backup og meta

การบำบัดด้วยความเย็น เทรนด์ใหม่มาแรง ที่อาจช่วยฟื้นฟูร่างกาย

การบำบัดด้วยความเย็น เทรนด์ใหม่มาแรง ที่อาจช่วยฟื้นฟูร่างกาย

การออกกำลังกายถือว่าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันที่มีความสำคัญเช่นกัน เพราะสามารถช่วยให้ระบบการทำงานภายในของเราแข็งแรงขึ้น แต่ถ้าหากคุณหักโหมจนเกินไป ก็อาจทำให้สุขภาพร่างกายของเรานั้นแย่ลงได้ ยกตัวอย่างเช่น อาการกล้ามเนื้ออักเสบ การเจ็บปวดเรื้อรังของกล้ามเนื้อ จนกระทั่งนำไปสู่การเคลื่อนไหวที่ยากลำบาก ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการนวดคลายเส้น หรือการรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อเข้าช่วย แต่ยังมีอีกเทคนิคหนึ่งที่ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำมาฝากให้ทุกคนลองอ่านกัน นั่นก็คือ การบำบัดด้วยความเย็น หรือ ไครโอเทอราพี ที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับคนที่ไม่ชอบการทานยา หรือการกดเส้นที่เจ็บปวด นับได้ว่าเป็นตัวช่วยดี ๆ อีกวิธีที่อาจเหมาะกับคุณกว่าการรักษาแบบอื่นก็เป็นได้

การบำบัดด้วยความเย็น (Cryotherapy) คืออะไร

การฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วยความเย็น หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า ไครโอเทอราพี (Cryotherapy) เป็นการรักษากล้ามเนื้อของร่างกายด้วยการนำตัวคุณเข้าไปในตู้ หรืออ่างแช่เย็น ที่มีอุณหภูมิ -200 ถึง -300 องศา เป็นเวลา 2-5 นาที หรืออาจมากกว่านั้นตามการประเมินร่างกายโดยนักบำบัด

ในช่วงปลายปี 1970 ประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้ความเย็นนี้มาเป็นตัวช่วยในการรักษาอาการบางอย่างทางการแพทย์ เช่น โรคไขข้ออักเสบ และบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อให้แก่นักกีฬา เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันคุณก็ยังคงพบกับวิธีเช่นนี้อยู่ เป็นการรักษาแบบวิธีพื้นบ้านที่นำน้ำแข็งมาใส่ในอ่างแช่น้ำก่อนนำร่างกายคุณลงไปแช่ตาม แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาตามยุคสมัย ปัจจุบันได้เกิดการพัฒนาเป็นเครื่องแช่ที่มาพร้อมกับไอเย็น และมีขนาดพอดีกับร่างกาย พร้อมทั้งยังสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่พอดีเหมาะแก่อาการของผู้ใช้บริการแต่ละบุคคลได้

การบำบัดด้วยความเย็น ดีต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

ไครโอเทอราพี นอกจากจะลดอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อแล้ว การบำบัดนี้ยังสามารถปรับปรุงระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะการทำงานของระบบประสาท ดังนี้

การบำบัดด้วยความเย็นเป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกาย และระบบประสาทของเราได้ จากการศึกษาหนึ่งในปี 2013 นักวิจัยได้ให้ผู้อาสาร่วมทดสอบที่มีอาการปวดไมเกรนใช้ถุงน้ำแข็งที่มีความเย็นประคบบริเวณศีรษะ หรือบริเวณใกล้เคียงไว้ ให้เลือดได้ทำการเคลื่อนตัวไหลเวียน จนทำให้บรรเทาอาการปวดไมเกรนลดลงตามลำดับ

  • รักษาอาการผิดปกติทางด้านอารมณ์

เนื่องจากอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นจัด ทำให้ฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) นอร์อิพิเนฟริน (Noradrenaline) ในร่างกายเกิดการตอบสนอง ส่งผลให้ความเครียด วิตกกังวล ลดลง รวมทั้งสามารถใช้เป็นการรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าได้ แต่ถึงอย่างไรผลลัพธ์ที่ออกมาคงจะบำบัดอาการเหล่านี้ได้แค่ในระยะเวลาสั้น ๆ เพราะทุกเหตุการณ์ที่พบเจอจากสังคมรอบข้างมักมาพร้อมกับคงามเครียดเสมอ จึงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นหากมีอาการแทรกซ้อน เช่น ปวดหัวเป็นเวลานาน อารมณ์รุนแรง โปรดเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่ทางการแพทย์ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเท่านั้น จะเป็นผลดีแก่ตัวคุณที่สุด

ในบางทฤษฎีก็กล่าวว่าการรักษาด้วยความเย็นสามารถต้านการอักเสบ และต้านสารอนุมูลอิสระ ที่มาจากปฏิกิริยาการทำงานออกซิเดชั่น (Oxidation) ซึ่งพบบ่อยได้ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่มีความเครียดเป็นปัจจัยหลัก ทั้งนี้นักวิจัยยังคงต้องมีการศึกษาถึงการรักษาโรคสมองเสื่อมด้วยความเย็นเพิ่มเติม เพื่อนำมาปรับใช้ในอนาคตต่อไป

การบำบัดด้วยเทคนิคนี้อาจทำให้สุขภาพผิวของคุณดีขึ้นในเรื่องของผิวแห้งผิวแตก และเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาทางด้านโรคผิวหนัง เพราะความเย็นจะซึมลงเข้าสู่ชั้นผิวไปปรับปรุงระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือด ที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดผิวหนังอักเสบลงได้

การฟื้นฟูร่างกายด้วยเทคนิคนี้ไม่เหมาะกับใคร

แน่นอนว่าการบำบัดด้วยความเย็นที่มีอุณหภูมิสูงเช่นนี้ อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพด้านหัวใจ โรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีความดันโลหิตสูง รวมทั้งเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และสตรีตั้งครรภ์ เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงตามมา

แต่บุคคลทั่วไปที่ใช้บริการก็ไม่ต่างกัน หลังจากที่คุณออกมาจากตู้ หรืออ่างแช่เย็นแล้ว คุณอาจมีอาการเสียวซ่า ผิวหนังแดง มีความระคายเคืองบนผิวหนัง บางคนอาจมีอาการแค่ชั่วคราวเท่านั้น เป็นผลข้างเคียงเล็กน้อยที่พบได้บ่อย แต่ถ้าหากอาการยังไม่ทุเลา หรือเป็นหนักขึ้น ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชียวชาญภายใน 24 ชั่วโมงทันที เพราะอาจนำไปสู่ความเสียหายของเส้นประสาท และผิวหนังได้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Should You Try Whole Body Cryotherapy? https://health.usnews.com/wellness/articles/should-you-try-whole-body-cryotherapy Accessed March 23, 2020

Benefits of Cryotherapy https://www.healthline.com/health/cryotherapy-benefits Accessed March 23, 2020

What are the benefits of cryotherapy? https://www.medicalnewstoday.com/articles/319740 Accessed March 23, 2020

Cryotherapy in plan management https://www.medicinenet.com/cryotherapy/article.htm#what_is_cryotherapy_and_how_does_it_work Accessed March 23, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

การฝังเข็ม ช่วยรักษาอาการปวดและเสริมสร้างสุขภาพได้จริงหรือ

นวดแผนไทย ดีจริงไหม? ทำไมใคร ๆ ถึงติดใจกันนัก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา