backup og meta

การเลี้ยงลูกแบบอิสระ และการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด อย่างไรจึงจะดีมากกว่ากัน

การเลี้ยงลูกแบบอิสระ และการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด อย่างไรจึงจะดีมากกว่ากัน

เนื่องจากการเป็นพ่อแม่คนนั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด บางครั้งเมื่อลูกทำผิดก็อาจจะต้องมีการอบรบสั่งสอน และเข้มงวดให้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ก็อยากให้ลูกรักย่อมมีการเรียนรู้จากความผิดพลาดด้วยตนเองจนปล่อยปะละเลย แล้วรู้หรือไม่ว่า ระหว่าง การเลี้ยงลูกแบบอิสระ และการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด แตกต่างกันอย่างไร

[embed-health-tool-bmi]

ข้อแตกต่าง การเลี้ยงลูกแบบอิสระ และแบบเข้มงวด

แน่นอนว่าการเลี้ยงดูลูกทั้ง 2 รูปแบบนี้ย่อมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะการเลี้ยงลูกแบบอิสระเป็นการปล่อยให้ลูกรักตัดสินใจใช้ชีวิตด้วยตนเอง โดยไม่มีข้อบังคับ หรือกฎเกณฑ์ใด ๆ ที่ทางผู้ปกครองตั้งไว้ ส่งผลให้เด็ก ๆ มีความมั่นใจ สุขภาพจิตดีขึ้น และกล้าจะเข้าสังคมใหม่ ๆ ในอนาคตที่ต้องพบเจอ แต่ขณะเดียวกันก็อาจทำให้เด็ก ๆ ไร้วินัย ถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดีได้ง่าย เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ที่เหล่าบรรดาวัยรุ่นนิยม หรือสูบบุหรี่ เป็นต้น

ส่วนการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด ถึงแม้จะถูกผู้คนมองว่าเป็นการเลี้ยงลูกที่ไม่สมควรมากนัก เนื่องจากเป็นการเลี้ยงแบบไม่รับฟังความคิดเห็นของเด็กเสียเท่าไหร่ อีกทั้งยังมีกฏเกณฑ์มากเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจพวกเขาในเชิงลบได้ แต่ทว่า เมื่อเด็ก ๆ ถูกเข้มงวดมากขึ้นบางครั้งก็อาจทำให้เกิดระเบียบมีวินัย ไม่กล้าจะประพฤติผิด เพราะเกรงกลัวว่าจะถูกผู้ปกครองลงโทษ จนนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตดั่งเป้าหมายในอนาคต

เรียกได้ว่า การเลี้ยงลูกทั้งแบบอิสระ และแบบเข้มงวด ย่อมให้ข้อดีข้อเสียไม่แพ้กัน เพื่อเป็นทางออกที่ดีที่สุดนั้น คุณพ่อคุณแม่ รวมถึงผู้ปกครองทุกคน ควรศึกษาจากลักษณะนิสัยของเด็ก พร้อมทั้งควรปรับการเลี้ยงดูให้สมเหตุสมผล และเอาใจใส่ทุกอย่างที่เป็นตัวตนของลูกให้มาก ๆ เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตใช้ชีวิตในโลกภายนอกได้อย่างมีความสุข

เคล็ดลับ การเลี้ยงลูก ให้มีความสุข

คุณพ่อคุณแม่สามารถนำเคล็ดลับเหล่านี้ ไปปฏิบัติกับลูกได้ เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ และสร้างพฤติกรรมที่ดีให้แก่พวกเขาตั้งแต่ยังเยาว์วัย

1. ปลูกฝังให้ลูกเคารพผู้ที่มีอายุมากกว่า

เป็นการสร้างนิสัยให้ลูกรักรู้จักพูดเคารพผู้ใหญ่ เช่น เมื่อได้รับคำกล่าวชม หรือได้รับของควรให้เด็ก ๆ กล่าว “ขอบคุณ” เมื่อเจอผู้ใหญ่ควรให้เด็กรู้จัก “สวัสดี” เป็นต้น ตามกาลเทศะที่เหมาะสม นอกจากนี้ หากเป็นกรณีการได้รับของขวัญ อาจให้ลูกมีการกล่าวขอบคุณ หรืออาจเปลี่ยนเป็นการเขียนข้อความตอบกลับทดแทน

2. สอนให้รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น

การศึกษาจำนวนมากพบว่าการช่วยเหลือผู้อื่น หรือการมีน้ำใจต่อผู้อื่น อาจสร้างวัฏจักรการใช้ชีวิตในเชิงบวก และความสุขให้แก่ลูก ๆ ได้ เช่น การบริจาคของเล่น เสื้อผ้า หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ใช้แล้ว ส่งต่อให้ผู้อื่น เป็นต้น

3. ทำกิจกรรมร่วมกันในบ้าน

ถึงลูก ๆ จะอยู่ในช่วงวัยที่ชอบเล่น เรียนรู้ แต่การทำงานบ้าน หรือการมอบหมายหน้าที่ตั้งแต่ยังเด็ก อาจเป็นการสร้างพฤติกรรมที่ดีให้พวกเขารู้จักช่วยเหลือตนเองได้ในอนาคต ซึ่งการให้ลูกทำงานบ้านนี้ไม่ได้หมายความว่าจะให้เขารับภาระหนักเสียไปหมดทุกอย่าง เพียงเป็นแค่ขั้นตอนแรกเริ่มที่ให้ลูกรู้จักหน้าที่ มีความรับผิดชอบ มีการเรียนรู้เรื่อย ๆ ทีละเล็กทีละน้อยเท่านั้น โดยที่มีคุณพ่อคุณแม่อยู่ข้าง ๆ ไปด้วย

4. หากิจกรรมด้านนอกบ้านทำร่วมกัน

เป็นการสร้างพัฒนาการให้แก่เด็กในทางสร้างความสัมพันธ์ในสังคม และสร้างการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยพบเจอมาก่อน โดยอาจกำหนดกิจกรรมที่ลูกชอบ หรือสามารถทำร่วมกันได้ เช่น การปั่นจักรยาน การเดินเล่น การออกกำลังกาย เดินชมศิลปะ หาความรู้ในพิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ เป็นต้น

อีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ปกครองทุกคนควรทราบนั่นก็คือ ไม่จำเป็นต้องสร้างความสุขให้ลูกตลอดเวลา ควรปล่อยให้ลูกรักมีการตัดสินใจด้วยตนเองบ้าง เพื่อเรียนรู้ความผิดหวัง ความเสียใจ หรือพฤติกรรมเชิงลบ ภายใต้การเฝ้ามอง การดูแลเอาใจใส่ การให้กำลังใจ ของคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิดเสมอ หากพบพฤติกรรมไม่เหมาะสมจึงค่อยเข้าไปตักเตือน หรือสอนด้วยเหตุผลจะเป็นสร้างข้อดีแห่งการเลี้ยงลูกรักที่ดีที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Free-Range Parenting: The Pros and Cons. https://www.healthline.com/health/parenting/free-range-parenting#pros. Accessed March 16, 2021

Parenting Styles. https://www.apa.org/act/resources/fact-sheets/parenting-styles . Accessed March 16, 2021

Which Parenting Type Is Right for You? https://www.healthline.com/health/parenting/types-of-parenting . Accessed March 16, 2021

How to Raise Happy Kids for Success in Life. https://www.verywellfamily.com/how-to-raise-happy-kids-4176629 . Accessed March 16, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/04/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

การเลี้ยงลูกสองภาษา กับความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้น

วิธีฝึกให้ ลูกคิดบวก มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา