วัคซีน

วัคซีน เป็นตัวที่ช่วยป้องกันความเจ็บป่วยต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่จะได้รับในช่วงวัยเด็ก วัคซีนทำงานอย่างไร ประโยชน์หลักของวัคซีนคืออะไร นี่คือสิ่งที่เหล่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนต้องรู้

เรื่องเด่นประจำหมวด

วัคซีน

ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่าทารกในวัย 2 เดือนควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง โดยทั่วไป การ ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน จะฉีดวัคซีนพื้นฐาน 2 ชนิด คือ วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี และ ฮิบ ซึ่งเป็นวัคซีนรวมที่ครอบคลุมโรคหลายชนิด และวัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดหยอดหรือชนิดฉีด ทั้งนี้ หากคุณพ่อคุณแม่สนใจให้เด็กทารกวัย 2 เดือนรับวัคซีนป้องกันโรคเพิ่มเติม เช่น วัคซีนโรต้า วัคซีนนิวโมคอคคัส ก็สามารถทำได้เช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ฉีด วัคซีน ทารก 2 เดือน มีวัคซีนอะไรบ้าง วัคซีนป้องกันโรคในทารกอายุ 2 เดือน อาจมีดังนี้ วัคซีนพื้นฐาน วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTP-HB1-Hib) เริ่มฉีดเข็มแรกตอนเด็กอายุ 2 เดือน และจะฉีดอีก 4 ครั้ง เมื่อเด็กมีอายุ 4 เดือน 6 เดือน 1 ปี 6 เดือน และ 12 ปี […]

สำรวจ วัคซีน

วัคซีน

6 เหตุผลทำไมบางคนไม่เข้ารับการ ฉีดยาวัคซีน

ฉีดยาวัคซีน เป็นวิธีป้องกันโรค หรือลดความเสี่ยงอาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง โดยการฉีดสารก่อภูมิคุ้มกันเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการป่วยหนักจนถึงขั้นเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่มีการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้สำคัญมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน เพราะอาจกังวลต่อฤทธิ์ของตัวยาวัคซีนที่ผ่านการทดลองมาไม่นาน ผลข้างเคียงที่อาจตามมา รวมถึงความเชื่อส่วนบุคคล เหตุผลของผู้ที่ไม่รับการ ฉีดยาวัคซีน การฉีดวัคซีน มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ที่มีการรณรงค์ให้เข้ารับการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกไม่ฉีดยาวัคซีน ส่วนใหญ่เกิดจากเหตุผลต่อไปนี้ กังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีน โดยส่วนใหญ่แล้วหลังฉีดวัคซีน มักเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายโดยเฉพาะปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งทำให้บางคนอาจกังวลและกลัวจนไม่กล้าไปฉีดวัคซีนในกรณีของวัคซีนโควิด-19 ผลข้างเคียงที่พบบ่อยประกอบด้วย แขนบวม ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ไข้ขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงมักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น อาจใช้เวลาประมาณ 1-2 วันผลข้างเคียงต่าง ๆ จะหายไป อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน อาจกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงระยะยาว ซึ่งยังไม่ได้รับการศึกษาเพียงพอ ไม่เชื่อถือประสิทธิภาพของยาวัคซีน โดยหลักการแล้ว ยาวัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หากติดเชื้อ วัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงอาการป่วยขั้นรุนแรง หรือเสียชีวิตได้ แต่ยังมีผู้ที่เข้าใจผิดเมื่อทราบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว ยังคงป่วยด้วยโรคของวัคซีนซึ่งได้รับมา จึงเข้าใจว่าวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ และเลือกไม่เข้ารับการฉีดยาวัคซีน นอกจากนี้ เนื่องจากโรคโควิด-19 เป็นโรคระบาดที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน และการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 […]


วัคซีน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนเด็ก

วัคซีนเด็ก ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไอกรน โปลิโอ อีกทั้งยังอาจช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนใกล้ชิดได้อีกด้วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาตารางการฉีดวัคซีนเด็ก และบันทึกการฉีดวัคซีนในแต่ละครั้งเอาไว้ เพื่อป้องกันการลืมและช่วยแจ้งเตือนกำหนดการฉีดวัคซีนในครั้งถัดไป ทำให้ไม่พลาดกำหนดการฉีดวัคซีนที่สำคัญของเด็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนเด็ก ทำไมถึงควรฉีดตามตารางการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนเด็กตามตารางการฉีดวัคซีน ช่วยทำให้ร่างกายของเด็กสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อก่อโรค เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และสิ่งแปลกปลอมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอีกทั้งยังช่วยลดการแพร่กระจายของโรคไปสู่คนรอบข้างที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนได้ นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรศึกษาตารางการฉีดวัคซีนเด็กเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนแต่ละชนิด เพื่อช่วยให้สามารถวางแผนล่วงหน้าก่อนพาเด็กไปฉีดวัคซีนได้ จะได้ไม่ฉุกละหุก หรือพลาดการรับวัคซีนไป โดยอาจใช้การจดบันทึกประวัติการเข้ารับการฉีดวัคซีนที่ระบุ วัน เวลา และสถานที่รับวัคซีน หรือใช้เครื่องมือช่วยเตือนความจำอย่าง ตารางการฉีดวัคซีนของลูก ในเว็บไซต์ Hello คุณหมอ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้ปกครองพาเด็กเข้ารับการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสมตามช่วงอายุ และทำให้ติดตามการนัดหมายถัดไปของคุณหมอได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังใช้ได้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ วิธีการใช้เครื่องมือตารางเวลาการฉีดวัคซีน วิธีการใช้เครื่องมือจัดตารางการฉีดวัคซีนของ Hello คุณหมอ มีดังนี้ เข้าไปที่เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพบนเว็บไซต์ Hello คุณหมอ จากนั้นกดเลือก ตารางการฉีดวัคซีนของลูก ป้อนข้อมูลของลูก เช่น เพศ วันเดือนปีเกิด ชื่อเล่น และกดดูตาราง เพื่อตรวจสอบรายการวัคซีนที่เด็กควรได้รับตามช่วงอายุ เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามตารางการฉีดวัคซีนเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจสร้างบัญชีสำหรับ […]


วัคซีน

วัคซีน เด็ก ที่ควรได้รับ และเคล็ดลับไม่ให้ลูกงอแงตอนรับวัคซีน

เมื่อต้องไปฉีด วัคซีน เด็ก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี โปลิโอ บาดทะยัก หัด คางทูม  สุกใส ไข้หวัดใหญ่ เด็ก ๆ อาจยังไม่เข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการฉีดวัคซีนมากพอ และสนใจเพียงความรู้สึกเจ็บที่เคยได้รับจากการฉีดวัคซีนเท่านั้น ทำให้มีอาการงอแงเมื่อรู้ว่าต้องไปฉีดวัคซีนในครั้งต่อไป คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องศึกษาวิธีที่ช่วยให้ลูกสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ราบรื่น รวมถึงวิธีดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน เพื่อให้การฉีดวัคซีนของลูกในแต่ละครั้งเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพน้อยที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีน เด็ก ที่ควรฉีดในแต่ละช่วงวัย วัคซีนพื้นฐานที่ควรฉีดให้กับเด็ก มีดังนี้ วัคซีนป้องกันบีซีจี หรือวัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) เป็นวัคซีนป้องกันวัณโรคปอดและวัณโรคเยื่อหุ้มสมองในเด็กเล็ก เด็กจะได้รับวัคซีนชนิดนี้เพียงครั้งเดียวภายในเวลา 24 ชั่วโมงหลังคลอด และไม่ต้องฉีดซ้ำอีกตลอดชีวิต วัคซีนป้องกันตับอักเสบบี (HB1 และ HB2) เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ควรฉีดภายในเวลา 24 ชั่วโมงหลังคลอด และอาจฉีดซ้ำเข็มที่ 2 เมื่อเด็กมีอายุ 1 เดือน ในกรณีที่ตรวจพบว่าคุณแม่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี กรณีคุณแม่ไม่เป็นพาหะตับอักเสบบี จะฉีดวัคซีนที่อายุ 2 เดือน วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB1) เป็นวัคซีนรวมโรคชนิดทั้งเซลล์ (DTWP) […]


วัคซีน

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ การฉีดวัคซีน โควิด-19 สำหรับเด็ก

การฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็ก อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อได้ โดยสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 5 ขวบขึ้นไป หรือตามคำแนะนำของคุณหมอ อีกทั้งยังควรปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ให้ลูกสวมหน้ากากอนามัย ฝึกให้ลูกล้างมือบ่อย ๆ และไม่ควรพาลูกไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง มีผู้คนมาก เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ทำไมเด็กจึงควรรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โรคโควิด-19 สามารถเป็นได้ทุกช่วงวัย ไม่เว้นแม้แต่วัยเด็ก จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทยระบุว่า เด็กอายุแรกเกิด-18 ปี ที่ติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ เดือนเมษายน-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 มีทั้งหมด 310,648 ราย เสียชีวิตสะสม 59 ราย อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ติดเชื้อในเด็กลดลงต่อเนื่อง และมีจำนวนเด็กเสียชีวิตน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงอายุอื่น ๆ การพาเด็กเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยสร้างแอนติบอดี ลดความเสี่ยงการเกิดอาการรุนแรง และลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังคนอื่น ๆโดยเฉพาะเมื่อได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 โดสตามกำหนด อายุที่เหมาะสมสำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาจเริ่มตั้งแต่อายุ 5 ขวบ สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่าควรปรึกษาคุณหมอ เพราะอาจจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาชัดเจนมากเพียงพอ ชนิดของวัคซีนโควิด-19 ที่เหมาะสำหรับเด็ก สำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 5-17 ปี อาจเหมาะสำหรับวัคซีน Pfizer-BioNTech […]


วัคซีน

วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง

โรคคางทูม โรคหัด และโรคหัดเยอรมัน เป็นโรคจากการติดเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจพบได้บ่อยในเด็ก เด็กจึงควรได้รับ วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมัน (Measles Mumps and  Rubella vaccine: MMR vaccine) 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้ โดย วัคซีน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ผลข้างเคียง ที่พบได้บ่อย คือ เป็นไข้ มีผื่น และอาการปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรงและอาจหายไปได้เอง อย่างไรก็ตาม หากสังเกตพบอาการผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาในทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมัน  ลูกน้อยต้องได้รับการฉีด วัคซีนโรคคางทูม หัด หัดเยอรมันเข็มแรกเมื่ออายุ 12-15 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 4-6 ปี เพื่อป้องกันโรคที่สำคัญ 3 โรค ซึ่งได้แก่ โรคคางทูม โรคหัด และโรคหัดเยอรมัน โดยแต่ละโรคมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้  โรคคางทูม (Mumps) […]


วัคซีน

ตารางการให้วัคซีนในเด็ก กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

ตารางการให้วัคซีนในเด็ก อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละประเทศเกี่ยวกับอุบัติการณ์โรค ความรุนแรงของโรค ประสิทธิภาพของวัคซีน ราคาของวัคซีน และสถานการณ์โดยรวมของวัคซีนในประเทศ ซึ่งตารางการให้วัคซีนในเด็กของประเทศไทยนั้นจะถูกกำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นวัคซีนขึ้นพื้นฐานที่เด็กไทยควรได้รับเอาไว้ โดยจะเน้นในเรื่องของวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ ตารางฉีดวัคซีนสำหรับเด็ก ในขณะที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) ตัดสินใจว่า จะจำหน่ายวัคซีนในสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ทางอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Advisory Committee on Immunization Practice หรือ ACIP) จึงทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำว่าควรให้วัคซีนชนิดใดและเมื่อไหร่ ซึ่งคำแนะนำเหล่านี้ถูกทางหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics; AAP) และทีมแพทย์ทั่วประเทศ นำมาใช้ในภายหลัง เพื่อใช้ในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเด็ก ๆ อนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ประกอบด้วย กลุ่มสมาชิกที่ลงคะแนน 15 คน ซึ่งได้รับเลือกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์แห่งสหรัฐอเมริกา (United […]


วัคซีน

วัคซีนโควิด-19 ฉีดให้เด็กทารกกับเด็กเล็กได้หรือไม่

วัคซีนโควิด-19 สามารถฉีดให้เด็กทารกกับเด็กเล็กได้หรือไม่ อาจเป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนสงสัย เนื่องจาก ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ยังเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเทศไทย ได้อนุญาตให้มีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ปี และอาจฉีดวัคซีนกระตุ้นได้เมื่อเด็กมีอายุ 12 ปีขึ้นไป ส่วนวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปและต่ำกว่า 5 ปี ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ความเสี่ยงในการเกิดโรคโควิด-19 ในเด็ก โดยปกติแล้ว เด็กอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคโควิด-19 ในระดับรุนแรงน้อยกว่าผู้ใหญ่ เด็กที่ป่วยเป็นโควิด-19 มักมีอาการอย่างอ่อน หรือไม่แสดงอาการเลย และบางรายอาจมีภาวะที่เรียกว่า กลุ่มอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ (Multisystem Inflammatory Syndrome หรือ MIS) ที่ทำให้มีไข้ เกิดการอักเสบในอวัยวะหลายส่วน และทำให้อวัยวะล้มเหลวได้ในที่สุด แต่ก็ถือเป็นกรณีที่พบได้ยาก วัคซีนโควิด-19 กับทารกและเด็กเล็ก นักวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กต่างจากของผู้ใหญ่มาก ฉะนั้น จึงต้องมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ในเด็กเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นด้านความแรงของวัคซีน ขนาดการให้วัคซีน และระยะในการให้วัคซีน ดังนั้น อาจจะยังไม่เหมาะที่จะฉีดวัคซีนโคิด-19 ให้กับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปและต่ำกว่า 5 ปี […]


วัคซีน

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ วัคซีนโรตา ทางเลือกในการปกป้องลูกน้อย จากเชื้อไวรัสในของเล่น

วัคซีนโรตา คือวัคซีนที่มีไว้สำหรับป้องกัน ไวรัสโรตา (Rotavirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่อาจส่งผลให้ทารกและเด็กเล็กมีอาการท้องเสีย อาเจียน เป็นไข้ ซึ่งเป็นวัคซีนที่พบได้ในอุจจาระและสามารถแพร่กระจายได้ผ่านทางพื้นผิวต่าง ๆ เช่น ลูกบิดประตู โต๊ะ ประตู ของเล่น ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของการฉีดวัคซีนโรตา หรือปรึกษาคุณหมอก่อนฉีดวัคซีน [embed-health-tool-bmi] วัคซีนโรตา สำคัญอย่างไร วัคซีนโรตาหรือวัคซีนป้องกันไวรัสโรตานั้น มีจุดประสงค์หลักคือการป้องกันร่างกายของผู้รับวัคซีน ไม่ให้ติดเชื้อไวรัสโรตา ไวรัสที่อาจทำให้ทารกและเด็กเล็ก เกิดอาการท้องเสียและอาเจียน ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดภาวะขาดน้ำ (Dehydration) และมีไข้สูงได้ หากไม่ได้รับการรักษาดูแลอย่างถูกต้องและทันท่วงที ไวรัสโรตา (Rotavirus) นั้นเป็นไวรัสที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วมาก โดยเรามักจะสามารถพบไวรัสเหล่านี้ได้ในอุจจาระของผู้ที่ติดเชื้อ และอาจไม่ระวังเรื่องความสะอาด อาจทำให้เชื้อโรคนี้ปนเปื้อนไปสู่พื้นผิวต่างๆ เช่น โต๊ะ ประตู ลูกบิด และของเล่นเด็ก ที่เด็กอาจจะนำเข้าสู่ปาก ทำให้ติดเชื้อเป็นรายต่อไปได้ ทั่วโลกนั้นจะพบผู้ป่วยฉุกเฉินที่ติดเชื้อไวรัสโรตากว่า 2 ล้านราย และส่งผลให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโรตานี้ไม่ต่ำกว่า 500,000 รายต่อปี ในทางกลับกัน เด็กโต วัยรุ่น และผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสโรตา อาจจะมีอาการที่รุนแรงน้อยกว่า แต่ก็ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปให้ผู้อื่นได้อยู่ดี ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ (Centers for Disease […]


วัคซีน

แพ้วัคซีน ในเด็ก คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้อย่างไร

วัคซีน มีความสำคัญในการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ต่อสู้กับเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรวมถึงโรคร้ายแรง ถึงแม้วัคซีนจะเป็นสิ่งจำเป็น แต่สำหรับบางคนอาจก่อให้เกิดอาการ แพ้วัคซีน หลังฉีดได้ โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีอาการแพ้ต่อสิ่งต่าง ๆ ดังนั้น หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่พาลูกเข้ารับการฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น และเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการแพ้วัคซีน อาการแพ้วัคซีนในระดับไม่รุนแรงอาจส่งผลให้มีอาการบวมแดงบริเวณที่ได้รับการฉีด มีผื่นขึ้นตามตัว และอาจมีไข้ระดับต่ำ แต่หากมีอาการแพ้อย่างรุนแรง อาจก่อให้เกิดอาการหลังฉีดภายในไม่กี่นาที และควรรับการรักษาจากคุณหมอทันที ดังนี้ หายใจหอบ หายใจถี่ วิงเวียนศีรษะ ไอ อาเจียน ระดับความดันโลหิตต่ำ ท้องเสีย หัวใจเต้นแรง เกิดลมพิษ ผิวซีด คอบวม ผู้ที่มีความเสี่ยง แพ้วัคซีน ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้อาหารอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะแพ้วัคซีน เนื่องจากวัคซีนบางชนิดอาจมีส่วนประกอบจากอาหารที่ทำให้แพ้ เช่น โปรตีนชนิดเดียวกับที่อยู่ในไข่ ดังนั้นหากมีประวัติการแพ้อาหาร ต่อไปนี้ ควรแจ้งให้คุณหมอทราบก่อนการฉีด กลุ่มคนที่แพ้ไข่ วัคซีนบางชนิดมีโปรตีนไข่ เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคหัด โรคคางทูม และโรคหัดเยอรมัน รวมถึงวัคซีนที่ไม่ใช่วัคซีนพื้นฐาน อย่างวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง และวัคซีนป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์ กลุ่มคนที่แพ้เจลาติน หากแพ้เจลาติน ควรแจ้งให้คุณหมอทราบก่อนฉีดวัคซีน เพราะมีวัคซีนหลายชนิดที่มีส่วนผสมของเจลาติน เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส วัคซีนป้องกันโรคหัด […]


วัคซีน

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ สำหรับเด็ก จำเป็นหรือไม่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นวัคซีนที่เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ควรเข้ารับการฉีดเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่มากกว่าผู้ป่วยทั่วไปถึง 6 เท่า อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หากเด็กฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อจะได้สังเกตอาการและสามารถรับมือได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เด็กต้องฉีดไหม ข้อมูลสถิติโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม- 8 กันยายน พ.ศ. 2565 จากกรมควบคุมโรค เผยว่า มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 22,922 ราย เสียชีวิต 1 ราย และผู้ป่วยกลุ่มที่พบมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิดถึงอายุ 4 ปี รองลงมาคือ เด็กอายุ 5-14 ปี ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก กรมควบคุมโรคและนำให้เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี เข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และควรดูแลตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่ชุมชน ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ไม่เอามือเข้าปาก ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน