backup og meta

ท้องอืด อ่อนเพลีย สิวขึ้น มีผื่นคัน อาการเหล่านี้อาจเกิดจาก ภาวะลำไส้รั่ว

ท้องอืด อ่อนเพลีย สิวขึ้น มีผื่นคัน อาการเหล่านี้อาจเกิดจาก ภาวะลำไส้รั่ว

ในบางครั้งอาการเจ็บป่วยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ท้องอืด อ่อนเพลีย สิวขึ้น มีผื่นคัน ไปจนถึงระบบหายใจติดขัด อาจเกิดจาก ภาวะลำไส้รั่ว ก็เป็นได้ และผู้ที่มีปัญหาภาวะลำไส้รั่วจะมีลักษณะอาการอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ พามาหาคำตอบค่ะ

ทำความรู้จัก ภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome)

ภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome) ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงลำไส้ทะลุแต่อย่างใดนะคะ แต่ภาวะลำไส้รั่วเกิดจากการที่ลำไส้ทำงานผิดพลาด  เสียความสามารถในการควบคุมการผ่านเข้าออกของสารพิษ ทำให้เชื้อแบคทีเรียและสารพิษผ่านเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอม ร่างกายจะเกิดการต่อต้าน ด้วยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานหนักขึ้นเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่แปลกปลอมเหล่านี้ ส่งผลเสียให้ร่างกายรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ รวมถึงปัญหาด้านผิวหนัง เช่น สิวอักเสบเรื้อรัง ผิวหนังอักเสบ ผื่น คัน เป็นต้น

สาเหตุอาการเจ็บป่วยซ้ำๆ ที่อาจเกิดจากภาวะลำไส้รั่ว

สาเหตุที่ทำให้คุณเป็นสิวเรื้อรัง นอนพักผ่อนเท่าไรก็ยังไม่หายเพลีย ไหนจะผดผื่นคันขึ้นไม่หาย หายใจติดขัด บางทีอาจมาจาก ภาวะลำไส้รั่ว ซึ่งเกิดจากการที่คุณมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารแบบเดิมๆซ้ำๆ จนเศษอาหารหลุดผ่านผนังลำไส้ที่รั่วเข้าสู่กระแสเลือด ร่างกายจึงต้องสร้างภูมิส่งผลให้ร่างกายเกิดการแพ้ขึ้น โดยอาการแพ้นี่แหละกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ

โดยในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดภาวะลำไส้รั่ว แต่อาจเกิดได้จากปัจจัยหลายๆ ด้าน ดังต่อไปนี้

  • ภาวะความเครียดสะสม
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหารเดิมๆ ซ้ำๆ
  • การรับประทานยาบางชนิดที่ไม่สมดุลกับร่างกาย
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • บริโภคน้ำตาลมากจนเกินไป
  • ขาดวิตามิน เช่น วิตามินดี และ สังกะสี (มีส่วนเกี่ยวข้องในการซึมผ่านของลำไส้)
  • การสูบบุหรี่ และ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

5 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าเป็นภาวะลำไส้รั่ว

  • อาการทางผิวหนัง

อาการที่แสดงออกทางผิวหนังอย่างเห็นได้ชัดเลยคือปัญหาโรคผิวหนัง เช่น ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง สิวอักเสบเรื้อรัง ผื่นคัน ลมพิษ เป็นต้น

  • อาการในระบบทางเดินอาหาร

มีอาการลำไส้แปรปรวน เช่น รู้สึกปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการไม่ย่อย ท้องเสีย เป็นการแสดงปฏิกิริยาภูมิแพ้อาหารแฝง ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะลำไส้รั่ว

  • อาการทางระบบหายใจ

ระบบหายใจผิดปกติ เช่น หายใจติดขัด อาการไอ จาม คันจมูก

  • อาการทางระบบประสาท

รู้สึกปวดศีรษะ ความสามารถในการตัดสินใจช้าลง

  • อาการอื่นๆ

นอนหลับพักผ่อนเป็นปกติ แต่ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง น้ำหนักขึ้นง่าย และอาจนำมาสู่โรคอ้วน

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลภาวะลำไส้รั่ว

การรักษาโรคนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาที่แน่ชัด เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันและการบริโภคเพื่อปรับสมดุลให้ลำไส้จะได้ทำงานได้อย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีวิธีดังนี้

  • งดการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่ลำไส้ต้องเจอสารเคมีชนิดเดิมๆ เป็นเวลานาน
  • หากิจกรรมต่างๆทำ เพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น ดูหนัง ว่ายน้ำ ปลูกต้นไม้ เล่นโยคะ นั่งสมาธิ เป็นต้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกาย
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายครบถ้วน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจช่วยให้อาการบรรเทาลงได้ในเบื้องต้น หากคุณคิดว่าตัวเองมีอาการเสี่ยงของโรคนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What to know about leaky gut syndrome. https://www.medicalnewstoday.com/articles/326117.php. Accessed 11 February 2020

Leaky gut: What is it, and what does it mean for you?. https://www.health.harvard.edu/blog/leaky-gut-what-is-it-and-what-does-it-mean-for-you-2017092212451. Accessed 11 February 2020

Is Leaky Gut Syndrome a Real Condition? An Unbiased Look. https://www.healthline.com/nutrition/is-leaky-gut-real. Accessed 11 February 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

แพ้กลูเตน สาเหตุ อาการ และการรักษา

ลำไส้แปรปรวน อะไรคือสิ่งที่คุณควรรู้เพื่อรับมือกับโรคเรื้อรังนี้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา