สิว

สิว ปัญหาผิวหนังที่ไม่ว่าใครต่างก็ต้องเคยพบเจอ ทั้งสิวอักเสบ สิวหัวช้าง ไปจนถึงสิวเสี้ยนต่าง ๆ Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหา สิว ไม่ว่าจะเป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิว การดูแลรักษา ตลอดไปจนถึงการป้องกันสิว ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สิว

ที่กดสิว ใช้กับสิวประเภทไหน และการรักษาสิวที่ถูกต้อง

สิว เป็นปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อยทุกช่วงวัย แต่วัยรุ่นจะพบได้มาก โดยเฉพาะสิวฮอร์โมน เมื่อสิวปรากฎขึ้นมาบนผิวหนัง ควรบีบสิวหรือใช้ที่กดสิวหรือไม่ วิธีรักษาสิวอย่างถูกต้อง ทำอย่างไร [embed-health-tool-bmi] สิวและชนิดของสิวแต่ละประเภท เมื่อเกิดการอุดตันของระบบต่อมไขมันในรูขุมขน จะเกิดเป็นตุ่มเม็ดเล็ก ๆ หรือสิวอุดตันขึ้นมา แต่หากพบตัวกระตุ้นเพิ่มจะทำให้สิวเกิดการอักเสบได้ โดยสิวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สิวที่ไม่มีการอักเสบ ประกอบด้วย สิวอุดตัน ทั้งสิวอุดตันหัวปิดและสิวอุดตันหัวเปิด สิวที่มีการอักเสบ ประกอบด้วย สิวอักเสบ สิวตุ่มหนอง สิวหัวช้าง และสิวซีสต์ ที่กดสิว ใช้ได้กับสิวประเภทใด ปัจจุบันมี ที่กดสิว จำหน่ายอยู่หลายรูปแบบ โดยทั่วไป ที่กดสิวจะใช้กับสิวอุดตัน ไม่ควรใช้กับสิวชนิดอื่น หรือใช้ที่กดสิว ตามคำแนะนำ โดยขั้นตอนการใช้ที่กดสิว ได้แก่ เตรียมผิวหน้าด้วยการล้างหน้าให้สะอาด หากใช้เครื่องสำอางควรลบหน้าให้เกลี้ยงก่อนใช้ที่กดสิว ที่กดสิวต้องสะอาด เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ว่า ปลอดภัย จับที่กดสิวแล้วกดอย่างเบามือตามแนวเส้นขน หัวสิวจะหลุดออกมาบริเวณช่องว่างของที่กดสิว  สิวอุดตันควรจะหลุดออกมาอย่างง่ายดาย ไม่ควรบี้หรือย้ำที่กดสิวอย่างรุนแรง ผิวหน้าอาจเกิดการระคายเคืองได้ ทำความสะอาดผิวหน้าอย่างเบามือ อาจเลือกใช้น้ำเกลือกับสำลีเช็ดผิว ไม่ควรใช้นิ้วมือสัมผัสกับผิวหน้าโดยตรง อาจใช้กระดาษชำระรองระหว่างกดสิว เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน ดูแลผิวหน้าหลังกดสิว  การใช้ที่กดสิวด้วยตัวเอง อาจเสี่ยงต่อการทำร้ายผิว เสี่ยงต่อการติดเชื้อ สิวอักเสบ […]

สำรวจ สิว

สิว

สิวฮอร์โมน รักษา ได้อย่างไรบ้าง และมีสาเหตุมาจากอะไร

สิวฮอร์โมน เป็นสิวที่ขึ้นบริเวณใบหน้า หรือแผ่นหลัง โดยเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งส่งผลให้ต่อมใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันมากเกินไป จนทำให้หน้ามัน รูขุมขนอุดตันและเป็นสิว ทั้งนี้ สิวฮอร์โมน รักษา ได้หลายวิธี อย่างการรับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายการรับประทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลง เป็นต้น [embed-health-tool-ovulation] สิวฮอร์โมน คืออะไร สิวฮอร์โมนเป็นสิวที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย อย่างเทสโทสเตอโรน (Testosterone) เอสโตรเจน (Estrogen) หรือโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ต่อมใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันมากกว่าปกติ และเมื่อรวมกับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วจะก่อให้เกิดการหมักหมมมากขึ้นจนทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดเป็นสิว นอกจากนี้ เมื่อต่อมใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันมากกว่าปกติมักทำให้แบคทีเรียซี แอ็คเน่ (Cutibacterium Acnes หรือ C.acnes) บนผิวหนังเพิ่มจำนวน ซึ่งเป็นสาเหตุของผิวหนังอักเสบและสิว ทั้งนี้ สิวฮอร์โมนมีลักษณะเหมือนสิวทั่ว ๆ ไป คือมีทั้งสิวหัวดำ สิวหัวขาว สิวหัวหนอง หรือสิวหัวช้าง โดยในช่วงวัยรุ่น สิวฮอร์โมนมักเกิดบริเวณทีโซน (T-zone) หรือหน้าผาก จมูก และคาง ในขณะที่วัยผู้ใหญ่ สิวฮอร์โมนมักปรากฏบริเวณแก้มและขากรรไกร ปกติแล้ว สิวฮอร์โมนจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงวัยต่าง ๆ มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นระหว่างตั้งครรภ์ มีประจำเดือน เข้าสู่วัยทอง หรือหลังจากหยุดใช้ยาคุมกำเนิด สำหรับปัจจัยอื่น […]


สิว

สิวแพ้แมส เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

สิวแพ้แมส หมายถึง สิวที่เกิดขึ้นบริเวณที่สวมแมสหรือหน้ากากอนามัย โดยมีสาเหตุจากความอับชื้นใต้แมส การเสียดสีระหว่างแมสกับผิวหน้า รวมถึงการแพ้สารเคมีในผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่ใช้ทำความสะอาดแมสผ้า ทั้งนี้ สิวแพ้แมสอาจป้องกันได้ด้วยการทำความสะอาดใบหน้าสม่ำเสมอ รองทิชชู่เช็ดหน้าใต้แมสเพื่อป้องกันการเสียดสี หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางเมื่อต้องสวมแมส เปลี่ยนแมสเป็นประจำเมื่อสวมนานเกิน 4 ชั่วโมง และเลือกทำความสะอาดแมสชนิดผ้าด้วยสบู่อ่อน ๆ หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผสมน้ำหอม [embed-health-tool-bmr] สิวแพ้แมสเกิดจากอะไร สิวแพ้แมสหรือสิวที่เกิดขึ้นบริเวณที่สวมหน้ากากอนามัย อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ รูขุมขนอุดตันจากน้ำมันต่อมใต้ผิวหนังที่ผลิตมากเกินไปหรือเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วเกิดการสะสม เมื่อสวมแมสเป็นเวลานาน น้ำมันจากต่อมใต้ผิวหนังและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วจะยิ่งมีปริมาณมากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นสิวมากกว่าเดิม แบคทีเรียบนใบหน้าเพิ่มจำนวนมากขึ้น ความชื้นภายในแมส รวมถึงสิ่งสกปรกต่าง ๆ บนใบหน้าอย่างละอองน้ำลาย เหงื่อ น้ำมัน และคราบเครื่องสำอางที่หมักหมมอยู่ภายใต้แมสที่สวมใส่เป็นเวลานาน เป็นปัจจัยเสี่ยงให้แบคทีเรียบนผิวหน้าเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีปริมาณมากกว่าปกติ จึงนำไปสู่การติดเชื้อและการเป็นสิวอักเสบหรือสิวอุดตันได้ การเสียดสีระหว่างแมสกับผิวหน้า มักทำให้ผิวหน้าระคายเคือง หรือแพ้จนเป็นตุ่มสิวได้ ทั้งนี้ สิวจากการเสียดสีระหว่างแมสกับผิวหน้ามักพบในผู้ที่สวมแมสหลายชั้นหรือสวมหมวกกันน็อคทับแมสเวลาขับขี่รถจักรยานยนต์ สารเคมีในผลิตภัณฑ์ซักผ้า น้ำหอมในผลิตภัณฑ์ซักผ้าหรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม ที่ใช้สำหรับซักแมสผ้า อาจทำให้ใบหน้าระคายเคือง อักเสบ หรือแพ้จนเป็นตุ่มสิวได้ นอกจากนี้ การสวมแมสที่ทำจากวัสดุที่แตกต่างกัน ยังสัมพันธ์กับโอกาสเป็นสิวและความรุนของแรงสิวที่ไม่เท่ากันด้วย โดยการสวมแมสทางการแพทย์ (Surgical mask) สามารถลดโอกาสเกิดสิวได้ดีกว่าการสวมแมสชนิดอื่น ๆ เนื่องจากแมสทางการแพทย์นั้นเป็นสินค้าควบคุมที่ได้รับการรับรองว่ามีคุณสมบัติป้องกันละอองฝอยและเชื้อโรค ที่สำคัญคือผลิตจากเส้นใยพลาสติกที่มีคุณสมบัติอ่อนนุ่มคล้ายผ้าที่ได้จากการทอ ทำให้สวมใส่สบาย มีความสะอาดสูง ผลการศึกษาชิ้นหนึ่ง ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างการสวมแมสและการเกิดสิว ตีพิมพ์ในวารสาร […]


สิว

สิวขึ้นรอบปาก สาเหตุ อาการ วิธีรักษาและการป้องกัน

สิวขึ้นรอบปาก อาจเกิดจากเซลล์ผิวที่ตายแล้วอุดตันในรูขุมขน การติดเชื้อแบคทีเรีย การสัมผัสกับใบหน้าบ่อย เป็นต้น โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดสิวรอบปาก เช่น อายุ พันธุกรรม ฮอร์โมนในร่างกาย การใช้เครื่องสำอาง ความเครียด อย่างไรก็ตาม การใช้ยาปฏิชีวนะและครีมที่มีส่วนผสมของสารลดสิวอย่างกรดวิตามินเอ เบนโซอิล เปอร์ออกไซด์ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนวิธีทำความสะอาดและดูแลผิวหน้าให้เหมาะสมและการงดบุหรี่ อาจช่วยรักษาสิวที่ขึ้นรอบปากและช่วยไม่ให้กลับเป็นสิวซ้ำได้ [embed-health-tool-bmi] สิวขึ้นรอบปาก เกิดจากอะไร สิวบนใบหน้า รวมไปถึงสิวที่ขึ้นรอบปาก มักเกิดจากต่อมไขมันสร้างซีบัม (Sebum) หรือน้ำมันที่ช่วยเก็บกักความชุ่มชื้นให้แก่ผิวออกมามากเกินไป เมื่อซีบัมรวมตัวกับเซลล์ผิวที่ตายแล้วและสิ่งสกปรกบนผิวอาจทำให้รูขุมขนอุดตัน จนเกิดสิวรูปแบบต่าง ๆ เช่น สิวอักเสบ สิวอุดตัน สิวหัวดำ สิวบนในหน้าหรือสิวรอบปากในบางกรณีอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างเชื้อคูติแบคทีเรียม แอคเน่ (Cutibacterum acnes) หรือที่รู้จักกันในชื่อเชื้อพี แอคเน่ (P. acnes หรือ Propionibacterium acnes) ซึ่งทำให้ต่อมไขมันและรูขุมขนอักเสบจนเกิดสิว โดยแบคทีเรียชนิดนี้จะยิ่งเจริญเติบโตได้ดีหากรูขุมขนมีสิ่งอุดตันในปริมาณมาก ปัจจัยเสี่ยงสิวขึ้นรอบปาก การสัมผัสหรือเสียดสีผิวหนังบริเวณรอบปากและคางบ่อยครั้ง ซึ่งอาจเป็นผลจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การใส่หน้ากากอนามัย การสวมหมวกกันน็อกแบบรัดคาง การทาลิปสติก การเล่นเครื่องดนตรีที่สัมผัสหรือเสียดสีบริเวณปากและคางอย่างฟรุตหรือไวโอลิน การใช้มีดโกนขนหรือหนวด การใช้มือสัมผัสใบหน้า รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ อาจยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดสิวรอบปากได้ […]


สิว

สิวที่แก้ม เกิดจากอะไร และควรดูแลตนเองอย่างไร

สิวที่แก้ม เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังบริเวณแก้ม มักเกิดจากการที่ผิวบริเวณแก้มโดนสัมผัสหรือถูกเสียดสีบ่อยครั้งจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การคุยโทรศัพท์ที่แนบโทรศัพท์ไว้กับใบหน้า การใส่หน้ากากอนามัย การสวมหมวกกันน็อค เมื่อเป็นสิวที่แก้ม ควรดูแลตัวเอง เช่น ใช้ยารักษาสิว งดการสัมผัสใบหน้า เลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสิว [embed-health-tool-ovulation] สิวที่แก้ม เกิดจากอะไร โดยปกติ สิว รวมถึงสิวที่แก้ม มักเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนเนื่องจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว หรือต่อมใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป นอกจากนั้น สิวยังอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ อย่างเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia Coli) หรือคูติแบคทีเรียม แอคเน่ (Cutibacterium Acnes) ที่มักทำให้เกิดสิวอักเสบหรือสิวอุดตัน ปัจจัยเสี่ยงสิวที่แก้ม สิวที่แก้ม มักเกิดจากการเสียดสี ซึ่งอาจเป็นผลจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น นอนตะแคงโดยไม่พลิกตัว สวมหมวกกันน็อค ใส่หน้ากากอนามัย คุยโทรศัพท์โดยแนบไว้ที่แก้ม พฤติกรรมการเอามือจับหน้าบ่อย ๆ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นสิวที่แก้ม ได้แก่ พันธุกรรม หรือประวัติการเป็นสิวของคนในครอบครัว สิวที่เป็นอยู่แล้ว หากเป็นสิวอยู่แล้ว การเสียดสีบนใบหน้าอาจทำให้สิวเพิ่มจำนวนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ระหว่างเข้าสู่วัยรุ่นหรือช่วงเวลาตั้งครรภ์ มีผลทำให้ต่อมใต้ผิวหนังมีขนาดใหญ่ขึ้น และผลิตน้ำมันมากขึ้น การบริโภคอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ระดับฮอร์โมนอินซูลินที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือดหลังบริโภคอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตมักไปกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) […]


สิว

รักษาสิวผด เร่งด่วน ทำได้อย่างไรบ้าง

สิวผด คือ สิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ อาการคัน ผิวลอกเป็นขุย และอาจมีของเหลวใสอยู่ภายในสิว มักปรากฏบริเวณที่มีเหงื่อออกมาก เช่น หน้าผาก คอ ไหล่ หน้าอก หลัง รักแร้ และตามข้อพับ รักษาสิวผด เร่งด่วน อาจทำได้หลายวิธี แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอ เพื่อเลือกยาให้เหมาะสมกับอาการและสภาพผิว ช่วยทำให้รักษาสิวผดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุที่ทำให้เกิดสิวผด สิวผดเกิดจากการอุดตันของต่อมเหงื่อ ทำให้เหงื่อไม่สามารถระเหยออกได้ตามปกติ จึงสะสมอยู่ภายใต้ผิวหนัง และทำให้เกิดการอักเสบขึ้น หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อยีสต์ โดยอาจมีปัจจัยบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดสิวผด ดังนี้ ทารกแรกเกิด เนื่องจากต่อมเหงื่อของทารกอาจยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้ระบายเหงื่อได้ไม่ดี สภาพอากาศร้อนชื้นที่ทำให้ร่างกายผลิตเหงื่อมาก เช่น สถานที่กลางแจ้ง สวนสาธารณะ โรงยิม สนามกีฬา การออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวและใช้แรงมาก การสวมเสื้อผ้าหลายชั้นหรือรัดรูป ที่ระบายอากาศได้ไม่ดี ทำให้เหงื่ออับชื้น การนอนติดเตียงเป็นเวลานาน โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เจ็บป่วย มีไข้สูง อาการที่ควร รักษาสิวผด เร่งด่วน อาการที่ควรรักษาสิวผดเร่งด่วน มีดังนี้ สิวผดอักเสบ เป็นตุ่มหนอง ผิวบวมแดง สิวผดที่เป็นนานกว่า 3 วัน มีสิวผดร่วมกับอาการไม่สบาย มีไข้ และต่อมน้ำเหลืองบวม […]


สิว

สิวซีสต์ สาเหตุ อาการ และการรักษา

สิวซีสต์ จัดอยู่ในกลุ่มสิวอักเสบที่รุนแรง และมีการสะสมของหนองใต้ผิวหนัง ที่เกิดจากเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้ว น้ำมันส่วนเกิน และแบคทีเรียอุดตันในรูขุมขน หากสังเกตว่ามีสิวซีสต์ปรากฏขึ้น ควรเข้ารับการวินิจฉัยโดยคุณหมอ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี คำจำกัดความ สิวซีสต์ คืออะไร สิวซีสต์ คือ สิวอักเสบชนิดรุนแรงในผิวหนังชั้นกลางหรือชั้นผิวหนังแท้ ที่มีลักษณะเป็นก้อนนูนแข็งและอาจมีหนอง โดยสิวซีสต์อาจมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ และสามารถเกิดได้บนผิวหนังทั่วทั้งร่างกาย เช่น ใบหน้า คอ หลัง หน้าอก สิวซีสต์พบได้บ่อยในผู้ที่มีสภาพผิวมัน วัยรุ่น และผู้สูงอายุที่มีฮอร์โมนไม่สมดุล อาการ อาการของสิวซีสต์ อาการของสิวซีสต์ มีดังนี้ มีก้อนนูนใต้ผิวหนัง อาจมีตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าเม็ดถั่วไปจนถึงขนาดใหญ่เท่าเหรียญ มีหนองสะสมในสิว ซึ่งอาจแตกออกและกลายเป็นแผลเปิด มีลักษณะแข็ง บริเวณสิวอาจมีอาการบวมแดงและอักเสบ รู้สึกเจ็บปวดเมื่อสัมผัส มีอาการคัน สาเหตุ สาเหตุของสิวซีสต์ สาเหตุของสิวซีสต์ อาจมีดังนี้ ฮอร์โมนแอนโดรเจนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น สตรีวัยหมดประจำเดือน สตรีตั้งครรภ์ และผู้ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เพราะอาจกระตุ้นการผลิตน้ำมันส่วนเกินทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิวอักเสบ และอาจกลายเป็นสิวซีสต์ได้ ความเครียด อาจทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เพิ่มขึ้น ที่ส่งผลให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป จนทำให้รูขุมขนอุดตันและกลายเป็นสิวซีสต์ ยาบางชนิด เช่น ลิเทียม (Lithium) ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ที่มีส่วนประกอบของโบรไมด์ […]


สิว

ยารักษาสิว มีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติอย่างไร

ยารักษาสิว เป็นยาสำหรับใช้เพื่อบรรเทาอาการสิวซึ่งเป็นการอักเสบของรูขุมขนหรือต่อมไขมัน เกิดจากรูขุมขนอุดตันเนื่องจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วหรือน้ำมันจากต่อมใต้ผิวหนังผลิตออกมามากเกินไป รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดเป็นตุ่มบนผิวหนัง มักพบตามใบหน้า หน้าอก หรือแผ่นหลัง โดยทั่วไป ยารักษาสิว จะมีทั้งชนิดทาและชนิดเม็ดสำหรับรับประทาน โดยมีคุณสมบัติในการช่วยกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ทำให้รูขุมขนอุดตัน ลดการผลิตน้ำมันจากต่อมใต้ผิวหนัง และฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของสิว [embed-health-tool-bmr] สิวคืออะไร สิว เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วหรือน้ำมันจากต่อมใต้ผิวหนังที่ผลิตมากเกินไปอุดตันรูขุมขน รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรียพี แอคเน่ (P. Acne หรือ Propionibacterium Acnes) ซึ่งทำให้ผิวอักเสบ จนเกิดเป็นตุ่มบนผิวหนัง อาจมีหนองอยู่ข้างใน และอาจทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัสโดน ปกติแล้ว สิวมักขึ้นตามใบหน้า ลำคอ หน้าอก ไหล่ และหลัง โดยสิวมีหลายประเภท เช่น สิวทั่วไป สิวเสี้ยน สิวหัวดำ สิวอักเสบ สิวหัวช้าง ยารักษาสิว มีอะไรบ้าง ยารักษาสิวที่คุณหมอหรือเภสัชกรจ่ายให้เพื่อรักษาสิวมักเป็นยาทาหรือยาเม็ดสำหรับรับประทาน โดยแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ยาทาภายนอก อะดาพาลีน (Adapalene) เป็นยาในกลุ่มเรตินอยด์ (Retinoids) หรือสารประกอบวิตามินเอ มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่ และป้องกันรูขุมขนอุดตัน เบนโซ อิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) […]


สิว

กําจัดสิวเสื้ยน ถาวร สามารถทำได้หรือไม่

สิวเสี้ยนเป็นปัญหาผิวที่เกิดจากความผิดปกติของรูขุมขน ทำให้มีเซลล์ขนสะสมอยู่ในรูขุมขนมากกว่าปกติ เมื่อรวมตัวกับไขมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว จึงเกิดเป็นจุดดำ เล็ก ๆ บริเวณผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณจมูก การ กําจัดสิวเสื้ยน ถาวร ให้ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก อาจไม่สามารถทำได้ 100% อย่างไรก็ตาม การใช้ยาทาเฉพาะที่และวิธีการอื่น ๆ เช่น การเลเซอร์ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดวิตามินเอหรือเรตินอยด์ อาจช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้ผิวดูเรียบเนียนขึ้น ทั้งนี้ ไม่ควรบีบสิวเสี้ยน หรือกดสิวเสี้ยนด้วยตัวเอง เนื่องจากอาจทำให้เกิดการอักเสบและการติดเชื้อได้ [embed-health-tool-ovulation] สิวเสี้ยน คืออะไร สิวเสี้ยน (Trichostasis Spinulosa) เป็นภาวะทางผิวหนังที่เกิดจากรูขุมขนหรือต่อมขนทำงานผิดปกติ ทำให้รูขุมขน 1 รู มีขนขึ้นมากกว่า 1 เส้น อาจมีขนกระจุกอยู่ประมาณ 5-25 เส้น และโดยทั่วไปจะมีขนาดน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร เมื่อขนรวมตัวกับเซลล์ผิวที่ตายแล้วและไขมันในรูขุมขน จะเกิดเป็นสิวเสี้ยน ลักษณะเป็นจุดดำ ๆ ขนาดเล็ก สัมผัสแล้วรู้สึกสะดุดนิ้ว เหมือนมีหนามแหลม ๆ ขนาดเล็กขึ้นตามผิวหนัง มักพบในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น จมูก หนังศีรษะ หน้าอก […]


สิว

สิวที่ตูด สาเหตุ การรักษาและวิธีป้องกัน

สิวที่ตูด หรือ สิวที่ก้น อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลให้รูขุมขนบริเวณทวารหนักอักเสบ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือการดูแลสุขอนามัยไม่ดี ส่งผลให้รูขุมขนอุดตัน และเกิดสิวที่ตูดขึ้น ซึ่งอาจรักษาได้ด้วยการใช้ยาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม หากสังเกตว่าสิวมีขนาดใหญ่ จนทำให้รู้สึกไม่สบายตัวหรือเคลื่อนไหวลำบาก ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุของสิวที่ตูด สาเหตุของสิวที่ตูด อาจมีดังนี้ รูขุมขนอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) หรือซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas Aeruginosa) หรืออาจเกิดจากการสวมกางเกงชั้นในและกางเกงรัดรูป ทำให้ผิวหนังบริเวณก้นถูกเสียดสี รวมถึงการมีเหงื่อออกมากที่ส่งผลให้รูขุมขนระคายเคืองและอักเสบ จนเกิดสิวที่ตูด การดูแลสุขอนามัยไม่ดี การทำความสะอาดก้นไม่สะอาด อาจทำให้คราบ ขี้ไคล เซลล์ผิวหนังเก่า สิ่งสกปรก และเชื้อแบคทีเรียสะสมในบริเวณก้น ซึ่งอาจส่งผลให้รูขุมขนอุดตันนอกจากนี้ การเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีสารเคมีรุนแรง อาจทำให้ผิวและรูขุมขนระคายเคือง จนส่งผลให้เกิดสิวที่ตูดหรืออาจทำให้สิวที่เป็นอยู่แย่ลงได้ ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เกิดจากฮอร์โมนเพศแอนโดรเจนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ทำให้ต่อมไขมันขยายและกระตุ้นการผลิตไขมันมากขึ้น ที่อาจนำไปสู่การอุดตันในรูขุมขน จนก่อให้เกิด สิวที่ก้น ขนคุด คือ เส้นขนที่อยู่ใต้ผิวหนัง ไม่สามารถโผล่พ้นผิวหนังได้ตามปกติ มีลักษณะม้วนงอ ส่งผลให้เกิดเป็นตุ่มนูนที่ตูด หากขนคุดเกิดการติดเชื้อหรืออักเสบ อาจเกิดเป็นตุ่มแดง หรือตุ่มหนองคล้ายสิว การรักษา สิวที่ตูด การรักษา […]


สิว

สิวที่จมูก สาเหตุ อาการ วิธีรักษาและป้องกัน

สิวที่จมูก เป็นปัญหาผิวที่พบได้บ่อย อาจเป็นได้ทั้งสิวเสี้ยน สิวหัวขาว และสิวอักเสบ มักเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง การใช้เครื่องสำอางบางชนิด การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหน้าที่ไม่เหมาะกับสภาพผิว ความเครียด การใช้ยาบางชนิด พันธุกรรม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียและยาแต้มสิวร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันอาจช่วยรักษาสิวที่จมูกและช่วยไม่ให้กลับเป็นสิวที่จมูกซ้ำอีก สิวที่จมูก เกิดจากอะไร ส่วนใหญ่แล้ว สิวเกิดจากต่อมไขมันผลิตซีบัม (Sebum) ซึ่งเป็นน้ำมันธรรมชาติออกมาในปริมาณมากเกินไป เมื่อซีบัมรวมตัวกับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและแบคทีเรียบนผิวหนัง อาจทำให้รูขุมขนอุดตัน และเกิดเป็นสิวหัวขาว สิวหัวดำ หรือสิวเสี้ยนบริเวณจมูกได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังต่อไปนี้ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวที่จมูกได้เช่นกัน ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) ในร่างกายมักเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยรุ่น ระหว่างตั้งครรภ์ และในช่วงมีประจำเดือน ฮอร์โมนชนิดนี้เป็นฮอร์โมนสำคัญที่ควบคุมการผลิตไขมันของผิวหนัง เมื่อฮอร์โมนแอนโดรเจนกระตุ้นให้ผลิตไขมันมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดสิวได้ เครื่องสำอาง การใช้เครื่องสำอางบางชนิด เช่น ครีมรองพื้น รวมถึงครีมบำรุงและโลชั่น ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน อาจไปอุดตันรูขุมขนและเกิดสิวได้ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหน้า สิวที่จมูกอาจเกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบางชนิดที่ทำให้ระคายเคืองผิว ส่งผลให้เกิดสิว ความเครียด ภาวะเครียดอาจเป็นตัวกระตุ้นให้ต่อมไขมันทำงานมากขึ้น ส่งผลให้รูขุมขนบริเวณจมูกอุดตันและเกิดสิวที่จมูกได้ การใช้ยาบางชนิด ยารักษาโรคบางชนิด เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) อาจกระตุ้นให้เกิดสิวได้ พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นสิวที่จมูก […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม