backup og meta

เกลือดำ ประโยชน์สุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 19/12/2023

    เกลือดำ ประโยชน์สุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

    เกลือดำ เป็นเกลือสินเธาว์ชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายหินก้อนเล็ก ๆ พบได้มากที่สุดในประเทศปากีสถาน บังคลาเทศ อินเดีย และเนปาล แถบเทือกเขาหิมาลัย นิยมนำมาประกอบอาหาร มีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุหลายชนิด เช่น และอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น บรรเทาอาการท้องอืด ช่วยบำรุงผิว อย่างไรก็ตาม ควรบริโภคเกลือดำในปริมาณที่พอเหมาะ และศึกษาข้อควรระวังในการบริโภคด้วย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ

    เกลือดำ คืออะไร

    เกลือดำ (Black Salt) เป็นเกลือสินเธาว์ที่ มีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายก้อนหิน โดยมีความแตกต่างกับเกลือสีขาวทั่วไปตรงที่มีกระบวนการผลิต และรสชาติที่ต่างกัน โดยเกลือสีดำให้รสสัมผัสเบา ไม่เค็มมากเท่ากับเกลือสีขาวทั่วไป อาจยังมีแร่ธาตุที่ให้ประโยชน์ได้มากกว่า โดยเกลือสีดำแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ  ดังนี้

    1. เกลือลาวาสีดำ (Black Lava Salt)

    เกลือดำชนิดนี้พบมากในหมู่เกาะฮาวาย สาเหตุที่มีสีดำอาจมาจากการปนเปื้อน หรือมีการเติมถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon) ลงไป รสชาติอาจแตกต่างจากเกลือชนิดอื่น ๆ เพราะมีกลิ่นไอดินจากธรรมชาติปะปนอยู่ นิยมใช้เพื่อโรยบนหน้าอาหารเพื่อสีสันและความสวยงามมากกว่าเพิ่มรสชาติความเค็ม

    1. เกลือดำหิมาลัย (Himalayan Black Salt หรือ Kaala Namak)

    เกลือดำหิมาลัยต่างจากเกลือลาวาสีดำชนิดอื่นตรงที่สีอาจออกเป็นน้ำตาล หรือชมพูเล็กน้อย สามารถนำมาใช้ปรุงอาหาร ใช้เพื่อช่วยลดกลิ่นหรือรสชาติของอาหารที่ค่อนข้างมีกลิ่นฉุน เผ็ดให้เบาลงได้ นิยมใช้ในปรุงอาหารประเภทมังสวิรัติ

    1. เกลือดำพิธีกรรม หรือเกลือแม่มด (Black Ritual Salt)

    สาเหตุที่ถูกเรียกเช่นนี้ เพราะสมัยก่อนมีความเชื่อกันว่า เป็นเกลือที่ถูกนำมาลบล้าง หรือใช้ในพิธีกรรมในทางไสยศาสตร์ สามารถพกติดตัวเพื่อป้องกันสิ่งไม่ดีได้ อย่างไรก็ตาม เกลือดำพิธีกรรมไม่นิยมนำมาบริโภคเท่าใดนัก เพราะส่วนใหญ่ไม่ทราบที่มาของสีที่นำมาย้อม หรืออาจเป็นเกลือไม่บริสุทธิ์

    ประโยชน์ของเกลือดำ

    เกลือดำมีปริมาณของโซเดียมน้อยกว่าเกลือทั่วไป และอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้

    อาจช่วยลดการอักเสบในร่างกาย

    เกลือดำมีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ซึ่งมีประโยชน์แก่ร่างกาย เช่น เหล็ก แมกนีเซียม รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระ การบริโภคเกลือดำจึงอาจช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงและลดการอักเสบต่าง ๆ ในร่างกาย

    งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้างของเกลือดำหิมาลัยต่อคุณสมบัติในการต้านสารอนุมูลอิสระ เผยแพร่ในวารสาร Science of the Total Environment พ.ศ.2563 พบว่า ในเกลือดำหิมาลัยมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าเกลือทะเลทั่ว ๆ ไปและเกลือสีชมพูหิมาลัย รวมทั้งมีแร่ธาตุสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม การบริโภคเกลือดำจึงอาจช่วยต้านอนุมูลอิสระ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน

    อาจช่วยป้องกันกล้ามเนื้อกระตุก

    เกลือดำประกอบด้วยโพแทสเซียมซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ และช่วยให้กล้ามเนื้อดูดซับแร่ธาตุอื่น ๆ มาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ดี การบริโภคเกลือดำจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงอาการตะคริว หรือช่วยให้อาการกระตุกของกล้ามเนื้อลดลง

    กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต

    เกลือดำมีคุณสมบัติคล้ายยาชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ยาเจือจางเลือด (Blood Thinner)” แต่มาในรูปแบบธรรมชาติไร้สารเคมีปะปน จึงอาจมีประโยชน์ต่อการหมุนเวียนเลือด ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการอุดตันในเส้นเลือด หรือคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดมากเกินเกณฑ์มาตรฐาน อาจเลือกบริโภคเกลือดำแทนเกลือชนิดอื่นเพื่อช่วยปรับการไหลเวียนของโลหิต

    ข้อควรระวังการบริโภคเกลือดำ

    แม้ว่าเกลือดำจะมีปริมาณโซเดียมน้อยกว่าเกลือสีขาวทั่วไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถบริโภคในปริมาณเท่าไหร่ก็ได้ต่อวัน เนื่องจากยังคงมีรสชาติที่ให้ความเค็ม ในคนทั่วไปที่ไม่มีโรคประจำตัว ควรได้รับโซเดียวต่ำกว่า 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โณคเบาหวาน โรคหัวใจ ควรบริโภคเกลือดำด้วยความระมัดระวัง หากบริโภคโซเดียมเกินปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน อาจทำให้ความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้นและเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

    สำหรับสตรีตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงเกลือประเภทนี้อย่างเด็ดขาด เพราะเกลือดำมีส่วนประกอบของถ่านกัมมันต์ จึงอาจก่อให้เกิดการย่อยยาก และอาจทำให้ทารกในครรภ์ได้รับความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตอีกด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 19/12/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา