เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

“ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” สกิลสำคัญที่ Gen Alpha- Beta ควรมีในโลกยุค AI

โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุค AI อะไรๆ ก็ดูจะง่ายดายไปหมด ในช่วงเวลาที่เด็กๆ ที่เกิดหลังปี 2020 กำลังเติบโต เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างเช่น AI ก็อาจกลายเป็นปัจจัยที่ 5 คอยอำนวยความสะดวกให้ในหลายๆ ด้านของชีวิต และคงจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม  ความสะดวกสบายที่เกิดขึ้น อาจทำให้เด็กๆ ไม่มีโอกาสได้ฝึกทักษะจำเป็นของชีวิต ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่เป็นกังวลว่าลูกๆ จะมีทักษะอะไรติดตัวไปบ้างเพื่อให้ประสบความสำเร็จในอนาคต แน่นอนว่า IQ เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ แต่เพียงแค่นั้นอาจยังไม่พอ ต้องมี “ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” ด้วย EF คืออะไร ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF หรือ Executive Function คือกระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ช่วยควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม รวมถึงแก้ไขปัญหา ซึ่งถือเป็นความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตที่จะต่อยอดไปสู่ความสำเร็จ แต่ EF คือทักษะที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยทักษะ EF ของเด็กช่วงปฐมวัย มีทั้งหมด 9 ด้าน ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทักษะใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มทักษะพื้นฐาน ประกอบไปด้วย การจดจำเพื่อใช้งาน การยั้งคิดไตร่ตรอง และการยืดหยุ่นทางความคิด ในกลุ่มนี้จะเน้นให้ความสำคัญกับกระบวนการทางความคิด  […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

สำรวจ เด็กทารก

เด็กทารก

วิธีทำความสะอาดหู สำหรับลูกน้อยให้ปลอดภัยห่างไกลการติดเชื้อ

วิธีทำความสะอาดหู ให้ลูกน้อย เป็นเรื่องสำคัญต่อการมีสุขภาพร่างกายที่ดีในภาพรวม เนื่องจากหูเป็นอวัยวะที่ค่อนข้างบอบบางและไวต่อการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องใส่ใจและระมัดระวังในการทำความสะอาดหู ควรเลือกใช้วิธีทำความสะอาดหูที่ถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของเชื้อโรคซึ่งอาจนำไปสู่การอักเสบหรือติดเชื้อได้ การแคะหู วิธีทำความสะอาดหู นิยมใช้วิธีการแคะขี้หูให้ลูกน้อย ซึ่งค่อนข้างอันตรายและอาจเกิดการติดเชื้อได้ พราะการแคะหูเป็นเพียงการนำขี้หูออกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่อาจทำให้ขี้หูส่วนใหญ่ถูกดันลึกลงไปในหู จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในหูได้ในที่สุด และหากคุณพ่อคุณแม่มือไม่นิ่งพอ การแคะหูอาจไปกระทบกระเทือนกับแก้วหู และเยื่อบุช่องหู จนทำให้หูลูกน้อยเกิดอันตรายและมีปัญหาสุขภาพ เช่น แก้วหูทะลุ อาการปวดในหู หูอักเสบเรื้อรัง ตามมาได้ในภายหลัง วิธีทำความสะอาดหูที่ถูกต้อง คุณพ่อคุณแม่ควรทำความสะอาดหูเด็กเป็นประจำทุกวัน แทนการแคะหู ให้ใช้สำลีก้อน หรือผ้านุ่ม ๆ ชุบน้ำอุ่นแล้วบีบให้หมาด จากนั้นเช็ดใบหูทั้งด้านหน้าและด้านหลังให้ทั่วอย่างเบามือ โดยต้องระวัง อย่าแหย่ผ้าหรือสำลีเข้าในหูโดยเด็ดขาด และอย่าให้น้ำเข้าไป เพราะอาจทำให้ช่องหูมีปัญหาได้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำว่า คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยขี้หูที่อยู่ในหูลูกไว้ ไม่ต้องทำอะไร เพราะส่วนใหญ่จะระบายออกมาได้เอง ควรเช็ดทำความสะอาดแค่ขี้หูที่อยู่ด้านนอก แต่หากกังวลว่าจะเกิดปัญหาขี้หูอุดตัน สามารถทำความสะอาดช่องหูลูกน้อยได้ด้วยการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ซึ่งเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดอ่อน แต่อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ และหากแพทย์อนุญาต จึงค่อยทำความสะอาดหูเด็กด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ วิธีทำความสะอาดหูเด็กด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ การใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นการทำความสะอาดหูด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดอ่อน ซึ่งจำเป็นต้องทำด้วยความระมัดระวัง โดยควรปฏิบัติ ดังนี้ เตรียมอุปกรณ์ให้เรียบร้อย ได้แก่ สำลีก้อนหรือผ้านุ่มชุบน้ำอุ่นบิดหมาด แก้ว ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ที่หยด ไม้ปั่นหูขนาดเล็ก ขั้นตอนทำความสะอาดหู ดังนี้ ค่อย ๆ เช็ดบริเวณใบหูด้านนอกด้วยสำลีก้อนหรือผ้านุ่ม […]


เด็กทารก

เปลี่ยนแพมเพิส ให้รวดเร็วและปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ก็ทำได้

เปลี่ยนแพมเพิส หมายถึง การทำความสะอาดส่วนเปียกชื้นของทารกด้วยการเปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูปหลังจากปัสสาวะหรืออุจจาระเสร็จเรียบร้อย โดยใช้แพมเพิสผืนใหม่ เพื่อให้ทารกสบายตัว ป้องกันผื่นแดงที่เกิดจากการหมักหมา รวมทั้งป้องกันการติดเชื้อ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแพมเพิสจำเป็นต้องทำให้ถูกวิธีเพื่อความสะอาดและปลอดภัย สิ่งที่ต้องเตรียมก่อน เปลี่ยนแพมเพิส ในช่วงแรก คุณพ่อคุณแม่อาจยังกังวลว่าต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนผ้าอ้อมนาน การเตรียมข้าวของเครื่องใช้ในการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้พร้อมก่อนลงมือจึงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยสิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กมีดังนี้ แพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเด็ก 1 แผ่น ผ้าขนหนู หรือสำลีก้อนชุบน้ำอุ่นบิดหมาด หรือทิชชู่เปียก ผ้าขนหนูแห้ง 1 ผืน ครีมทาผื่นผ้าอ้อม แผ่นรองเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือทิชชู่แผ่นใหญ่แบบหนา วิธีเปลี่ยนแพมเพิส วิธีเปลี่ยนแพมเพิสนั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยขั้นตอน ดังนี้ 1. ล้างมือให้สะอาด ก่อนที่จะเริ่มลงมือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อย สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องจำให้ขึ้นใจและหมั่นทำเป็นประจำจนเป็นนิสัยเลยก็คือ ต้องล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันเชื้อโรค และทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรไว้เล็บยาว แหลมมากเกินไป เพราะอาจเผลอข่วนลูกน้อยได้ 2. เตรียมแพมเพิสให้พร้อม นำสำลีชุบน้ำหรือผ้าเปียกมาวางไว้ใกล้มือ รวมทั้งผ้าอ้อมสำเร็จรูปแผ่นใหม่มาวางเตรียมไว้บนแผ่นเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เรียบร้อย จากนั้นค่อย ๆ วางทารกลงบนแผ่นเปลี่ยนผ้าอ้อม โดยต้องแน่ใจว่าเป็นพื้นผิวที่เรียบ อ่อนนุ่ม โดใช้มือข้างหนึ่งแตะตัวลูกน้อยไว้เสมอ เพื่อป้องกันการกลิ้งไปมา เสร็จแล้วจึงแกะผ้าอ้อมสำเร็จรูปผืนเก่าออกจากตัวลูกน้อย โดยใช้มือข้างหนึ่งรวบขาทั้งสองข้างของเด็กขึ้น ส่วนอีกมือแกะผ้าอ้อมเด็กออก 3. ลงมือทำความสะอาด เช็ดก้นเด็กรอบแรกก่อน โดยใช้ด้านหน้าของผ้าอ้อมสำเร็จรูปผืนที่เพิ่งแกะออก จากนั้นใช้ทิชชู่เปียก ผ้าขนหนู หรือสำลีที่ชุบน้ำอุ่นไว้ บิดหมาด ๆ แล้วค่อย […]


เด็กทารก

ฝึกลูกกินข้าวเอง เคล็ดลับง่าย ๆ ที่พ่อแม่ควรใส่ใจตั้งแต่ขวบปีแรก

ฝึกลูกกินข้าวเอง อาจเริ่มได้ตั้งแต่ช่วงขวบปีแรก ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถรู้จักฝึกหัดช่วยเหลือตัวเอง เป็นการแบ่งเบาภาระพ่อแม่ ทำให้มีเวลาเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมทักษะและพัฒนาการการใช้นิ้ว มือ และรู้จักควบคุมการเคลื่อนไหวของเด็ก อีกทั้งฝึกฝนให้เด็ก ๆ เริ่มรู้จักควบคุมตัวเองและรับผิดชอบตัวเอง [embed-health-tool-vaccination-tool] ควร ฝึกลูกกินข้าวเอง เมื่อไรดี โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเด็กมีอายุ 7-9 เดือน ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้น ฝึกลูกกินข้าวเอง   ในช่วงเวลานี้ ลูกน้อยสามารถนั่งตัวตรงได้ด้วยตัวเอง และเริ่มฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหว และใช้นิ้วมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้แล้ว การหยิบจับของเด็กเล็ก จะเริ่มจากการใช้หัวแม่มือร่วมกับนิ้วอื่น ๆ มีสัญญาณต่าง ๆ ที่สามารถบ่งบอกได้ว่า ลูกน้อยพร้อมแล้ว สำหรับฝึกกินอาหารด้วยตนเอง เช่น สามารถนั่งได้ด้วยตนเอง หยิบจับสิ่งของเข้าปากได้ เริ่มเคี้ยวอาหารได้ ถือขวดนมได้เองระหว่างป้อนนม เริ่มต้น ฝึกลูกกินข้าวเอง ได้อย่างไร ขั้นตอนแรก ควรให้โอกาสลูกน้อย ในการลองกินอาหารด้วยตัวเองก่อน ลองให้อาหารแห้ง ชิ้นใหญ่ (แต่ไม่ใหญ่จนอาจทำให้สำลัก) หรืออาจแบ่งอาหารออกเป็น 4-5 ชิ้น แล้วค่อย ๆ เพิ่มอย่างช้า ๆ วางลงในจานข้าวขณะที่ลูกกินอาหาร เนื่องจากการเริ่มต้นด้วยอาหารที่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งวางไว้ในจุด ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน