculator. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=ovulation-date-calculator-41-OvulationCalc. Accessed January 27, 2022.

How can I tell when I’m ovulating?. https://www.nhs.uk/common-health-questions/womens-health/how-can-i-tell-when-i-am-ovulating/. Accessed January 27, 2022.

Ovulation Calculator. https://www.medicinenet.com/ovulation_date_calculator_fertile_days_cycle/views.htm. Accessed January 27, 2022.

When are you more likely to conceive? https://www.yourfertility.org.au/everyone/timing. Accessed January 27, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/01/2022

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง

ตั้งครรภ์อย่างไร ให้แข็งแรง เมื่อก้าวเข้าสู่ วัย 40


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/01/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา