เด็กเล่นโทรศัพท์ เป็นพฤติกรรมของเด็กที่ใช้โทรศัพท์มือถือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งเพื่อดูรายการโทรทัศน์ เล่นเกม ส่งข้อความ โทรหรือวิดีโอคอลคุยกับเพื่อน ซึ่งหน้าจอโทรศัพท์ รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ล้วนแต่มีคลื่นไมโครเวฟที่่อาจเป็นอันตรายได้ ยิ่งโดยส่วนใหญ่เด็กในปัจุบันนี้มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเองทำให้โทรศัพท์อยู่กับตัวตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องศึกษาถึงผลเสียจากการเล่นโทรศัพท์ รวมทั้งข้อควรระวังและวิธีแก้ไข
เหตุผลที่เด็กเล่นโทรศัพท์
คลื่นที่ถูกส่งออกมาจากโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ อาจถึงขั้นทำให้เป็นโรคมะเร็งได้ แต่ปัจจุบันนี้เด็กนิยมเล่นโทรศัพท์เพราะสาเหตุ ดังนี้
- โทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร รวมถึงสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว และทำกิจกรรมได้หลายอย่าง ทั้งดูโทรทัศน์ ค้นคว้าหาข้อมูล ฟังเพลง ถ่ายรูป แชทหรือโทรคุยกับเพื่อน ดูวิดีโอ เล่นโซเชี่ยลมีเดีย ติดตามดาราหรือบุคคลมีชื่อเสียงที่่ชื่นชอบ จึงทำให้จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกรวมทั้งจำนวนเด็กเล่นโทรศัพท์เพิ่มขึ้นรวดเร็วตามไปด้วย
- การพัฒนาประสิทธิภาพต่าง ๆ ดีขึ้น รวมถึงสัญญาณในการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้จึงใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น
- มีสิ่งน่าสนใจ เร้าอารมณ์ความรู้สึก กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งตอบสนองพฤติกรรมของเด็กและเป็นไปตามช่วงวัยและพัฒนาการ ไม่ควรปิดกั้นแต่ควรหาวิธีจำกัดการใช้งาน
อันตรายจากคลื่นไมโครเวฟ
หากคุณแม่ใช้โทรศัพท์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากจนเกินไปขณะที่กำลังตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงในการได้รับคลื่นไมโครเวฟมากกว่าเด็กที่คลอดออกมาแล้วมากพอสมควร เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองของเด็กทารกนั้นสามารถดูดซึมคลื่นไมโครเวฟได้ถึง 2 เท่า ไม่เพียงเท่านั้น คลื่นนี้ยังถูกดูดซึมไปยังกระดูกสันหลังได้มากกว่าผู้ใหญ่ถึง 10 เท่า ทั้งนี้
นอกจากนี้ ยังมีบทความวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคลื่นมือถือกับเนื้องอกในสมอง เผยแพร่ในวารสาร Pathophysiology พ.ศ. 2552 ระบุว่า ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีเล่นมือถือ มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าผู้ใหญ่ในการเป็นเนื้องอกในสมอง เนื่องจากไดรับคลื่นไมโครเวฟในอัตราที่มากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากขนาดของสมองนั้นเล็กกว่า รวมทั้งเนื้อเยื่อและกระดูกก็เล็กกว่าเช่นกัน
อีกหนึ่งงานวิจัยเผยแพร่ใน Epidemiology พ.ศ. 2551 รายงานว่า หากเด็กเล่นโทรศัพท์มากเกินไปเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder) แม้ว่าเด็กโรคสมาธิสั้นจะเกิดจากการมีระดับของตะกั่วในเลือดสูงกว่าปกติก็ตาม นอกจากนั้น นักวิจัยยังพบว่า โรคสมาธิสั้นมักพบในเด็กที่เล่นโทรศัพท์บ่อยและนาน
วิธีปรับพฤติกรรมและลดอันตรายเมื่อเด็กเล่นโทรศัพท์
คุณพ่อคุณแม่ควรปรับพฤติกรรมในการใช้โทรศัพท์มือถือให้เหมาะสม รวมทั้งหาวิธีป้องกันรังสีจากโทรศัพท์ส่งผลกระทบต่อลูกน้อย โดยปฏิบัติดังนี้
- เก็บมือถือให้ห่างจากตัว โดยอาจจะไว้ในลิ้นชักหรือโต๊ะที่ห่างจากตัวเมื่อไม่ใช้งาน เพราะถึงแม้จะไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือโดยตรง แต่ก็ยังมีคลื่นรังสีออกมา
- ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือวางใกล้ตัวขณะหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีเด็กเล็กและเด็กวัยรุ่นอยู่ในห้องด้วย เนื่องจากอาจได้รับคลื่นที่ปล่อยออกมา
- คุณแม่ให้นมควรหลีกเลี่ยง สำหรับคุณแม่ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือในขณะให้นมลูกน้อย
- เปิดโหมดเครื่องบิน (Airplane Mode) โดยเฉพาะขณะนอนหลับ เพื่อลดปริมาณคลื่นรังสีที่ร่างกายได้รับ
- ปิดและถอดปลั๊กอุปกรณ์ โดยเฉพาะตัวส่งสัญญาณไวไฟภายในบ้านเมื่อไม่ใช้งาน หรือเมื่อออกจากบ้าน
- ใช้หูฟังหรือเปิดโหมดลำโพง เมื่อต้องคุยเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการได้รับคลื่นไมโครเวฟโดยตรงเมื่อต้องใช้หูแนบกับโทรศัพท์
- หากิจกรรมทำร่วมกัน คุณพ่อคุณแม่เองจำเป็นต้องลดการใช้งานโทรศัพท์ลงเช่นกัน เพื่อเป็นตัวอย่าง และได้ใช้เวลาร่วมกันกับลูก
- จำกัดระยะเวลาในการใช้งาน กำหนดระยะเวลาในการให้เด็กเล่นโทรศัพท์ เพื่อจะได้ไม่ใช้โทรศัพท์นานเกินไป และหากไม่ทำตามอาจจำเป็นต้องมีบทลงโทษ
[embed-health-tool-vaccination-tool]