backup og meta

นอนหลับยาก ฟังเพลงก่อนนอนช่วยให้หลับง่ายขึ้น กว่าที่คิด

นอนหลับยาก ฟังเพลงก่อนนอนช่วยให้หลับง่ายขึ้น กว่าที่คิด

อาการนอนไม่หลับนั้นเป็นปัญหาที่ใครหลายต่อหลายคนประสบอยู่ ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ยังไม่รู้สึกง่วงนอนเสียที รู้สึกตัวอีกทีก็เกือบจะตี 1 เข้าไปแล้ว วันนี้ Hello คุณหมอ มีอีกหนึ่งวิธีที่อาจจะช่วยให้คุณผู้อ่านนอนหลับได้ง่ายขึ้นมาฝาก นั่นคือการฟังเพลงก่อนนอน แต่การ ฟังเพลงก่อนนอนช่วยให้หลับง่ายขึ้น ได้อย่างไรนั้น ไปหาคำตอบกันในบทความนี้ได้เลย

ฟังเพลงก่อนนอนช่วยให้หลับง่ายขึ้น จริงหรือ?

ในเรื่องการฟังเพลงมีผลกับการนอนนั้น ด็อกเตอร์ไมเคิล บรูส์ (Michael Breus) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคลื่นสมองและการนอนหลับเจ้าของผลงานเขียนเรื่อง The Sleep Doctor’s Diet Plan:Simple Rules for Losing Weight While You Sleep กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องจริง เนื่องจากมีงานวิจัยและการค้นคว้ามากมายที่แสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ของเสียงเพลง หรือเสียงดนตรี กับคลื่นสมองและการนอนหลับ หากฟังเพลงจังหวะใด ความรู้สึกก็จะเปลี่ยนไปตามจังหวะของเพลง เช่น ฟังเพลงเศร้า ก็จะมีความรู้สึกเศร้าไปกับเพลง แต่หากฟังดนตรีที่มีจังหวะสนุกสนาน หรือจังหวะร็อค ก็จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างไป

การ ฟังเพลงก่อนนอนช่วยให้หลับง่ายขึ้น ได้อย่างไร

เสียงเพลง เสียงดนตรี และท่วงทำนอง มีผลกับอัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ ระดับความดันโลหิต รวมถึงมีผลต่อการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การฟังเพลงก่อนนอน ส่งผลต่อคลื่นสมองและร่างกาย แต่การเลือกฟังเพลงที่มีจังหวะดนตรีที่แตกต่างกันก็ให้ผลลัพธ์ทางร่างกายที่แตกต่างกันด้วย หากเลือกฟังเพลงคลาสสิค เพลงแจ๊ส หรือเพลงที่มีจังหวะ 60-80 บีทต่อนาที จะมีผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเริ่มช้าลง และรู้สึกง่วงในที่สุด ดังนั้น การเลือกเพลงที่มีจังหวะช้า เนิบ หรือเป็นจังหวะสบาย ๆ จะช่วยทำให้รู้สึกง่วงได้เร็วขึ้น ขณะที่ดนตรีจังหวะเร็ว มีผลให้รู้สึกกระฉับกระเฉง คึกคัก มีอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้นตามจังหวะของเสียงเพลง

อันตรายของการเสียบหูฟังไว้ทั้งคืน

หลายคนเลือกที่จะเสียบหูฟังแล้วฟังเพลงไปด้วยมากกว่าที่จะเปิดเพลงจากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเสียง เพื่อกระตุ้นให้ตัวเองเกิดอาการง่วงและหลับไป ซึ่งแม้การเสียบหูฟังจะให้ความรู้สึกเสมือนว่ามีนักร้องที่ชอบมายืนร้องเพลงอยู่ใกล้ ๆ หูก็ตาม แต่การปล่อยให้หูฟังเสียบอยู่ที่หูตลอดทั้งคืน อาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพได้ ดังนี้

เซลล์ตายเฉพาะส่วน (Necrosis)

การใส่หูฟังไว้ทั้งคืน และมีการนอนในท่าตะแคงข้างร่วมด้วย ทำให้หูที่ใส่หูฟังไว้อีกข้างถูกกดทับ อาจทำให้เลือดไม่เดิน หรือระบบไหลเวียนเลือดในบริเวณนั้นมีปัญหา ซึ่งเสี่ยงต่อการที่จะทำให้เลือดไม่ถูกลำเลียงไปเลี้ยงเซลล์ในบริเวณนั้นจนกระทั่งทำให้เนื้อตายได้ในที่สุด

ขี้หูที่เพิ่มขึ้น

การสวมหูฟังไว้ตลอดเวลาเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณของขี้หู หากลองสังเกตจะพบว่าหูฟังของเราจะมีขี้หูติดออกมาเสมอ และการเสียบหูฟังไว้เป็นระยะเวลานาน ๆ หรือตลอดทั้งคืน จะเป็นการไปปิดกั้นการหมุนเวียนถ่ายเทอากาศบริเวณหู และขัดขวางขี้หูให้ไม่สามารถออกมายังเยื่อแก้วหูได้

ภาวะหูชั้นนอกอักเสบ (Otitis Externa)

ภาวะหูชั้นนอกอักเสบ (Otitis Externa) เกิดจากความชื้นภายในหู หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาการหูนักว่ายน้ำ เพราะเกิดจากการที่น้ำเข้าหู หรือหูมีความชื้นอยู่ภายใน ส่งผลให้เนื้อเยื่อในหูที่มีความบอบบางนั้นเกิดการระคายเคือง อักเสบ หรือติดเชื้อ และการใส่หูฟังสามารถก่อให้เกิดความชื้น หรือมีเหงื่อขึ้นในหูได้

เสี่ยงต่อการถูกสายหูฟังรัด

ขณะที่นอนหลับเรามักจะมีการเปลี่ยนแปลงท่าทางในการนอนเสมอ การขยับตัวไปมานี้ อาจเป็นการเสี่ยงต่อการถูกสายหูฟังรัดคอทำให้หายใจไม่ออก หรือถูกรัดจนเป็นรอยแดง ซึ่งโอกาสเช่นนี้เกิดขึ้นได้น้อย แต่ถึงแม้จะเกิดขึ้นได้น้อย การรู้จักระมัดระวังไว้ก่อนย่อมดีกว่าเสมอ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Effects of Listening to Music While Sleeping – Is It Bad?. https://www.sleepadvisor.org/listening-to-music-while-sleeping/. Accessed on January 10, 2020.

Can Music Help Me Sleep?. https://www.webmd.com/sleep-disorders/features/can-music-help-me-sleep#1. Accessed on January 10, 2020.

Can Music Help You Calm Down and Sleep Better?. https://www.sleepfoundation.org/articles/can-music-help-you-calm-down-and-sleep-better. Accessed on January 10, 2020.

Sleep & Music. https://www.sleep.org/articles/sleep-music/.

Do You Sleep with Headphones or Earbuds – Know If It’s Safe for You. https://parenting.firstcry.com/articles/do-you-sleep-with-headphones-or-earbuds-know-if-its-safe-for-you/. Accessed on January 10, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/03/2021

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เต้นซุมบ้า วิธีออกกำลังกายแสนสนุก สำหรับผู้มีดนตรีในหัวใจ

ฟังเพลงตอนออกกำลังกาย กิจกรรมห้ามพลาดเพราะประโยชน์ดีๆ เพียบ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 30/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา