backup og meta

อาหารโปรตีนสูง มีอะไรบ้าง และปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน

อาหารโปรตีนสูง มีอะไรบ้าง และปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน

โปรตีนเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อ และซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ จึงควรรับประทาน อาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน สัตว์ปีก ปลา ไข่ พืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืช นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว ในปริมาณที่เหมาะสมเป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันภาวะขาดโปรตีนที่อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ เช่น สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย

[embed-health-tool-bmi]

อาหารโปรตีนสูง มีอะไรบ้าง

ตัวอย่าง อาหารโปรตีนสูง มีดังต่อไปนี้

  • ปลาแห้ง 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 62.8 กรัม
  • อกไก่ปรุงสุก 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 32.1 กรัม
  • ปลาทูน่าอบแห้ง มีโปรตีนประมาณ 29.2 กรัม
  • ปลาแซลมอนปรุงสุก มีโปรตีนประมาณ 25.4 กรัม
  • อัลมอนด์ 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 21.2 กรัม
  • เนื้อวัวปรุงสุก 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 18.2 กรัม
  • กุ้ง 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 13.6 กรัม
  • ไข่ไก่ดิบ 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 12.6 กรัม
  • ไข่ดาวน้ำ (Poached egg) 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 12.5 กรัม
  • ชีสคอทเทจ ไขมันต่ำ มีโปรตีนประมาณ 12.4 กรัม
  • กรีกโยเกิร์ต 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 10.3 กรัม
  • เต้าหู้แข็งหมักเกลือ 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 8.92 กรัม
  • นมข้นจืด 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 6.81 กรัม
  • นมแกะ 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 5.98 กรัม
  • ถั่วลันเตา 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 5.42 กรัม
  • นมไขมันต่ำ 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 3.48 กรัม
  • นมถั่วเหลืองไม่หวาน 100 กรัม มีโปรตีนประมาณ 2.78 กรัม

ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน

ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับต่อวันสำหรับคนทั่วไปตามช่วงอายุ

  • เด็กทารกอายุ 0-6 เดือน ควรได้รับโปรตีน 9.1 กรัม/วัน
  • เด็กทารกอายุ 6-12 เดือน ควรได้รับโปรตีน 11 กรัม/วัน
  • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับโปรตีน 13 กรัม/วัน
  • เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับโปรตีน 19 กรัม/วัน
  • เด็กอายุ 9-13 ปี ควรได้รับโปรตีน 34 กรัม/วัน
  • เด็กผู้ชายอายุ 14-18 ปี ควรได้รับโปรตีน 52 กรัม/วัน
  • เด็กผู้หญิงอายุ 14-18 ปี ควรได้รับโปรตีน 46 กรัม/วัน
  • ผู้ชายอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับโปรตีน 56 กรัม/วัน
  • ผู้หญิงอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับโปรตีน 46 กรัม/วัน
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรได้รับโปรตีน 71 กรัม/วัน

ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับต่อวันตามน้ำหนักตัว

  • คนทั่วไป คำนวณจาก 0.8-1 กรัม x น้ำหนักตัว เช่น น้ำหนักตัว 80 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีน 64.8-80 กรัม/วัน
  • คนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ คำนวณจาก 2-3 กรัม x น้ำหนักตัว เช่น น้ำหนักตัว 80 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีน 160-240 กรัม/วัน

ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับต่อวันตามสัดส่วนอาหาร (โปรตีน 1 ส่วน = 2 ช้อนกินข้าว)

โปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน สัตว์ปีก ปลา ไข่ พืชตระกูลถั่วและเมล็ดพืช

  • ผู้หญิงอายุ 19–50 ปี ควรได้รับโปรตีนประมาณ 2½ ส่วน/วัน
  • ผู้ชายอายุ 19–50 ปี ควรได้รับโปรตีนประมาณ 3 ส่วน/วัน
  • ผู้หญิงอายุ 51-70 ปี ควรได้รับโปรตีนประมาณ 2 ส่วน/วัน
  • ผู้ชายอายุ 51-70 ปี ควรได้รับโปรตีนประมาณ 2½ ส่วน/วัน
  • ผู้หญิงอายุ 70 ปี ขึ้นไป ควรได้รับโปรตีนประมาณ 2 ส่วน/วัน
  • ผู้ชายอายุ 70 ปี ขึ้นไป ควรได้รับโปรตีนประมาณ 2½ ส่วน/วัน
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับโปรตีนประมาณ 3½ ส่วน/วัน
  • ผู้หญิงให้นมบุตร ควรได้รับโปรตีนประมาณ 2½ ส่วน/วัน

ตัวอย่างโปรตีน 1 ส่วน สำหรับโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน สัตว์ปีก ปลา ไข่ พืชตระกูลถั่วและเมล็ดพืช อาจมีดังนี้

  • เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและไม่ติดหนัง เช่น อกไก่ เนื้อหมูแบบสุก ประมาณ 65 กรัม (น้ำหนักดิบ 90-100 กรัม)
  • เนื้อสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ ห่านแบบสุก ประมาณ 80 กรัม (น้ำหนักดิบประมาณ 100 กรัม)
  • เนื้อปลาปรุงสุก 100 กรัม (น้ำหนักดิบประมาณ 115 กรัม) หรือปลากระป๋อง 1 กระป๋องเล็ก
  • ไข่ไก่หรือไข่เป็ดเบอร์ใหญ่ 2 ฟอง
  • ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเลนทิล ถั่วลันเตา 1 ถ้วยหรือ 150 กรัม (ไม่ควรใส่เกลือ)
  • เต้าหู้ 170 กรัม
  • พืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืช เนยถั่ว ถั่วลิสง 30 กรัม

โปรตีนประเภทนม โยเกิร์ต ชีสชนิดไขมันต่ำ หรือนมทางเลือกอื่น ๆ

  • ผู้หญิงอายุ 19–50 ปี ควรได้รับโปรตีนประมาณ 2½ ส่วน/วัน
  • ผู้ชายอายุ 19–50 ปี ควรได้รับโปรตีนประมาณ 2½ ส่วน/วัน
  • ผู้หญิงอายุ 51-70 ปี ควรได้รับโปรตีนประมาณ 4 ส่วน/วัน
  • ผู้ชายอายุ 51-70 ปี ควรได้รับโปรตีนประมาณ 2½ ส่วน/วัน
  • ผู้หญิงอายุ 70 ปี ขึ้นไป ควรได้รับโปรตีนประมาณ 4 ส่วน/วัน
  • ผู้ชายอายุ 70 ปี ขึ้นไป ควรได้รับโปรตีนประมาณ 3½ ส่วน/วัน
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับโปรตีนประมาณ 2½ ส่วน/วัน

ตัวอย่างโปรตีน 1 ส่วน สำหรับโปรตีนประเภทนม โยเกิร์ต ชีสชนิดไขมันต่ำ หรือนมทางเลือกอื่น ๆ เช่น นมถั่วเหลือง นมเฮเซลนัท นมข้าวโอ๊ต

  • นมยูเอชที/นมผง/บัตเตอร์มิลค์ 250 มิลลิลิตร หรือ 1 ถ้วย
  • นมข้นจืด (Evaporated Milk) 120 มิลลิลิตร หรือ ½ ถ้วย
  • โยเกิร์ต 200 กรัม หรือ 1 กล่องเล็ก
  • ชีสแข็ง 40 กรัม

การขาดโปรตีน ส่งผลเสียอย่างไร

การขาดโปรตีน อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ดังนี้

  • มีอาการบวมน้ำ การขาดโปรตีนจะทำให้ร่างกายขาดโปรตีนอัลบูมิน (Albumin) ที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้มีของเหลวสะสมในเนื้อเยื่อหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนส่งผลให้เกิดอาการบวมน้ำ โดยเฉพาะบริเวณท้อง ขา เท้า และมือ
  • ผิวหนัง ผม และเล็บผิดปกติ ผิวหนัง ผม เล็บมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ หากขาดโปรตีนอาจทำให้ผมบาง เล็บเปราะ ผิวแห้งกร้าน ไม่แข็งแรง และแผลที่ผิวหนังหายได้ช้ากว่าปกติ
  • รู้สึกหิวบ่อย โปรตีนเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย เมื่อขาดโปรตีนจะทำให้รู้สึกหิวบ่อยขึ้นเนื่องจากร่างกายมีพลังงานไม่เพียงพอ และอาจทำให้หันไปรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงจนเสี่ยงเกิดโรคอ้วนได้
  • สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ การขาดโปรตีนอาจทำให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุล การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ เช่น ระบบเผาผลาญช้าลง
  • อ่อนเพลียได้ง่าย โปรตีนเป็นส่วนประกอบของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย หากร่างกายขาดโปรตีนจึงอาจส่งผลให้เซลล์ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จนทำให้อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรืออาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้
  • เสี่ยงกระดูกหัก โปรตีนช่วยรักษาความแข็งแรงและความหนาแน่นของกระดูก หากได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ อาจทำให้กระดูกอ่อนแอหรือเปราะบางลง จนเสี่ยงกระดูกแตกหักได้ง่ายกว่าปกติ
  • อาจทำให้การติดเชื้อรุนแรงขึ้น การขาดโปรตีนอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องและทำงานได้ไม่เต็มที่ หากร่างกายเจ็บป่วยหรือติดเชื้อ อาจทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
  • เจริญเติบโตล่าช้า โปรตีนช่วยรักษากล้ามเนื้อและมวลกระดูก ทั้งยังจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายด้วย หากเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตขาดโปรตีน อาจทำให้พัฒนาการทางร่างกายล่าช้าได้
  • อารมณ์แปรปรวน การขาดโปรตีนอาจทำให้ร่างกายขาดสารสื่อประสาทอย่างนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) และโดปามีน (dopamine) ที่สร้างจากกรดอะมิโนไทโรซีน (Tyrosine) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของโปรตีน และอาจส่งผลต่อการทำงานของสมอง เช่น ทำให้หงุดหงิด โมโห เศร้าซึมได้ง่ายกว่าปกติ

[embed-health-tool-bmr]

ข้อควรระวังในการบริโภคโปรตีน

ข้อควรระวังในการบริโภคโปรตีน อาจมีดังนี้

  • การรับประทานอาหารโปรตีนสูงเพียงอย่างเดียวเพื่อจุดประสงค์ในการลดน้ำหนัก อาจทำให้ได้รับสารอาหารอื่น ๆ ไม่เพียงพอ เช่น ใยอาหารหรือไฟเบอร์ที่ส่งผลต่อระบบขับถ่าย ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เมื่อขาดใยอาหาร อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น มีกลิ่นปาก ปวดศีรษะ ท้องผูก
  • การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงเป็นประจำ อาจทำให้ผู้ที่เป็นโรคไตอาการแย่ลงได้ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถกำจัดโปรตีนที่ถูกย่อยสลายออกไปได้หมด
  • ควรเลือกอาหารโปรตีนสูงที่ดีต่อสุขภาพ เช่น โปรตีนถั่วเหลือง พืชตระกูลถั่ว ปลา อกไก่ไม่ติดมันและหนัง เนื้อไม่ติดมัน เนื้อหมู ผลิตภัณฑ์จากนมวัวไขมันต่ำอย่างโยเกิร์ต ชีส แทนการรับประทานอาหารโปรตีนสูงที่เป็นเนื้อสัตว์แปรรูปอย่างแฮม เบคอน ไส้อั่ว ไส้กรอกอีสาน กุนเชียง ซึ่งมักมีโซเดียมสูง หากรับประทานบ่อยติดต่อกันนาน ๆ อาจเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีหรือแอลดีแอล (LDL) ในร่างกาย ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง จนเสี่ยงเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Protein. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/protein. Accessed November 30, 2022

Protein. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/what-should-you-eat/protein/. Accessed November 30, 2022

Good Protein Sources. https://www.webmd.com/fitness-exercise/guide/good-protein-sources. Accessed November 30, 2022

Dietary Reference Intakes (DRIs): Recommended Dietary Allowances and Adequate Intakes, Total Water and Macronutrients.https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK56068/table/summarytables.t4/. Accessed November 30, 2022

Are high-protein diets safe for weight loss?. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/expert-answers/high-protein-diets/faq-20058207. Accessed November 30, 2022

Are you getting too much protein?. https://www.mayoclinichealthsystem.org/hometown-health/speaking-of-health/are-you-getting-too-much-protein. Accessed November 30, 2022

อาหารแลกเปลี่ยน สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/food-exchange#:~:text=เนื้อสัตว์%20(Meat)-,เนื้อสัตว์%201%20ส่วน%20เท่ากับ%20เนื้อสุก%2030%20กรัม%20หรือ,เนื้ออกไก่%20ไข่ขาว%20ปลาทู. Accessed November 30, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/12/2022

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

โปรตีนมีอะไรบ้าง และสำคัญต่อร่างกายอย่างไร

อาหารที่มีโปรตีนสูง ประโยชน์และข้อควรระวังในการรับประทาน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 09/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา