พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

ช่วงวัยเรียน

การเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

การเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน อาจเกิดขึ้นได้ทั้งทางร่างกายและสมอง โดยแต่ละช่วงวัยก็จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ เพศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจทำให้การเปลี่ยนแปลงของเด็กแตกต่างกัน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน เพื่อช่วยให้เด็กมีการพัฒนาทางร่างกายที่ดีซึ่งจะส่งผลไปถึงพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา การเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน สำหรับการเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน อาจแบ่งออกได้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางสมอง โดยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาจมีดังนี้ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเด็กวัยเรียน เด็กวัยเรียน ในช่วงอายุตั้งแต่ 5-12 ปี อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหลายส่วน ดังนี้ เด็กวัยเรียนมักมีพัฒนาทางความสูงของร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เด็กวัยเรียนมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย เด็กวัยเรียนอาจมีการพัฒนาด้านความสมดุลของร่างกาย ทั้งการเคลื่อนไหว และการทรงตัว มวลกล้ามเนื้อจะเริ่มเปลี่ยนแปลง และมีความแข็งแรงมากขึ้น เด็กเริ่มพัฒนาลักษณะทางเพศมากขึ้น เช่น เด็กผู้หญิงเริ่มมีพัฒนาการของเต้านม มีขนตามร่างกาย ส่วนเด็กผู้ชายอาจเริ่มมีขนตามร่างกาย การเจริญเติบโตของอัณฑะและองคชาต ตัวอย่างพัฒนาการทางกายภาพแต่ละช่วงอายุ อาจมีดังนี้ 5 ขวบ การทรงตัวดีขึ้น ยืนบนเท้าข้างเดียวได้นานอย่างน้อย 10 วินาที กระโดดข้ามสิ่งของได้ ตีลังกา ใช้ช้อนส้อมได้ ควบคุมการขับถ่ายและใช้ห้องน้ำได้เอง 6-8 ขวบ กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น มีความสมดุลและความอดทนของร่างกายมากขึ้น ลักษณะทางกายภาพเริ่มพัฒนามากขึ้น 9-12 ขวบ ลักษณะทางกายภาพพัฒนาขึ้น มีพัฒนาทางกายภาพเพิ่มขึ้น เช่น หน้าอกใหญ่ขึ้น มีขนตามร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของเด็กผู้ชาย […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ส่งผลต่อสุขภาพลูกน้อย

ทารกคลอดก่อนกำหนด คือทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงก่อนที่การตั้งครรภ์จะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งอาจทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด ที่อาจส่งผลในระยะสั้นหรือในระยะยาวขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของทารกและการดูแล รักษาอย่างใกล้ชิด Hello คุณหมอ จึงขอนำเสนอ ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด เพื่อให้คุณได้ทราบถึงภาวะที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง การที่ทารกคลอดเร็วกว่าที่กำหนดอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาภายหลังได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ยิ่งทารกเกิดเร็วเท่าใดยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเท่านั้น ภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น ภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนดในช่วงสัปดาห์แรก อาจมีดังต่อไปนี้ ปัญหาการหายใจ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ เนื่องจากปอดยังไม่แข็งแรง และขาดสารลดแรงตึงผิวที่ช่วยให้ปอดขยายตัว ทำให้ปอดไม่สามารถขยายและหดตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ทารกมีอาการหายใจลำบาก นอกจากนี้ทารกบางรายก็อาจมีอาการหยุดหายใจเป็นเวลานาน ที่เรียกว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ปัญหาหัวใจ ปัญหาหัวใจที่พบบ่อยที่สุดใน ทารกคลอดก่อนกำหนด คือ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (PDA) หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตต่ำ และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งอาจต้องรักษาด้วยยา การถ่ายเลือด หรือการผ่าตัด ปัญหาสมอง ยิ่งทารกเกิดเร็วมากเท่าใด ก็ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมองมากขึ้นเท่านั้น อาการเลือดออกในสมองสามารถหายขาดได้เอง แต่ทารกบางคนอาจมีอาการรุนแรงจนทำให้สมองได้รับบาดเจ็บได้ ปัญหาการควบคุมอุณหภูมิ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะสูญเสียความร้อนในร่างกายอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผิวหนังบาง ร่างกายยังไม่มีไขมันเก็บสะสมไว้ ทำให้ไม่สามารถกักเก็บความร้อนไว้ในร่างกายได้ และทำให้อุณภูมิร่างกายลดต่ำลง ภาวะอุณหภูมิลลดต่ำกว่าปกติอาจนำไปสู่ปัญหาการหายใจและระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ในช่วงแรกจึงต้องอยู่ในตู้อบเพื่อรักษาอุณภูมิจนกว่าร่างกายจะโตพอและสามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายเองได้ ปัญหาทางเดินอาหาร ทารกคลอดก่อนกำหนด ระบบทางเดินอาหารยังไม่แข็งแรง ส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะลำไส้เน่าอักเสบ (Necrotizing enterocolitis NEC) […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ไขข้อสงสัย พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง

การคลอดก่อนกำหนดอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อ พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากร่างกายและสมองของทารกอาจไม่ได้มีเวลาพอที่จะพัฒนาอย่างเต็มที่ เมื่อทารกคลอดออกมาจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ บทความนี้ได้รวบรวมสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับพัฒนาการของลูกน้อยมาฝากคุณแล้วที่นี่เลย [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง? พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการที่เหมือนกับเด็กที่คลอดตามปกติ แต่ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดมากเท่าใด ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสการมีปัญหาทางพัฒนาการมากขึ้นเท่านั้น ทารกคลอดก่อนกำหนด น้อยกว่า 36 สัปดาห์ อวัยวะของทารกในช่วงนี้มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ แต่ยังคงต้องมีการพัฒนาของสมองเพิ่มเติม ทารกที่คลอดในช่วงนี้อาจมีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดปัญหาด้านพัฒนาการและการหายใจ ในช่วงแรกอาจต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อเพิ่มน้ำหนัก และให้อาหารผ่านอุปกรณ์ช่วยเหลือ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ทารกมักจะมีน้ำหนักน้อยกว่า 1 กิโลกรัม อวัยวะต่างๆยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ มีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาพัฒนาการด้านต่าง ๆ และความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นหากมีภาวะแทรกซ้อนอื่นร่วมด้วยในระหว่างการดูแลของแพทย์ พัฒนาการทางภาษาของ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกคลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่ อาจมีพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าเด็กที่คลอดปกติ และอาจมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาการเรียนรู้ การคิด หรือการได้ยินเสียง ซึ่งส่งผลต่อความสามารถทางด้านภาษาของเด็กเป็นอย่างมาก พัฒนาการทางร่างกายของ ทารกคลอดก่อนกำหนด โดยปกติเด็กที่คลอดก่อนกำหนดจะมีพัฒนาทางร่างกายเป็นไปตามลำดับ เพียงแต่อาจจะมีขนาดตัวที่เล็กกว่าหรือมีน้ำหนักที่น้อยกว่า และมีปัญหาผิดปกติของกล้ามเนื้อเล็กน้อย เช่น ปัญหาเรื่องการจับดินสอ การเดินรอบสิ่งกีดขวาง การวาดรูป การถือแก้วโดยไม่ให้น้ำหก ทารกคลอดก่อนกำหนด มีแนวโน้มมีปัญหาเรื่องฟัน เช่น เคลือบฟันผิดปกติ ฟันอาจมีสีเทาหรือน้ำตาล ผิวไม่เรียบ ฟันอาจขึ้นช้ากว่าปกติ หรือรูปร่างของฟันอาจส่งผลต่อการกัด พัฒนาการทางประสาทสัมผัส การได้ยิน ทารกคลอดก่อนกำหนดมีโอกาสมากที่จะมีปัญหาหูหนวกหรือหูตึง การมองเห็น […]


การดูแลทารก

ดูแลทารกแรกเกิด ให้แข็งแรงปลอดภัย ทำอย่างไร

การ ดูแลทารกแรกเกิด สำหรับคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจเป็นเรื่องยาก เพราะทารกพูดไม่ได้จึงแสดงออกได้เพียงการร้องไห้หรือส่งเสียง การหมั่นสังเกตท่าทางและพฤติกรรมเพื่อตีความหมายในสิ่งที่ทารกต้องการได้อย่างถูกต้องอาจช่วยได้  นอกจากนั้น การดูแลทำความสะอาดร่างกายลูกน้อยอย่างถูกวิธี การอุ้ม การกอด การสัมผัสจากคุณพ่อคุณแม่หรือสมาชิกในครอบครัว ควรทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้ลูกน้อยแข็งแรงสุขภาพดีและปลอดภัย [embed-health-tool-vaccination-tool] พื้นฐานในการดูแลทารกแรกเกิด เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงภูมิคุ้มกันของทารกยังไม่แข็งแรง และผิวของทารกยังค่อนข้างบอบบาง จึงอาจติดเชื้อหรือบาดเจ็บได้ง่าย พื้นฐานการดูแลเด็กทารกแรกเกิด ควรปฏิบัติ ดังนี้ ล้างมือให้สะอาด ก่อนจับตัวทารก ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งเพราะทารกยังไม่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย รองรับศีรษะและคอทารก ขณะอุ้มทารกควรใช้มือรองรับศีรษะและประคองคอทารกเนื่องจากบริเวณคอและศีรษะยังไม่แข็งแรง อย่าเขย่าทารกแรกเกิด การสั่นสะเทือนอาจทำให้เกิดเลือดออกในสมองของทารกแรกเกิดได้ ระวังความปลอดภัย เมื่อใช้รถเข็นเด็กควรยึดทารกให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดการเด้งของตัวทารก และไม่ควรเล่นกับทารกด้วยความรุนแรง ดูแลทารกแรกเกิด ต้องใส่ใจเรื่องอะไรบ้าง สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ รวมทั้งสมาชิกครอบครัว หรือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลทารกแรกเกิด เรื่องที่ควรต้องระวังเพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ของทารก ได้แก่ การอุ้มและการกอด ในช่วงแรกทารกยังต้องการความอบอุ่นจากการอุ้มและกอด โดยเฉพาะจากมารดา เนื่องจากเป็นสภาวะแวดล้อมที่ใกล้เคียงเหมือนตอนอยู่ในครรภ์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ลึกซึ้งและเชื่อมต่ออารมณ์ความรู้สึกกับทารก และส่งผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์และพัฒนาการด้านอื่น ๆ ได้ด้วย คุณพ่อและคุณแม่ควรอุ้มเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ทารกอยู่เสมอ ผ้าอ้อมและกระดาษชำระแบบเปียก ปัจจุบันนี้ ผ้าอ้อมสำเร็จรูปนับเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทุกบ้านควรเตรียมให้เพียงพอเพราะทารกมีการขับถ่ายบ่อย อาจมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ที่สำคัญคือการเช็ดทำความสะอาดผิวหนังของทารก ด้วยกระดาษชำระแบบเปียก หลังจากนั้น ควรซับเบา ๆ ด้วยผ้าอ้อมที่เป็นผ้าแห้ง และควรใช้ครีมทาผิวก่อนใส่ผ้าอ้อม ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดผื่นผ้าอ้อมในทารกได้ การอาบน้ำ เตรียมอุปกรณ์อาบน้ำให้พร้อมสำหรับทารกให้เรียบร้อยก่อนอาบน้ำ ทั้งผ้าขนหนูอาบน้ำ ผ้าขนหนูเช็ดตัว […]


การดูแลทารก

วิธีห่อตัวทารก ประโยชน์ และความเสี่ยงของการห่อตัวทารก

วิธีห่อตัวทารก ที่เหมาะสม คือ ไม่ควรห่อตัวทารกจนแน่นเกินไป แต่ควรห่อให้กระชับพอดี ทำให้ทารกไม่รู้สึกอึดอัด การห่อตัวทารกเป็นวิธีที่อาจช่วยให้ทารกนอนหลับได้สบายมากขึ้น ช่วยเพิ่มความอบอุ่น และทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัย เหมือนอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ อย่างไรก็ตาม การห่อตัวทารกอย่างไม่ถูกต้อง อาจทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว และอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเคลื่อนไหวของทารกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการห่อตัวทารก ประโยชน์ของการห่อตัวทารกจะช่วยลดปฏิกิริยาการตื่นตกใจเมื่อนอนหลับ โดยอาจสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีอาการกระตุกหรือตกใจตื่นขณะหลับ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ การห่อตัวจึงมีประโยชน์ช่วยลดการสะดุ้งตกใจเพราะเหมือนเป็นการช่วยปลอบประโลมและทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัย การห่อตัวยังทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยเหมือนอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ที่มีพื้นที่ให้เคลื่อนไหวได้น้อย รู้สึกเหมือนกำลังถูกกอด ช่วยให้ทารกรู้สึกสงบนอนหลับสบายมากขึ้น และร้องไห้น้อยลง วิธีห่อตัวทารก คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกใช้ผ้าอ้อมทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ เนื้อผ้านิ่มสบายไม่เป็นขุย ระบายอากาศได้ดี และซักทำความสะอาดเรียบร้อย โดยวิธีห่อตัวทารกอย่างปลอดภัยขณะทารกหลับ มี 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ พับผ้าห่อตัวเป็นสามเหลี่ยมจากนั้นพับมุมด้านหนึ่งลงมาประมาณ 6 นิ้ว วางทารกลงบนผ้าอย่างนุ่มนวลและจัดท่าให้ศีรษะอยู่เหนือรอยพับและลำตัวเหยียดตรง จากนั้นนำผ้าทางด้านซ้ายห่อแขนซ้ายและหน้าอกของทารก แล้วนำมุมผ้าสอดไว้ใต้ลำตัวด้านขวาของทารกโดยไม่ปิดแขนขวา พับมุมด้านล่างขึ้นปิดเท้าของทารกแล้วสอดเก็บไว้ใต้คางของขอบผ้าด้านบน สุดท้ายจับแขนขวาทารกให้ชิดกับลำตัวนำผ้าด้านขวาพาดปิดแขนแล้วสอดปลายผ้าไว้ใต้ตัวด้านซ้าย ข้อควรระวัง ผ้าห่อตัวควรกระชับพอดีกับตัวทารก ไม่รัดแน่นจนเกินไป ผ้าห่มรอบสะโพกของทารกก็ควรหลวมพอดีเพื่อให้ทารกขยับขาได้อย่างอิสระใต้ผ่าห่อตัว ถ้าหากลูกน้อยต้องการเหยียดแขน ก็สามารถปล่อยแขนทารกออกมาหนึ่งหรือสองข้างก็ได้ หรือถ้าหากลูกดิ้นมากเกินไป ก็อาจต้องปล่อยให้ลูกน้อยอยู่อย่างอิสระ เพราะไม่ใช่ทารกทุกคนที่จะชอบการห่อตัว ลองเรียนรู้และปรับเปลี่ยนตามความชอบของทารก ความเสี่ยงของการห่อตัวทารก คุณพ่อคุณแม่แม่หลายคนอาจไม่เคยรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับการห่อตัวทารก การห่อตัวอาจทำให้ทารกนอนหลับยาวนานขึ้น ตื่นยากขึ้น และลดการตื่นตัวในทารก ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกเสียชีวิตด้วยโรคไหลตายในทารก หรือโรค SIDS ได้ ดังนั้น จึงควรเลือกผ้าฝ้ายแผ่นบาง ๆ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

วิธี ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หมายถึง ทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์ โดยปกติทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะยังมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์และมีร่างกายที่อ่อนแอ จึงควรมีการ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ทารกมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ดีสมวัยต่อไป [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำไมทารกจึง คลอดก่อนกำหนด ยังไม่เป็นที่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าทำไมทารกจึงคลอดก่อนกำหนด ในบางครั้งอาจเป็นเพราะสุขภาพของแม่ระหว่างตั้งครรภ์ แม่บางคนอาจเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือไต การติดเชื้อที่ถุงน้ำคร่ำหรือทางเดินปัสสาวะ หรืออาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด ดังนี้ เลือดออกจากรกเกาะต่ำ หรือรกแยกตัวออกจากครรภ์ ครรภ์ไม่ปกติ อุ้มท้องเด็กมากกว่า 1 คน ในครั้งเดียว มีน้ำหนักน้อยในระหว่างตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด หรือดื่มสุราขณะตั้งครรภ์ ใช้ยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์ ข้อควรรู้สำหรับ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด อาจต้องเพิ่มการดูแลเป็นพิเศษ ในเบื้องต้นคุณหมอจะพิจารณาดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่โรงพยาบาล เมื่อร่างกายทารกสมบูรณ์แล้วจึงสามารถกลับบ้านได้ ซึ่งวิธีดูแลทารกนั้นมีดังนี้ ทารกคลอดก่อนกำหนดอาจมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย ต้องการความอบอุ่นและการเลี้ยงดูเป็นพิเศษ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีภาวะแทรกซ้อน ทารกที่ติดเชื้อต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ทารกบางรายอาจไม่หายใจหรือหายใจเหนื่อย จึงจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือโดยด่วนโดยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อเพิ่มออกซิเจน เครื่องอุ่นสำหรับทารก ทารกคลอดก่อนกำหนดบางรายจำเป็นต้องใช้เครื่องอุ่นเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายในขณะเฝ้าติดตามอาการ เครื่องส่องไฟเพื่อรักษาอาการตัวเหลือง เนื่องจากทารกแรกเกิดจะมีความเสี่ยงของภาวะตัวเหลืองมากกว่าเด็กคลอดครบกำหนดจากหลายกลไก เมื่อร่างกายของทารกคลอดก่อนกำหนด แข็งแรงขึ้นและได้รับคำยืนยันจากคุณหมอว่าสามารถกลับบ้านได้ จึงนำทารกกลับไปเลี้ยงดูที่บ้านได้ซึ่งต่างมีความสำคัญเช่นกัน สิ่งสำคัญในการ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด การ ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อุณหภูมิ อุณภูมิสำหรับทารกต้องสบายและปลอดภัย ควรปรับอุณภูมิในบ้านให้พอเหมาะด้วยเครื่องปรับอากาศ […]


การดูแลทารก

ดูแลทารกผิวแห้ง ทำได้อย่างไร เพื่อให้ผิวลูกชุ่มชื้น

ผิวแห้ง เป็นอีกหนึ่งปัญหาผิวที่พบบ่อยในทารก การ ดูแลทารกผิวแห้ง จึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความสนใจ เนื่องจาก ผิวของทารกนั้นบอบบางและแพ้ง่าย เมื่อทารกผิวแห้งอาจทำให้เกิดอาการคัน ผื่น รวมถึงผิวลอก ซึ่งอาจสร้างความรำคาญใจ หรืออาจทำให้ทารกไม่สบายตัวได้ บางกรณีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้น การดูแลผิวทารกให้กลับมาชุ่มชื้นนั้น อาจช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกผิวแห้ง เกิดจากอะไร ทารกผิวแห้งมักมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม สภาพผิวที่บอบบางของทารกแรกเกิด หรือโรคบางชนิด เช่น โรคผิวหนัง กลาก โรคสะเก็ดเงิน นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ สภาพอากาศ ผิวแห้งอาจเกิดขึ้นได้ในฤดูหนาว เมื่ออุณภูมิและความชื้นลดลง ความร้อนหรือความเย็น การที่ลูกต้องเผชิญสภาพอากาศร้อน หรืออยู่ในห้องที่อากาศเย็นจากการเปิดเครื่องปรับอากาศ อาจเป็นตัวลดความชื้นและทำให้ผิวแห้งได้ การอาบน้ำ การอาบน้ำอุ่นเป็นระยะเวลานานอาจทำให้ทารกผิวแห้งได้ หรือการว่ายน้ำในสระที่มีคลอรีนก็อาจทำให้ผิวแห้งด้วยเช่นกัน สบู่ ผงซักฟอก หรือแชมพูบางชนิด อาจดึงเอาความชุ่มชื้นออกจากผิวได้ สภาพผิว ผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง กลาก โรคสะเก็ดเงิน อาจมีแนวโน้มทำให้ผิวแห้ง เวอร์นิกซ์ (Vernix) เป็นสารสีขาวเคลือบปกปิดผิวของทารกเมื่ออยู่ในครรภ์ ในทารกบางคนอาจมีเวอร์นิกซ์ติดร่างกายออกมาด้วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายและสามารถล้างออกได้ ในช่วงแรกเมื่อทารกสูญเสียเวอร์นิกซ์อาจทำให้เกิดผิวลอกในช่วงสัปดาห์แรก ดูแลทารกผิวแห้ง […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารที่ทารกไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง

การเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมกับทารก เช่น อาหารที่ทารกไม่ควรกิน ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเมื่อต้องดูแลเด็กทารก เพราะอาหารส่งผลต่อพัฒนาการทั้งทางร่างกาย กล้ามเนื้อ และสมอง การหลีกเลี่ยงอาหารที่ทารกไม่ควรกิน และให้ทารกกินอาหารที่เหมาะสม เช่น น้ำนมแม่ จะช่วยให้ทารกเจริญเติบโตสมวัย และลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพบางประการได้ เช่น ภูมิแพ้อาหาร ท้องร่วง อาหารที่ทารกไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง นมวัว เด็กที่อายุต่ำกว่า 12 เดือนไม่ควรดื่มนมวัวประเภท UHT หรือนมวัวพาสเจอร์ไรส์เป็นอาหารหลัก เนื่องจากมีสารอาหารโปรตีน โซเดียม และโพแทสเซียมสูง ซึ่งอาจทำให้ไตของเด็กทำงานหนักเกินไป อีกทั้งนมวัวยังมีสารอาหารน้อยกว่านมแม่อีกด้วย แต่หากคุณแม่ไม่มีน้ำนม หรือไม่สามารถให้นมแม่ได้ แนะนำให้กินนมผงชนิดชงสำหรับทารก และควรปรึกษานักโภชนาการหรือกุมารแพทย์ก่อนเสมอ เครื่องดื่มรสหวาน น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ชา กาแฟ ไม่เหมาะสำหรับเด็กทารก เนื่องจากมีน้ำตาลสูงและอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะฟันผุได้ นอกจากนี้ การให้เด็กกินน้ำหวานมากยังอาจทำให้เด็กติดน้ำหวาน ซึ่งอาจนำไปสู่โรคอ้วนในเด็กได้อีกด้วย น้ำผึ้ง น้ำผึ้งอาจมีสปอร์ของแบคทีเรียและสารบางชนิด เช่น โบทูลินัมท็อกซิน (Botulinum toxin) ที่เป็นอันตรายต่อทารก คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปีกินน้ำผึ้ง เกลือ ไม่ควรใส่เกลือลงไปในอาหารของทารก เนื่องจากเกลืออาจทำให้ไตที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ของทารกเสียหายได้ เด็กควรได้รับเกลือจากแหล่งธรรมชาติอย่างนมแม่เท่านั้น อาหารที่มีปริมาณเกลือสูง ไม่ควรให้ทารกกิน เช่น เบคอน ไส้กรอก […]


โภชนาการสำหรับทารก

สารอาหารสำหรับทารก ที่ควรกินมีอะไรบ้าง

คุณแม่ควรทราบว่า สารอาหารสำหรับทารก มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายของลูกน้อยอย่างมาก เพราะทารกควรได้รับคุณค่าทางอาหารอย่างเพียงพอในทุก ๆ วัน เพื่อให้สุขภาพกาย สุขภาพจิต สมองและระบบประสาทของทารกสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-vaccination-tool] สารอาหารสำหรับทารก ที่ควรกินมีอะไรบ้าง สารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกในช่วง 6 เดือนแรกคือ นมแม่ เพราะมีโปรตีน ไขมัน วิตามิน สารภูมิคุ้มกัน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ทารกต้องการ เช่น แคลเซียม เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 12 วิตามินซี วิตามินเค ซึ่งสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกได้เป็นอย่างดี ทารกควรได้กินนมแม่ตลอดช่วง 12 เดือนแรกเป็นอย่างน้อย ยิ่งทารกได้กินนมแม่นานเท่าใด ก็จะยิ่งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นได้มากเท่านั้น เมื่อเด็กอายุ 6 เดือน การดื่มน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวอาจทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เด็กจึงอาจต้องกินอาหารชนิดอื่น ๆ เพิ่มด้วย โดยคุณพ่อคุณแม่อาจให้เด็กเริ่มกินอาหารแข็งที่บดละเอียดเพื่อให้กลืนได้ง่าย เช่น ซีเรียลสำหรับทารกผสมกับนมแม่เพื่อเสริมธาตุเหล็ก เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้นมชนิดอื่น นอกจากนี้ เด็กที่อายุ 6-8 เดือนสามารถเสริมอาหารที่เป็นพืชหรือแหล่งสารอาหารสำหรับทารกชนิดอื่นได้ ดังนี้ ผักและผลไม้ ผักและผลไม้ให้วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ กากใย และน้ำ ซึ่งเป็นสารอาหารที่จะช่วยป้องกันโรคต่าง […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

โรคติดเชื้อในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่พึงระวัง

ในปัจจุบัน  มีเชื้อโรคมากมายที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเชื้อโรคนั้นก็เป็นอีกสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อในเด็ก ซึ่งเชื้อโรคที่ได้รับนั้นสามารถรับได้ทั้งทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทำให้เด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ก็เจ็บป่วยได้ โดยเชื้อโรคนั้นมีอยู่ในทุกที ไม่ว่าจะเป็นในอากาศ หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ แล้วคุณพ่อกับคุณแม่จะมีวิธีรับมือกับ โรคติดเชื้อในเด็ก ได้อย่างไรหล่ะ โรคติดเชื้อ คืออะไร โรคติดเชื้อ คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของสิ่งมีชีวิต เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา โดยโรคติดเชื้อบางชนิดสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ หรือบางชนิดอาจแพร่กระจายมาจากแมลง เช่น ยุง หรือสัตว์อื่น ๆ ซึ่งเด็กสามารถรับเชื้อโรคเหล่านี้ได้จากการรับประทานอาหาร สัมผัสกับผู้อื่น หรือแม้แต่ของเล่น โรคติดเชื้อในเด็ก ที่พบได้บ่อย โรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน โรคนี้มีอาการที่รุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา โดยอาการจะปรากฏออกมาให้เห็นหลังจากได้เชื้อประมาณ 1- 4 วัน ซึ่งอาการจะมีไข้สูง อาจมีการถ่ายเหลว คลื่นไส้อาเจียน และอาการชัก หากมีไข้สูงเกินไป การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ – โรคไข้หวัดใหญ่สามารถหายเองได้ หากมีอาการไม่รุนแรงมาก โดยพ่อ หรือแม่ นำผ้ามาชุบน้ำเช็ดตัว ให้ยาลดไข้สำหรับเด็ก ดื่มน้ำ และพักผ่อนให้เพียงพอ หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน