สุขภาพตา

คุณรู้หรือเปล่าว่า ดวงตา คือหนึ่งในอวัยวะรับสัมผัส ที่พัฒนามากที่สุดในร่างกายของมนุษย์ เราจำเป็นต้องพึ่งการมองเห็นในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติ ดังนั้น การดูแลรักษา สุขภาพดวงตา ให้ดี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพตา และการดูแลรักษาสุขภาพดวงตาของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพตา

ตาบอดสีรู้ได้อย่างไร ทดสอบตาบอดสี มีอะไรบ้าง

ตาบอดสี เป็นภาวะบกพร่องของประสาทสัมผัสการรับรู้สึก อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้มีการมองเห็นสีที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด แต่ก็อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น การ ทดสอบตาบอดสี ทำได้ด้วยการทำแบบทดสอบแยกสีในแผ่นกระดาษ ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการใช้เครื่องมือแยกสี โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการตาบอดสีไม่สามารถรักษาให้หายได้ ยกเว้นภาวะที่เกิดจากการใช้ยาหรือเกิดจากปัญหาของดวงตาที่เพิ่งมีขึ้นในภายหลัง คุณหมออาจวางแผนการรักษาให้การมองเห็นสีดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ตาบอดสี คืออะไร ภาวะตาบอดสี (Color Blindness) คือ ความผิดปกติของดวงตาในการตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงต่าง ๆ โดยทั่วไป แสงที่มีความยาวคลื่นของทุกสีจะเดินทางเข้าสู่ดวงตาทางกระจกตาผ่านทางเลนส์ตาและวุ้นตาเข้าไปยังเซลล์รูปกรวยในดวงตาที่อยู่บริเวณจุดรับภาพของจอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) เซลล์รูปกรวยจะมีความไวต่อแสงความยาวคลื่นสั้น (สีน้ำเงิน) ปานกลาง (สีเขียว) หรือยาว (สีแดง) ที่ทำให้สามารถรับรู้สีได้ตามปกติ แต่หากเซลล์รูปกรวยขาดสารเคมีที่ไวต่อความยาวคลื่นอย่างน้อย 1 ชนิด ก็จะส่งผลให้การรับรู้สีแตกต่างไปจากคนทั่วไป ตาบอดสี เกิดจากอะไร ตาบอดสี เป็นความผิดปกติที่สืบทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นตาบอดสีมักจะมีโอกาสเป็นตาบอดสีได้มากกว่าคนทั่วไป และมักมีภาวะนี้ตั้งแต่กำเนิดและส่งผลต่อดวงตาทั้ง 2 ข้าง ตามปกติแล้วความรุนแรงจะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นและพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สำหรับผู้ที่มีภาวะนี้ในภายหลังอาจเกิดได้เมื่อสมองหรือดวงตาได้รับความเสียหาย ซึ่งทำให้การมองเห็นสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตาบอดสีมักทำให้สับสนในการแยกแยะสีในชีวิตประจำวันและมองเห็นสีบางสีที่ไม่สดใสเท่าผู้ที่มีสายตาปกติ คนส่วนใหญ่ที่ตาบอดสีไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวบางเฉดได้ ในบางกรณีซึ่งพบได้ไม่บ่อย คนตาบอดสีจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเฉดสีฟ้าและสีเหลืองได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ตาบอดสีไม่ได้มีความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด ประเภทของตาบอดสี ตาบอดสี อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ตาบอดสีแดง-เขียว เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ที่ตาบอดสีจะแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวได้ยากกว่าปกติ […]

สำรวจ สุขภาพตา

โรคตา

จอประสาทตาลอก สาเหตุ อาการ และการรักษา

จอประสาทตาลอก หรือ จอประสาทตาหลุดลอก (Retinal detachment) เป็นภาวะที่อาจเกิดจากเรตินาด้านหลังของดวงตา เคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม ส่งผลให้มองสิ่งรอบตัวเป็นภาพซ้อน ตาพร่า หรือเห็นเป็นแสงวาบคล้ายแฟลชถ่ายรูป หากไม่เร่งรักษา หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำอาจก่อให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นได้อย่างถาวร คำจำกัดความจอประสาทตาลอก คืออะไร จอประสาทตาลอก คือ การหลุดลอกของชั้นเนื้อเยื่อ หรือเรียกว่าเรตินาของดวงตา เมื่อเรตินาแยกออกจากตำแหน่งเดิม ก็อาจทำให้เซลล์ หรือเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน ทำให้การมองเห็นเปลี่ยนแปลง เพราะเรตินาทำหน้าสำคัญในการประมวลผลเมื่อแสงผ่านเข้าตา เลนส์ตาจะทำการโฟกัสภาพ หลังจากนั้นเรตินาจะแปลงภาพเป็นสัญญาณแล้วส่งข้อมูลไปยังสมองผ่านเส้นประสาทตา เพื่อสร้างการมองเห็น หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจ นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้ อาการอาการจอประสาทตาลอก อาการจอประสาทตาลอก อาจไม่ส่งผลให้ปวดตา แต่อาจส่งสัญญาณเตือนเชื่อมโยงกับด้านการมองเห็น ดังนี้ เห็นลักษณะไฟสว่าง หรือไฟกระพริบ เหมือนแฟลชถ่ายรูป มองเห็นสิ่งรอบตัวเป็นภาพซ้อน และประสิทธิภาพการมองเห็นวัตถุด้านข้างลดลง เห็นจุดเล็ก ๆ ลอยไปมาจำนวนมาก สูญเสียการมองเห็น หรือมีเงาดำมาบดบังม่านตาเป็นบางส่วน สาเหตุสาเหตุจอประสาทตาลอก สาเหตุจอประสาทตาลอก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามการลอกของเรตินา ดังนี้ จอประสาทตามีรู หรือรอยฉีกขาด (Rhegmatogenous) เป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด โดยมีสาเหตุมาจากรูในเรตินามีรู และรอยฉีดขาดที่ทำให้ของเหลวไหลเข้าไปสะสมในเรตินา ทำให้จอประสาทตาลอก จอประสาทตาลอกที่เกิดจากการดึงรั้ง (Tractional retinal detachment) จอประสาทตาลอกประเภทนี้ อาจเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อพังผืดเกิดขึ้นบริเวณเรตินา เมื่อพังผืดหดตัวอาจเกิดแรงดึงทำให้จอประสาทตาลอก มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จอประสาทตาลอกแบบไม่มีรู หรือรอยฉีกขาด (Exudative retinal […]


สุขภาพตา

เป็นเยื่อบุตาอักเสบ จะเยียวยารักษาได้อย่างไรบ้าง

เยื่อบุตาอักเสบ หรืออาการ ตาแดง เป็นปัญหาสุขภาพดวงตาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่เมื่อเป็นแล้ว เราจะมีวิธีเยียวยาและรักษาให้อาการค่อย ๆ ดีขึ้นได้อย่างไรบ้างนั้น มาติดตามสาระน่ารู้และวิธีดูแลตนเองเมื่อ เป็นเยื่อบุตาอักเสบ ที่บทความนี้จาก Hello คุณหมอ กันค่ะ เยื่อบุตาอักเสบคือไร เยื่อบุตาอักเสบ คืออาการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส อาการแพ้ การถูกสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมกระทบเข้าที่บริเวณเยื่อบุดวงตา หรือบริเวณที่เป็นตาขาว เมื่อเส้นเลือดเล็ก ๆ ที่อยู่ในเยื่อบุตาขาวมีการอักเสบ เนื้อตาขาวก็จะค่อย ๆ แดงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จึงมักเรียกกันติดปากว่า ตาแดง นั่นเอง โดยอาการเยื่อบุตาอักเสบนี้มักจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองอยู่บ้าง แต่ไม่มีผลกระทบต่อการมองเห็น อย่างไรก็ตาม เยื่อบุตาอักเสบสามารถติดต่อได้ ผู้ที่มีอาการเยื่อบุตาอักเสบ จึงควรระมัดระวังตนเองและหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้อื่นขณะมีอาการ อาการเยื่อบุตาอักเสบเป็นอย่างไร อาการ เยื่อบุตาอักเสบ ที่พบได้บ่อย มีดังนี้ มีอาการตาแดงเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มีอาการคันที่ดวงตาเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มีอาการระคายเคืองตาเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง เมื่อตื่นนอนจะมีขี้ตาใส หรือขี้ตาเหลืองเกาะที่เปลือกตาหรือขนตามาก อาจทำให้ลืมตาลำบาก มีน้ำตาไหลบ่อย เป็นเยื่อบุตาอักเสบ จะรักษาได้อย่างไรบ้าง โดยทั่วไปแล้วการรักษาอาการ เยื่อบุตาอักเสบ แพทย์จะให้ใช้ยาหยอดตาหรือน้ำตาเทียม เพื่อทำความสะอาดดวงตา และแนะนำให้หยุดใช้คอนแทคเลนส์ในกรณีที่ผู้ป่วยใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ อย่างไรก็ตาม หากสาเหตุของอาการตาแดงที่เป็นอยู่เกิดจากไวรัสเริม แพทย์อาจให้รับประทานยาต้านไวรัสเพื่อรักษาเริมและอาการตาแดง ดูแลตนเองเมื่อ เป็นเยื่อบุตาอักเสบ ได้อย่างไรบ้าง หากมีอาการ เยื่อบุตาอักเสบ ควรดูแลตนเองดังนี้ พยายามไม่สัมผัสกับดวงตา ล้างมือทุกครั้งทั้งก่อนและหลังใส่ยาหยอดตาหรือใช้น้ำตาเทียม ใช้ผ้าที่สะอาดสำหรับเช็ดหน้าหรือดวงตา เปลี่ยนปลอกหมอนบ่อย ๆ ทำความสะอาดเสื้อผ้าและผ้าเช็ดตัวอย่างสม่ำเสมอ พักการใช้เครื่องสำอางที่เกี่ยวกับดวงตาจนกว่าอาการเยื่อบุตาอักเสบจะหายไป พักการใส่คอนแทคเลนส์ จนกว่าอาการเยื่อบุตาอักเสบจะหายไป หากใส่แว่นตา ควรทำความสะอาดแว่นตาทุกครั้งทั้งก่อนและหลังการใช้งาน หากมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ […]


สุขภาพตา

เห็นภาพซ้อน ไม่ได้หลอนไปเอง แต่ความผิดปกติของดวงตา

ปัญหาการเห็น ภาพซ้อน เป็นปัญหาการเห็นสิ่งของหรือภาพตรงหน้าซ้ำกันสองสิ่ง แม้ว่าจะพยายามมองให้ชัดอย่างไร แต่ก็กลับเห็น ภาพซ้อน กัน การมองเห็น ภาพซ้อน สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับดวงตาข้างเดียวและดวงตาทั้งสองข้าง ซึ่งสาเหตุของ การมองเห็นภาพซ้อน นั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่ปัญหาเพียงเล็กน้อยไปจนถึงปัญหารุนแรง วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การมองเห็นภาพซ้อน มาให้อ่านกันค่ะ สาเหตุที่ทำให้ เห็นภาพซ้อน การมองเห็นภาพซ้อน อาจเกิดจากเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อบริเวณดวงตาเกิดความเสียหาย ทำให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของดวงตาสร้างภาพซ้อนขึ้น นอกจากนี้ยังมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่ทำให้กล้ามเนื้อส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวดวงตาอ่อนแอลง จนทำให้เห็น ภาพซ้อน ได้ สาเหตุที่ทำให้เห็น ภาพซ้อน ด้วยตาข้างเดียว (Monocular Double Vision) หากเกิดอาการมองเห็น ภาพซ้อน ด้วยตาข้างเดียว ส่วนใหญ่นั้นเกิดจากปัญหาสุขภาพดวงตา ซึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้มีดังนี้ ตาแห้ง อาการตาแห้งเป็นเพียงอาการชั่วคราวที่เกิดจากภาวะอื่น ๆ เช่น โรคภูมิแพ้ เมื่อดวงตาไม่ได้รับน้ำหล่อลื่นอาจทำให้เกิดอาการตาเบลอหรือภาพซ้อน ได้ ต้อกระจก ต้อกระจกเป็นโรคที่ทำให้เลนส์ช่วยโฟกัสเกิดการขุ่นมัว จนทำให้เห็น ภาพซ้อน ต้อเนื้อ ต้อเนื้อเป็นภาวะที่เกิดผังผืดที่เยื่อบุตา เป็นเนื้อเยื่อที่ยื่นเข้าไปสู่ตาดำ และจะค่อย ๆ ลุกลามเข้าใกล้ตาดำมากขึ้นเรื่อย ๆ จนส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้เกิดการมองเห็น […]


สุขภาพตา

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ตาพร่ามัวฉับพลัน

อาการตาพร่ามัวฉับพลัน เป็นอาการที่อยู่ ๆ ก็มองเห็นไม่ชัด สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ บางครั้งอาจทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นได้เลยทีเดียว วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ตาพร่ามัวฉับพลัน มาให้อาจกันว่า เกิดได้จากสาเหตุใดบาง ไปดูกันเลยค่ะ สาเหตุของอาการ ตาพร่ามัวฉับพลัน สาเหตุบางอย่างที่ทำให้เกิด อาการตาพร่ามัวฉับพลัน อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าควรได้รับการรักษาอย่างทันที เพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิด อาการตาพร่ามัวฉับพลัน นั้นมีหลายสาเหตุ ดังนี้ จอประสาทตาหลุดลอก เมื่อจอประสาทตา เป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ ที่มีหน้าที่ในการรับภาพ ซึ่งอยู่ด้านหลังของดวงตา เมื่อจอประสาทตาเกิดการหลุดออกมาจะทำเลือดและเส้นประสาทบริเวณนั้นหลุดออกมาด้วย เมื่อจอประสาทตาหลุดลอกออกมาจะทำให้เห็นแสงวูบวาบเหมือนแสงแฟลช บางครั้งอาจเห็นจุดหรือเส้นสีดำลอยไปลอยมากลางอากาศ คล้ายหยากไย่ และทำให้เกิด ตาพร่ามัวฉับพลัน ขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันทีอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย จนส่งผลต่อการทำงานของสมอง หากโรคหลอดเลือดสมองส่งผลต่อส่วนที่ควบคุมการมองเห็นอาจทำให้เกิด อาการตาพร่ามัวฉับพลัน แต่หากโรคหลอดเลือดสมองส่งผลต่อเส้นเลือดที่ดวงตาข้างใด ก็จะทำให้เกิด อาการตาพร่ามัวฉับพลัน ในดวงตาข้างนั้น ได้รับการกระทบกระเทือน เมื่อได้รับบาดเจ็บ หรือได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ อาจทำให้เกิด อาการตาพร่ามัวฉับพลัน ได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ปวดหัว เวียนหัว ส่งผลกระทบต่อความจำ หรือบางครั้งอาจส่งผลต่ออารมณ์ด้วย ภาวะเลือดออกในช่องลูกตาด้านหน้า (Hyphema) ภาวะเลือดออกในช่องลูกตาด้านหน้า เป็นอาการที่เลือดจะออกบริเวณดวงตา […]


สุขภาพตา

เช็ดเครื่องสำอางไม่สะอาด เปลือกตาสกปรก ปัญหาเหล่านี้อาจทำให้ เปลือกตาอักเสบ ได้

ดวงตา เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ หากได้รับบาดเจ็บหรือเกิดการอักเสบขึ้นมา อาจส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้ใช้ชีวิตได้ยากขึ้น ดังนั้นการดูแลรักษา ทำความสะอาดดวงตาจึงมีความสำคัญ ไม่ควรปล่อยให้สกปรก หากมีการแต่งหน้า แต่งตาก็ควรเช็ดให้สะอาด ไม่ทิ้งคราบเครื่องสำอางให้ติดอยู่ เพราะอาจทำให้ เปลือกตาอักเสบ ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปไปรู้จักกับ ภาวะเปลือกตาอักเสบ ว่าเกิดขึ้นได้จากสาเหตุใด และควรดูแลตนเองอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการอักเสบ ปัญหา ภาวะเปลือกตาอักเสบ เกิดจากอะไรบ้าง เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis) เป็นภาวะที่เกิดการอักเสบบริเวณโคนขนตา ทำให้เกิดการจับตัวของก้อนเหนียว ๆ บริเวณขนตา ทำให้เกิดอาการคันเปลือกตา ตาแดง รู้สึกระคายเคืองที่ดวงตา แสบตา ดวงตามีความไวต่อแสง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดเปลือกตาอักเสบนั้นมีหลายอย่าง เช่น เกิดการอักเสบจากแบคทีเรียที่อยู่บริเวณเปลือกตา ติดเชื้อไวรัส HSV (Herpes Simplex Virus) เกิดจากไร Demodex ซึ่งเป็นปรสิตชนิดหนึ่ง เมื่อ เปลือกตาอักเสบ ดูแลรักษาอย่างไรดี การดูแลสุขภาพดวงตาให้สะอาดอยู่นั้นมีความสำคัญ เพราะมีส่วนช่วยป้องกันการเกิด ภาวะเปลือกตาอักเสบ ได้ แม้จะรักษาหายแล้วแต่หากดูแลรักษาความสะอาดของดวงตาได้ไม่ดี ก็อาจกลับมาเป็นอีกได้ เพราะโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดวงตาเกิดความสกปรกอาการอาจกำเริบขึ้นมาได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหาเปลือกตาอักเสบควรหลีกเลี่ยงใช้เครื่องสำอางบางชนิด เช่น อายไลน์เนอร์ มาสคาร่า และเครื่องสำอางชนิดอื่นที่ใช้บริเวณรอบ […]


สุขภาพตา

ขนตาคุด ปัญหาที่อาจทำให้คุณรู้สึกปวดที่เปลือกตา

อาการขนคุดเป็นภาวะทางผิวหนังที่เกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขน บางครั้งมีเส้นขนอยู่ภายในตุ่มนูนนั้นด้วย โดยปกติแล้วเรามักจะพบขนคุดที่บริเวณขา รักแร้ แต่วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ขนตาคุด ซึ่งเป็นปัญหา ขนตางอกผิดปกติ มาให้อ่านกันค่ะ จริง ๆ แล้วอาการเปลือกตาบวมหรืออาการปวดที่เปลือกตาอาจเกิดจากสาเหตุนี้ก็ได้ ขนตาคุด คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการขนตาคุด เป็นปัญหาที่ขนตานั้นงอกเข้าด้านใน แทนที่จะงอกออกมาด้านนอก เมื่อขนตางอกเข้าในในผิวหนังของเปลือกตาอาจทำให้เกิดอาการบวมแดงรอบดวงตา มีอาการระคายเคืองที่บริเวณดวงตาและเปลือกตาได้ บางครั้งอาจทำให้น้ำตาไหลจากความระคายเคืองได้ บางครั้งอาจมีอาการร้ายแรงจนทำให้กระจกตาได้รับความเสียหายได้ด้วย ส่วนใหญ่แล้วอาการขนตาคุดมักจะพบได้ในผู้ใหญ่ และสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง อาการขนตาคุดเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น อาการอักเสบ การบาดเจ็บ วิธีจัดการปัญหาขนตาคุด โดยปกติแล้วเมื่อเกิดอาการขนตาคุด แพทย์จะทำการถอนขนที่อยู่ด้านในออก เพื่อให้ขนตาได้ขึ้นใหม่ในทิศทางที่ถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดอาการขนตาคุดการดูแลขั้นพื้นฐานนั้นถือว่ามีความสำคัญ เมื่อเกิดปัญหาขนตาคุดหรือ ขนตางอกผิดปกติ ควรดูแลบรรเทาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อมีอาการปวด ตาแดง หรือเกิดความระคายเคือง ให้ใช้ยาหยอดตา หรือจะใช้วิธีการการประคบอุ่นเพื่อช่วยลดอาการบวมและอาการระคายเคืองก็ได้ การบรรเทาอาการเบื้องต้นนี้ไม่สามารถรักษาอาการขนตาคุดที่เกิดขึ้นได้ แต่ช่วยบรรเทาให้อาการที่เกิดขึ้นนั้นดีขึ้นได้ แต่หากอาการขนตาคุดเกิดขึ้นบ่อย ๆ และมีความรุนแรงอาจต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด นอกจานกี้ยังมีวิธีอื่น ๆ ในการรักษาอาการขนตาคุด เช่น การจี้เย็น (Cryosurgery) การเลเซอร์กำจัดขนถาวร […]


สุขภาพตา

เลสิก VS พีอาร์เค เทคนิคการรักษาสายตาแบบใด ที่เหมาะกับคุณ

สำหรับผู้ที่ประสบกับปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง และไม่สะดวกจะใส่แว่น หรือคอนแทคเลนส์ การทำ เลสิก และ พีอาร์เค อาจเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกการรักษาที่ดีในปัจจุบัน ที่แพทย์อาจแนะนำให้แก่คุณ แต่ทั้ง 2 เทคนิคนี้ จะมีข้อแตกต่างอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบเบื้องต้นมาคลายข้อสงสัย และให้ทุกคนให้ได้ลองพิจารณาก่อนตัดสินใจ ไปพร้อม ๆ กันค่ะ ความแตกต่างของการทำ เลสิก และ พีอาร์เค ไม่ว่าคุณต้องการการผ่าตัดด้วยเทคนิคสิก (Lasik) หรือ พีอาร์เค (PRK) ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่การพิจารณา และการวินิจฉัยร่วมจากจักษุแพทย์ เนื่องจากปัญหาทางสายตาของผู้ป่วยนั้นมีอาการที่ต่างออกไป อาจทำให้ไม่เหมาะสมในเทคนิคใดเทคนิคหนึ่ง ซึ่งการผ่าตัดรักษาสายตาทั้ง 2 เทคนิคนั้น แตกต่างกันตรงที่การผ่าตัดด้วยเลสิก ใช้กรรมวิธีตัดแผ่นกระจกบาง ๆ ด้วยเครื่องไมโครเคอราโตม (Microkeratome) หรือการเลเซอร์ เฟมโตเซเคิน (Laser femtosecond) เพื่อแยกชั้นกระจกตา และทำการยิงเลเซอร์ปรับความโค้งของกระจกตา เมื่อเสร็จสิ้นแพทย์จะทำการนำเยื่อบุผิว พร้อมกระจกตากลับใส่เข้าที่เดิม เพื่อให้เนื้อเยื่อเดิมนั้นคงอยู่ไม่ระเหยหายไปในขณะยิงเลเซอร์ ซึ่งโดยรวมแล้วการทำเลสิกอาจใช้เวลาถึง 30 นาทีในการผ่าตัดแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีเลสิก แต่ในส่วนของการทำพีอาร์เค แพทย์จะทำการนำเยื่อบุผิวบนกระจกตาชั้นบนสุดออกหมด และยิงเลเซอร์แก้ไขเนื้อเยื่อกระจกตาผิดปกติที่อยู่ลึกลงไป […]


สุขภาพตา

หยุดปัญหาสายตาสั้น ยาว เอียง ด้วยการทำ พีอาร์เค (PRK)

นอกจากการทำเลสิก แก้ไขปัญหาทางสายตา ที่เรามักได้ยินอย่างแพร่หลายในปัจจุบันแล้ว แต่ยังคงมีอีกเทคนิคหนึ่งที่ทางแพทย์นิยมเลือกใช้นำมารักษาปรับปรุงปัญหาด้านสายตาได้เช่นเดียวกัน นั่นก็คือ พีอาร์เค (PRK) ซึ่งจะมีกระบวนการ หรือขั้นตอนการผ่าตัดอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ที่นำมาฝากกันค่ะ พีอาร์เค (Photorefractive Keratectomy; PRK) คืออะไร พีอาร์เค (Photorefractive Keratectomy; PRK) เป็นการผ่าตัดด้วยการใช้เลเซอร์ เพื่อปรับโครงสร้างของกระจกตา และแก้ไขปัญหาการหักเหของแสงในดวงตา ซึ่งเหมาะแก่ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงเป็นหลัก และยังขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยจากทางแพทย์ ถึงสุขภาพดวงตาของผู้ป่วยด้วย อีกทั้งผู้ที่เหมาะสมจะได้รับการรักษาด้วยเทคนิคพีอาร์เคนั้น จะต้องมีเนื้อเยื่อกระจกตาที่มากเพียงพอ เพื่อที่กระจกตาจะทำการระเหยได้อย่างปลอดภัย ขณะแพทย์ยิงเลเซอร์ปรับความโค้งของกระจกตา ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาสายตา ด้วยพีอาร์เค ก่อนถึงวันนัดหมายการผ่าตัดประมาณ 3 วัน คุณอาจต้องมีการทำความสะอาดน้ำมันส่วนเกินรอบดวงตา และตามแนวขนตาของคุณอยู่เสมอด้วยผลิตภัณฑ์ล้างหน้าสูตรอ่อนโยนเป็นเวลา 2 ครั้ง ต่อวัน ที่สำคัญก่อนการผ่าตัด แพทย์จำเป็นต้องตรวจสุขภาพคุณอย่างละเอียด พร้อมประเมินภาวะทางสายตาที่คุณประสบเสียก่อน เพื่อดูความคลาดเคลื่อนการหักเหของแสงในรูม่านตา และเมื่อถึงวันนัดหมายของการผ่าตัด แพทย์อาจเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนให้คุณด้วยเทคนิคพีอาร์เคดังต่อไปนี้ เริ่มหยอดยาชา และติดอุปกรณ์ที่ยึดเปลือกตาของคุณไว้มิให้ปิด ในขณะการรักษา แพทย์จะเริ่มทำการนำใบมีดขนาดเล็กเปิดผิวกระจกตาชั้นนอกออก จากนั้นแพทย์จะยิงเลเซอร์เป็นจังหวะ และระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อปรับโครงสร้างของกระจกตาที่ได้คำนวนไว้ก่อนการเริ่มผ่าตัดให้เข้ารูป เมื่อเสร็จสิ้นการผ่าตัด แพทย์ หรือพยาบาลผู้ดูแล จะนำผ้าพันแผล พร้อมที่ครอบดวงตาเฉพาะมาปิดเอาไว้ […]


ปัญหาตาแบบอื่น

โรควาร์เดนเบิร์ก ภาวะพันธุกรรมหายาก ที่อาจทำให้สูญเสียการได้ยิน

โรควาร์เดนเบิร์ก ถือได้ว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมอีกหนึ่งโรค ที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงช่วงเยาว์วัย ซึ่งบุคคลรอบข้างสามารถสังเกตได้ง่าย แต่โรคนี้จะมีสัญญาณเตือนอย่างไรเผยออกมาให้คุณพบเห็นบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนกันค่ะ โรควาร์เดนเบิร์ก คืออะไร วาร์เดนเบิร์ก หรือ กลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์ก (Waardenburg syndrome) ได้ถูกระบุสภาพของโรคเป็นครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2494 โดยเป็นการตั้งชื่อตามจักษุแพทย์ชาวดัตช์ท่านหนึ่งนามว่า DJ Waardenburg ที่ได้ทำการค้นพบลักษณะภาวะทางพันธุกรรมที่หายากนี้ อีกทั้งโรควาร์เดนเบิร์กยังสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 4 ประเภท ด้วยกัน คือ ประเภทที่ 1 ผู้ที่ประสบกับโรควาร์เดนเบิร์กประเภทแรก มักมีดวงตาที่เบิกกว้าง หรือดวงตาเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีฟ้าซีด และอาจมีภาวะการสูญเสียการได้ยินร่วมด้วย ประเภทที่ 2 ผู้ป่วยที่ประสบกับโรควาร์เดนเบิร์กประเภทที่ 2 ค่อนข้างมีอาการคล้ายคลึงกับประเภทที่ 1 อย่างมาก แต่อาจมีข้อแตกต่างเล็กน้อยตรงที่ดวงตาของผู้ป่วยโรควาร์เบิร์กประเภทนี้จะไม่มีดวงตาที่เบิกกว้างจนเกินไป ประเภทที่ 3 อาจทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อ แขน และไหล่ที่อ่อนแรง พร้อมทั้งอาจมีความผิดปกติของทางด้านระบบประสาท หรือสติปัญญา แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงมีอาการบางอย่างที่คล้ายกับประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ร่วมด้วย เช่น สูญเสียการได้ยิน ดวงตาเปลี่ยนสี เป็นต้น ประเภทที่ 4 ประเภทที่ […]


ปัญหาตาแบบอื่น

นอนหลับตาปิดไม่สนิท เกิดจากอะไร อันตรายหรือเปล่า

คุณผู้อ่านเคยสังเกตตัวเอง หรือมีคนใกล้ตัวบอกบ้างหรือเปล่าว่า เวลาที่นอนหลับคุณผู้อ่านมี อาการนอนตาปิดไม่สนิท ซึ่งปัญหานี้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับหลาย ๆ คน แม้แต่คนใกล้ตัวของเราก็อาจจะประสบกับปัญหานี้อยู่ก็เป็นได้ แต่อาการนอนหลับตาปิดไม่สนิทเกิดจากอะไร และมีวิธีรับมือหรือไม่ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจของอาการ นอนหลับตาปิดไม่สนิท มาฝากค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] นอนหลับตาปิดไม่สนิท คืออะไร เมื่อพูดถึงอาการนอนหลับแต่ตาปิดไม่สนิท หลายคนอาจจะเข้าใจว่าเป็นการนอนแบบตาไม่หลับ นอนแล้วแต่ตายังลืมอยู่ ซึ่งในความเป็นจริงก็คือ เวลานอนจะมีการหลับตาตามปกติ เพียงแต่เปลือกตาไม่สามารถปิดได้สนิทเท่านั้นเอง โดยอาการนอนลืมตาเช่นนี้ไม่ควรวางใจ เพราะถึงแม้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายที่ร้ายแรง แต่ อาการนอนตาปิดไม่สนิท สามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพดวงตา เช่น อาการตาแห้ง เสี่ยงที่ฝุ่นละอองจะเข้าตา เกิดอาการระคายเคืองที่ดวงตา เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ดวงตา อาจเกิดการขีดข่วนที่กระจกตา หรือเป็นแผลที่กระจกตาได้ อาการของนอนหลับตาปิดไม่สนิทมีอะไรบ้าง โดยมากแล้วผู้ที่มี อาการนอนตาปิดไม่สนิท มักจะไม่รู้ตัวเอง จนกระทั่งมีคนใกล้ตัวทักหรือบอก อย่างไรก็ตาม อาการต่าง ๆ หลังการตื่นนอนดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณมีอาการนอนหลับตาปิดไม่สนิท ตาแห้ง ตาแดง ตาเบลอ แสบตา ระคายเคืองตา รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในตา คันที่ดวงตา นอนหลับไม่เพียงพอ สาเหตุของอาการ นอนหลับตาปิดไม่สนิท อาการนอนตาปิดไม่สนิท เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ดังนี้ มีปัญหาเปลือกตาปิดไม่สนิทตั้งแต่กำเนิด […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม