backup og meta

มังคุด ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

มังคุด ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

มังคุด เป็นผลไม้เมืองร้อนที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น ไฟเบอร์ วิตามินซี วิตามินเอ รวมถึงยังอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างแซนโทน (Xanthone) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น ต้านการอักเสบ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพผิว อาจช่วยป้องกันมะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด

มังคุด ปริมาณ 196 กรัม ให้พลังงานประมาณ 143 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น

  • คาร์โบไฮเดรต 35 กรัม
  • ไฟเบอร์ 3.5 กรัม
  • โปรตีน 1 กรัม
  • ไขมัน 1 กรัม
  • วิตามินบี 2 6% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน
  • วิตามินบี 1 7% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน
  • วิตามินซี 9% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน
  • วิตามินบี 9 15% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน

นอกจากนี้ มังคุดยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แมงกานีส ทองแดง แมกนีเซียม แทนนิน (Tannin) แซนโทน

ประโยชน์ของมังคุดที่มีต่อสุขภาพ

มังคุดมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของมังคุดในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้

  1. อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

แซนโทนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในมังคุด อาจมีคุณสมบัติช่วยป้องกันและรักษาภาวะดื้อต่ออินซูลินในผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งอาจช่วยควบคุมน้ำหนักและป้องกันโรคอ้วน โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่มีผลต่อภาวะดื้อต่ออินซูลินในผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคอ้วน พบว่า สารสกัดจากเปลือกและเนื้อมังคุดอาจมีส่วนช่วยป้องกันและรักษาภาวะดื้อต่ออินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มังคุดจึงอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคเบาหวาน ต่อต้านการอักเสบ ช่วยควบคุมน้ำหนัก และป้องกันโรคอ้วน

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร Food and Chemical Toxicology เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของมังคุด พบว่า มังคุดอุดมไปด้วยแซนโทน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ควบคุมการตายของเซลล์ ต้านการแข็งตัวของเลือด ต้านการอักเสบ ปกป้องระบบประสาท ป้องกันโรคเบาหวาน ป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ป้องกันโรคอ้วน

  1. อาจช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน

มังคุดอุดมไปด้วยไฟเบอร์และวิตามินซี ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Journal of Medicinal Food เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของอาหารเสริมจากมังคุดที่มีผลต่อการทำงานของภูมิคุ้มกัน พบว่า การบริโภคอาหารเสริมจากมังคุดที่มีวิตามินรวมและแร่ธาตุที่จำเป็นส่งผลดีต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจาก มังคุดอุดมไปด้วยวิตามินซีและแซนโทน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบและช่วยปรับปรุงการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน

  1. อาจช่วยบำรุงสุขภาพผิว

สารสกัดจากมังคุดอย่างแทนนินและแซนโทน อาจมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งปฏิกิริยาไกลเคชั่น (Glycation) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อบริโภคน้ำตาลหรือแป้งมากเกินไป ส่งผลให้ผิวยืดหยุ่นน้อยลงและขาดความชุ่มชื้น ดังนั้น การบริโภคสารสกัดจากมังคุดจึงอาจช่วยฟื้นฟูความยืดหยุ่นของผิวได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Journal of Clinical Biochemistry and Nutrition เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่ช่วยฟื้นฟูความยืดหยุ่นของผิว พบว่า สารสกัดจากเปลืองมังคุดมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งปฏิกิริยาไกลเคชั่น โดยยับยั้งการสร้างเพนโทซิดีน (Pentosidine) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้คอลลาเจนเสื่อมสภาพ ส่งผลให้ผิวมีสุขภาพดีขึ้น ช่วยฟื้นฟูความยืดหยุ่นและความชุ่มชื้นของผิว

  1. อาจช่วยต้านการอักเสบและอาจช่วยป้องกันมะเร็ง

แซนโทนในมังคุดอาจช่วยต้านการอักเสบของเนื้อเยื่อในร่างกายที่เกิดจากการทำลายของอนุมูลอิสระ และอาจช่วยป้องกันการเกิดเนื้องอกและมะเร็งได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Molecular Medicine เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ศึกษาเกี่ยวกับแซนโทนซึ่งเป็นสารสกัดจากมังคุดอาจช่วยในการต้านมะเร็ง พบว่า เปลือก ผล และใบของมังคุดอุดมไปด้วยแซนโทน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ต้านเนื้องอก ต้านการแพ้  ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านไวรัส นอกจากนี้ ยังมีประสิทธิภาพในการควบคุมการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์ การตายของเซลล์ การอักเสบและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง จึงอาจช่วยต้านมะเร็งได้

ข้อควรระวังในการบริโภคมังคุด

ข้อควรระวังบางประการสำหรับการบริโภคมังคุด มีดังนี้

  • การรับประทานมังคุดมากเกินไปหรือรับประทานติดต่อกัน 12 สัปดาห์ อาจทำให้มีอาการท้องผูก ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียนและเหนื่อยล้าได้ เนื่องจากมังคุดมีสารแทนนินที่พบมากในเปลือก เมื่อรับประทานมังคุดเป็นเวลานาน สารแทนนินสามารถรบกวนการย่อยอาหารและการดูดซึมของแร่ธาตุอื่น ๆ จนอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกและปวดท้องได้
  • ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ ผ่าตัดหรือทำศัลยกรรมควรหลีกเลี่ยงการรับประทานมังคุด เนื่องจากมังคุดอุดมไปด้วยแซนโทนที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งอาจทำให้กระบวนการแข็งตัวของเลือดช้าลงและอาจเพิ่มความเสี่ยงในการตกเลือดได้ สำหรับผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือศัลยกรรมควรหลีกเลี่ยงการรับประทานมังคุดประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

มังคุดราชีนีแห่งผลไม้. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/335/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%94-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C/. Accessed March 23, 2022

Mangosteen. https://hort.purdue.edu/newcrop/morton/mangosteen.html. Accessed March 23, 2022

Mangosteen – Uses, Side Effects, and More. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1081/mangosteen#:~:text=Mangosteen%20(Garcinia%20mangostana)%20is%20a,as%20antioxidants%20and%20fight%20infections. Accessed March 23, 2022

Mangosteen pericarp extract inhibits the formation of pentosidine and ameliorates skin elasticity. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26236097/. Accessed March 23, 2022

Effect of a Mangosteen Dietary Supplement on Human Immune Function: A Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled Trial. https://www.researchgate.net/publication/26758411_Effect_of_a_Mangosteen_Dietary_Supplement_on_Human_Immune_Function_A_Randomized_Double-Blind_Placebo-Controlled_Trial. Accessed March 23, 2022

Medicinal properties of mangosteen (Garcinia mangostana L.): A comprehensive update. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28842267/. Accessed March 23, 2022

Mangosteen Extract Shows a Potent Insulin Sensitizing Effect in Obese Female Patients: A Prospective Randomized Controlled Pilot Study. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29747432/. Accessed March 23, 2022

Xanthones from mangosteen extracts as natural chemopreventive agents: potential anticancer drugs. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21902651/. Accessed March 23, 2022

Functional constipation in children. https://www.scielo.br/j/jped/a/Bczrffvykq57FtKrq4YY3NB/?format=pdf&lang=en#:~:text=10%20Eating%20large%20amounts,of%20the%20digestive%20tract%20muscles. Accessed March 23, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/04/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกท้อ สารอาหาร ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ส้มเขียวหวาน สารอาหาร ประโยชน์ และความเสี่ยงในการบริโภค


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 07/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา