น้ำฟักทองมีลูทีนและซีแซนทีน ที่เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตา เช่น ตาบอด ต้อกระจก
จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร HHS Author Manuscripts เมื่อ ปี พ.ศ.2560 ที่ศึกษาเกี่ยวกับลูทีนและซีแซนทีนต่อสุขภาพตาและโรคตา พบว่า การบริโภคอาหารที่มีลูทีนและซีแซนทีนสูง อาจช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของจุดภาพชัดในดวงตา ลดการดูดซับแสงสีฟ้าจากหน้าจอ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อกระจก และโรคต้อหิน
-
อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
น้ำฟักทองมีวิตามินซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) จากอนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์ในร่างกาย และอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในการต้านสิ่งแปลกปลอมรวมถึงเชื้อโรคที่ส่งผลให้เจ็บป่วย
จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients ปี พ.ศ. 2560 ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวิตามินซีและระบบภูมิคุ้มกัน พบว่า วิตามินซีอาจช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นและส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ไวต่อสิ่งแปลกปลอมมากขึ้น เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อปรสิต ฝุ่น ควัน จึงอาจช่วยลดโอกาสการเจ็บป่วยได้
น้ำฟักทองมีแคลอรี่ต่ำและมีไฟเบอร์สูง ที่ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มได้นาน ลดพฤติกรรมการกินจุบกินจิบระหว่างวัน จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก
จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Reviews เมื่อปี พ.ศ. 2544 ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไฟเบอร์และการควบคุมน้ำหนัก พบว่า การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์เพิ่มขึ้น 14 กรัม/วัน เป็นเวลากว่า 3.8 เดือน อาจช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง 1.9 กรัม ซึ่งอาจลดช่วยความเสี่ยงต่อโรคอ้วน หรือช่วยลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักในผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วนได้อย่างมีนัยสำคัญ
ข้อควรระวังการบริโภคน้ำฟักทอง
ควรต้มฟักทองให้สุกเพื่อความสะดวกต่อการนำไปคั้นเป็นน้ำฟักทอง และควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการปรุงแต่งรสชาติเพิ่มเติม เช่น น้ำตาล น้ำผึ้ง เนื่องจากฟักทองมีความหวานตามธรรมชาติอยู่แล้ว และเพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โรคเบาหวาน และสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต ควรหลีกเลี่ยงการเพิ่มรสชาติด้วยเกลือ เพื่อป้องกันอาการไตวาย
น้ำฟักทองอาจมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานในปริมาณมากเกินไป และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำฟักทองร่วมกับยาบางชนิดที่อาจมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ เช่น ยาขับปัสสาวะ ลิเทียม (Lithium) เพื่อป้องกันไม่ให้ปัสสาวะบ่อยเกินไปจนร่างกายขาดน้ำ และควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอก่อนรับประทาน
นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการแพ้ฟักทองควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของฟักทองอย่างน้ำฟักทอง โดยอาจสังเกตอาการแพ้ เช่น ใบหน้าบวม ลิ้นบวม มีผื่นขึ้นบนผิวหนัง หายใจลำบาก หากมีอาการดังกล่าวควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาอย่างรวดเร็ว
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย