backup og meta

ผลข้างเคียงของการใช้โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ในเด็ก

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 17/03/2022

ผลข้างเคียงของการใช้โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ในเด็ก

ในปัจจุบัน มีการใช้โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ในเด็ก เนื่องจากเข้าใจว่าอาจสามารถช่วยกระตุ้นการพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูก และช่วยเพิ่มส่วนสูงของลูก แต่การใช้โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ในเด็กอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ผื่นคัน ปวดหัว เป็นไข้ ความดันโลหิตสูง ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ในเด็ก และปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยาใด ๆ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโกรทฮอร์โมนสังเคราะห์

โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ (Human Growth Hormone; HGH) ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่าสามารถใช้รักษาอาการบางอย่างได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยการฉีด โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ในเด็ก ที่ใช้เพื่อรักษาภาวะตัวเตี้ยเกินไป และภาวะไม่เจริญเติบโตของเด็กๆ นั้น จะใช้ในกรณีที่เด็กๆ เป็นโรคดังนี้

  • กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ซินโดรม (Terner syndrome)
  • กลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลีซินโดรม (Prader-Willi Syndrome)
  • โรคไตเรื้อรัง
  • ภาวะขาดโกรทฮอร์โมน
  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนดตอนอายุครรภ์น้อย

ดังนั้น ในกรณีที่เด็กไม่สูง แต่ไม่ได้เป็นโรคอะไรหรือมีปัญหาที่เกี่ยวกับความผิดปกติของโกรทฮอร์โมน ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับโกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ เพราะอาจมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อลูกได้

ผลข้างเคียงจากการใช้โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ในเด็ก

หากเด็กๆ หรือวัยรุ่น ได้รับการฉีดโกรทฮอร์โมนสังเคราะห์เข้าร่างกาย อาจมีผลข้างเคียง ดังนี้

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุด เมื่อเด็กได้รับโกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ก็คือ อาการปวดศีรษะ  5 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่ได้รับโกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ จะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงจนต้องหยุดรับการฉีดโกรทฮอร์โมน ส่วนโรคข้อสะโพกหลุดถือเป็นอาการที่พบได้น้อยมาก นอกจากนี้ โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ยังสามารถทำให้อาการของโรคที่เด็กเป็นอยู่ยิ่งแย่ลง เนื่องจากเด็กเติบโตเร็วเกินไป

วิธีกระตุ้นการสร้างโกรทฮอร์โมนตามธรรมชาติในเด็ก

  • อย่าปล่อยให้ลูกอ้วน

หากร่างกายมีไขมันสะสมมากจะทำให้มีโกรทฮอร์โมนน้อย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ปล่อยให้ลูกอ้วน ควรชวนลูกขยับร่างกายบ่อยๆ จะเล่นนอกบ้าน หรือออกกำลังกายก็ได้ชวนเขาไปออกกำลังกาย และต้องควบคุมอาหาร ไม่ให้ลูกกินน้ำตาลมากเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงด้วย ซึ่งนอกจากจะช่วยกระตุ้นการสร้างโกรทฮอร์โมนแล้ว ยังทำให้ลูกมีสุขภาพดีขึ้นด้วย

  • นอนหลับให้สนิท

โกรทฮอร์โมนจะหลั่งตอนที่เด็กๆ นอนหลับในช่วงเวลาก่อนเที่ยงคืน ดังนั้น ควรให้ลูกได้นอนหลับสนิท และต้องระวังไม่ให้ลูกกินอะไรก่อนนอน เพราะการกินก่อนนอน ทำให้หลับไม่สนิท ส่งผลทำให้โกรทฮอร์โมนลดลง

  • ออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมทางกาย เช่น วิ่งเล่น จะช่วยลดไขมันสะสมในร่างกายของลูกได้ ทั้งยังช่วยให้การทำงานของฮอร์โมนในร่างกายดีขึ้น และนอนหลับสนิทขึ้น จึงส่งผลต่อการสร้างโกรทฮอร์โมนตามธรรมชาติของเด็กๆ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 17/03/2022

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา