backup og meta

การบำบัดด้วยความเย็น เทรนด์ใหม่มาแรง ที่อาจช่วยฟื้นฟูร่างกาย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/05/2020

    การบำบัดด้วยความเย็น เทรนด์ใหม่มาแรง ที่อาจช่วยฟื้นฟูร่างกาย

    การออกกำลังกายถือว่าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันที่มีความสำคัญเช่นกัน เพราะสามารถช่วยให้ระบบการทำงานภายในของเราแข็งแรงขึ้น แต่ถ้าหากคุณหักโหมจนเกินไป ก็อาจทำให้สุขภาพร่างกายของเรานั้นแย่ลงได้ ยกตัวอย่างเช่น อาการกล้ามเนื้ออักเสบ การเจ็บปวดเรื้อรังของกล้ามเนื้อ จนกระทั่งนำไปสู่การเคลื่อนไหวที่ยากลำบาก ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการนวดคลายเส้น หรือการรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อเข้าช่วย แต่ยังมีอีกเทคนิคหนึ่งที่ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำมาฝากให้ทุกคนลองอ่านกัน นั่นก็คือ การบำบัดด้วยความเย็น หรือ ไครโอเทอราพี ที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับคนที่ไม่ชอบการทานยา หรือการกดเส้นที่เจ็บปวด นับได้ว่าเป็นตัวช่วยดี ๆ อีกวิธีที่อาจเหมาะกับคุณกว่าการรักษาแบบอื่นก็เป็นได้

    การบำบัดด้วยความเย็น (Cryotherapy) คืออะไร

    การฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วยความเย็น หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า ไครโอเทอราพี (Cryotherapy) เป็นการรักษากล้ามเนื้อของร่างกายด้วยการนำตัวคุณเข้าไปในตู้ หรืออ่างแช่เย็น ที่มีอุณหภูมิ -200 ถึง -300 องศา เป็นเวลา 2-5 นาที หรืออาจมากกว่านั้นตามการประเมินร่างกายโดยนักบำบัด

    ในช่วงปลายปี 1970 ประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้ความเย็นนี้มาเป็นตัวช่วยในการรักษาอาการบางอย่างทางการแพทย์ เช่น โรคไขข้ออักเสบ และบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อให้แก่นักกีฬา เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันคุณก็ยังคงพบกับวิธีเช่นนี้อยู่ เป็นการรักษาแบบวิธีพื้นบ้านที่นำน้ำแข็งมาใส่ในอ่างแช่น้ำก่อนนำร่างกายคุณลงไปแช่ตาม แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาตามยุคสมัย ปัจจุบันได้เกิดการพัฒนาเป็นเครื่องแช่ที่มาพร้อมกับไอเย็น และมีขนาดพอดีกับร่างกาย พร้อมทั้งยังสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่พอดีเหมาะแก่อาการของผู้ใช้บริการแต่ละบุคคลได้

    การบำบัดด้วยความเย็น ดีต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

    ไครโอเทอราพี นอกจากจะลดอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อแล้ว การบำบัดนี้ยังสามารถปรับปรุงระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะการทำงานของระบบประสาท ดังนี้

    การบำบัดด้วยความเย็นเป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกาย และระบบประสาทของเราได้ จากการศึกษาหนึ่งในปี 2013 นักวิจัยได้ให้ผู้อาสาร่วมทดสอบที่มีอาการปวดไมเกรนใช้ถุงน้ำแข็งที่มีความเย็นประคบบริเวณศีรษะ หรือบริเวณใกล้เคียงไว้ ให้เลือดได้ทำการเคลื่อนตัวไหลเวียน จนทำให้บรรเทาอาการปวดไมเกรนลดลงตามลำดับ

    • รักษาอาการผิดปกติทางด้านอารมณ์

    เนื่องจากอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นจัด ทำให้ฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) นอร์อิพิเนฟริน (Noradrenaline) ในร่างกายเกิดการตอบสนอง ส่งผลให้ความเครียด วิตกกังวล ลดลง รวมทั้งสามารถใช้เป็นการรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าได้ แต่ถึงอย่างไรผลลัพธ์ที่ออกมาคงจะบำบัดอาการเหล่านี้ได้แค่ในระยะเวลาสั้น ๆ เพราะทุกเหตุการณ์ที่พบเจอจากสังคมรอบข้างมักมาพร้อมกับคงามเครียดเสมอ จึงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นหากมีอาการแทรกซ้อน เช่น ปวดหัวเป็นเวลานาน อารมณ์รุนแรง โปรดเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่ทางการแพทย์ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเท่านั้น จะเป็นผลดีแก่ตัวคุณที่สุด

    ในบางทฤษฎีก็กล่าวว่าการรักษาด้วยความเย็นสามารถต้านการอักเสบ และต้านสารอนุมูลอิสระ ที่มาจากปฏิกิริยาการทำงานออกซิเดชั่น (Oxidation) ซึ่งพบบ่อยได้ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่มีความเครียดเป็นปัจจัยหลัก ทั้งนี้นักวิจัยยังคงต้องมีการศึกษาถึงการรักษาโรคสมองเสื่อมด้วยความเย็นเพิ่มเติม เพื่อนำมาปรับใช้ในอนาคตต่อไป

    การบำบัดด้วยเทคนิคนี้อาจทำให้สุขภาพผิวของคุณดีขึ้นในเรื่องของผิวแห้งผิวแตก และเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาทางด้านโรคผิวหนัง เพราะความเย็นจะซึมลงเข้าสู่ชั้นผิวไปปรับปรุงระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือด ที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดผิวหนังอักเสบลงได้

    การฟื้นฟูร่างกายด้วยเทคนิคนี้ไม่เหมาะกับใคร

    แน่นอนว่าการบำบัดด้วยความเย็นที่มีอุณหภูมิสูงเช่นนี้ อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพด้านหัวใจ โรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีความดันโลหิตสูง รวมทั้งเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และสตรีตั้งครรภ์ เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงตามมา

    แต่บุคคลทั่วไปที่ใช้บริการก็ไม่ต่างกัน หลังจากที่คุณออกมาจากตู้ หรืออ่างแช่เย็นแล้ว คุณอาจมีอาการเสียวซ่า ผิวหนังแดง มีความระคายเคืองบนผิวหนัง บางคนอาจมีอาการแค่ชั่วคราวเท่านั้น เป็นผลข้างเคียงเล็กน้อยที่พบได้บ่อย แต่ถ้าหากอาการยังไม่ทุเลา หรือเป็นหนักขึ้น ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชียวชาญภายใน 24 ชั่วโมงทันที เพราะอาจนำไปสู่ความเสียหายของเส้นประสาท และผิวหนังได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา