backup og meta

รังสียูวี (UV) กับผลกระทบต่อสุขภาพผิวที่ควรระวัง

รังสียูวี (UV) กับผลกระทบต่อสุขภาพผิวที่ควรระวัง

รังสียูวีหรือรังสีอัลตร้า ไวโอเล็ต (Ultraviolet radiation-UV) ) คือ รังสีที่มาจากดวงอาทิตย์ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งสามารถแบ่งประเภทออกได้เป็น รังสียูวีเอ รังสียูวีบี และรังสียูวีซี ซึ่งมีความแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วร่างกายได้รับรังสียูวีเอเป็นหลัก และรังสียูวีบีบางส่วน ส่วนรังสียูวีซียังไม่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศลงมาสู่ผิวโลกได้ ทั้งนี้ หากได้รับรังสียูวีมากเกินไปมักส่งผลเสียและเป็นอันตรายต่อสุขภาพผิวหนัง ควรหาวิธีป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากแสงแดด

[embed-health-tool-bmi]

รังสียูวี คืออะไร

ในโลกประกอบไปด้วยรังสีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น รังสีสำหรับการเอกซเรย์ รังสีแกมมา หรือแม้แต่คลื่นวิทยุเองก็นับว่าเป็นรังสีด้วยเช่นกัน สำหรับ รังสียูวี คือ รังสีที่มาจากดวงอาทิตย์ หรือรังสีที่ใช้ในการอบผิวทำให้ผิวแทน หรือการเชื่อมโลหะ และในรังสียูวีก็ยังมีการแยกประเภทออกไปได้อีกตามพลังงานที่รังสีแต่ละประเภทนั้นมีอยู่

รังสียูวีจำแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

ยูวีเอ (UVA rays) รังสียูวีเอ เป็นรังสีที่มีพลังงานน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรังสียูวีทั้งหมด ยูวีเอ สามารถทำร้ายอายุของเซลล์ผิว และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบดีเอ็นเอในผิวหนังทางอ้อมได้อีกด้วย ปัญหาสุขภาพผิวในระยะยาวที่มาสาเหตุมาจากรังสียูวีเอคือการมีริ้วรอยและรอยเหี่ยวย่นต่าง ๆ รวมถึงเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งด้วย

ยูวีบี (UVB rays) รังสียูวีบีมีพลังงานมากกว่ายูวีเอ ยูวี ประเภทนี้สามารถทำลายระบบดีเอ็นเอที่อยู่ในเซลล์ผิวได้โดยตรง เป็นสาเหตุหลักของปัญหาผิวไหม้หรือแดดเผา โดยรังสียูวีบีจัดว่าเป็นรังสีที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาผิวหนังมากที่สุด

ยูวีซี (UVC rays) รังสียูวีซีเป็นรังสีที่มีพลังงานมากที่สุดในบรรดารังสียูวีทั้งหมด เป็นรังสีที่พบได้ในชั้นโอโซนและชั้นบรรยากาศต่าง ๆ ไม่ถูกพบบนภาคพื้นดิน แต่อาจพบได้ในอุตสาหกรรมที่มีการเชื่อมโลหะหลอดไฟ เช่น หลอดแสงจันทร์ (Mercury lamps)  รังสีชนิดนี้ยังมักจะถูกนำมาใช้สำหรับการฆ่าเชื้อต่าง ๆ เช่น แบคทีเรียในน้ำ  แบคทีเรียในอากาศ  

ผลกระทบของ รังสียูวี กับสุขภาพผิวหนัง

ยูวี เป็นรังสีที่มีผลต่อผิวหนังของคนทั้งทางตรงและทางอ้อม การได้รับรังสียูวีเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้เกิดอาการทางสุขภาพผิวนหนัง ดังต่อไปนี้

  • รังสียูวีที่มาจากแสงแดด จากเครื่องอบทำผิวแทน อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการผิวไหม้จากแดด
  • การออกไปตากแดดบ้างเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ แต่ถ้าหากตากแดด หรืออาบแดดผิดที่และผิดเวลา ร่างกายเสี่ยงที่จะได้รับยูวีในปริมาณมาก ซึ่งจะมีผลเสียทำให้เกิดริ้วรอย ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร
  • รังสียูวี ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อผิวหนังแค่เพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพดวงตาอีกด้วย การได้รับแสงยูวีอาจเป็นผลทำให้มีอาการต้อกระจก ต้อเนื้อ หรือดวงตาอักเสบ ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้มองไม่เห็นหรือตาบอดได้ในที่สุด
  • การได้รับรังสียูวี ยังมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน หากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จะมีผลทำให้ร่างกายเจ็บป่วยบ่อยมากขึ้น หรือเกิดการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น  

วิธีป้องกัน รังสียูวี

วิธีป้องกันและรับมือกับรังสียูวี สามารถปฏิบัติตัวตามวิธีต่อไปนี้ 

  • ทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมเพื่อป้องกันยูวี โดยเฉพาะหากต้องอยู่กลางแจ้ง ควรสวมเสื้อและกางเกงขายาว
  • ติดฟิล์มสำหรับป้องกันรังสียูวีที่หน้าต่าง ทั้งหน้าต่างบ้าน สำนักงาน หรือหน้าต่างรถยนต์
  • สวมหมวก หรือแว่นสายตาที่มีคุณสมบัติในการกันรังสียูวี หรือแว่นตากันแดด เพื่อป้องกันรังสียูวีทำร้ายสายตา
  • ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดด หรือสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานาน ๆ หลังกลับบ้านควรทาครีมบำรุงผิวหรือว่านหางจระเข้เพื่อป้องกันผิวเสียหายจากรังสียูวี

หากไม่แน่ใจว่าผิวหนังของตนเองได้รับผลกระทบจากรังสียูวีหรือไม่ หรือเกิดอาการแพ้ คัน แดง ไหม้ หลังออกแดด ควรเข้าขอคำแนะนำหรือคำปรึกษาจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยตรง

 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

UV Radiation. https://www.cdc.gov/nceh/features/uv-radiation-safety/index.html. Accessed May 29, 2022.

Ultraviolet (UV) Radiation. https://www.cancer.org/cancer/cancer-causes/radiation-exposure/uv-radiation.html. Accessed May 29, 2022.

UV Radiation & Your Skin. https://www.skincancer.org/risk-factors/uv-radiation/. Accessed May 29, 2022.

Ultraviolet (UV) Radiation. https://www.fda.gov/radiation-emitting-products/tanning/ultraviolet-uv-radiation. Accessed May 29, 2022.

Ultraviolet radiation. https://www.who.int/health-topics/ultraviolet-radiation#tab=tab_1. Accessed May 29, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/06/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับครีมกันแดด มีอะไรบ้าง

ครีมกันแดดหมดอายุ ยังปกป้องผิวได้หรือไม่


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 14/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา