ไตรมาสที่ 3

ยิ่งเข้าสู่ช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ก็ยิ่งหมายความว่าใกล้จะถึงเวลาที่เจ้าตัวน้อยจะได้ลืมตามาดูโลกแล้ว แต่นั่นก็หมายความว่า คุณพ่อคุณแม่ยิ่งควรใส่ใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้นไปอีก เรียนรู้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในช่วง ไตรมาสที่ 3 ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไตรมาสที่ 3

ออกกำลังกายคนท้องไตรมาส 3 ที่เหมาะสม

ช่วงตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้าย หน้าท้องของคุณแม่จะเริ่มขยายมากขึ้น การขยับร่างกายอาจไม่สะดวกเหมือนเดิม เช่นเดียวกับการ ออกกำลังกายคนท้องไตรมาส 3 ที่มีข้อจำกัดมากขึ้น และข้อควรระมัดระวังขณะออกกำลังกาย โดยการออกกำลังกายสามารถทำได้อย่างปลอดภัยและช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย หากเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมที่สามารถออกได้ขณะตั้งครรภ์ไตรมาส 3 [embed-health-tool-ovulation] ออกกำลังกายคนท้องไตรมาส 3 ดีอย่างไร การออกกำลังกายไตรมาสที่ 3 มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ช่วยให้อารมณ์ดี นอนหลับได้ง่ายขึ้น นอกจากจะส่งผลดีต่อกายและใจของคุณแม่แล้ว ยังส่งผลดีต่อพัฒนาการลูกในครรภ์ โดยอาจรวมไปถึงการลดปัจจัยความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์  ออกกำลังกายคนท้องไตรมาสที่ 3 แบบไหนดี การออกกำลังกายมีหลายประเภท โดยตัวเลือกของการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับสัปดาห์ที่ 28 ถึง 42 หรือไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ได้แก่  โยคะและพิลาทิส การเล่นโยคะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความอ่อนตัวให้กับร่างกาย พิลาทิสช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ โดยการออกกำลังกายทั้ง 2 แบบนั้น ช่วยให้ร่างกายมีความสมดุล บรรเทาอาการปวดเมื่อย และเสริมความแข็งแกร่งให้กับอุ้งเชิงกราน และอาจช่วยให้ช่วงเวลาการคลอดดำเนินไปได้ด้วยดี แถมยังอาจช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น ลดความเครียดและความวิตกกังวล ทั้งนี้ ควรดูท่าที่เหมาะสมของโยคะ หลีกเลี่ยงท่าที่อาจเป็นอันตราย เช่น ท่าโค้งหลังแบบกลับหัว (backbends Inversions) ทั้งนี้ไม่ควรออกกำลังกายแบบโยคะร้อน เพราะหากอากาศร้อนเกินไป หรืออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอาจเป็นอันตรายได้ […]

สำรวจ ไตรมาสที่ 3

ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 36 นี้ ลูกน้อยของคุณมีขนาดตัวเท่ากับมะละกอลูกใหญ่ โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 2.7 กิโลกรัม และสูงประมาณ 47 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า บัดนี้ทารกน้อยดูอ้วนจ้ำม่ำขึ้นมาแล้ว แก้มของลูกน้อยมีไขมันสะสม และมีกล้ามเนื้ออันทรงพลัง ที่จะช่วยให้ทารกน้อยสามารถดูดนม ดูดนิ้วได้อย่างคล่องแคล่ว แผ่นกระดูกที่จะกำลังก่อตัวขึ้นเป็นกะโหลกศีรษะ อาจเคลื่อนซ้อนทับกันในขณะที่ศีรษะของทารกน้อยอยู่ข้างในเชิงกราน ลักษณะที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า “การเปลี่ยนรูปศีรษะ” ซึ่งจะช่วยให้ทารกสามารถผ่านออกไปทางช่องคลอดได้ง่ายขึ้น ตอนคลอด ศีรษะของทารกน้อยบางคนอาจดูแหลมผิดปกติ หรือผิดรูป แต่คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะหลังจากนั้นอีก 2-3 ชั่วโมง หรือ 2-3 วัน ศีรษะของทารกน้อยก็จะกลับมาดูกลมได้รูปดังเดิม ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ในขณะที่ลูกน้อยกินเนื้อที่ในครรภ์มากขึ้นนั้น ก็อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีปัญหาในระบบย่อยอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด จุกเสียด แม้จะกินอาหารในปริมาณปกติก็ตาม ฉะนั้น ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นหลายมื้อขึ้น เช่น เปลี่ยนจากกินอาหารวันละ 3 มื้อเป็นวันละ 5 มื้อ และกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณน้อยลง เมื่ออยู่ในช่วง 2-3 วันหลังคลอด […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 35 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 35 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 35ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 35 นี้ ลูกน้อยของคุณมีขนาดตัวเท่ากับแตงโมลูกเล็ก โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 2.3 กิโลกรัม และสูงประมาณ 46 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ตัวของทารกน้อยในครรภ์โตขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่ในการเคลื่อนไหวจึงน้อยลง คุณแม่จึงอาจรู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหวรุนแรงขึ้น แต่ความถี่ของการเคลื่อนไหวอาจน้อยลง หากลูกน้อยอยู่ในท่าเอาศีรษะลง ศีรษะของเขาจะอยู่กระดูกหัวหน่าวของคุณแม่ ซึ่งเป็นท่าเตรียมพร้อมรอคลอด ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ตอนนี้มดลูกที่มีกระดูกเชิงกรานปกป้องเอาไว้ จะขยายใหญ่ขึ้นจนถึงระดับใต้ซี่โครงของคุณ ลูกน้อยในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่ขึ้นจนกินเนื้อที่ในมดลูกมากกว่าน้ำคร่ำ มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นกำลังเบียดหรือกดทับอวัยวะอื่นๆ ซึ่งนั่นคือเหตุผลว่าทำไมคุณถึงปวดปัสสาวะบ่อย มีอาการแสบร้อนกลางอก หรือระบบทางเดินอาหารทำงานได้ไม่ปกติ ซึ่งอาการเหล่านี้ถือเป็นอาการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ต้องพบเจอ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร ควรระมัดระวังอะไรบ้าง หลายคนอาจคิดว่าทารกน้อยร้องไห้ครั้งแรกเมื่อลืมตาดูโลก แต่มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ทารกในครรภ์มีการแสดงพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกับการร้องไห้ เช่น คางสั่น อ้าปากกว้าง หายใจเข้าถี่ๆ หลายครั้งก่อนจะหายใจออก คล้ายสะอื้น จึงสันนิษฐานได้ว่า ทารกอาจร้องไห้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แล้วก็เป็นได้ การพบคุณหมอ ควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง ส่วนใหญ่แล้วทารกน้อยจะคลอดในช่วงอายุครรภ์ 37-41 สัปดาห์ แต่หากทารกอยู่ในครรภ์ตั้งแต่ 42 สัปดาห์ หรือ 294 วันขึ้นไป ถือว่าเป็น “การตั้งครรภ์เกินกำหนด” ซึ่งมีความเสี่ยงกับทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ หากเกิดกรณีนี้ คุณแม่ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที เพื่อจะได้ตรวจหาสาเหตุและวิธีรับมือต่อไป การทดสอบที่ควรรู้ ในช่วงเนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจต้องเข้าพบคุณหมอบ่อยขึ้น และต้องตรวจสอบร่างกายหลายรายการเป็นพิเศษ […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 34 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 34 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 34 นี้ ลูกน้อยมีขนาดตัวเท่ากับผลแคนตาลูป โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 2.15 กิโลกรัม และสูงประมาณ 45 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 34 จะเริ่มมองเห็นสี ซึ่งสีแรกที่ทารกน้อยมองเห็น ก็คือ สีแดง ซึ่งเป็นสีในครรภ์นั่นเอง เล็บจะยาวพ้นปลายนิ้วแล้ว ไขหุ้มทารก หรือไขทารกแรกเกิด (Vernix caseosa) ที่เคลือบปกป้องผิวของทารกน้อยอยู่เริ่มแข็งตัวขึ้น ก่อนจะหลุดร่อนออกไปในอีกไม่กี่สัปดาห์หน้า ทารกในสัปดาห์นี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในท่าพร้อมคลอดแล้ว โดยคุณหมอจะสามารถตรวจสอบได้ว่า ทารกในครรภ์หมุนตัวกลับศีรษะมาทางช่องคลอด ที่เรียกว่า ทารกท่าศีรษะ (Vertex or Cephalic Presentation) หรือทารกไม่กลับศีรษะ ที่เรียกว่า ทารกท่าก้น (Breech Presentation) แต่หากคุณแม่เคยตั้งครรภ์มาแล้ว ทารกในครรภ์อาจจะกลับหัวเพียงไม่กี่วัน หรือไม่กี่ชั่วโมงก่อนคลอดก็ได้ แคลเซียมถือเป็นสารอาหารสำคัญมากสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกในครรภ์จะดึงแคลเซียมจากร่างกายคุณแม่ไปเสริมสร้างกระดูก และกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรได้รับแคลเซียมมากกว่าเดิม คือ จากวันละ 500-600 […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 33 และข้อควรระวังสำหรับคุณแม่

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 33 หมายถึง การเจริญเติบโตของทารกที่อยู่ในครรภ์ซึ่งมีอายุครรภ์ครบ 33 สัปดาห์ ซึ่งปกติแล้ว ทารกจะเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย น้ำหนักตัวและขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นจนเท่ากับผลสับปะรด รวมทั้งเซลล์ประสาทนับล้าน ๆ เซลล์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ทารกสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในมดลูก ฟัง รู้สึกมากขึ้น และที่สำคัญรูม่านตาสามารถหดหรือขยายเพื่อตอบสนองกับแสงสว่างหรือความมืดได้แล้ว  [embed-health-tool-”due-date”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 33ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 33 นี้ ทารกมักมีขนาดตัวเท่ากับผลสับปะรด โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 1.8 กิโลกรัม และตัวยาวประมาณ 43 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ในช่วงสองสามเดือนสุดท้ายก่อนคลอด เซลล์ประสาทนับล้าน ๆ เซลล์จะถูกพัฒนาขึ้นในสมองของทารกน้อย เพื่อช่วยให้ทารกได้เรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในมดลูก ตอนนี้ทารกจะสามารถฟัง รู้สึก และรูม่านตาสามารถหดหรือขยายเพื่อตอบสนองกับแสงสว่างหรือความมืดได้แล้ว  นอกจากนี้ ปอดของทารกในครรภ์ยังพัฒนาจนเกือบจะสมบูรณ์ เส้นขนเริ่มหนาขึ้น ไขมันยังคงสะสมตามร่างกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยทำหน้าที่ปกป้องและให้ความอบอุ่น  ตัวของทารกน้อยในครรภ์โตขึ้นเรื่อย ๆ พื้นที่ในการเคลื่อนไหวจึงน้อยลง คุณแม่จึงอาจรู้สึกว่าลูกดิ้นแรงไม่เท่าช่วงที่ผ่านมา แต่ความถี่ของการเคลื่อนไหวยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง การที่ทารกน้อยในครรภ์ใช้พื้นที่ในครรภ์มากขึ้น อาจทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดมากกว่าเดิม หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว รวดเร็วอย่างที่ผ่าน ๆ มา ไม่ว่าจะนั่ง จะเดิน หรือยืน ก็รู้สึกไม่ถนัด และไม่มั่นคง จะเปลี่ยนท่ายังไงก็ยังรู้สึกไม่สบายตัว คุณแม่อาจมีอาการชา […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน