backup og meta

กินแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุ จำเป็นจริงหรือเปล่า?

กินแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุ จำเป็นจริงหรือเปล่า?

เวลาจะซื้อของฝากไปให้ผู้สูงอายุที่บ้านหรือบุคคลที่เคารพรัก หลายคนก็อาจจะนึกถึงแต่ของฝากที่มี แคลเซียม เพื่อความหวังดีที่จะให้ผู้สูงอายุที่ได้รับของฝากนั้นมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยเฉพาะอาหารเสริมแคลเซียม ที่หลายคนมองว่าจำเป็นต้องให้คนสูงวัยได้รับประทานเพื่อที่จะได้มีกระดูกที่แข็งแรง แต่…ในความเป็นจริงแล้วการ กินแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องจำเป็นจริงๆ อย่างนั้นหรือ? วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านไปหาคำตอบค่ะ

ผู้สูงอายุกับปัญหาเรื่องกระดูก

ผู้สูงอายุอย่าง คุณปู่ คุณย่า คุณตาและคุณยายหลายท่าน เมื่อเข้าถึงวัยที่เป็นผู้สูงอายุก็จะเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก บางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกเรื้อรังมานาน เช่น กระดูกพรุน  กระดูกแตก หรือกระดูกหัก และเมื่อแก่ตัวไปก็มีผลทำให้อาการอาจจะแย่ลงกว่าเดิม เหล่านี้จึงเป็นปัญหาทางสุขภาพที่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงวัย โดยอาจมีสาเหตุด้วยกันหลายประการ ทั้งการได้รับปริมาณ แคลเซียม ไม่เพียงพอ การไม่ออกกำลังกาย ไปจนถึงการประสบอุบัติเหตุ ซึ่งเมื่อถึงวัยสูงอายุแล้ว การที่จะฟื้นฟูกระดูกให้เหมือนกับตอนยังเป็นหนุ่มสาวนั้นก็จะไม่สามารถทำได้อย่างเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์

กินแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่เป็น

แคลเซียม (Calcium) สารอาหารสำคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและกระดูก มีส่วนช่วยให้ทั้งกล้ามเนื้อ กระดูกและฟันมีความแข็งแรง ซึ่งนอกจากแคลเซียมแล้วก็ยังรวมถึงวิตามินดี ซึ่งมีประโยชน์ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรงเช่นเดียวกัน 

ร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถที่จะสังเคราะห์แคลเซียมหรือวิตามินดีได้เอง จึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารดังกล่าวผ่านการรับประทานอาหารในแต่ละวัน หรือเสริมด้วยอาหารเสริมแคลเซียมและวิตามินดี เพื่อให้แน่ใจได้ว่าตนเองได้รับสารอาหารที่ดีต่อกระดูกอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่มองว่าการรับประทาน แคลเซียม ในรูปแบบของอาหารเสริมนั้นอาจจะดีกว่าการรับประทานอาหารทั่วๆ ไป เพราะมั่นใจได้ว่าอาหารเสริมที่กินเข้าไปนั้น ให้แคลเซียมอย่างเต็มที่

แต่…ในความเป็นจริงแล้ว แคลเซียมจากอาหารที่เรารับประทานกันทุกวันนั้นมากเพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกายแล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องเพิ่มแคลเซียมด้วยอาหารเสริม และอีกหนึ่งข้อสำคัญของแคลเซียมก็ไม่ได้อยู่ที่การเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีแคลเซียมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้กล้ามเนื้อและกระดูกถูกใช้งาน เป็นการกระตุ้นให้กระดูกแข็งแรงได้เป็นอย่างดี

ดังนั้น สำหรับผู้สูงอายุแล้ว การรับประทานอาหารที่ให้ แคลเซียม ถือว่าเพียงพอแล้ว การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมที่นอกเหนือไปจากมื้ออาหารทั่วไป ไม่ได้มีความจำเป็นมากขนาดนั้น ข้อสำคัญคือ ให้ผู้สูงอายุในบ้านได้หมั่นออกกำลังกาย เดิน หรือวิ่งเบาๆ เป็นประจำ เพื่อที่กล้ามเนื้อและกระดูกจะได้ถูกใช้งานอยู่เสมอ เป็นการเสริมให้กระดูกแข็งแรงควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมนั่นเอง

ปริมาณแคลเซียมที่แต่ละช่วงวัยควรได้รับ

แม้การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมจะไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นมากถึงขนาดนั้น แต่ข้อควรจำคือ ร่างกายจำเป็นที่จะต้องได้รับ แคลเซียม อย่างสม่ำเสมอ และเพียงต่อการใช้งานของร่างกาย เพราะถ้าหากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ นอกจากจะมีผลให้กระดูกและกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงแล้ว ยังอาจเสี่ยงที่จะมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) อีกด้วย และเพราะเหตุนี้ แต่ละช่วงวัยจึงมีระดับปริมาณของ แคลเซียม ที่ร่างกายควรได้รับแตกต่างกันไป ดังนี้

  • ผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 50 ปี ไปจนถึงอายุ 50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป ควรได้รับ แคลเซียม 1200 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้ชายที่อายุต่ำกว่า 70 ปี ไปจนถึงอายุ 70 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้ชายอายุมากกว่า 70 ปี ขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1200 มิลลิกรัมต่อวัน

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกก็ยังแนะนำเพิ่มเติมว่า หากไม่ได้รับแคลเซียมถึง 1000 หรือ 1200 มิลิกรัมต่อวัน แต่การได้รับแคลเซียมเพียง 500-700 มิลลิกรัมต่อวัน ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อร่างกายแล้ว สิ่งสำคัญคือ ต้องให้ร่างกายได้รับ แคลเซียม ในทุกๆ วัน และหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ เท่านี้ผู้สูงอายุรวมถึงทุกเพศและทุกวัย ก็จะมีกระดูกที่แข็งแรงแล้ว

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Many Older Adults Can Skip the Vitamin D and Calcium Supplements, Experts Say. https://www.everydayhealth.com/senior-health/many-older-adults-can-skip-vitamin-d-calcium-supplements-experts-say/. Accessed on March 24, 2020.

Seniors Don’t Need Calcium, Vitamin D Supplements. https://www.webmd.com/osteoporosis/news/20171226/seniors-dont-need-calcium-vitamin-d-supplements#1. Accessed on March 24, 2020.

How much calcium do you really need?. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/how-much-calcium-do-you-really-need. Accessed on March 24, 2020.

BONE HEALTH IN SENIORS. http://worldosteoporosisday.org/prevention/nutrition/seniors. Accessed on March 24, 2020.

Calcium and Vitamin D. https://www.nof.org/patients/treatment/calciumvitamin-d/. Accessed on March 24, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia)

ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก อาการและการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา