backup og meta

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) สามารถเกิดขึ้นได้จาก สาเหตุใด

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) สามารถเกิดขึ้นได้จาก สาเหตุใด

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) เป็นอีกโรคที่คุณควรระมัดระวังเป็นอย่างมากไม่แพ้โรคประเภทอื่น ๆ เนื่องจากโรคนี้ค่อนข้างเชื่อมโยงกับการทำงานของหัวใจ เพื่อให้ทุกคนรู้จักกับโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองมากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น มาฝากทุกคนให้ได้ลองศึกษา และทำความรู้จักกันค่ะ

[embed-health-tool-bmi]

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) คืออะไร

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง คือ การพองตัว และนูนบวมของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่มีหน้าที่ในการลำเลียงเลือดจากหัวใจเข้าไปหล่อเลี้ยงทั่วทั้งร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อที่หัวใจ ความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นต้น อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ

  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง
  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในทรวงอก

นอกจากนี้หากคุณปล่อยให้หลอดเลือดแดงพองตัวไปเรื่อย ๆ ไม่รีบเร่งรักษา ก็อาจส่งผลให้เส้นเลือดนี้สามารถแตกออก ก่อให้เกิดโรคหัวใจบางอย่าง ไตพัง และถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด

อาการของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

อาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเข้าสู่ภาวะเสี่ยงเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง นั้น ส่วนมากมักทำให้คุณต้องพบเจอกับอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • เจ็บหน้าอก
  • ปวดหลัง
  • หายใจลำบาก
  • ไอ และเสียงแหบ
  • ปวดท้อง
  • เหงื่อออก
  • อาเจียน
  • วิงเวียนศีรษะ

การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

หากคุณสังเกตถึงอาการผิดปกติ พร้อมรับการวินิจฉัยแล้วว่าคุณกำลังเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ในระดับเล็กน้อย แพทย์อาจต้องติดตามอาการเบื้องต้นเพื่อตรวจดูว่าอาการโป่งพองจะไม่ขยายใหญ่ไปกว่าเดิม โดยอาจมีการให้ยาตามอาการไปรับประทานร่วม ดังนี้

แต่หากเป็นกรณีที่หลอดเลือดแดงมีการโป่งพองขนาดใหญ่ แพทย์ต้องนัดหมายการผ่าตัดซ่อมแซม ก่อนเส้นเลือดแดงแตกในทันที เพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้ระหว่างการรักษา หรือฟื้นฟูสุขภาพหลังการผ่าตัดไม่ให้เผชิญกับโรคนี้อีกคุณจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ทั้ง 4 วิธี เหล่านี้ ควบคู่ไปด้วย

1. หยุดสูบบุหรี่

2. ลดอาหารที่อุดมไปด้วยไขมัน คอเลสเตอลรอล

3. รักษาน้ำหนักให้สมดุล

4. จำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ไม่ว่าจะโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจ คุณไม่ควรเพิกเฉยรอให้หายไปได้เอง เพราะนอกจากจะไม่ทำให้คุณมีอาการที่ดีขึ้นแล้ว ยังอาจนำพาให้คุณเข้าใกล้ความเสี่ยงการเสียชีวิตได้เร็วขึ้นอีกด้วยค่ะ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Aortic Aneurysm. https://www.cdc.gov/heartdisease/aortic_aneurysm.htm . Accessed June 30, 2021

abdominal aortic aneurysm. https://www.nhs.uk/conditions/abdominal-aortic-aneurysm/ . Accessed June 30, 2021

What is an Aortic Aneurysm?. https://www.webmd.com/heart-disease/heart-disease-aortic-aneurysm . Accessed June 30, 2021

aortic aneurysm. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/aortic-aneurysm/symptoms-causes/syc-20369472 . Accessed June 30, 2021

thoracic aortic aneurysm. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/thoracic-aortic-aneurysm/symptoms-causes/syc-20350188 . Accessed June 30, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว กับสัญญาณเตือนที่ควรเข้าพบคุณหมอ

การรักษาโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เทคนิคที่แพทย์นิยมใช้ เพื่อปกป้องสุขภาพหัวใจ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 30/09/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา