เจ็บท้องคลอดแบบไหนควรไปหาหมอ และอาการใกล้คลอดที่ควรรู้
เมื่อใกล้ถึงช่วงใกล้คลอด คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บท้องบ่อยขึ้น จนอาจสับสนระหว่างการเจ็บท้องหลอกและการเจ็บท้องคลอดจริง และมีข้อสงสัยว่า เจ็บท้องคลอดแบบไหนควรไปหาหมอ โดยทั่วไป หากคุณแม่เจ็บท้องตั้งแต่บริเวณหน้าท้อง อุ้งเชิงกราน ร้าวไปถึงหลังและต้นขา และรู้สึกปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ อาการไม่ทุเลาแม้จะเปลี่ยนท่าทาง ร่วมกับมีอาการใกล้คลอดอื่น ๆ เช่น ถุงน้ำคร่ำแตก มีมูกเลือดไหลจากช่องคลอด อาจเป็นสัญญาณของการเจ็บท้องคลอดหรือเจ็บท้องจริงที่ควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็ว [embed-health-tool-due-date] เจ็บท้องคลอดแบบไหนควรไปหาหมอ อาการใกล้คลอดมักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเนื่องจากการมีระดับฮอร์โมนเพิ่มสูงขึ้นเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการคลอดบุตร โดยอาการที่เป็นสัญญาณของการเจ็บท้องคลอด ที่ควรไปพบคุณหมอโดยเร็ว อาจมีดังนี้ เจ็บท้องหรือปวดท้องส่วนล่าง บริเวณอุ้งเชิงกราน หลังส่วนล่างบริเวณบั้นเอว แล้วอาจร้าวลามไปยังต้นขา และทั่วร่างกาย มีอาการเจ็บท้องสม่ำเสมอ ห่างกัน 5-10 นาที และถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เจ็บท้องแต่ละครั้งนานประมาณ 30-60 วินาที เจ็บท้องรุนแรงขึ้น จนไม่สามารถพูดคุยหรือเดินไปมาได้ อาการไม่ทุเลาลงแม้จะเอนตัวลงนอน หรือเปลี่ยนท่าทางแล้วก็ตาม อาการเจ็บท้องเตือน เป็นแบบไหน อาการเจ็บท้องเตือน (Braxton-Hicks contractions) หรือที่เรียกว่า อาการเจ็บท้องหลอก เป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ อาจเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 20 (เดือนที่ 5) หรือไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป อาการเจ็บท้องเตือนเกิดจากหน้าท้องและมดลูกขยายตัวตามอายุครรภ์พร้อมกับมดลูกหดรัดตัวตามธรรมชาติ ส่งผลให้มีอาการเจ็บท้อง ไม่สบายตัว […]