ไตรมาสที่ 3

ยิ่งเข้าสู่ช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ก็ยิ่งหมายความว่าใกล้จะถึงเวลาที่เจ้าตัวน้อยจะได้ลืมตามาดูโลกแล้ว แต่นั่นก็หมายความว่า คุณพ่อคุณแม่ยิ่งควรใส่ใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้นไปอีก เรียนรู้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในช่วง ไตรมาสที่ 3 ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ไตรมาสที่ 3

ออกกำลังกายคนท้องไตรมาส 3 ที่เหมาะสม

ช่วงตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้าย หน้าท้องของคุณแม่จะเริ่มขยายมากขึ้น การขยับร่างกายอาจไม่สะดวกเหมือนเดิม เช่นเดียวกับการ ออกกำลังกายคนท้องไตรมาส 3 ที่มีข้อจำกัดมากขึ้น และข้อควรระมัดระวังขณะออกกำลังกาย โดยการออกกำลังกายสามารถทำได้อย่างปลอดภัยและช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย หากเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมที่สามารถออกได้ขณะตั้งครรภ์ไตรมาส 3 [embed-health-tool-ovulation] ออกกำลังกายคนท้องไตรมาส 3 ดีอย่างไร การออกกำลังกายไตรมาสที่ 3 มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ช่วยให้อารมณ์ดี นอนหลับได้ง่ายขึ้น นอกจากจะส่งผลดีต่อกายและใจของคุณแม่แล้ว ยังส่งผลดีต่อพัฒนาการลูกในครรภ์ โดยอาจรวมไปถึงการลดปัจจัยความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์  ออกกำลังกายคนท้องไตรมาสที่ 3 แบบไหนดี การออกกำลังกายมีหลายประเภท โดยตัวเลือกของการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับสัปดาห์ที่ 28 ถึง 42 หรือไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ได้แก่  โยคะและพิลาทิส การเล่นโยคะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความอ่อนตัวให้กับร่างกาย พิลาทิสช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ โดยการออกกำลังกายทั้ง 2 แบบนั้น ช่วยให้ร่างกายมีความสมดุล บรรเทาอาการปวดเมื่อย และเสริมความแข็งแกร่งให้กับอุ้งเชิงกราน และอาจช่วยให้ช่วงเวลาการคลอดดำเนินไปได้ด้วยดี แถมยังอาจช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น ลดความเครียดและความวิตกกังวล ทั้งนี้ ควรดูท่าที่เหมาะสมของโยคะ หลีกเลี่ยงท่าที่อาจเป็นอันตราย เช่น ท่าโค้งหลังแบบกลับหัว (backbends Inversions) ทั้งนี้ไม่ควรออกกำลังกายแบบโยคะร้อน เพราะหากอากาศร้อนเกินไป หรืออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอาจเป็นอันตรายได้ […]

สำรวจ ไตรมาสที่ 3

ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 41

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 41 จะมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว เนื่องจากใช้เวลาเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์นาน และคุณหมออาจจำเป็นต้องเร่งคลอดในทารกบางรายที่มีข้อบ่งชี้ เพราะหากปล่อยไว้นานเกิน 42 สัปดาห์อาจเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพทั้งมารดาและทารกอีกด้วย [embed-health-tool-due-date] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 41 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 41 ทารกมักมีขนาดเท่าลูกขนุนและมีพัฒนาการเจริญเติบโตเต็มที่พร้อมที่จะออกมาเผชิญโลกกว้างแล้ว โดยขนาดตัวจะยาวประมาณ 52.2 เซนติมาตร หากยังคงอยู่ในครรภ์มารดาต่อไป อวัยวะต่าง ๆ ก็จะมีการพัฒนาต่อ ส่วนผม คิ้ว ขนตา เล็บมือและเท้า จะมีความยาวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วคุณหมอจะไม่ปล่อยให้ทารกอยู่ในครรภ์เกินกำหนดคลอดนานเกิน 2 สัปดาห์ เพราะการทำงานของรกอาจลดลง อีกทั้งน้ำคร่ำอาจเริ่มลดปริมาณลง ยิ่งปล่อยให้ทารกอยู่ในครรภ์นานมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพมากเท่านั้น ทารกที่คลอดใน 42 สัปดาห์ หรือเกินกว่านั้น อาจมีผิวแห้ง ผิวเหี่ยวย่น ผิวลอก เล็บยาว ผมยาว และมีไขมันเคลือบตัวน้อยกว่า ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เมื่อทารกอยู่ในครรภ์จนเกินกำหนดคลอด คุณแม่และคนใกล้ตัวอาจจะเป็นกังวล แต่ก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะถึงอย่างไร ก็ยังมีโอกาสสูงมากที่คุณแม่จะคลอดภายในสัปดาห์นี้ หากคุณแม่ยังไม่มีอาการเจ็บท้องคลอด ภายในสัปดาห์ที่ 42 จะถือว่าเป็นการตั้งครรภ์เกินกำหนด และคุณหมอจะต้องเร่งทำคลอด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 41 ควรระมัดระวังอะไรบ้าง ภาวะตั้งครรภ์เกินกำหนด พบได้ประมาณ 5-6 […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 37 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 37ลูกจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกของคุณมีอายุได้ 37 สัปดาห์แล้ว และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ลูกน้อยของคุณมีขนาดตัวเท่ากับทุเรียน โดยมีความยาวจากศีรษะถึงปลายเท้าประมาณ 48 เซนติเมตร และหนักประมาณ 2.85 กิโลกรัม ตอนนี้ลูกน้อยของคุณมีการพัฒนามากพอจะขยับนิ้วมือได้แล้ว และถึงแม้จะยังอยู่ในมดลูก แต่หากมีแสงจ้า ๆ มาส่องบริเวณหน้าท้องของคุณ ลูกน้อยก็จะหันหน้าตามแสง แต่ทารกน้อยยังต้องใช้เวลาอีก 2-3 สัปดาห์ในการพัฒนาให้โตเต็มที่ ถ้าคุณวางแผนจะผ่าคลอด ควรนัดคุณหมอทำการผ่าคลอดในช่วงหลังสัปดาห์ที่ 39 ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง คุณจะเริ่มรู้สึกถึงการบีบรัดตัวของมดลูก หรืออาการเจ็บครรภ์หลอก ซึ่งอาการเช่นนี้ถือเป็นอาการปกติ คุณจึงไม่ต้องกังวลอะไร แค่เฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด หากมีการบีบรัดตัวมากขึ้นและนานขึ้น อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวได้ ในช่วงเวลานี้คุณอาจนอนหลับได้ยากขึ้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรหาเวลางีบหลับในตอนกลางวัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มพลังงานให้คุณได้ นอกจากนี้ ในช่วงนี้คุณอาจฝันเป็นเรื่องเป็นราวมากขึ้นด้วย ซึ่งเป็นอาการปกติ ชีวิตของคุณกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ความวิตกกังวลว่าอะไรจะเกิดขึ้นในช่วงคลอดลูกและการเป็นคุณแม่ อาจทำให้คุณเก็บไปฝันได้บ่อย ๆ ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่ายกายเกิดขึ้นกับคุณนั้น ก็อย่าลืมเฝ้าสังเกตการเคลื่อนไหวของลูกน้อยด้วย โดยคุณสามารถรู้สึกได้ถึงการยืดตัว กลิ้งตัว และการกระดิกตัวของลูกน้อย หากสังเกตเห็นว่าลูกเคลื่อนไหวน้อยลง ควรแจ้งให้คุณหมอทราบทันที ควรระมัดระวังอะไรบ้าง ในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์นั้น หากมีสัญญาณและอาการของการคลอดก่อนกำหนดเหล่านี้ ควรรีบติดต่อคุณหมอทันที คุณมีเลือดออก หากมีอาการเลือดออกไม่ว่าจะในช่วงเวลาไหนของการตั้งครรภ์ คุณก็ควรไปพบคุณหมอทันที […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 28

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 28 ทารกในครรภ์มักมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม และยาวตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าวัดได้ประมาณ 38 เซนติเมตร เป็นช่วงสัปดาห์ที่ทารกอาจกลับหัวเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ในบางรายทารกอาจยังไม่กลับหัว แต่ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด เพราะยังมีเวลาเหลืออีกประมาณ 10 สัปดาห์ที่ทารกอาจเปลี่ยนท่าทางเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด [embed-health-tool-due-date] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 28 ลูกจะเติบโตอย่างไร ในช่วงการตั้งครรภ์ ของสัปดาห์ที่ 28 นี้ ทารกในครรภ์มักมีขนาดเท่ากับมะเขือยาวลูกใหญ่ ซึ่งจะหนักประมาณ 1 กิโลกรัม และยาวประมาณ 38 เซนติเมตร โดยวัดตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า ทารกอาจเริ่มกลับหัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับคลอด หากทารกยังไม่กลับหัว ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะยังมีระยะเวลาอีกประมาณ 10 สัปดาห์ก่อนคลอดที่ทารกสามารถเปลี่ยนท่าทางและกลับตัวได้เอง หากพบว่าทารกไม่กลับหัวเมื่อใกล้คลอด คุณหมออาจแนะนำการผ่าคลอด นอกจากนี้ รอยหยักสมองของทารกในครรภ์ยังคงพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญยังมีชั้นไขมันและเส้นผมยังมีการเจริญเติบโตเช่นเดียวกันอีกด้วย ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง คุณหมออาจตรวจเลือดในช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ เพื่อทำการหากรุ๊ปเลือด Rh ซึ่งเป็นสสารชนิดหนึ่งที่พบในเซลล์เม็ดเลือดแดงของคนส่วนใหญ่ หากหญิงตั้งครรภ์มีกรุ๊ปเลือด Rh negative แต่ทารกมีกรุ๊ปเลือด Rh positive ทารกอาจมีแนวโน้มเกิดปัญหาสุขภาพ อย่างเช่น โรคโลหิตจาง คุณหมออาจฉีดวัคซีนที่มีชื่อเรียกว่า Rh […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 32 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 32 เป็นช่วงที่ทารกมีการพัฒนาเกือบจะสมบูรณ์แล้ว และหากคลอดก่อนกำหนดก็อาจมีโอกาสรอดชีวิตสูง ช่วงนี้คุณแม่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวเนื่องจากขนาดตัวของทารกในครรภ์ที่กดทับบริเวณกระบังลม ทำให้หายใจลำบาก อีกทั้งยังอาจทำให้มีอาการปวดหลัง นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายร่วมด้วย นอกจากนี้ คุณแม่บางคนอาจเริ่มมีอาการเจ็บท้องเตือนเป็นพัก ๆ หากสังเกตว่ามีอาการเจ็บท้องนานผิดปกติ หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรเข้าพบคุณหมอในทันที [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 32 ลูกจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยของคุณแม่มีขนาดเท่ากับมันแกวหัวใหญ่ ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 1.7 กิโลกรัม และสูงประมาณ 42.5 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงส้นเท้า ถ้าลูกน้อยของคุณแม่คลอดออกมาในช่วงเวลานี้ ก็มีโอกาสจะรอดชีวิตเมื่ออยู่นอกครรภ์มารดา ตอนนี้ร่างกายของทารกน้อยเหลือแค่การแต่งเติมขั้นสุดท้ายเท่านั้นเอง ซึ่งขนตา ขนคิ้ว และเส้นผม จะงอกขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน เส้นขนที่เคยขึ้นปกคลุมร่างกายในช่วงต้นเดือนที่ 6 ก็จะเริ่มหลุดร่วงออกไปแล้ว ถึงแม้จะมีเส้นขนบางส่วนตกค้างอยู่ในบริเวณไหล่และหลังในตอนที่คลอดออกมา ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกกับคุณแม่และการเติบโตของทารกในครรภ์ เลือดในร่างกายคุณแม่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น 40-50 เปอร์เซ็นต์ นับตั้งแต่ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อมดลูกถูกดันไปอยู่ใกล้ ๆ กับกระบังลม และเบียดอยู่กับกระเพาะอาหาร ก็จะส่งผลให้คุณแม่หายใจไม่สะดวก และมีอาการแสบร้อนกลางอกได้ วิธีที่จะช่วยให้คุณแม่มีการดีขึ้นก็คือ พยายามนอนโดยใช้หมอนหนุนให้สูงขึ้น และแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมือเล็ก ๆ และกินให้บ่อยขึ้น ถ้าอาการปวดหลังช่วงล่างไม่ใช่เป็นเพราะการคลอดก่อนกำหนด ก็อาจสันนิษฐานได้ว่ามดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน นอกจากนี้ มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจะทำให้จุดศูนย์ถ่วงเกิดการเปลี่ยนแปลง […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 31 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 31 อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ในช่วงนี้ทารกในครรภ์อาจมีพัฒนาการที่เกือบจะสมบูรณ์ มีความยาวประมาณ 40 เซนติเมตร และอาจหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม คุณแม่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกเจ็บท้องหลอกวันละหลายครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 นาที อีกทั้งยังอาจเริ่มผลิตน้ำนมแม่ออกมา ซึ่งเป็นน้ำนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดังนั้น จึงควรปั๊มน้ำนมและเก็บไว้ให้ลูกกินหลังคลอด [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 31 ลูกจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกของคุณมีขนาดเท่าลูกมะพร้าว ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม และยาวประมาณ 40 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงส้นเท้า ตอนนี้ลูกน้อยของคุณน่าจะปัสสาวะลงในน้ำคร่ำวันละ 250 มล. แล้วจะดื่มน้ำคร่ำกลับเข้าไปวันละหลายครั้ง ถ้ามีน้ำส่วนเกินอยู่ในถุงน้ำคร่ำ ก็หมายความว่าลูกของคุณไม่ได้ดื่มน้ำคร่ำตามปกติ หรืออาจมีอะไรขวางทางเดินอาหารอยู่ก็ได้ การมีของเหลวในถุงน้ำคร่ำไม่พอเพียง ก็หมายความว่าลูกน้อยของคุณไม่ได้ปัสสาวะอย่างที่ควรจะเป็น และอาจเป็นการบ่งชี้ว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ไตหรือทางเดินปัสสาวะแล้ว คุณหมอจะทำการวัดระดับน้ำคร่ำ เมื่อถึงคราวที่ต้องทำอัลตราซาวด์ตามปกติ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง คุณแม่อาจรู้สึกหน่วง ๆ ตึง ๆ บริเวณมดลูก ซึ่งนั่นเป็นอาการบีดรัดตัวของมดลูกในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ อาการเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นบ่อย ถ้าเกิดขึ้นก็จะไม่นานเกิน 30 วินาที และจะไม่มีความเจ็บปวดด้วย ในทางตรงกันข้ามถ้ามีการบีบรัดตัวถี่ ๆ และถึงแม้จะไม่รู้สึกเจ็บปวดก็ตาม นั่นอาจเป็นสัญญานของการคลอดก่อนกำหนดได้ คุณแม่ควรติดต่อคุณหมอทันที ถ้ามีการบีบรัดตัวของมดลูกมากกว่า 4 […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 30

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 30 ทารกมีขนาดตัวเท่ากับกะหล่ำปลี โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 1.3 กิโลกรัม และยาวประมาณ 40 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ขนาดตัวของทารกจะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมทั้งมีชั้นไขมันมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ทารกมีริ้วรอยน้อยลง ทั้งยังทำหน้าที่สร้างความอบอุ่นให้กับทารกในช่วงหลังคลอดด้วย นอกจากนั้น สมองเริ่มมีรอยหยัก อีกทั้ง ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหารกำลังพัฒนาอย่างเต็มที่ [embed-health-tool-due-date] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 30 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 30 นี้ ทารกมีขนาดตัวเท่ากับกะหล่ำปลี โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 1.3 กิโลกรัม และยาวประมาณ 40 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า  ขนาดตัวของทารกจะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมทั้งมีชั้นไขมันมากขึ้น โดยชั้นไขมันจะช่วยให้ทารกมีริ้วรอยน้อยลง ทั้งยังทำหน้าที่สร้างความอบอุ่นให้กับทารกในช่วงหลังคลอดด้วย ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์นี้ ทารกจะฝึกหายใจมากขึ้น ทำให้กระบังลม (Diaphragm) เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง และทารกน้อยอาจสะอึกได้เป็นครั้งคราว จนทำให้มดลูกบิดตัวเป็นจังหวะจนคุณแม่รู้สึกได้ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ในช่วงตั้งครรภ์เส้นผมของคุณแม่จะดูหนาขึ้น แต่เมื่อคลอดบุตร ผมจะหลุดร่วงอย่างรวดเร็ว จนทำให้ผมดูบางลงได้ ในช่วงนี้ อาจรู้สึกเหนื่อยล้ามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีปัญหาในการนอนหลับ จนพักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งยังอาจรู้สึกว่าตัวเองซุ่มซ่ามมากกว่าปกติอีกด้วย เนื่องจากจุดศูนย์ถ่วงเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้เส้นเอ็นต่าง ๆ คลายตัวมากขึ้น ข้อต่อต่าง ๆ จึงอาจไม่แน่นกระชับเหมือนเดิม ส่งผลให้เสียสมดุลได้ […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 นี้ ลูกน้อยมีขนาดตัวเท่ากับลูกฟักทองน้ำเต้า โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 1.1 กิโลกรัม และสูงประมาณ 38.1 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ลูกน้อยยังคงเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงแรก ๆ อาจเป็นการเตะต่อยที่รู้สึกได้ง่าย คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถตรวจสอบการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เบื้องต้นได้ ด้วยการนับการเคลื่อนไหวของลูก หากภายใน 2 ชั่วโมง นับการเคลื่อนไหวของลูกได้น้อยกว่า 10 ครั้ง หรือทารกเคลื่อนไหวน้อยลงกว่าปกติมาก ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที เพื่อให้คุณหมอช่วยตรวจสอบว่า ทารกในครรภ์ยังแข็งแรงดีอยู่หรือไม่ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง อาการปวดแสบร้อนกลางอก กรดไหลย้อน ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก เป็นต้น ยังคงสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 29 โดยหนึ่งในสาเหตุหลัก ก็คือ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ทำให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายคลายตัว รวมทั้งระบบทางเดินอาหารด้วย การคลายตัวนี้อาจทำให้เกิดแก๊ส จนทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่ายได้ นอกจากนี้ มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นยังอาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นริดสีดวงทวาร และมีอาการเส้นเลือดบวมในบริเวณลำไส้เกิดขึ้น แต่คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะอาการเหล่านี้อาจหายไปได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์หลังคลอด ควรระมัดระวังอะไรบ้าง ในช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ อาจรู้สึกว่าทารกในครรภ์เคลื่อนไหวน้อยลง นั่นเป็นเพราะทารกมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น และมีพื้นที่ให้เคลื่อนไหวน้อยลง […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 นี้ ลูกน้อยมีขนาดตัวเท่ากับขนุน โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 3 กิโลกรัม และสูงประมาณ 45 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ทารกในครรภ์สัปดาห์นี้จะเติบโตช้าลง ซึ่งคุณแม่อาจสังเกตได้จากน้ำหนักตัวที่ลดลงหรือคงที่ การที่ลูกน้อยมีกล้ามเนื้อสำหรับใช้ในการดูดและกลืนน้ำคร่ำ ทำให้มีของเสียต่าง ๆ สะสมอยู่ในลำไส้ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ที่ปล่อยออกมาจากลำไส้ เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และเส้นขนอ่อนในของเสียที่จะกลายเป็นขี้เทา หรืออุจจาระครั้งแรกของทารกในที่สุด ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง การที่ทารกในครรภ์เคลื่อนตัวมาอยู่แถวกระดูกเชิงกราน ทำให้เกิดการกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ คุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะนี้จึงยิ่งปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ควรระมัดระวังอะไรบ้าง สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ทราบเพศของทารกน้อยแล้ว หากลูกเป็นเด็กผู้ชายอาจต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการขลิบ ซึ่งหมายถึง การตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของเด็กชายออก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะทำหลังคลอด 2-3 สัปดาห์ การขลิบมีประโยชน์สุขภาพมากมาย เช่น ช่วยให้ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศได้ง่ายขึ้น ป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันปัญหาในการปัสสาวะ ป้องกันโรคมะเร็งอวัยวะเพศชาย การพบคุณหมอ ควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง คุณหมอจะแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดลูก เช่น สัญญาณของการคลอดลูก การเตรียมความพร้อมก่อนคลอด เพื่อให้สามารถเตรียมตัวให้พร้อม อย่างไรก็ตาม สัญญาณการคลอดลูกอาจจะไม่เกิดขึ้นตามปกติ ฉะนั้น หากมีข้อสงสัยอะไร ควรปรึกษาคุณหมอทันที การทดสอบที่ควรรู้ การดูแลสุขภาพก่อนคลอดจะยังคงดำเนินต่อไป เมื่อใกล้ถึงวันครบกำหนดคลอดแล้ว คุณหมออาจทำการตรวจกระดูกเชิงกรานตามปกติ เพื่อดูท่าทางของทารกในครรภ์ว่าตอนนี้อยู่ในท่าเอาหัวลง […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 40

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 40 เป็นสัปดาห์ที่ทารกในครรภ์พร้อมออกมาลืมตาดูโลกในวินาทีใดก็ได้ แต่ในบางราย ทารกอาจอยู่ในครรภ์นานกว่านั้นแต่มักไม่เกิน 42 สัปดาห์ คุณหมอจะหาวิธีดูแลครรภ์และบุตรให้ปลอดภัย ทั้งนี้ ทารกในครรภ์มักมีขนาดตัวเท่ากับแตงโมลูกใหญ่ น้ำหนักตัวประมาณ 3.50 กิโลกรัม และความยาวประมาณ 50.8 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า [embed-health-tool-bmi] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 40 ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 40 นี้ ทารกมักมีขนาดตัวเท่ากับแตงโมลูกใหญ่ โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 3.50 กิโลกรัม ประมาณ 50.8 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า หลังจากรอคอยจะได้เห็นหน้าลูกน้อยมานานหลายสิบสัปดาห์ ทารกในสัปดาห์ที่ 40 นี้อาจคลอดได้ทุกเมื่อ มีผู้หญิงเพียง 5% เท่านั้นที่คลอดในช่วงที่ประมาณการณ์เอาไว้ และหากเป็นท้องแรก ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่อาจต้องรออีกประมาณ 2 สัปดาห์หลังผ่านพ้นวันครบกำหนดคลอดไปแล้ว ลูกน้อยจึงจะลืมตาดูโลก ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มักจะมีศีรษะแหลม หรือดูผิดรูปทรง ไม่ได้กลมสวยอย่างที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องการ แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะหลังจากนั้นอีก 2-3 ชั่วโมง หรือ 2-3 วัน ศีรษะของทารกน้อยก็จะกลับมาดูกลมได้รูปดังเดิม ส่วนปัญหาผิวหนังที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด เช่น สีผิวดูไม่สม่ำเสมอ ผิวแห้งเป็นหย่อม […]


ไตรมาสที่ 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 39 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ที่กำลัง ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 39 [embed-health-tool-”due-date”] พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 39ลูกจะเติบโตอย่างไร สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 39 นี้ ลูกน้อยของคุณจะมีขนาดตัวเท่ากับฟักทอง โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 3.30 กิโลกรัม และสูงประมาณ 50 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า การ ตั้งครรภ์ ในบางกรณีอาจเกิดปัญหาสายสะดือพันรอบคอทารกในครรภ์ ซึ่งหากเกิดกรณีนี้ อาจต้องใช้วิธีผ่าคลอด เนื่องจากสายสะดือที่พันคอทารกในครรภ์ทำให้เกิดแรงเหนี่ยวรั้งในระหว่างทำคลอด แต่คุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลแต่อย่างใด เว้นแต่ว่าสายสะดือจะมัดเป็นปมแน่น แต่กรณีนี้ก็เกิดขึ้นเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของการตั้งครรภ์เท่านั้น ในสัปดาห์ที่ 39 ของการ ตั้งครรภ์ นี้ ไขหุ้มทารกที่เคลือบผิวทารกในครรภ์อยู่ จะหลุดออกไปเกือบหมดแล้ว และทารกจะมีขนอ่อนขึ้นทั่วร่างกาย ส่วนร่างกายของคุณแม่จะทำหน้าที่ส่งสารภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยในครรภ์ผ่านทางรก ซึ่งจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของทารกน้อยสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ในช่วง 6-12 เดือน หรือช่วงขวบปีแรกของการใช้ชีวิต ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง สัญญาณที่แสดงว่าคุณแม่ ตั้งครรภ์ พร้อมคลอดและสามารถสังเกตได้ง่ายก็คือ ถุงน้ำคร่ำแตก หรือที่เรียกว่าน้ำเดิน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อนับจากนี้ไป เวลาที่มีน้ำเดิน คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจมีน้ำคร่ำไหลทะลักออกมา ในขณะที่คุณแม่บางคนอาจมีน้ำคร่ำค่อย ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
expert badge expert

พญ.จิรภัทร สุริยะชัยสวัสดิ์

เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์ป้องกันคลินิก  • แพทย์ประจำแอพลิเคชั่น BeDee

สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน