หากคุณมีแผลไฟไหม้แล้วไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อรักษา แพทย์จะต้องทำการประเมินความรุนแรงของแผลไฟไหม้ว่าอยู่ในระดับไหนด้วยการตรวจผิวหนัง แต่ในการ ดูแลแผลไฟไหม้ ที่เกิดขึ้น คุณเองก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง บทความนี้ ทาง Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกัน
วิธีการ ปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้
เมื่อเกิดแผลไฟไหม้ สิ่งที่ควรรีบทำที่สุดก็คือการปฐมพยาบาล ซึ่งบางคนอาจจะยังไม่รู้วิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกวิธี ดังนั้น ลองมาดูวิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องกันก่อนดีกว่า
- หยุดกระบวนการเผาไหม้โดยเร็วที่สุด
วิธีนี้รวมไปถึงการนำบุคคลที่บาดเจ็บออกจากสถานที่เกิดเหตุ การดับไฟด้วยน้ำเปล่า การใช้ผ้าห่มปกคลุมเปลวไฟ แต่วิธีการเหล่านี้ต้องได้รับการอบรมเบื้องต้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และควรทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจจะเสี่ยงต่อการถูกไฟไหม้ได้เช่นกัน
- ถอดเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ
พยายามถอดเสื้อผ้า เครื่องประดับ รวมถึงผ้าอ้อม ออกจากบริเวณที่โดนผิวหนัง แต่อย่าพยายามเอาสิ่งเหล่านี้ออกถ้ามันติดอยู่บนผิวหนังที่ถูกไฟไหม้ เพราะมันอาจจะทำให้บาดแผลเกิดความเสียหายมากขึ้น
- ทำให้บริเวณที่โดนไฟไหม้เย็นลง
สามารถทำได้ด้วยการใช้น้ำเย็น หรือน้ำอุ่นล้างแผลประมาณ 20 นาที โดยจะต้องทำโดยเร็วที่สุดหลังจากได้รับบาดเจ็บ ที่สำคัญ ห้ามใช้น้ำแข็ง หรือครีมในการทำให้แผลเย็นลง
- ให้ความอบอุ่น
พยายามทำให้ตัวเอง หรือผู้ที่ประสบเหตุไฟไหม้อบอุ่น ด้วยการใช้ผ้าห่มหรือเสื้อผ้าที่หนาๆ มาคลุมไว้ แต่พยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่บาดเจ็บ การรักษาความอบอุ่นจะช่วยป้องกันภาวะอุณหภูมิในร่างกายลดลง ซึ่งเมื่อประสบเหตุไฟไหม้ อุณหภูมิของร่างกายจะลดลงต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส
- ทานยา
การทานยาพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนก็เพื่อรักษาอาการปวดที่เกิดจากแผลไฟไหม้นั่นเอง แต่ทั้งนี้ควรใช้โดยได้รับคำแนะนำจากเภสัชหรือผู้ที่เชี่ยวชาญจะเป็นการดีที่สุด และเด็กที่ต่ำกว่าอายุ 16 ไม่ควรได้รับยาแอสไพริน
- นั่งตัวตรงให้มากที่สุด
พยายามนั่งให้ตัวตรงมากที่สุด หากใบหน้าหรือดวงตาของคุณถูกไฟไหม้ เพื่อช่วยลดอาการบวมที่อาจเกิดขึ้น หลีกเลี่ยงการนอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
วิธีการ ดูแลแผลไฟไหม้ อย่างปลอดภัย
การ ดูแลแผลไฟไหม้ มีด้วยกันหลายวิธี ทั้งการดูแลด้วยตัวเองที่บ้าน ไปจึงถึงขั้นการเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแผลไฟไหม้เล็กน้อยนั้นสามารถรักษาเองได้ที่บ้าน ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์
แต่หากเป็นแผลไฟไหม้อย่างรุนแรงนั้น หลังจากมีการปฐมพยาบาลแล้ว ทางแพทย์จะมีการประเมินบาดแผล เพื่อเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม ซึ่งมีทั้งการใช้ยาในการรักษา รวมไปถึงการผ่าตัด ซึ่งเป้าหมายทั้งหมด ก็เพื่อควบคุมความเจ็บปวด โดยการกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว นอกจากนั้นก็เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่แผลอีกด้วย ดังนั้น ลองมาดูวิธีการดูแลแผลไฟไหม้ ในแบบต่างๆ กัน ดังนี้
การรักษาทางการแพทย์
หลังจากได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับแผลไฟไหม้แล้ว การรักษาทางการแพทย์อาจจะมีการใช้ยาเข้ามาร่วมด้วย เพื่อกระตุ้นการรักษาให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการรักษาแผลไฟไหม้ทางการแพทย์ มีดังนี้
- การบำบัดด้วยน้ำ
ทีมแพทย์อาจดูแลแผลไฟไหม้ของคุณด้วยการใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การบำบัดด้วยคลื่นอัลตร้าซาวน์ เพื่อทำความสะอาดและกระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณแผล ส่วนของเหลวนั้นใช้เพื่อป้องกันการขาดน้ำ โดยร่างกายของคุณอาจจะต้องการของเหลวทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และอวัยวะภายในล้มเหลว
- ยาแก้ปวดและวิตกกังวล
แผลไฟไหม้จากการรักษาสามารถก่อให้เกิดความเจ็บปวดได้ ดังนั้น แพทย์อาจจะต้องให้มอร์ฟีนและยาลดความวิตกกังวล ร่วมในการรักษาด้วย
- ครีมและขี้ผึ้ง
หากคุณไม่ได้รับการย้ายไปยังศูนย์ดูแลแผลไฟไหม้ (Burn Center) ทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาคุณอยู่ อาจจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมาใช้ในการรักษาบาดแผล เช่น ยาปฏิชีวนะ อย่าง บาซิทราซิน (Bacitracin และ ซิลเวอร์ ซัลฟาไดอะซีน (Silver Sulfadiazine) เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ นั่นเอง
- เครื่องแต่งกาย
หากคุณถูกโอนย้ายไปยังศูนย์ดูแลแผลไฟไหม้ แผลของคุณอาจจะถูกปกคลุมด้วยผ้ากอซแห้งแทนเครื่องแต่งกาย เพื่อเตรียมความพร้อมของแผลในการรักษา
- ยาที่ต่อสู่กับการติดเชื้อ
เมื่อคุณติดเชื้อ คุณอาจจะต้องได้รับยาปฏิชีวนะชนิดฉีด (IV antibiotics) เพื่อช่วยในการรักษา
- วัคซีนบาดทะยัก (Tetanus Shot)
แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก หลังจากได้รับการบาดเจ็บจากแผลไฟไหม้
กายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดต่างๆ
หากแผลไฟไหม้มีขนาดใหญ่ ทั้งยังครอบคลุมบริเวณข้อต่อต่างๆ คุณอาจจะต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัด เพราะการทำเช่นนี้จะช่วยยืดผิว เพื่อให้ข้อต่อสามารถยืดหยุ่นได้ นอกจากนั้นการออกกำลังกายประเภทอื่นๆ ก็สามารถปรับปรุงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย ซึ่งกิจกรรมบำบัดต่างๆ นั้นอาจช่วยให้แผลไฟไหม้ดีขึ้นได้ ถ้าหากคุณมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ
การผ่าตัดและอื่นๆ
หากแผลไฟไหม้มีขนาดใหญ่ แพทย์อาจจะเลือกวิธีการผ่าตัด เพื่อรักษาแผลไฟไหม้ ซึ่งคุณอาจจะต้องใช้ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
- เครื่องช่วยหายใจ
หากคุณถูกไฟไหม้ที่ใบหน้า หรือลำคอ อาจส่งผลทำให้เกิดอาการบวมที่ลำคอ ดังนั้น แพทย์อาจจะใส่เครื่องช่วยหายใจเอาไว้ที่หลอดลม เพื่อเก็บออกซิเจนไว้ในปอด
- หลอดอาหาร
ผู้ที่มีแผลไฟไหม้ หรือผู้ที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอ อาจต้องการการสนับสนุนทางโภชนาการ ดังนั้น แพทย์อาจจะใช้หลอดอาหารสอดเอาไว้ที่จมูก เพื่อส่งอาหารไปยังกระเพาะอาหารของคุณ
- แผลตกสะเก็ด (Eschar)
หากแผลไฟไหม้มีการตกสะเก็ด โดยเฉพาะบริเวณรอบๆ หน้าอก อาจจะทำให้เกิดการหายใจลำบาก ดังนั้น แพทย์อาจจะตัดเอาแผลที่ตกสะเก็ดนี้ออก เพื่อบรรเทาความดัน ทั้งยังทำให้เลือดไหลเวียนบริเวณแผลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
- ปลูกถ่ายผิวหนัง
การปลูกถ่ายผิวหนัง เป็นขั้นตอนการผ่าตัดโดยใช้บริเวณผิวที่มีสุขภาพดี มาแทนที่เนื้อเยื่อแผลที่เกิดจากแผลไฟไหม้ลึก ซึ่งผิวหนังที่นำมาใช้นั้น จะเป็นผิวหนังของผู้ได้รับบาดเจ็บเอง ผิวหนังจากผู้บริจาค หรือผิวหนังของหมูที่ตายแล้ว ก็สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาชั่วคราวได้
- ทำศัลยกรรมพลาสติก
การทำศัลยกรรมพลาสติก เป็นการปรับปรุงลักษณะรอยแผลเป็นที่เกิดจากไฟไหม้ให้มีลักษณะดีขึ้น ทั้งยังเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อที่ได้รับผลกระทบจากรอยแผลเป็นอีกด้วย
แต่ถ้าหากแผลไฟไหม้อยู่ในระดับที่ 3 การโทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน ก็ถือเป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นแล้วควรปกป้องพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ ด้วยการคลุมอย่างหลวมๆ ด้วยผ้าพันแผลที่ปลอดเชื้อ แต่หากแผลไฟไหม้มีขนาดใหญ่ก็ควรหาพลาสติกที่สะอาดมาคลุมเอาไว้แทน ไม่ควรใช้สำลีในการครอบคลุมแผล จากนั้นควรแยกนิ้วและนิ้วเท้าที่ถูกไฟไหม้ด้วยผ้าพันแผลที่แห้ง และเอาแผลไฟไหม้แช่ในน้ำ หรือนำขี้ผึ้งมาทา เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]