backup og meta

โรคเลือด อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเลือด อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเลือด คือ ความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หายใจลำบาก ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง

คำจำกัดความ

โรคเลือด คืออะไร

เลือด เป็นประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลวซึ่งเรียกว่า พลาสมา และของแข็งซึ่งประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด เมื่อเลือดเกิดความผิดปกติอาจส่งผลต่อองค์ประกอบของเลือด ดังนี้ 

  • เซลล์เม็ดเลือดแดง ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หายใจลำบาก 
  • เซลล์เม็ดเลือดขาว ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
  • เกล็ดเลือด หากเกล็ดเลือดต่ำอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียเลือดมากแม้ได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย หรือหากเกล็ดเลือดสูงอาจส่งผลให้เลือดก่อตัวเป็นลิ่มเลือดจนเกิดอาการอุดตัน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวาย 

อาการ

อาการของโรคเลือด

ความผิดปกติของเลือดที่ส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง 

  • เหนื่อยล้า 
  • อ่อนเพลีย 
  • หายใจหอบ 
  • ภาวะโลหิตจาง
  •  ธาลัสซีเมีย 
  • โรคเลือดข้น 

ความผิดปกติของเลือดที่ส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว 

  • เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ 
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาว 
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • อาการวิงเวียนศีรษะ
  • หายใจถี่
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

ความผิดปกติของเลือดที่ส่งผลต่อเกล็ดเลือด 

  • เสียเลือดได้ง่ายถึงแม้ว่าจะมีอาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย 
  • ผิวช้ำกระจายใต้ผิวหนัง 
  • เลือดออกบริเวณจมูก เหงือก ระบบทางเดินอาหาร ระบบปัสสาวะ โดยไม่ทราบสาเหตุ

สาเหตุ

สาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคเลือด

สาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคเลือด มีดังต่อไปนี้

  • กรรมพันธุ์

โรคเลือดสามารถถ่ายทอดได้ในครอบครัว หมายความว่าหากพ่อแม่หรือพี่น้องของเป็นโรคเลือด อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเลือดได้

  • การติดเชื้อ

การติดเชื้อบางชนิดสามารถลดจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดได้ การติดเชื้ออื่น ๆ ยังอาจเพิ่มการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวได้อีกด้วย

  • การขาดสารอาหาร

ความผิดปกติเกี่ยวกับการดูดซึมธาตุเหล็ก สามารถทำให้เกิดโรคเลือดได้ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดแดงได้อย่างเพียงพอ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเลือด

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเลือด มีดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง
  • โรคอ้วน
  • การสูบบุหรี่
  • ลำไส้ผิดปกติ โรคเรื้อรัง
  • ประจำเดือนหรือการตั้งครรภ์
  • อายุที่มากขึ้น
  • มีการออกกำลังกายที่ใช้แรงมาก
  • ขาดการออกกำลังกาย

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคเลือด

เพื่อตรวจหาความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด คุณหมออาจทำการทดสอบ ดังต่อไปนี้

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เป็นการทดสอบที่พบได้บ่อยที่สุด สำหรับการตรวจหาความผิดปกติของเลือด เพื่อประเมินส่วนประกอบเกี่ยวกับเซลล์เลือดทั้งหมด 
  • อัตราการสร้างเม็ดเลือดแดง เป็นการวัดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่ ในปริมาณเลือดเฉพาะ เพื่อวัดประสิทธิภาพของไขกระดูกในการสังเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่
  • การทดสอบเซลล์เม็ดเลือดพิเศษ คุณหมออาจวัดสัดส่วนของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่แตกต่างกัน และความสามารถของเซลล์เม็ดเลือดขาว ในการต้านการติดเชื้อ
  • การทดสอบการแข็งตัวของเลือด คุณหมออาจทดสอบประสิทธิภาพการแข็งตัวของเลือด รวมถึงประเมินความผิดปกติในระบบการแข็งตัวของเลือด
  • การวัดค่าโปรตีนและสารต่าง ๆ คุณหมออาจใช้ตัวอย่างปัสสาวะ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีนในการทดสอบหาความผิดปกติโครงสร้างของโปรตีน

การรักษาโรคเลือด

หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงคุณหมออาจแนะนำใหใช้ยาเพื่อกระตุ้นให้ไขกระดูกผลิตเกล็ดเลือด เช่น ยาโรมิโพลสติม รวมถึงการรับประทานอาหารเสริมเพื่อบำรุงเซลล์เม็ดเลือดแดงอย่าง ธาตุเหล็ก วิตามินบี 9 วิตามินบี 12 เป็นต้น 

สำหรับผู้ป่วยโรคเลือดที่ใช้การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล แพทย์อาจทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไขกระดูกเพื่อทดแทนเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกาย 

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตนเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเลือด

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยงของโรคเลือด แต่ในกรณีที่พ่อแม่เคยมีประวัติเป็นโรคเลือด อาจต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเป็นโรคเลือด 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Overview of Blood Disorders. http://www.merckmanuals.com/home/blood-disorders/symptoms-and-diagnosis-of-blood-disorders/overview-of-blood-disorders. Accessed July 21, 2016.

Blood Cell Disorders. http://www.healthline.com/health/blood-cell-disorders#Overview1. Accessed July 21, 2016.

Symptoms of Blood Disorders. http://www.merckmanuals.com/home/blood-disorders/symptoms-and-diagnosis-of-blood-disorders/symptoms-of-blood-disorders. Accessed July 21, 2016.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/09/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

อัปเดตโดย: จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์


บทความที่เกี่ยวข้อง

เลือดเป็นกรด (Acidosis) สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ วิธีรักษา

ตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด (Activated Clotting Time)



เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 29/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา