backup og meta

13 กิจวัตรประจำวันที่ทำร้ายสุขภาพ ที่คุณควรต้องเลี่ยงได้แล้ว

13 กิจวัตรประจำวันที่ทำร้ายสุขภาพ ที่คุณควรต้องเลี่ยงได้แล้ว

วิถีชีวิตความเป็นอยู่ กิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ที่เราทำจนเคยชินและมักจะมองกันว่าเป็นเรื่องปกตินั้น บางครั้งหากไม่เกิดการปรับและเปลี่ยนมุมมองที่มีอยู่ ท้ายที่สุดอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยที่ไม่รู้ตัวได้ Hello คุณหมอ มี 13 กิจวัตรประจำวันที่ทำร้ายสุขภาพ ที่อาจถึงเวลาจะต้องหลีกเลี่ยงและเลิกทำได้แล้ว แต่จะมีอะไรบางนั้น ไปติดตามกันได้ที่บทความนี้เลย

13 กิจวัตรประจำวันที่ทำร้ายสุขภาพ มีอะไรบ้าง

จมปลักอยู่กับความเครียด

ความเครียด อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกิจวัตรที่เราทุกคนต้องพบเจอ อาจเป็นการเครียดเพียงเล็กน้อยแล้วผ่านไป หรือเป็นความเครียดที่ใช้ระยะเวลายาวนานกว่าจะจบลง หรือเป็นความเครียดที่สะสมครั้งแล้วครั้งเล่า การจมปลักและไม่ยอมปล่อยวางกับความเครียดที่ไม่สามารถจะไปเปลี่ยนแปลงได้นั้น มีผลการศึกษาพบว่า ท้ายที่สุดความเครียดจะเป็นตัวการนำไปสู่โรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นอาการทางสุขภาพที่น่าเป็นกังวลในอนาคต

ลดทอนคุณค่าของตนเอง

การนั่งตำหนิตนเอง และบั่นทอนชีวิตด้วยการกล่าวโทษโชคชะตา เป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในอนาคตได้ ควรหันมาปรับเปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติ และเปลี่ยนวิธีคิด และให้กำลังใจตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เป็นบวก จะช่วยให้สุขภาพจิตสดใส

ใช้เวลาอยู่กับสื่อโซเชียลมีเดียมากเกินไป

แม้เราจะรู้จักคนมากหน้าหลายตาผ่านช่องทางออนไลน์และสื่อโซเชียลต่างๆ แต่นั่นไม่ได้ช่วยคลายความเหงาในจิตใจได้อย่างสมบูรณ์ เพราะยิ่งใช้เวลาอยู่ในโซเชียลมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเกิดการเปรียบเทียบ และรู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยวมากเท่านั้น และความรู้สึกเปรียบเทียบนี้เอง เป็นความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ได้

การนอนดึกและตื่นสาย

แทบจะเป็นกิจวัตรประจำวันของใครหลายคน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยที่ต่างกัน ทั้งภาระหน้าที่ หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ จนล่วงเลยแก่เวลานอน แต่ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยใดก็ตาม การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ย่อมส่งผลต่อสุขภาพโดยตรงอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น ระบบขับถ่าย ระบบย่อยอาหาร ระบบเผาผลาญ รวมถึงพลังงานในการทำกิจกรรมของวันถัดไปก็จะลดลงตามไปด้วย

การใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย

การจับจ่ายใช้สอยทั้งที่ไปซื้อเอง หรือซื้อสินค้าออนไลน์อย่างสิ้นเปลืองและสุรุ่ยสุร่าย มีการวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ลงใน Clinical Psychology Review พบว่า ผู้ที่มีแนวโน้มของการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายมีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิต อย่างไรก็ตาม หลักฐานการเชื่อมโยงนั้นยังไม่มีความชัดเจนมากพอ แต่ที่ชัดเจนอย่างแท้จริงคือ การใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่ายจนเกิดปัญหาหนี้สินและหาทางชดใช้ไม่ได้ นั่นจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตตามมาภายหลัง

หมกหมุ่นอยู่แต่กับการดูโทรทัศน์

แม้การรับชมโทรทัศน์จะช่วยในการรับข้อมูลข่าวสาร ได้ความรู้ และทันต่อโลก แต่การใช้เวลาอยู่แต่กับหน้าจอทีวีมากจนเกินความจำเป็นนั้นก่อให้เกิดผลเสียต่อสมองหรืออาจทำให้เกิดอาการสมองล้าได้ รวมถึงส่งผลเสียต่อสุขภาพสายตาด้วย ควรแบ่งเวลาดูทีวีให้เหมาะสม และหาเวลาไปออกกำลังกายในยามว่างก็จะช่วยผ่อนคลายความเมื่อยล้าได้

กินในตอนที่ไม่รู้สึกหิว

โดยธรรมชาติแล้วคนเรามักจะกินเมื่อรู้สึกหิว แต่ทุกวันนี้แทบแยกไม่ออกแล้วว่าเวลาไหนหิวจริงหรือหิวปลอม เพราะแค่เพียงได้ยิน ได้กลิ่น ได้เห็น อาหารต่างๆ ก็บังเกิดความต้องการอยากจะกินไปเสียหมด ซึ่งการรับประทานอาหารโดยที่ไม่ได้รู้สึกหิวจริง ๆ นั้น เสี่ยงที่จะทำให้คุณกินมากผิดปกติ เสี่ยงในเรื่องของน้ำหนักตัว เสี่ยงที่จะเพิ่มปริมาณของแคลอรี่ และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เพราะการได้รับสารอาหารบางชนิดมากจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาล โซเดียม หรือคาร์โบไฮเดรต ซึ่งอาจเสี่ยงที่จะมีอาการสุขภาพต่าง ๆ เช่น

ดังนั้น ควรกินอาหารเฉพาะช่วงเวลาที่เหมาะสมและมีความหิวจริงๆ เท่านั้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่สมดุลกัน

ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย

บางคนไม่ชอบที่จะออกไปทำกิจกรรมอะไรเลย ชอบที่จะได้นั่งอยู่เฉย ๆ ซึ่งการกระทำเช่นนั้น นอกจากจะก่อให้เกิดความน่าเบื่อแล้ว ก็ยังไม่ดีต่อสุขภาพด้วย เพราะการที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อย ก็จะยิ่งทำให้ระบบเผาผลาญไม่ถูกกระตุ้น การไม่ออกกำลังกาย ไม่เดิน หรือไม่วิ่งบ้างเลย เสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง และเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

ไม่ทาครีมกันแดด

มีหลายคนที่ไม่ค่อยให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพผิว มองว่าเป็นเรื่องของคนรักสวยรักงามเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะเป็นใคร เพศชาย เพศหญิง หรือเพศทางเลือก หรือไม่ว่าจะช่วงอายุใดก็ตาม การดูแลผิวถือเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากจะช่วยให้มีบุคลิกภาพที่น่าชื่นชมแล้ว ก็ยังช่วยป้องกันโรคที่จะเกิดกับผิวหนังอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทาครีมกันแดด เพราะช่วยป้องกันรังสียูวีจากแสงแดด ที่เสี่ยงจะทำให้เกิดโรคทางผิวหนัง เช่น ผิวไหม้แดด ลมพิษ ผื่นร้อน ผืนคัน หรืออาจร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งผิวหนัง

ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

การดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันมากจนเกินไป มีแนวโน้มความเสี่ยงที่ร่างกายจะเป็นโรคตับ โรคไต ปัญหาในระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ หรือโรคมะเร็งบางชนิดได้

กินเร็วเกินไป

การทานเร็วเกินไป อาจจะทำให้อิ่มได้เร็วขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้อิ่มนานขึ้น ซึ่งนั่นเสี่ยงที่จะทำให้คุณต้องกินมากขึ้นในตลอดทั้งวัน จนอาจมีผลในเรื่องของระบบขับถ่าย และระบบเผาผลาญได้ เปลี่ยนมากินให้ช้าลง ค่อย ๆ เคี้ยว ไม่ต้องรีบเร่ง จะช่วยให้อิ่มได้นานขึ้น และดีต่อระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหารด้วย

การสูบบุหรี่

เมื่อสูบบุหรี่บ่อยจนกระทั่งติดเป็นนิสัย สารจากบุหรี่จะเริ่มมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดลมอักเสบ เป็นต้น หากรู้ตัวว่าติดการสูบบุหรี่ ให้พยายามเลิก หรืออาจไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำในการเลิกบุหรี่ที่ถูกต้อง

กินแต่อาหารขยะ

อาหารขยะนั้นกินง่าย และซื้อหาง่าย แต่ในระยะยาวแล้ว อาหารเหล่านี้มีผลต่อสุขภาพอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น โรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจ เป็นต้น เพื่อให้ดีต่อสุขภาพ พยายามลดอาหารขยะที่มีส่วนผสมของน้ำตาล และโซเดียม เพราะหากร่างกายได้รับมาจนเกินพิกัด จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพดังที่กล่าวไปข้างต้นได้

ยังมีอีกหลายกิจวัตรประจำวันที่เราทำกันเป็นปกติจนมองข้ามอันตรายที่กำลังสะสมและก่อตัวขึ้นทุกวัน กิจกรรมใด กิจวัตรใดที่มีผลเสียอย่างชัดเจนและแน่นอน ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยง เพื่อที่จะได้มีสุขภาพดีและอายุยืนยาว

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

10 Daily Habits You Didn’t Know Sabotage Your Health. https://www.verywellhealth.com/daily-habits-you-didnt-know-sabotage-your-health-4152153. Accessed on April 10, 2020.

How Your Bad Habits Affect Your Health. https://www.webmd.com/balance/ss/slideshow-bad-habits. Accessed on April 10, 2020.

Changing Your Habits for Better Health. https://www.niddk.nih.gov/health-information/diet-nutrition/changing-habits-better-health. Accessed on April 10, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/05/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัยรุ่น LGBTQ เพศที่สาม ทำร้ายตัวเอง ความเสี่ยงที่ป้องกันได้

รู้หรือไม่...พฤติกรรมทำลายหัวใจ มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 14/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา