วิตามินและแร่ธาตุสำคัญมีส่วนช่วยสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก อย่างไรก็ตาม วิตามินดีเป็นหนึ่งในสารอาหารที่จำเป็นมากที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของเด็ก หาก เด็กขาดวิตามินดี ก็อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของกระดูก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เด็กรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการอย่างครบถ้วน รวมไปถึงอาหารเสริมและกิจกรรมที่เสริมสร้างความแข็งแรงอยู่เสมอ
[embed-health-tool-vaccination-tool]
ทำไมจึงไม่ควรให้ เด็กขาดวิตามินดี
วิตามินดีมีส่วนช่วยในเรื่องการพัฒนาการของกระดูกและช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น เสริมสร้างกระดูกและสุขภาพฟันให้แข็งแรง นอกจากนี้ วิตามินดี ยังมีส่วนช่วยในการสร้างและควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายป้องกันการติดเชื้อ กระตุ้นการผลิตสารอินซูลิน และช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเซลล์
หาก เด็กขาดวิตามินดี อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Diseases) เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) ทั้งยังอาจทำให้พัฒนาการและการเจริญเติบโตของกระดูกล่าช้า หรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามพันธุกรรม ดังนั้น การได้รับวิตามินดีที่เพียงพออาจช่วยปกป้องให้เด็ก ๆ ห่างไกลจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด โรคเบาหวาน
ปริมาณวิตามินดีสำหรับเด็ก
สำหรับปริมาณวิตามินดีที่เหมาะสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย มีดังนี้
- ทารก 6-12 เดือน ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 ไมโครกรัม/วัน
- เด็ก 1-8 ปี ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 ไมโครกรัม/วัน
- วัยรุ่น 9-18 ปี ควรได้รับวิตามินดีประมาณ 5 ไมโครกรัม/วัน
แหล่งอาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี
แหล่งอาหารที่พบวิตามินดีได้ง่ายที่สุด คือ แสงแดด โดยคุณพ่อคุณแม่อาจพาเด็กออกไปโดนแสงแดดประมาณ 30 นาที ในช่วงเวลา 7.00-8.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แสงแดดกำลังอ่อนพอดี ไม่แรงจนเกินไปต่อผิวหนังและกระดูก นอกจากแสงอาทิตย์แล้ว ยังมีแหล่งวิตามินดีจากอาหารที่อาจให้วิตามินดีแก่เด็กได้ในปริมาณที่ต้องการ ดังนี้
- อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี ได้แก่ นม ไข่แดง ธัญพืช น้ำส้มคั้น โยเกิร์ต น้ำมันตับ และปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาแซลมอน ปลาทู ปลาค็อด
- อาหารเสริมในรูปแบบของเหลวหรือน้ำ แบบเม็ด หรือสารละลายยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่สามารถได้รับวิตามินในปริมาณที่เพียงพอจากอาหาร
หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยในการเลือกสารอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดีให้แก่เด็ก ควรปรึกษาคุณหมอ และบอกข้อมูลสุขภาพต่าง ๆ ในกรณีที่เด็กมีอาจอาการแพ้เบื้องต้นร่วมด้วย เพื่อให้จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและตรงตามความต้องการของร่างกายเด็กแต่ละคน