สุขภาพชาย

สมรรถภาพทางกาย สุขภาพทางเพศ สุขภาพจิต ฮอร์โมน และการนับถือตัวเอง ล้วนเป็นสิ่งที่ส่งผลคือ สุขภาพชาย ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมเรื่องเหล่านี้เอาไว้ให้คุณผู้ชายได้ศึกษาและลองนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพชาย

การ ไว้หนวด รูปแบบต่าง ๆ และวิธีดูแล

การ ไว้หนวด อาจช่วยเสริมบุคลิกและเพิ่มเสน่ห์ให้ผู้ชาย สำหรับทรงของหนวดที่ได้รับความนิยมนั้นมีหลายแบบอย่างไรก็ตาม เมื่อไว้หนวดแล้ว ควรหมั่นดูแลด้วยการเล็มและแปรงหนวดสม่ำเสมอเพื่อให้หนวดอยู่ทรงตามต้องการ และทำความสะอาดหนวดด้วยแชมพู เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกอย่างฝุ่นละออง น้ำมัน หรือเชื้อโรคเพื่อป้องกันปัญหาผิวหนังที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-bmr] ผู้ชาย ไว้หนวด เพื่ออะไร การไว้หนวด มีประโยชน์ดังนี้ อาจช่วยป้องกันอาการภูมิแพ้กำเริบจากสารก่อภูมิแพ้อย่างฝุ่นหรือเกสรดอกไม้ อาจช่วยเสริมบุคลิกให้ดูดีขึ้น เพิ่มเสน่ห์ เป็นแรงดึงดูดทางเพศ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับหนวดเคราและความน่าดึงดูดของผู้ชายต่อผู้หญิง เผยแพร่ในวารสาร Journal of Evolutionary Biology ปี พ.ศ. 2559 นักวิจัยให้ผู้หญิงจำนวนหนึ่งดูภาพผู้ชายทั้งที่ไว้หนวดเคราและมีใบหน้าเกลี้ยงเกลา แล้วให้ผู้หญิงเหล่านั้นให้คะแนนความน่าดึงดูดทางเพศ ผลปรากฏว่า หนวดเคราบนใบหน้าผู้ชายสัมพันธ์ต่อการให้คะแนนอย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้ชายที่มีหนวดเคราได้คะแนนความน่าดึงดูดสูงกว่าผู้ชายที่ใบหน้าเกลี้ยงเกลา นอกจากนั้น นักวิจัยยังเสริมว่าผู้ชายที่ไว้หนวดเคราอาจมีเสน่ห์น่าดึงดูดมากกว่าผู้ชายที่หน้าตาเกลี้ยงเกลา เพราะช่วยให้ผู้ชายดูน่าเกรงขาม หนวดทรงต่าง ๆ เรียกว่าอะไรบ้าง หนวด ทรงต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ชายที่ไว้หนวด มีชื่อเรียกดังต่อไปนี้ หนวดดินสอ (Pencil Moustache) หนวดมีลักษณะเป็นแถบบาง ๆ เหนือริมฝีปาก คล้ายเส้นที่ถูกขีดด้วยดินสอ หนวดแบบอังกฤษ (English Moustache) เป็นหนวดที่แนวเส้นขนส่วนปลายบริเวณมุมปากชี้ตรงออกไปทางแก้ม หากปลายหนวดได้รับการดัดหรือจัดทรงให้โค้งขึ้นเล็กน้อยจะเรียกว่าหนวดมือจับ (Handlebar Moustache) […]

หมวดหมู่ สุขภาพชาย เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพชาย

สุขภาพชาย

การตรวจสุขภาพ เพศชาย สำคัญอย่างไร ควรตรวจอะไรบ้าง

การตรวจสุขภาพ เพศชาย เป็นการตรวจความแข็งแรงของร่างกายและระบบอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งเป็นการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยการตรวจสุขภาพ เพศชาย ที่ควรตรวจเป็นประจำนอกเหนือจากการตรวจสุขภาพประจำปี ได้แก่ การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด การตรวจระดับความดันโลหิต และการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลตนเอง และรับมือกับโรคที่อาจตรวจพบ รวมทั้งหาทางป้องกันและรักษาต่อไป [embed-health-tool-bmr] การตรวจสุขภาพ เพศชาย มีความสำคัญอย่างไร การตรวจสุขภาพ เพศชาย ช่วยให้ทราบถึงความแข็งแรงของร่างกาย ปัญหาสุขภาพที่อาจซ่อนอยู่ รวมถึงความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง เช่น เป็นโรคอ้วน น้ำหนักเกิน สูงวัย ไม่ชอบออกกำลังกาย หากพบอาการที่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคจะได้หาทางป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที ทั้งนี้ โรคที่อาจป้องกันได้หากตรวจพบสัญญาณเตือนของโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ  ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยการดูแลตัวเองตามคำแนะนำของคุณหมออาจช่วยลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ การตรวจสุขภาพ เพศชาย มีการตรวจอะไรบ้าง การตรวจสุขภาพสำหรับเพศชาย นอกจากการตรวจร่างกายตามปกติแล้วยังประกอบไปด้วยการตรวจระบบอวัยวะเพื่อคัดกรองโรคต่าง ๆ ที่สำคัญดังต่อไปนี้ ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมลูกหมาก มักตรวจคัดกรองโดยการเจาะเลือด เพื่อหาค่า psa (Prostate-Specific Antigen) ในเลือดโดยการอ่านค่า psa ระดับต่าง ๆ มีความหมายดังนี้ ค่า psa […]


ปัญหาสุขภาพชายแบบอื่น

Mental Health ปัญหาสุขภาพจิตที่ผู้ชายไม่ควรละเลย

Mental Health หรือสุขภาพจิต สำคัญไม่แพ้สุขภาพกาย เพราะมีผลต่อความคิด ความรู้สึก รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ทั้งนี้ ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะสนใจเรื่องสุขภาพจิตน้อยกว่าผู้หญิง เพราะหากผู้ชายมีปัญหาสุขภาพจิตอาจรู้สึกว่าตนเองอ่อนแอและไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ ซึ่งตรงกันข้ามกับการที่สังคมคาดหวังให้ผู้ชายแข็งแกร่ง หรือเป็นผู้นำ [embed-health-tool-bmi] ทำไมผู้ชายถึงไม่ให้ความสนใจเรื่องสุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ชายและผู้หญิง อย่างไรก็ตาม ผู้ชายบางคนอาจให้ความสนใจเรื่องสุขภาพจิตน้อยกว่าผู้หญิง เนื่องจากมองว่าปัญหาดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนของความอ่อนแอ ซึ่งตรงข้ามกับความคาดหวังของสังคมที่ต้องการให้ผู้ชายแข็งแกร่ง มั่นคง หรือเป็นผู้นำ ดังนั้น แม้ว่าผู้ชายอาจมีปัญหาสุขภาพจิตแต่เลือกที่จะไม่พูดถึง หรืออาจละเลยที่จะสำรวจตัวเองว่ามีปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ Mental Health Foundation ประเทศอังกฤษ ระบุว่า ผู้ชายไม่ค่อยพูดถึงปัญหาสุขภาพจิตของตัวเองกับเพื่อนหรือคนในครอบครัว และบางคนอาจเลือกใช้วิธีเสพยาเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือทำงานหนัก เพื่อแก้ปัญหาความเครียดหรืออาการซึมเศร้า ผลการศึกษาชิ้นหนึ่ง เรื่องผู้ชายและความอับอายต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Men's Health ปี พ.ศ. 2563 ระบุว่า ปัญหาสุขภาพจิตในผู้ชายมักไม่ได้รับการรักษา เนื่องจากผู้ชายไม่นิยมไปพบคุณหมอเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพจิตเหมือนผู้หญิง เนื่องมาจากอิทธิพลของสังคมที่มีแนวคิดชายเป็นใหญ่ซึ่งเป็นสาเหตุให้อาการของโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวลแย่ลงด้วย นอกจากนั้น ในรายงานชิ้นเดียวกันยังระบุว่า โรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในผู้ชายอเมริกัน โดยในแต่ละปี มีผู้ชายอเมริกันจำนวนประมาณ 6 ล้านคนได้รับผลกระทบจากโรคซึมเศร้า Mental Health ที่พบได้ในผู้ชาย ผู้ชายอาจมีปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ ดังนี้ โรคซึมเศร้า […]


สุขภาพชาย

ความเข้าใจผิดต่าง ๆ เกี่ยวกับ หนวดเครา ของผู้ชาย

หนวดเครา เป็นขนบนใบหน้าผู้ชายที่จะเริ่มยาวขึ้นเมื่ออายุประมาณ 13-16 ปี ทั้งนี้ ผู้ที่ไว้หนวดเครามักถูกเข้าใจผิดในแง่ของความสะอาดหรือปัญหาสุขภาพของผิวบนใบหน้า นอกจากนั้น ยังมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับหนวดเครา เช่น การโกนจะทำให้หนวดเคราที่ขึ้นใหม่หนาดกยิ่งกว่าเดิม การไว้หนวดเคราจะทำให้รู้สึกร้อนกว่าปกติ ทั้งที่ความจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น [embed-health-tool-bmi] หนวดเคราต่างกันอย่างไร หนวดเคราเป็นขนบนใบหน้าอย่างไรก็ตาม หนวดหมายถึงขนที่ขึ้นอยู่ใต้จมูกหรือเหนือริมฝีปากบน ในขณะที่เคราหมายถึงขนที่ขึ้นบริเวณคาง แก้ม ขากรรไกร หรือลำคอ ความเข้าใจผิดต่าง ๆ เกี่ยวกับ หนวดเครา ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหนวดเครา มีดังนี้ การโกนจะทำให้หนวดเคราขึ้นใหม่เร็วขึ้นและหนาดกกว่าเดิม ความจริงแล้ว การโกนไม่มีผลต่อขนาดของเส้นขนบนใบหน้าที่ขึ้นใหม่ และไม่ได้ทำให้หนวดเคราขึ้นเร็วขึ้น โดยปกติแล้ว ภายใน 1 เดือน หนวดเคราจะยาวขึ้นราว ๆ ครึ่งนิ้ว หนวดเคราสร้างความรำคาญในช่วงที่อากาศร้อน ความจริงแล้ว หนวดเคราไม่ได้สร้างความรำคาญให้ใบหน้าในช่วงอากาศร้อน และไม่ได้ทำให้รู้สึกร้อนเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้าม หนวดเคราอาจช่วยให้รู้สึกร้อนน้อยลงเพราะหนวดเคราที่ยาวปกคลุมบริเวณคางและลำคออาจช่วยปกป้องใบหน้าจากแสงแดดได้ ไว้หนวดเคราแล้วทำให้คันตามใบหน้า ในช่วงที่ขนบนใบหน้ากำลังงอกขึ้นใหม่ อาจทำให้รู้สึกคันหรือระคายเคืองบ้าง แต่เมื่อหนวดเคราเริ่มยาวแล้วมักไม่ทำให้รู้สึกคัน อย่างไรก็ตาม อาการคันบริเวณใบหน้ามักเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ผิวหน้าแห้ง แพ้ครีมหรือเครื่องสำอาง หนวดเครานั้นสกปรก ความจริงแล้ว การไว้หนวดเคราไม่ได้ทำให้ผิวหนังบริเวณคาง แก้ม ขากรรไกรหรือคอสกปรกกว่าผู้ที่มีใบหน้าเกลี้ยงเกลา และไม่ได้เป็นแหล่งเชื้อโรคหากทำความสะอาดเป็นประจำ […]


สุขภาพชาย

เรื่องน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับ หนวด ของผู้ชาย

หนวด หมายถึง ขนบนใบหน้าที่ขึ้นบริเวณใต้จมูกและเหนือริมฝีปาก โดยผู้ชายมักมีหนวดขึ้นเห็นเด่นชัดมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากมีระดับฮอร์โมนเพศแอนโดรเจน (Androgen) สูงกว่า ทั้งนี้ หากต้องการไว้หนวดให้ยาวกว่าปกติอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เป็นสิวได้ง่ายหรือมีรังแคบริเวณใบหน้า นอกจากนั้น หากไม่ดูแลรักษาความสะอาดหนวดอยู่เสมอ อาจทำให้เป็นที่อยู่อาศัยของเหาหรือโลนได้ และอาจทำให้ใบหน้าคัน อักเสบ หรือระคายเคือง [embed-health-tool-bmi] ทำไมผู้ชายมีหนวดมากกว่าผู้หญิง ผู้ชายมีขนบนใบหน้ามากกว่าผู้หญิง เนื่องจากมีฮอร์โมนเพศแอนโดรเจนในร่างกายสูงกว่า ทั้งนี้ แอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในช่วงวัยรุ่น เพื่อทำให้ร่างกายเติบโตเป็นผู้ใหญ่และมีขนดกหนาขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ใบหน้า หน้าอก รักแร้ หัวหน่าว ปัญหาผิวหนังที่อาจพบได้เมื่อไว้ หนวด การไว้หนวดอาจเป็นสาเหตุของปัญหาผิวหนังดังต่อไปนี้ สิว ผู้ที่ไว้หนวดอาจมีโอกาสเป็นสิวมากกว่าคนทั่วไป เพราะหนวดอาจขังน้ำมันจากต่อมใต้ผิวหนัง เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว หรือแบคทีเรียไว้บนใบหน้า ส่งผลให้รูขุมขนมีแนวโน้มอุดตันหรือติดเชื้อจนเป็นสิวได้ รังแค การไว้หนวดอาจเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อรามาลาสซีเซีย (Malassezia) ที่อาศัยบนผิวหนัง หากติดเชื้อจะทำให้ผิวหนังแดง คัน และลอกเป็นขุยหรือเป็นรังแค ขนคุด การโกนหนวดชิดผิวหนังเกินไป หรือโกนย้อนแนวเส้นขน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดขนคุด หรือขนที่งอกไม่พ้นผิวหนังจนกลายเป็นตุ่มคล้ายสิวบนใบหน้า อย่างไรก็ตาม การโกนหนวดหลังอาบน้ำ หรือในขณะที่เส้นขนยังชุ่มน้ำอยู่ อาจช่วยป้องกันการเกิดขนคุดได้ ผิวหนังระคายเคือง การโกนหนวดด้วยใบมีดที่ทื่ออาจเป็นสาเหตุให้ผิวหนังระคายเคืองได้ นอกจากนั้น น้ำหอมและสารเคมีอย่างแอลกอฮอล์ในครีมโกนหนวด อาจทำให้ผิวหนังคัน ระคายเคือง หรือแสบได้เช่นกัน […]


ปัญหาสุขภาพชายแบบอื่น

ปัญหา สุขภาพจิต สำคัญอย่างไรต่อผู้ชาย

สุขภาพจิต สำคัญกับทุกคนเพราะส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิด การตัดสินใจ การรับมือกับปัญหา และประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ผู้ชายมักเลือกที่จะไม่พูดถึงปัญหาสุขภาพจิตของตัวเอง เนื่องจากไม่ต้องการให้ผู้อื่นมองว่าอ่อนแอ และมักเก็บปัญหาไว้กับตัว จนส่งผลให้สภาพจิตใจแย่ลง และอาจเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด [embed-health-tool-bmi] สุขภาพจิตมีความสำคัญอย่างไร สุขภาพจิต หมายถึง ภาวะอารมณ์หรือจิตใจ ซึ่งมีความสำคัญต่อการคิด ความรู้สึก การตัดสินใจ การรับมือกับเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งส่งผลต่อความสามารถในการจัดการความเครียด ประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงการรู้จักปรับตัวให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในสังคม หากสุขภาพจิตดี ย่อมทำให้เบิกบาน รู้สึกมีความสุข สมองปลอดโปร่ง สามารถคิดหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ร่างกายกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อเกิดปัญหาก็สามารถรับมือและหาทางแก้ไขได้ แต่หากมีปัญหาสุขภาพจิต อาจทำให้จิตใจหม่นหมอง มองโลกในแง่ร้าย ท้อแท้ หมดหวัง จนไม่สามารถรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันนี้ คนในสังคมจำนวนไม่น้อยอาจไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะผู้ชายที่มักไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะมองว่าเป็นเรื่องที่น่าอับอาย หวาดกลัวที่จะยอมรับว่าตนเองอ่อนแอ หรือหากพบว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพจิตก็เลือกที่จะไม่หาทางรักษาเพราะคิดว่าไม่จำเป็น ทั้งที่จริงแล้วหากปล่อยไว้อาจส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวัน อาจทำให้การทำงานด้อยประสิทธิภาพลง ทำให้ความสัมพันธ์สั่นคลอน ทำให้การเงินมีปัญหา และอาจเป็นต้นเหตุของโรคเกี่ยวกับจิตเภทอื่น ๆ เช่น ประสาทหลอน ความคิดหลงผิด การแสดงอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการฆ่าตัวตาย สัญญาณเตือนของปัญหา สุขภาพจิต ผู้ชายอาจไม่ให้ความสำคัญกับความรู้สึกหรือสภาพจิตใจของตนเองมากนัก จึงมักไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ อาการต่อไปนี้ถือเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังมีปัญหาสุขภาพจิต […]


ปัญหาสุขภาพชายแบบอื่น

ภาวะวิตก กังวล ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้ชายอย่างไร

ภาวะวิตก กังวล เป็นความรู้สึกไม่สบายใจ คิดมากหรือหวาดกลัว ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความกดดันในที่ทำงาน หรือความคาดหวังต่ออนาคตซึ่งสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้าและความเครียด ทั้งนี้ ผู้ชายอาจมีภาวะวิตกกังวลเช่นเดียวกับผู้หญิง แต่อาจไม่แสดงออกมา อย่างไรก็ตาม ภาวะวิตกกังวลอาจป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการพูดคุยกับคนใกล้ตัวสม่ำเสมอ เพื่อระบายความรู้สึกอัดอั้นที่อยู่ในใจ ช่วยให้ผ่อนคลาย และรู้สึกว่ามีคนรับฟังช่วยแบ่งเบาความทุกข์ใจต่าง ๆ [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะวิตก กังวล มีอาการอย่างไร ภาวะวิตกกังวล หมายถึง ความรู้สึกไม่สบายใจ คิดมาก หรือหวาดกลัว ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิตของคนในครอบครัวหรือคนใกล้ตัว ความกดดันหรือการแข่งขันสูงในที่ทำงาน หรือความคาดหวังต่ออนาคตหรือการจัดการการเงินของตัวเอง ซึ่งผู้ชายเองอาจตกอยู่ในภาวะวิตกกังวลเช่นเดียวกับผู้หญิงหรืออาจมากกว่า แต่อาจไม่แสดงออก ทั้งนี้ เมื่อมีภาวะวิตกกังวล ผู้ชายมักมีอาการดังต่อไปนี้ หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมากกว่าปกติ ตาลาย วิงเวียน หายใจลำบาก นอนไม่หลับ คลื่นไส้ ท้องเสีย คิดมาก กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิ ใจลอย หงุดหงิด เบื่ออาหาร งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับภาวะวิตกกังวลในผู้ชาย เผยแพร่ในวารสาร Journal of Affective Disorders ปี พ.ศ. 2564 นักวิจัยได้ศึกษาผลการศึกษาจำนวน […]


สุขภาพชาย

ข้อเท็จจริงน่ารู้เกี่ยวกับ หนวด เครา ในผู้ชาย

หนวด เครา หมายถึงเส้นขนบนใบหน้าที่จะเริ่มยาวขึ้นหลังผู้ชายเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น แม้จะเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่มีข้อเท็จจริงหลายประการที่หลายคนอาจไม่ทราบเกี่ยวกับหนวดเครา เช่น ทุก ๆ 24 ชั่วโมง หนวดเคราจะยาวขึ้นประมาณ 0.27 เซนติเมตร ผู้ชายจับหรือลูบหนวดเคราของตนเองอาจมากถึง 760 ครั้ง/วัน หากไม่โกนเลยตลอดชีวิต หนวดเคราจะยาวประมาณ 915 เซนติเมตร [embed-health-tool-bmr] ประโยชน์ของการไว้เครา เคราเป็นขนที่ขึ้นบริเวณคางของผู้ชาย และหากปล่อยให้ยาวอาจปกคลุมไปถึงบริเวณลำคอ ซึ่งการไว้เครานั้นมีประโยชน์ดังนี้ เคราช่วยปกป้องผิวหนังจากรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด รวมถึงช่วยปกป้องผู้ที่เป็นภูมิแพ้และหอบหืดจากสารก่อภูมิแพ้อย่างฝุ่นหรือเกสรดอกไม้ได้ ช่วยเพิ่มแรงดึงดูดทางเพศ เนื่องจากการไว้เคราอาจช่วยให้บุคลิกดูเคร่งขรึมและน่าค้นหา ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้ใบหน้าบริเวณคางและคอได้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ช่วยคงความชุ่มชื้นของผิวหน้า โดยเฉพาะในผู้ที่มีผิวแห้ง อาจช่วยป้องกันเชื้อโรคไม่ให้แพร่กระจายเข้าไปในปาก และอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อในลำคอได้ ข้อเท็จจริงน่ารู้เกี่ยวกับหนวดและ เครา ข้อเท็จจริงน่ารู้เกี่ยวกับหนวด เครามีดังต่อไปนี้ หากไม่โกนหนวด เคราเลย จะยาวได้ถึง 30 ฟุต หรือประมาณ 914.4 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ชายสัมผัสหนวด เคราตัวเองประมาณ 760 ครั้ง/วัน หรือประมาณ 31.25 ครั้ง/ชั่วโมง บางคนเป็นโรคกลัวเครา หรือโพโกโนโฟเบีย (Pogonophobia) ซึ่งเป็นโรคกลัว (Phobia) รูปแบบหนึ่ง […]


โรคอวัยวะเพศชายโค้งงอ

ท่าบริหารรักษาโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอ ได้ผลจริงหรือเปล่า

วิธีรักษาโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอ นอกจากการรับประทานยา การฉีดสารเข้าสู่คราบหินปูนในอวัยวะเพศ และการผ่าตัดแล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ได้ นั่นก็คือ การบริหารและการนวด ว่าแต่ ท่าบริหารรักษาโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอ จะมีท่าอะไรบ้าง ทำแล้วจะช่วยได้จริงไหม เราไปหาคำตอบกันเลย [embed-health-tool-ovulation] ท่าบริหารรักษาโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอ ได้ผลจริงไหม การออกกำลังกายและการทำท่าบริหารร่างกาย ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผลวิจัยแน่ชัดที่ระบุว่า ท่าบริหารรักษาโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอได้ 100% แต่ผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำว่า การออกกำลังกายและการทำท่าบริหารร่างกายบางท่า สามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ เช่น การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของอวัยวะเพศชาย ที่ช่วยลดความโค้งงอของอวัยวะเพศ ทั้งยังช่วยไม่ให้คราบหินปูนในอวัยวะเพศแข็งขึ้นด้วย ท่าบริหารรักษาโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอที่แนะนำ การออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อ เป็นเทคนิคการออกกำลังกายประเภทหนึ่งที่สามารถแก้ไขอาการของโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคุณสามารถออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการของโรคนี้ได้ ด้วยท่าบริหารดังต่อไปนี้ ท่าบริหารรักษาโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอท่าที่ 1 เริ่มต้นด้วยการวางผ้าเช็ดตัวเปียกบนอวัยวะเพศ 5 นาที เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด จับอวัยวะเพศชายด้านหลังแล้วดึงออกจากลำตัวประมาณ 10-15 วินาที แล้วค่อย ๆ ปล่อยมือ ทำแบบนี้ในทิศทางต่าง ๆ โดยยืดอวัยวะเพศชายขึ้น ลง ซ้าย และขวา ท่าบริหารรักษาโรคอวัยวะเพศชายโค้งงอท่าที่ 2 เริ่มต้นด้วยการวางผ้าเช็ดตัวเปียกบนอวัยวะเพศ 5 นาที เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด จับอวัยวะเพศชายแน่นในระดับหนึ่ง ให้รู้สึกว่ามีแรงกดที่อวัยวะเพศ ดึงอวัยวะเพศให้ยืดออกได้ไกลที่สุด ค้างไว้ […]


ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

โรคซึมเศร้ากับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

คำถามชวนสงสัย โรคซึมเศร้ากับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เกี่ยวข้องกันอย่างไร เมื่อคุณมีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าได้ แล้วเราจะมีวิธีรับมือ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคซึมเศร้าและภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อย่างไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมสาระดี ๆ ในเรื่องนี้มาให้คุณแล้วค่ะ โรคซึมเศร้ากับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ในผู้ชาย สำหรับผู้ชายที่มีปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวอาจทำให้รู้สึกหงุดหงิด กังวล ขาดความมั่นใจเมื่อมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้เกิดความเครียดและส่งผลต่อโรคซึมเศร้าได้ โรคซึมเศร้าที่มาพร้อมภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นความเจ็บป่วยที่เกิดจากความเศร้า ความเครียด และความกังวลภายในจิตใจของคุณ อาการที่บอกว่าคุณอาจกำลังเป็นโรคซึมเศร้า ได้แก่ ความรู้สึกนับถือตัวเองต่ำลง สูญเสียความสนใจในกิจกรรมที่เคยชื่นชอบ เหนื่อยล้า อ่อนเพลียง่าย ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป นอนหลับยากขึ้น รู้สึกไม่ค่อยสนใจโลกภายนอก อาจมีการใช้ยาและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เกิดความคิดอยากฆ่าตัวตาย สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า และสิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้เองเนื่องจากปัญหาทางพันธุกรรมและฮอร์โมน โรคซึมเศร้ามีผลต่อความรู้สึกของคุณเองและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คนที่เป็นโรคซึมเศร้าควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องร้ายแรงในอนาคต ความต้องการทางเพศถูกสั่งการโดยสมอง อวัยวะเพศต้องอาศัยสารเคมีในสมองเพื่อทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศและเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของเลือด ดังนั้น โรคซึมเศร้าอาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลงได้ นอกจากนี้ ยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิดมีผลข้างเคียงทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรถภาพทางเพศได้ เช่น ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มโมโนเอมีนออกซิเดส (MAOIs) เป็นยากล่อมประสาทที่ช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้า ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มเอสเอ็นอาร์ไอ (Serotonin–norepinephrine reuptake inhibitor หรือ SNRIs) เป็นยากล่อมประสาทช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าและหงุดหงิด ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (Selective serotonin reuptake inhibitor หรือ SSRIs) ช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้าและทำให้อารมณ์ดีขึ้น ยาเตตราไซคลีน (Tetracycline) และไตรไซคลิก (Tricyclic) วิธีรับมือ โรคซึมเศร้ากับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การหย่อนสมรรถภาพทางเพศสามารถเกิดขึ้นได้เมื่ออวัยวะเพศของคุณไม่แข็งตัว ทำให้คุณอาจเกิดความวิตกกังวลเมื่อต้องมีเพศสัมพันธ์ และอาจทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์กับคู่รักของคุณได้ จนทำให้เกิดความเครียดและนำไปสู่โรคซึมเศร้าในอนาคต เราจึงขอแนะนำวิธีรับมือโรคซึมเศร้ากับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ดังนี้ การจัดการอารมณ์ […]


สุขภาพชาย

10 ปัญหา สุขภาพ เพศ ชาย ที่พบได้บ่อย มีอะไรบ้าง

ร่างกายของเพศชายมีความแตกต่างจากร่างกายของเพศหญิง ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบของอวัยวะภายในบางอย่าง ฮอร์โมน รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่อาจส่งผลให้เกิด ปัญหา สุขภาพ เพศ ชาย บางประการ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพเหล่านั้น อาจช่วยให้สามารถรับมือได้อย่างเหมาะสม และป้องกันอันตรายต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-heart-rate] 10 ปัญหา สุขภาพ เพศ ชาย ที่พบได้บ่อย ปัญหาสุขภาพเพศชาย ที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ โรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก เนื่องจากคอเลสเตอรอลเข้าไปปิดกั้นทางเดินเลือด ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวตีบ ส่งผลให้เกิดอาการหัวใจวายตามมา แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และศึกษาเกี่ยวกับโรคหัวใจให้มากขึ้น มะเร็งปอด มะเร็งปอดเป็นคร่าชีวิตผู้ชายและผู้หญิงมากกว่ามะเร็งชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะผู้ชายที่สูบบุหรี่ อาจมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดและโรคปอดอื่น ๆ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นสาเหตุของความพิการ เพื่อลดการเกิดโรคปอดและมะเร็งปอดควรเลิกสูบบุรี่และดูแลสุขภาพอยู่เสมอ มะเร็งผิวหนัง ผู้ชายหลายคนอาจไม่สนใจการทาครีมบำรุงผิวและครีมกันแดด จึงอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากครีมกันแดดช่วยลดการสัมผัสแสงแดดโดยตรงและลดการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ ดังนั้นจึงควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 ขึ้นไป ก่อนออกแดดอย่างน้อย 20 นาที เป็นประจำ รวมถึงควรสวมเสื้อผ้าที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด และหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านในช่วงเวลาที่มีแดดจัด หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นหนึ่งใน ปัญหาสุขภาพเพศชาย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน