backup og meta

เต้าฮวย เมนูที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ พร้อมสูตรง่าย ๆ

เต้าฮวย เมนูที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ พร้อมสูตรง่าย ๆ

เต้าหู้ และน้ำขิงเป็นส่วนประกอบหลักใน เต้าฮวย ซึ่งอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการและมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาจช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด ลดระดับคอลเลเตอรอล ลดอาการปวดและอักเสบ อาจทำใหระบบขับถ่ายดีขึ้น บรรเทาอาการปวดประจำเดือน โดยการทำเต้าฮวย เอาไว้รับประทานเอง ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ  ทั้งยังมีส่วนประกอบที่ไม่ซับซ้อนอีกด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารว่างที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

เต้าฮวย น้ำขิง วัตถุดิบที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

วัตถุดิบหลักของเต้าฮวยน้ำขิง คือ เต้าหู้และขิง ซึ่งจัดเป็นอาหารที่มีประโยชน์มากมาย โดยประโยชน์ของเต้าหูและขิงอาจมีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเต้าหู้

สำหรับเต้าหู้ 1 ชิ้น อาจให้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

  • แคลอรี่ 78 แคลอรี่
  • โปรตีน 8.7 กรัม
  • ไขมัน 4 กรัม
  • ไฟเบอร์: 0.8 กรัม
  • คาร์บโบไฮเดตร 2 กรัม
  • น้ำตาล 0.3 กรัม

ประโยชน์ของเต้าหู้

เต้าหู้ทำจากถั่วเหลืองแช่น้ำแล้วนำมาต้ม ก่อนจะบดจนเนื้อเนียนและอัดลงบนพิมพ์ตามรูปร่างที่ต้องการ ทิ้งไว้ให้เย็น เต้าหู้อาจแตกต่างจากโปรตีนจากพืชชนิดอื่น ๆ เนื่องจาก เต้าหู้มกรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้เอง เช่น ไทรามีน (Tyramine) ซึ่งอาจช่วยปรับสมดุลความดันโลหิต นอกจากนั้นประโยชน์สุขภาพของเต้าหู้ที่มีต่อร่างกาย อาจมีดังนี้

  • บำรุงสุขภาพหัวใจ และหลอดเลือด
  • ลดระดับคอเลสเตอรอล
  • ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก
  • บรรเทาอาการวัยหมดประจำเดือน
  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน เพราะไอโซฟลาโวนและโปรตีนจากถั่วเหลือง อาจช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก และทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้นได้
  • ป้องกันโรคโลหิตจาง ซึ่งเป็นภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาดธาตุเหล็ก จนจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงลดลง เต้าหู้ถือเป็นแหล่งธาตุเหล็กที่ดีที่หารับประทานได้ง่ายด้วย
  • อุดมไปด้วยโปรตีน เนื่องจากเต้าหู้ทำมาจากถั่วเหลืองซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยม ทั้งยังมีกรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้เอง

สรรพคุณของขิง

ขิงเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินซี แมกนีเซียม โพแทสเซียม ทั้งยังอาจมีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพ ดังนี้

  • ช่วยลดอาการปวด และอักเสบ
  • ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะในผู้หญิงตั้งครรภ์
  • อาจชะลอการเติบโตของมะเร็งบางชนิดได้
  • ลดน้ำตาลในเลือด เนื่องจากขิงอาจช่วยให้ร่างกายใช้อินซูลินได้ดีขึ้น
  • บรรเทาอาการปวดประจำเดือน
  • ลดคอเลสเตอรอล
  • บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย และการบริโภคขิงก่อนรับประทานอาหาร อาจช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้นด้วย

สูตรเต้าฮวยน้ำขิง

เต้าฮวยทำมาจากเต้าหู้ หรือถั่วเหลืองนั่นเอง ดังนั้น การทำเต้าฮวยน้ำขิงจึงไม่ยาก และส่วนประกอบก็ไม่มีอะไรซับซ้อนอีกด้วย

ส่วนผสมของเต้าฮวยน้ำขิง

  • เต้าหู้ 11 ออนซ์  หรือประมาณ 312 กรัม
  • น้ำตาลทรายแดง ½ ถ้วยตวง
  • น้ำเปล่า ¼ ถ้วย
  • ขิงหั่นแว่น 4-5 ชิ้น

วิธีทำเต้าฮวยน้ำขิง

  1. นำหม้อขนาดกลางตั้งไฟ เติมน้ำประมาณครึ่งหม้อ ต้มน้ำให้เดือด ใส่เต้าหู้ลงไป ต้มประมาณ 2-3 นาที ตักขึ้นพักไว้
  2. นำหม้อขนาดเล็กตั้งไฟ เติมน้ำเปล่า น้ำตาลทรายแดง และขิงหั่นแว่นลงไป ต้มด้วยไฟอ่อนถึงไฟปานกลางจนน้ำตาลละลาย จากนั้นเคี่ยวต่อด้วยไฟต่ำ
  3. ปิดไฟ ทิ้งน้ำขิงไว้ให้เย็นโดยไม่ต้องตักขิงออก เพราะยิ่งแช่ขิงทิ้งไว้ในน้ำเชื่อมนานเท่าไหร่ รสชาติของน้ำขิงก็จะยิ่งเข้มข้นขึ้นเท่านั้น
  4. ตักเต้าหู้ลงในชาม แล้วราดน้ำขิงตามต้องการ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Silken Tofu Pudding with Ginger Syrup. https://cookingwithawallflower.com/2020/05/27/silken-tofu-pudding-with-ginger-syrup/. Accessed June 30, 2021

What Is Tofu?. https://www.webmd.com/food-recipes/benefits-tofu. Accessed June 30, 2021

9 Health Benefits Of Tofu. https://www.kayawell.com/Food/9-Surprising-Benefits-Of-Tofu-diabetes-type-ii-anemia. Accessed June 30, 2021

Tofu. https://www.britannica.com/topic/tofu. Accessed June 30, 2021

Health Benefits of Ginger. https://www.webmd.com/diet/ss/slideshow-health-benefits-ginger. Accessed June 30, 2021

8 Incredible Health Benefits of Eating Ginger. https://chopra.com/articles/8-incredible-health-benefits-of-eating-ginger. Accessed June 30, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/11/2024

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีต้มน้ำขิง เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ

เครื่องดื่มคลายเครียด ช่วยคลายกังวล ขจัดความเครียด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 30/11/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา