backup og meta

สูบบุหรี่ แล้ว ปวดหัว เป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่

สูบบุหรี่ แล้ว ปวดหัว เป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่

นิโคติน (Nicotine) เป็นสารออกฤทธิ์ที่อยู่ในบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง นิโคตินที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ยาสูบนั้นส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย นอกจากช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ส่งผลเสียต่อไต และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับอ่อนแล้ว สูบบุหรี่ อาจทำให้ ปวดหัว ได้อีกด้วย

[embed-health-tool-heart-rate]

ทำไม สูบบุหรี่ แล้ว ปวดหัว

นิโคติน เป็นสารชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์บุหรี่ ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ โดยสารชนิดนี้จะทำให้หลอดเลือดในร่างกายตีบหรือแคบลง ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรน นอกจากนี้การไหลเวียนเลือดที่น้อยลงยังอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headaches) ซึ่งเป็นอาการปวดหัวที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท เป็นอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และมักจะมีอาการปวดหัวเพียงข้างเดียวหรือปวดรอบ ๆ ดวงตา สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่จะมีอาการปวกหัวแบบคลัสเตอร์ จากการศึกษาในปี 1999 พบว่าร้อยละ 80 ของผู้ที่มีอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์มีพฤติกรรมสูบบุหรี่

บุหรี่ไม่ได้มีเพียงสารนิโคตินเท่านั้น ยังมีสารอื่น ๆ มากถึง 7,000 ชนิด ซึ่งสารที่พบในผลิตภัณฑ์ยาสูบเมื่อร่างกายได้รับอย่างต่อเนื่อง จะช่วยเพิ่มความไวของตัวรับความเจ็บปวดในสมอง อาจทำให้รู้สึกปวดหัวเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้นิโคตินยังส่งผลกระทบต่อยาแก้ปวดบางชนิดที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดหัวด้วย ทำให้ร่างกายย่อยยาได้ยาก ทำให้ประสิทธิภาพของยาแก้ปวดนั้นลดลง

สำหรับบางคนที่เพิ่งเริ่มเลิกบุหรี่ เมื่อร่างกายขาดนิโคตินอย่างกะทันหัน อาจทำให้เกิดภาวะถอนนิโคติน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน กระวนกระวาย ที่สำคัญยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ด้วย

สูบบุหรี่ ทำให้ปวดหัว แบบใดบ้าง

อาการปวดหัวที่เกิดจากการสูบบุหรี่หรือการใช้นิโคตินมี ดังนี้

  • อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (Cluster headache) อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ เป็นอาการปวดหัวแบบรุนแรง อาจเกิดขึ้นได้นานเป็นสัปดาห์หรือนานเป็นเดือน อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์พบได้มากในผู้ที่สูบบุหรี่ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ได้อีกด้วย
  • โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal neuralgia)
  • ปวดหัวไมเกรน (Migraine) ปวดหัวไมเกรน เป็นอาการปวดหัวที่มักจะมีอาการปวดตุบ ๆ หรือปวดเป็นจังหวะ สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรน จะมีตัวกระตุ้นที่แตกต่างกันออกไป การสูบบุหรี่เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้

หากเกิดอาการ ปวดหัวจากการสูบบุหรี่ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือรู้สึกปวดหัวมาก ควรปรึกษาแพทย์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่าควรทำอย่างไร หากต้องการเลิกบุหรี่ แพทย์อาจช่วยให้สามารถเลิกได้ง่ายขึ้น ซึ่งวิธีการเลิกบุหรี่นั้นมีหลากหลายวิธี ทั้งการบำบัดพฤติกรรม การฝังเข็ม การสะกดจิต บางครั้งอาจมีการใช้ยาในการบำบัดร่วมด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Chemicals in Tobacco Smoke. https://www.cdc.gov/tobacco/data_statistics/sgr/2010/consumer_booklet/chemicals_smoke/index.htm. Accessed May 23, 2023

What is tobacco? https://nida.nih.gov/publications/drugfacts/cigarettes-other-tobacco-products. Accessed May 23, 2023

Handling Nicotine Withdrawal and Triggers When You Decide To Quit Tobacco. https://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/tobacco/withdrawal-fact-sheet. Accessed May 23, 2023

Nicotine Withdrawal. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4542051/. Accessed May 23, 2023

Pain, Nicotine, and Smoking: Research Findings and Mechanistic Considerations. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3202023/. Accessed May 23, 2023

The impact of cigarette smoking on headache activity in headache patients. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1860793/. Accessed May 23, 2023

About Electronic Cigarettes (E-Cigarettes). https://www.cdc.gov/tobacco/basic_information/e-cigarettes/about-e-cigarettes.html. Accessed May 23, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/04/2024

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โทษของบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค

ควันบุหรี่มือสอง อันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา