backup og meta

อาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก กับสิ่งที่ควรรู้ พร้อมวิธีป้องกันตัว

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    อาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก กับสิ่งที่ควรรู้ พร้อมวิธีป้องกันตัว

    โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอยู่ด้วยกัน 4 ระยะ โดยแต่ระยะก็จะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป สำหรับ อาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก จะมีอะไรบ้าง สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก และวิธีรักษามีอะไรบบ้าง ลองมาดูกันในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ

    ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ควรรู้

    ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หมายถึง ขอบเขตของการแพร่กระจายของมะเร็งในเวลาที่ระบุ มะเร็งลำไส้ใหญ่มี 4 ขั้นตอนหลัก ซึ่งเรียกว่า “ระยะที่ 1-4″

    • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 1 เป็นระยะแพร่กระจายจากเยื่อบุลำไส้ใหญ่เข้าสู่ผนังกล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่
    • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 ได้แพร่กระจายผ่านผนังของลำไส้ไปยังชั้นนอกสุด และอาจเติบโตไปสู่อวัยวะข้างเคียง
    • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 3 แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณนั้น หรือไปยังอวัยวะอื่น ๆ มรบริเวณนั้น
    • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4 คือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแพร่กระจาย โดยแพร่กระจายจากลำไส้ใหญ่ไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาน เช่น ตับ กระดูก ปอด เป็นต้น
    • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 0 บางครั้งใช้สำหรับมะเร็งระยะเริ่มต้นที่มีผลต่อเยื่อบุลำไส้เท่านั้น สิ่งนี้เรียกอีกอย่างว่า “มะเร็งในแหล่งกำเนิด”

    อาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก ที่ควรสังเกต

    อาการ โรคมะเร็งลำไส้ระยะแรก อาจเป็นเรื่องเล็กน้อยและไม่นำเป็นต้องทำให้คุณรู้สึกไม่สบายเสมอไป อย่างไรก็ตาม ควรลองวิธีรักษา ๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อดูว่าอาการดีขึ้นหรือไม่ มากกว่า 90% ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้อาจมีอาการดังต่อไปนี้

    • การเปลี่ยนแปลงการทำงานของลำไส้อย่างต่อเนื่อง การปัสสาวะบ่อยขึ้น โดยมีการหย่อนยานและบางครั้งปวดท้อง
    • อุจจาระมีเลือดปน โดยไม่มีอาการอื่น ๆ ของโรคริดสีดวง ทำให้ไม่น่าเป็นไปได้ที่สาเหตุจะมาจากริดสีดวงทวาร
    • อาการปวดท้อง ไม่สบายตัว หรือท้องอืดมักเกิดจากการรับประทานอาหาร บางครั้งส่งผลให้ปริมาณอาหารที่รับประทานลดลงและน้ำหนักลดลง

    อาการท้องผูกที่คุณอุจจาระยากขึ้น มักไม่ค่อยเกิดจากภาวะลำไส้รุนแรง ผู้ที่มีการเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นมะเร็งลำไส้

    ไม่อยากเสี่ยงเป็น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก ควรปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ

    การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงของ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก คุณสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันของคุณ สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

    • กินผัก ผลไม้ และเมล็ดธัญพืชให้หลากหลาย ผัก ผลไม้ และเมล็ดธัญพืชมีวิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจมีบทบาทในการป้องกันมะเร็ง พยายามเลือกผักและผลไม้ที่หลากหลาย เพื่อให้คุณได้รับวิตามินและสารอาหารมากมาย
    • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ หรือเลือกที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่จำกัด ปริมาณแอลกอฮอล์ที่คุณดื่มไม่ควรเกินวันละ 1 แก้วสำหรับผู้หญิง และไม่เกินวันละ 2 แก้วสำหรับผู้ชาย
    • หยุดสูบบุหรี่ พูดคุยกับคุณหมอเกี่ยวกับวิธีการเลิกสูบบุหรี่ที่อาจได้ผลสำหรับคุณ
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอใน 1 สัปดาห์ พยายามออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีในทุก ๆ วัน หากคุณไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ให้เริ่มอย่างช้า ๆ และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็น 30 นาที นอกจากนี้ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มโปรแกรมออกกำลังกายต่าง ๆ
    • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในมาตรฐาน หากคุณมีน้ำหนักที่เหมาะสมให้พยายามรักษาน้ำหนักนั้นเอาไว้ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ร่วมกับการออกกำลังกายทุกวัน หากคุณต้องการลดน้ำหนัก ให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มุ่งมั่นที่จะลดน้ำหนักอย่างช้า ๆ โดยเพิ่มปริมาณการออกกำลังกายที่คุณสามารถรับได้ และลดจำนวนแคลอรี่ที่คุณกินเข้าไป

    วิธีป้องกันตัวเองสำหรับผู้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก

    ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า มียาบางชนิดที่ช่วยลดวามเสี่ยงของการติ่งเนื้อมะเร็งหรือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก ได้ ตัวอย่างเช่น หลักฐานบางอย่างเชื่อมโยงความเสี่ยงที่สดลงของติ่งเนื้อและ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก กับการใช้ยาแอสไพรินหรือยาคล้ายแอสไพรินเป็นประจำ แต่ยังไม่ชัดเจนว่า จะต้องใช้ขนาดยาและระยะเวลาเท่าใด เพื่อสดความเสี่ยงของการเกิด โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก การกินยาแอสไพรินทุกวันมีความเสี่ยง เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร แผลในทางเดินอาหาร เป็นต้น

    โดยทั่วไป ตัวเลือกเหล่านี้สงวนไว้สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะแนะนำยาเหล่านี้ให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงโดยเฉลี่ยในการเป็น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก หากคุณมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก ให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของคุณ เพื่อพิจารณาว่า ยาป้องกันนั้นปลอดภัยสำหรับคุณหรือไม่

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา