เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 23 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 23 หรือเด็ก 5-6 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจเริ่มคลานไปทั่วมากขึ้นเพื่อสำรวจบริเวณโดยรอบ สามารถหยิบจับสิ่งของได้ด้วยตัวเอง และอาจเริ่มนั่งได้โดยไม่ต้องมีใครช่วย คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกสำรวจและเรียนรู้สิ่งรอบตัวด้วยตัวเอง แต่ก็ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่อาจเป็นอันตรายต่อลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยของกำลังมีพัฒนาการในมองสิ่งของเล็ก ๆ และติดตามสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้แล้ว เมื่อมาถึงจุดนี้ เด็กอาจจดจำวัตถุได้ถึงแม้จะเห็นแค่บางส่วน อย่างเช่น ของเล่นชิ้นโปรดที่วางอยู่ใต้ผ้าห่ม นี่เป็นเกมซ่อนหาที่จะได้เล่นในเดือนถัดไป อีกทั้งเด็กยังสามารถไล่ตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ได้อีกด้วย นอกจากนี้ อาจสังเกตเห็นว่าลูกน้อยสามารถเอื้อมหยิบสิ่งของ ที่วางบนโต๊ะ ถ้าจับเด็กไว้ใกล้สิ่งของนั้น ถ้าเด็กหยิบได้ชิ้นหนึ่งแล้ว ลูกก็จะไล่ล่าหาชิ้นที่สองต่อไป พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 23 ลูกน้อยของสามารถ… นั่งได้ด้วยตัวเอง สนใจวัตถุขนาดเล็ก และติดตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ จดจำวัตถุได้เมื่อเห็นเพียงแค่บางส่วน เช่น ของเล่นที่ชื่นชอบแม้จะถูกซ่อนไว้ใต้ผ้าห่ม จับสิ่งของได้ถ้าพาเข้าไปใกล้ๆ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ในสัปดาห์ที่ 23 เด็กกำลังเริ่มสนใจสีสัน การอ่านหนังสือที่มีหลากสีสัน หรือเล่นตัวต่อที่มีสีสันสดใส จะช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้เกี่ยวกับสีได้ นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรปรบมือ และให้อะไรกับลูกน้อยเพื่อการเรียนรู้ ขอให้เป็นอะไรใหม่ ๆ ก็ช่วยเพิ่มการรับรู้ และเดารูปร่างลักษณะของสิ่งของได้แล้ว  สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร หมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมาย เพื่อตรวจสุขภาพในช่วงเดือนนี้ คิดในแง่ที่ดีคือเด็กยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ในทางกลับกัน อาจจะไม่ทราบว่าลูกน้อยมีพัฒนาการไปถึงขนาดไหนแล้ว จึงควรจดข้อสงสัยเอาไว้ เพื่อปรึกษาหมอในการนัดครั้งถัดไป แต่ควรโทรหาหมอทันทีถ้ามีปัญหาใด ๆ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 22 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 22 หรือประมาณ 5 เดือน ช่วงนี้เด็กอาจสามารถกลิ้งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งได้เอง เริ่มพูดเป็นคำ ๆ และอาจสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งยังอาจมีความรู้สึกหวาดกลัวคนแปลกหน้า คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องปัญหาต่าง ๆ เช่น อาการท้องผูก ปัญหาการนอนหลับ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร เด็กอาจเริ่มแสดงอารมณ์เป็นครั้งแรก อย่างเช่น อาการกลัวคนแปลกหน้า เด็กจะเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ  และรู้สึกหวาดวิตกเมื่อมีคนเแปลกหน้าอยู่รอบตัว เด็กอาจจะร้องไห้เมื่อโดนคนแปลกหน้าสัมผัสตัว การที่เด็กกลัวคนแปลกหน้านี้ไม่ได้หมายความว่า ไม่ควรให้ลูกน้อยเจอคนแปลกหน้าเลย และลูกควรเจอกับคนอื่น นอกเหนือจากพ่อแม่ หรือคนในครอบครัวด้วย โปรดจำไว้ว่า ต้องใช้ความอดทนและความเข้าใจ เพื่อที่จะฝ่าฟันให้ผ่านพ้นพัฒนาการของลูกน้อยในขั้นนี้ไปให้ได้ เมื่อมีอายุได้ 22 สัปดาห์ ลูกน้อยก็อาจจะ… กลิ้งไปในทิศทางเดียวได้ สามารถยืนด้วยสองเท้า พูดเป็นคำ ๆ ได้ ทำอะไรตลก ๆ (เช่น ปล่อยเสียงออกมาพร้อมกับน้ำลาย) สามารถไปมองตามต้นเสียงได้ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร สื่อสารกับเด็ก ๆ ในช่วงที่รับประทานอาหารกับครอบครัว ลูกอาจจะเพลิดเพลินกับการมองดูกำลังรับประทานอาหาร และอาจทำให้เด็กกินได้มากขึ้น นอกจากนี้ในเดือนถัดไป เด็กจะสามารถนั่งและกินอาหารได้ด้วยมือ พฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความสามารถของลูกน้อย ในการรับประทานอาหารได้ ในช่วงอายุนี้ เด็กจะสามารถลุกนั่งจากการนอนหงาย ด้วยการยันตัวเองด้วยมือทั้งสองข้าง สามารถนั่งข้าง […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 21 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 21 หรือประมาณ เด็ก 5 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจสามารถเริ่มลุกขึ้นนั่งได้ด้วยตัวเอง สามารถควบคุมศีรษะได้ดีขึ้น รับรู้ทิศทางของเสียงและสามารถหันตามเสียงเรียกได้แล้ว ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรพยายามพูดคุยกับลูกเพื่อช่วยเพิ่มพัฒนาการด้านการสื่อสารของลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ในช่วงวัย 21 สัปดาห์นี้ ลูกน้อยอาจจะ… ควบคุมศีรษะของตนเองได้ เมื่อนั่งตัวตรง เด็กจะเริ่มใส่ใจกับข้าวของชิ้นเล็ก  ๆ (จึงควรเก็บสิ่งของดังกล่าวให้ห่างจากเด็ก) เริ่มร้องไห้เมื่อเดินออกจากห้อง และดีใจมากที่เดินกลับมา หัวเราะเมื่อทำท่าทางตลก ๆ และพยายามทำอะไรให้หัวเราะด้วย เอื้อมหยิบของที่อยู่รอบ ๆ ตัวได้ จู่ ๆ ก็หัวเราะขึ้นมา หัวเราะเวลาที่เห็นหัวเราะ ควบคุมศีรษะให้อยู่ระดับเดียวกับร่างกายเวลานั่ง ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ตอนนี้เด็กสามารถรู้ทิศทาง หรือที่มาของเสียงได้แล้ว และจะรีบหันไปดูทันที ดังนั้นวิธีดึงดูดความสนใจลูกน้อยที่ง่ายที่สุดก็คือ เสียงกรุ๊งกริ๊งของพวงกุญแจ หรือใช้กระดิ่งลมก็ได้ นอกจากนี้ ถ้าต้องการเรียกความสนใจลูกน้อย ก็ใช้วิธีพูดคุยกับลูกน้อย เด็กวัยนี้ไม่ควรให้เรียนรู้ภาษาจากโทรทัศน์ หรือวิทยุ ฉะนั้นก็ปิดโทรทัศน์หรือวิทยุ และพยายามใช้บทสนทนาจริง ๆ เพื่อช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะทางด้านภาษาและคำพูด สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร ในสัปดาห์นี้อาจไม่ต้องพาลูกน้อยไปตรวจร่างกายตามปกติ ลูกน้อยจึงไม่โดนฉีดยา แต่แนะนำให้จดข้อสงสัยไว้ถามหมอในการไปพบครั้งต่อไป ถ้าสังเกตเห็นความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน หรือการกินอาหารของลูกน้อย ก็ควรพูดคุยกับหมอทันที ปัญหาเหล่านี้มักไม่มีความร้ายแรง และสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง แต่ปัญหายังไม่ยอมหายไป ก็บ่งบอกว่ามีความรุนแรงแล้ว จึงควรทำการตรวจสอบกับหมอไว้ก่อนจะเป็นการดีที่สุด […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 20 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 20 หรือประมาณ 5 เดือน เป็นช่วงที่ทารกอาจเริ่มตั้งไข่หัดเดิน สามารถนั่งเองได้ และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ยิน ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตัวเอง อย่าจำกัดจินตนาการของเด็ก แต่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 20 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 20 ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนที่ 4 นี้ ลูกน้อยอาจจะ… ใช้ขายันให้ลำตัวตั้งตรง สามารถนั่งได้เองโดยไม่ต้องช่วยเหลือ มีปฏิกิริยาตอบโต้ เมื่อแย่งของเล่นจากมือ ขยับร่างกายไปตามเสียงที่ได้ยิน ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร หากจับลูกน้อยให้นอนลง เขาอาจขัดขืนด้วยการยืดแขนขาและยันตัวขึ้น วิธีนี้เป็นการออกกำลังกายที่ดี เพราะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณลำคอ และช่วยพัฒนาความสามารถในการนั่งให้เด็กได้ ในการเตรียมพร้อมลูกน้อยในช่วงเวลาก่อนเข้านอน ควรอาบน้ำให้เขา หรือเล่านิทานให้เขาฟัง ควรทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามลำดับให้เป็นกิจวัตร เช่น กินอาหาร อาบน้ำ ใส่ชุดนอน อ่านหนังสือ ร้องเพลง จากนั้นจึงพาลูกเข้านอน การเตรียมตัวเข้านอนที่ดี จะทำให้ลูกน้อยมีเวลาผ่อนคลายได้มากขึ้น แถมยังทำให้ทั้งสองได้ใกล้ชิดกันมากกว่าเดิมด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรสลับกันทำหน้าที่นี้ (คุณแม่พาไปน้ำอาบน้ำ ส่วนคุณพ่อเล่านิทาน) หรือสลับวันกันทำหน้าที่ เพื่อที่จะได้มีเวลาพักผ่อนที่เต็มที่ สุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก สัปดาห์ที่ 20 ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร แพทย์แต่ละคนจะมีวิธีการตรวจสุขภาพเด็กต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็กแต่ละคน การทดสอบทางกายภาพ รวมทั้งการทดสอบอื่น ๆ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 15 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 15 หรือประมาณ 4 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ลูกเริ่่มมีความอยากรู้อยากเห็น มองสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และอาจเริ่มสามารถดันตัวเองได้ขณะนอนคว่ำ อีกทั้งยังอาจชอบหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ เข้าปาก คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังเรื่องปัญหาการสำลัก และควรเลือกสิ่งที่ปลอดภัยที่จะให้ลูกน้อยหยิบจับหรือนำเข้าปาก ไม่ควรเลือกของเล่นชิ้นเล็กเกินไป เพราะอาจส่งผลให้ติดต่อได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยจะเริ่มหาข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เขาจะมองทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความอยากรู้อยากเห็น โดยอาจวางกระจกเงาชนิดที่ตกไม่แตกไว้ข้างๆ ลูกน้อย หรือจับเขาไปอยู่หน้ากระจกเวลาที่กำลังแต่งตัวในตอนเช้าๆ เจ้าตัวเล็กจะไม่รู้หรอกว่าภาพในกระจก คือตัวเขาเอง (แต่จะเริ่มรู้เมื่อมีอายุได้สองขวบ) แต่ที่สำคัญคือเขาชอบจ้องมองภาพสะท้อน ของตัวเองและคนอื่นๆ และอาจแสดงความชอบใจออกมาด้วยการยิ้มกว้างโชว์ให้เห็นเหงือก ในสัปดาห์ที่สามของเดือนที่สามนี้ ลูกน้อยอาจจะ… ชันคอแข็งเวลาเวลาที่ลำตัวตั้งตรง ใช้มือดันหน้าอกขึ้นได้ เวลาที่นอนคว่ำ หยิบจับสิ่งของได้ ระวังสิ่งของเล็กๆ อย่างเช่น ลูกเกด โดยอย่าวางข้าวของประเภทนี้ ในบริเวณที่เขาเอื้อมหยิบได้เด็ดขาด เขาเริ่มตัดสินโน่นนี่กับสิ่งต่างๆ รอบตัว และมองสิ่งต่างๆ รวมทั้งตัวเขาเอง ด้วยสายตาที่ส่อถึงความอยากรู้อยากเห็นเป็นอย่างมาก ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยอาจหยุดดูดนิ้วหัวคุณแม่มือหรือขวดนม เพื่อที่จะฟังเสียง ปล่อยให้ลูกน้อยส่งเสียงอ้อแอ้ไปเรื่อยๆ และก็เล่าเรื่องราวให้เขาฟัง วิธีไม่เพียงแต่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ให้กับลูกน้อยเท่านั้นนะ แต่ยังช่วยให้ลูกน้อยได้แสดงอารมณ์ออกมาด้วย ลองดูซิว่าลูกน้อยส่งสัญญาณโต้ตอบกลับมาบ้างหรือเปล่า เวลาที่อยู่กับเพื่อนๆ ก็ควรปล่อยให้ลูกน้อยนั่งอยู่ใกล้ๆ เพื่อที่จะได้ยินเสียงคนโน้นคนนี้พูด  หรือรู้จักตอบโต้กับคนอื่น ลูกน้อยจะเพลิดเพลินกับการนั่งมองเด็กคนอื่นเล่นโน่นเล่นนี่ หรือมองเด็กที่โตกว่ากำลังหัดเดิน […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 14 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 14 หรือประมาณ 3 เป็นช่วงที่ลูกน้อยอาจชื่นชอบในการสัมผัสตัว เช่น การกอด การจับ ซึ่งอาจช่วยเพิ่มความผูกพันและช่วยปลอบโยนลูกได้ รวมไปถึงการสัมผัสกับสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งของนั้น ๆ ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ทดลองสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และควรให้ลูกได้รับวัคซีนที่ครบถ้วน เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและภูมิคุ้มกันของลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ในช่วงนี้ลูกจะชอบสัมผัส ซึ่งจริง  ๆ แล้ว การสื่อสารด้วยการสัมผัสนั้นมีบทบาทสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก การสัมผัสเนื้อตัวไม่เพียงแต่จะช่วยให้และลูกน้อยผูกพันกับคนในครอบครัวเท่านั้น แต่ยังเป็นการปลอบโยนเวลาที่ลูกน้อยรู้สึกหงุดหงิด หรือรำคาญใจด้วย ลูกอาจโบกไม้โบกมือและถีบขา เวลาที่สะโพกและขามีความยืดหยุ่นขึ้น ลูกน้อยก็จะสามารถถีบได้แรงขึ้น ในช่วงสัปดาห์ที่ 14 นี้ ลูกน้อยอาจจะมีพัฒนาการต่าง ๆ ดังนี้ หัวเราะเสียงดัง ชันคอตั้งได้ถึง 90 องศา ในขณะที่นอนราบ กรีดร้องเวลาที่รู้สึกตื่นเต้น ประสานมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน หัวเราะได้บ่อย ๆ มองตามวัตถุที่อยู่ในระยะ 15 เซนติเมตร และสามารถหันได้ 180 องศา จากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 14 ควรช่วยให้ลูกมีพัฒนาการมากขึ้น โดยปล่อยให้เขาสัมผัสกับวัตถุต่าง ๆ หลากหลายชนิด อย่างเช่น ผ้าขนสัตว์ ผ้าสักหลาด […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 13 ของลูกน้อย

ถ้าคุณเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลาล่ะก็ นี่คือข้อมูลของ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 13 ที่คุณแม่ควรรู้เอาไว้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 13 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนที่ 3 ลูกน้อยอาจจะ จดจำคุณพ่อคุณแม่ได้ ในช่วงอายุ 13 สัปดาห์นี้ ลูกน้อยแสดงออกได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เด็กในกลุ่มวัยนี้ประมาณครึ่งหนึ่งจะแสดงความสามารถในการจดจำคุณพ่อคุณแม่ได้เป็นอย่างดี ยิ้มให้คนแปลกหน้า โดยเฉพาะคนที่มองตาเวลาพูดคุยหรือเล่นกับเด็ก อย่างไรก็ตามทารกจะเพ่งมองและแยกแยะว่าพวกเขาเป็นใคร และแน่นอนว่าลูกน้อยจะรักคุณพ่อคุณแม่ และผู้คนรอบตัวมากกว่า การตอบสนองของลูกน้อย ลูกน้อยสามารถนิ่ง สบตา หรือมองหาคุณพ่อคุณแม่ในห้อง รวมถึงขยับแขน หรือหัวเราะด้วยความตื่นเต้นเมื่อเจอคุณพ่อคุณแม่ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เด็ก ๆ ที่พูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ จะมีไอคิวสูงและรู้คำศัพท์มากมาย เมื่อพวกเขามีความเป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็กคนอื่น ๆ ฉะนั้นการพูดจาโต้ตอบกับลูกน้อยในช่วงนี้จึงมีความสำคัญมาก พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวเวลาที่พาลูกน้อยไปเดินเล่น หรือไปซื้อของในห้างสรรพสินค้า ถึงแม้ลูกน้อยจะยังพูดตามไม่ได้ แต่เขาสามารถจับใจความสำคัญ และมีพัฒนาการทางด้านความจำได้ สุขภาพและความปลอดภัย ผื่นผ้าอ้อม ผื่นแดงจากผ้าอ้อม มักจะเกิดจากความเปียกชื้นและการเสียดสี ปัสสาวะและอุจจาระที่คั่งค้างอยู่ในผ้าอ้อมเป็นเวลานาน ๆ อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว และทำให้เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในบางครั้งก็ทำให้เกิดการติดเชื้อบนผิวหนังขึ้นมาได้ นอกจากนี้ กลิ่นของผ้าอ้อม หรือแผ่นการเช็ดทำความสะอาดสำเร็จรูป ก็อาจทำให้ผิวระคายเคืองได้ด้วย แต่อาจพบได้ค่อนข้างน้อย วิธีเยียวยาผื่นผ้าอ้อมที่ดีที่สุด คือ ให้ลูกน้อยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และไม่อับชื้น […]


เด็กทารก

เด็กแรกเกิด ทำอะไรบ้างใน 1 วัน กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

เด็กแรกเกิด ต้องการการดูแลและใส่ใจจากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่เกือบตลอด 24 ชั่วโมง แม้เด็กแรกเกิดจะยังเคลื่อนไหวได้ไม่มากนัก แต่พวกเขาก็มีกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำเช่นเดียวกับคนวัยอื่น ๆ และอาจต้องการการดูแลที่มากเป็นพิเศษกว่าวัยอื่น ๆ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่รู้หรือไม่ว่า แท้จริงแล้วเด็กแรกเกิดทำอะไรบ้างใน 1 วัน เด็กแรกเกิด ทำอะไรบ้างใน 1 วัน การกิน เด็กแรกเกิดส่วนใหญ่ต้องการกินอาหารทุก ๆ 1 ชั่วโมงครึ่ง-3 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการให้นมของคุณแม่ด้วย โดยเด็กแรกเกิดจะมีวิธีสื่อสารเวลาที่หิว เช่น ทำท่าดูดมือหรือดูดนิ้ว หรืออ้าปากเมื่อถูกสัมผัสที่แก้ม ส่วนการร้องไห้มักจะเกิดขึ้นเวลาที่หิวมาก นอกจากนี้ หลังกินนมคุณแม่ควรทำให้ลูกเรอ และถ้าเด็กแรกเกิดนอนหลับไปขณะกินนม หรือเบือนหน้าหนีจากเต้านม อาจเป็นสัญญาณว่าอิ่มแล้ว หรือถ้าเด็กแรกเกิดร้องไห้อาจหมายความว่า อยากกินอีก การอุจจาระและการเปลี่ยนผ้าอ้อม เด็กแรกเกิดอาจปัสสาวะมากกว่า 6 ครั้ง หรืออุจจาระมากกว่า 4 ครั้ง/วัน ทำให้ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมหลายครั้ง และในช่วงสัปดาห์แรก อุจจาระของเด็กแรกเกิดอาจดูหนาและมีสีดำหรือสีเขียวเข้ม เรียกว่า ขี้เทา ( Meconium) หรืออุจจาระของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งหลังจากขับถ่ายขี้เทาแล้ว อุจจาระของเด็กแรกเกิดก็จะกลายเป็นลักษณะอ่อนนุ่ม และเป็นมูก นอกจากนี้ ถ้าคุณแม่ให้นม เด็กแรกเกิดอาจมีอุจจาระสีเหลืองอ่อน และเป็นก้อนเล็ก ๆ ส่วนถ้าเด็กแรกเกิดกินนมผง อุจจาระอาจมีเนื้อแน่น และมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน […]


เด็กทารก

การนอนของเด็กทารก เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรรู้

การนอนของเด็กทารก ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก แต่สำหรัยคุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่รู้วิธีการเตรียมความพร้อม หรือยังทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนของเจ้าตัวเล็กได้ไม่ดีพอ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการนอนของทารก รวมถึงการทำให้ทารกได้นอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ดี [embed-health-tool-vaccination-tool] การนอนของเด็กทารก กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ สำหรับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับการนอนของเเด็กทารก อาจมีดังนี้ ไม่ควรกำหนดตารางการนอน การนอนของเด็กทารก เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ โดยคุณพ่อคุณแม่มือใหม่จึงไม่ควรที่จะไปกำหนดเวลา หรือจัดตารางการนอนให้กับเด็กทารก เนื่องจากช่วงระยะเวลา 2-3 วันแรกหลังคลอด เด็กทารกจะนอนมากเป็นพิเศษ หลังจากนั้น การนอนก็จะถูกปรับไปตามระยะเวลาการใช้ชีวิตของแต่ละครอบครัว ซึ่งก็จะมีรูปแบบการนอนที่ไม่ตายตัว สังเกตการนอน ถ้าหากว่ายังไม่สามารถที่จะไปกำหนดหรือจัดตารางการนอนของเด็กทารกได้ คุณพ่อคุณแม่อาจลองสังเกตดูสัก 3 วันว่า เด็กทารกใช้ระยะเวลาในการนอนเท่าไหร่และมีระยะเวลานอนกี่ช่วง หากเห็นว่ากิจวัตรประจำวันในการนอนเป็นไปในรูปแบบเดิม ก็สามารถเตรียมความพร้อมในเรื่องอื่น ๆ ได้ตามปกติ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรสังเกตพฤติกรรมการนอนของตัวเองด้วย เพราะในบางครั้ง คุณพ่อคุณแม่อาจมีกิจกรรมหรือมีพฤติกรรมและตารางการนอนที่แตกต่างกันไป ซึ่งบางครั้งก็อาจส่งผลเสียต่อการนอนของเด็กทารกได้ การกำหนดเวลาใน การนอนของเด็กทารก เด็กทารกที่ได้ทำกิจวัตรประจำวันก่อนนอนทุกคืน จะนอนหลับได้ง่ายขึ้น หลับได้ดี และร้องไห้กลางดึกน้อยลง โดยปกติแล้ว คุณพ่อคุณแม่มักจะเริ่มกำหนดเวลานอนให้เด็กทารกในช่วงอายุ 6-8 สัปดาห์ หากอยากให้ตารางเวลานอนของเด็กทารกมีประสิทธิภาพอาจทำตามขั้นตอน ดังนี้ พยายามให้เด็กทารกทำกิจกรรมในช่วงกลางวัน เพื่อให้รู้สึกเหนื่อยจากการทำกิจกรรมและอยากพักผ่อน หรือนอนหลับง่ายขึ้น สำหรับกิจกรรมในช่วงเย็นควรเป็นกิจกรรมเบา ๆ เพื่อไม่ให้เด็กทารกตื่นเต้นก่อนเข้านอน พยายามให้ห้เด็กทารกทำกิจกรรมเดิม ๆ ในช่วงค่ำ ปิดท้ายทุก ๆ กิจกรรมด้วยความสงบ เด็กทารกหลายคนมักจะรู้สึกสบายและสงบเมื่อได้อาบน้ำก่อนเข้านอน พยายามทำกิจกรรมที่เด็กทารกชอบในห้องนอน […]


การดูแลทารก

ขลิบ ที่ลับ แต่ไม่ใช่เรื่องลับ สำหรับพ่อแม่มือใหม่

ขลิบ เป็นการผ่าตัดเอาหนังหุ้มปลายลึงค์ออกจากองชาตของทารกเพศชาย เนื่องจากมีความเชื่อว่าอาจช่วยให้ผู้ชายทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศได้มากขึ้น รวมถึงยังอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ส่วนใหญ่แล้วจะทำหลังจากคลอด 2-3 อาทิตย์ แต่สำหรับเด็กทารกบางคนก็อยู่ในระยะเวลา 10 วัน หลังจากขลิบปลายแล้วแผลจะหายเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์ [embed-health-tool-vaccination-tool] ขลิบ เรื่องพื้นฐานที่ควรรู้ การขลิบมีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ โดยเชื่อกันว่าจะทำให้ผู้ชายรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศได้มากขึ้น สำหรับการขลิบทางพิธีกรรมศาสนาจะเรียกว่า การเข้าพิธีสุนัต (Khitan) ซึ่งการเข้าพิธีสุนัตในทุกวันนี้ ส่วนใหญ่จะทำเพื่อเหตุผลทางศาสนา หรือวัฒนธรรม ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ 55% ของทารกแรกเกิด จะถูกพาเข้าสุนัตไม่นานหลังคลอด ส่วนเด็กผู้ชายคนอื่น ๆ อาจจะมีการผ่าตัดในภายหลัง สำหรับการขลิบเป็นเรื่องพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ในปัจจุบันจำเป็นจะต้องรู้ อย่างน้อยต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การที่จะทำการขลิบปลายนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะทำหลังจากคลอด 2-3 อาทิตย์ แต่สำหรับเด็กทารกบางคนก็อยู่ในระยะเวลา 10 วัน ซึ่งวิธีการนั้นก็จะเป็นการตัดเอาหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของเด็กผู้ชายออกนั่นเอง วิธีการดูแลรักษาหลังการขลิบ หลังจากพาลูกน้อยไปขลิบมาเรียบร้อยแล้ว อาการจะสามารถหายไปได้ภายใน 7-10 วัน ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามดูแลรักษาและทำความสะอาดให้ได้มากที่สุด และอาจจะต้องมีการคอยระมัดระวังบริเวณที่ไปขลิบมา เนื่องจากอาจจะมีอาการบวม หรือเลือดออกในบางครั้ง แต่ไม่ใช่ตลอดเวลา สาเหตุของการขลิบ เพื่อความสะอาด คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ เนื่องจากว่า หากดูแลได้ไม่ดีพอหรือไม่คอยดูแลรักษาความสะอาดในส่วนนั้นสักเท่าไหร่ อาจจะทำให้เกิดการสะสมเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคต่าง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน