อาการใจสั่น ฟังดูแล้วเหมือนอาการของคนที่กำลังหวั่นไหว มีความรัก แต่สำหรับในทางสุขภาพแล้ว อาการใจสั่นอาจจะเกิดขึ้นจากสภาวะต่าง ๆ ที่ทั้งเป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากจะมาแนะนำเทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาอาการ ใจสั่น ให้อยู่หมัด ไม่มากวนใจคุณอีกต่อไป
ใจสั่น เกิดจากอะไร
อาการใจสั่น (Heart Palpitations) ที่ว่านี้ ไม่ได้หมายถึงอาการที่เกิดขึ้นเวลาที่คุณรู้สึกพิเศษกับใครสักคน แต่หมายถึงอาการที่หัวใจเต้นเร็ว สั่นระรัว หรือหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่ง ที่อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น
หากอาการใจสั่นเกิดจากโรคหรือสภาวะแฝง คุณอาจต้องทำการรักษาสภาวะที่เป็นสาเหตุของอาการใจสั่นนั้น ๆ แต่หากอาการใจสั่นที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากโรคหรือสภาวะแฝงใด ๆ การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ก็อาจช่วยให้คุณสามารถรับมือหรือช่วยลดโอกาสในการเกิดอาการ ใจสั่น ได้
เทคนิคแก้ไขปัญหา อาการใจสั่น
ผ่อนคลายอารมณ์
อาการ ใจสั่น ที่ไม่ได้เกิดจากโรคประจำตัวส่วนใหญ่นั้นมักมีสาเหตุมาจากความเครียด ความวิตกกังวล และความฟุ้งซ่านทางจิตใจ ดังนั้น การพยายามสงบสติอารมณ์ และผ่อนคลายจิตใจ ด้วยเทคนิคผ่อนคลายอารมณ์ดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้เรารู้สึกสงบ และทำให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นปกติได้
ดื่มน้ำ ป้องกัน ใจสั่น
ในบางครั้ง อาการ ใจสั่น ก็อาจมีสาเหตุมาจากภาวะขาดน้ำ เพราะเมื่อร่างกายได้รับน้ำไม่พอ จะทำให้เลือดข้นขึ้น และหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อให้สามารถสูบฉีดเลือดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้ตามปกติ ส่งผลให้เกิดอาการ ใจสั่น และความดันโลหิตสูง ดังนั้น หากคุณสังเกตเห็นว่าตัวเองมีอาการใจสั่น ลองค่อย ๆ จิบน้ำดูสักแก้ว เผื่อว่าอาการจะดีขึ้นค่ะ
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท
หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ และเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาททั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องดื่มชูกำลัง ชา น้ำอัดลม หรือแม้กระทั่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทเหล่านี้ อาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ และ ใจสั่น ได้ แต่คุณไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มทั้งหมดในคราวเดียว ลองค่อย ๆ หยุดกินไปทีละอย่าง แล้วดูว่าอาการ ใจสั่น ของคุณหายไปหรือไม่ คุณจะได้รู้ว่าเครื่องดื่มไหนที่ส่งผลให้คุณมีอาการใจสั่น และจะได้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มนั้นได้
รักษาสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย
อิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes) คือสารละลายและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ช่วยส่งสัญญาณไฟฟ้า และช่วยให้หัวใจสามารถทำงานได้ตามปกติ หากระดับของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายไม่สมดุล ก็อาจส่งผลให้หัวใจทำงานผิดปกติ และเกิดอาการ ใจสั่น ได้
อิเล็กโทรไลต์ที่มีความสำคัญกับการทำงานของหัวใจ ได้แก่
คุณสามารถหาแร่ธาตุเหล่านี้ได้จากการรับประทานอาหารตามปกติ เช่น ผักใบเขียว นม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัว ผลไม้ ถั่ว เนื้อปลา นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็อาจช่วยเสริมแร่ธาตุที่ร่างกายของคุณขาดหายไปได้เช่นกัน แต่ก่อนที่จะเริ่มเสริมอาหารใด ๆ โปรดปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรก่อน เพื่อดูว่าคุณควรที่จะต้องเสริมอาหารหรือไม่
ควรไปพบคุณหมอเมื่อไหร่
แม้ว่าโดยปกติแล้วอาการ ใจสั่น มักจะมีอาการไม่นาน และอาจหายไปได้เองโดยไม่ต้องทำอะไร หรือเพียงแค่ปรับไลฟ์สไตล์บางอย่างเท่านั้นอาการก็ดีขึ้นได้ แต่หากคุณลองปรับไลฟ์สไตล์แล้ว อาการ ใจสั่น ของคุณก็ยังไม่ยอมหายไป หรือมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย
- หัวใจเต้นเร็วมากผิดปกติ
- สับสน มึนงง
- วิงเวียนศีรษะ
- หมดสติ
- แน่นหน้าอก
- หายใจไม่ออก
คุณควรไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจร่างกายให้เร็วที่สุด เพระนั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจ หากปล่อยทิ้งไว้รีบรักษา อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต