บทความนี้ Hello คุณหมอ นำ สูตรไข่ออมเล็ต มาให้ทุกคนได้ลองทำกันดูค่ะ วิธีทำนั้นแสนง่าย ใช้เวลาทำเพียงไม่กี่นาที ยิ่งรับประทานคู่กับข้าวสวยร้อน ๆ บวกกับกลิ่นหอมๆ ของไข่ ใครได้ลิ้มลองเป็นติดใจ
ไข่ออมเล็ต เมนูง่าย ๆ จากไข่ ที่รับประทานเท่าไหร่ก็ไม่มีเบื่อ
รับประกันได้เลยว่าถ้าใครได้กลิ่นหอม ๆ ของเมนูไข่ออมเล็ต (Omelet) จะต้องอดใจไม่ไหวอย่างแน่นอน ยิ่งรับประทานคู่กับข้าวสวยร้อน ๆ ยิ่งอร่อยอย่าบอกใครเลยค่ะ
นอกจากความหอมอร่อยอย่างลงตัวแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย เช่น บำรุงสุขภาพดวงตา ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
สูตรไข่ออมเล็ต
สูตรการทำไข่ออมเล็ตมีส่วนผสมและวิธีการทำ ดังต่อไปนี้
ส่วนผสม
- ไข่ไก่ 2 ฟอง
- นมสด 2 ช้อนโต๊ะ
- เนย 1 ช้อนโต๊ะ
- เกลือ (ใส่ปริมาณตามต้องการ)
- พริกไทย (ใส่ปริมาณตามต้องการ)
วิธีทำ
- ตอกไข่ใสชามแล้วตีไข่ให้เป็นเนื้อเดียวกัน
- นำกระทะที่มีก้นหนา 6-10 นิ้ว ตั้งไฟปานกลาง ใส่เนยลงไปคนให้ให้เนยละลาย
- เติมนมลงในไข่และปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทย จากนั้นคนให้เข้ากันให้เนื้อเนียนเข้ากันที่สุด
- เมื่อเนยในกระทะร้อนได้ที่แล้ว ให้เทไข่ลงไป อย่ากวนไข่ทันทีปล่อยให้ไข่เริ่มเซ็ทตัวสักพักนึง
- ใช้ตะหลิวค่อย ๆ ดันขอบด้านหนึ่งของไข่เข้าไปตรงกลางกระทะ ในขณะที่เอียงกะทะเพื่อให้ไข่ที่ยังเหลวไหลเข้าไปด้านล่าง (ทำซ้ำกับขอบอื่น ๆ จนกว่าจะไม่มีบริเวณไข่ที่เหลวอยู่)
- เมื่อไข่เริ่มเซ็ทตัว จะมีลักษณะคล้ายแพนเค้กสีเหลืองสดใส หลังจากนั้นใช้ไม้พายค่อย ๆ เลาะไข่แล้วกลับด้านทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วินาที หรือจนกว่าจะไม่มีไข่ที่ไม่สุก
- หากมีส่วนผสมอื่น ๆ เช่น เห็ด เนื้อสัตว์ นำมาวางตรงกลางไข่ และใช้ไม้พายยกขอบด้านหนึ่งของไข่ขึ้นแล้วพับตามแนวขวางเพื่อให้ขอบเรียงตัวกัน
- หลังจากนั้นค่อย ๆ นำไข่ออมเล็ตยกลงใส่จาน อาจโรยหน้าด้วยสมุนไพรสดสับ หรือส่วนผสมอื่น ๆ ตามที่เราต้องการ
เคล็ดลับการทำไข่ออมเล็ต
- การปรุงไข่ออมเล็ตโดยใช้ไฟความร้อนสูงอาจทำให้ไข่มียางและสุกเกินไป
- เตรียมส่วนผสมทั้งหมดให้เรียบร้อยก่อนตีไข้เพื่อให้พร้อมสำหรับใส่ทีเดียว
- ไส้ที่ใส่ควรมีปริมาณ 1/3 ถ้วย สำหรับไข่ที่เตรียมไว้ เพื่อให้เวลาพับไข่จะได้ทำได้ง่ายขึ้น
คุณประโยชน์ดี ๆ จากไข่ ในเมนูไข่ออมเล็ต
- บำรุงสุขภาพดวงตา
ไข่มีลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพดวงตา ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อกระจกและจอประสาทเสื่อม
- ลดระดับไตรกลีเซอไรด์
ไข่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega 3) มีคุณสมบัติช่วยลดระดับระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจ
ไข่อุดมด้วยสารอาหารโปรตีนในปริมาณสูง ทำให้เรารู้สึกอื่มหลังรับประทาน ส่งผลให้ได่รับสารอาหารที่มีปริมาณแคลอรี่ น้อยลงในแต่ละวัน การรับประทานไข่จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี
ไข่มีโคลีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์สมอง และยังมีบทบาทสำคัญในการบำรุงสมอง
[embed-health-tool-bmi]