พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการตั้งแต่แรกเกิดถึง เด็ก1ขวบ มีอะไรบ้างที่ควรรู้

เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง เด็ก1ขวบ จะมีพัฒนาการด้านร่างกาย สมอง การเจริญเติบโต รวมถึงพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงอายุ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของลูก เพื่อจะได้ดูแลลูกและส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการอย่างไรบ้าง เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ อาจแบ่งพัฒนาการออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ ทารกอายุ 0-3 เดือน ทารกอายุ 4-6 เดือน ทารกอายุ 7-9 เดือน และทารกอายุ 10-12 เดือน โดยแต่ละช่วงอายุอาจมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งพัฒนาการแต่ละช่วงอายุอาจมีดังนี้ พัฒนาการของทารกช่วงอายุ 0-3 เดือน ในช่วงแรกทารกอาจมีการพัฒนาด้านร่างกายและสมองที่กำลังเริ่มเรียนรู้จากสิ่งที่พบเห็น มีการตอบสนองต่อการสัมผัส และอาจแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ส่งยิ้ม กวาดมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว เริ่มขยับเพื่อจับวัตถุต่าง ๆ ที่หยิบยื่นใส่มือ คอจะเริ่มแข็งแรงขึ้นตามลำดับ แต่ยังต้องอุ้มประคองคอและศีรษะเสมอ พัฒนาการของทารกช่วงอายุ 4-6 เดือน เมื่อทารกมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ช่วงวัย 4-6 เดือน ลูกจะเริ่มคว้าสิ่งของต่าง ๆ […]


สุขภาพวัยรุ่น

เคล็ดลับ การดูแลสุขภาพวัยรุ่น

วัยรุ่น เป็นช่วงชีวิตที่สำคัญ ควรได้รับการส่งเสริมในหลาย ๆ ด้าน อย่างถูกวิธี การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย อารมณ์ และความคิด การดูแลสุขภาพวัยรุ่น ที่เหมาะสมจึงนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้วัยรุ่นมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงและปลอดภัยจากโรค รวมทั้งสุขภาพจิตที่ดีเช่นเดียวกัน [embed-health-tool-bmi] ปัญหาสุขภาพในวัยรุ่น ปัญหา สุขภาพวัยรุ่น ที่พบบ่อย ได้แก่ ปัญหาสุขภาพจิต โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของปัญหา สุขภาพวัยรุ่น ที่อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยตามมา ปัจจัยอื่นที่สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่นได้ คือ ความรุนแรง ความรู้สึกด้อยค่า ความวิตกกังวล ปัญหาทาอารมณ์ ปัญหาทางครอบครัว การดูแลสุขภาพจิตของวัยรุ่นจึงเป้นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย โรคกินผิดปกติและภาวะทุพโภชนาการ วัยรุ่น หลายคนอาจมีความกังวลเรื่องรูปร่างและน้ำหนัก จนอาจนำไปสู่ปัญหาการกินผิดปกติ เช่น กินน้อยเกินไป กินมากเกินไป และอาจนำไปสู่ปัญหาโรคอ้วนที่เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพมากมายในอนาคต  ในขณะเดียวกัน วัยรุ่นบางคนอาจไม่ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม จึงทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ การเกี่ยวข้องกับความรุนแรง ความสาเหตุเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตใน วัยรุ่น ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยรุ่นชายและเด็กหญิงอายุประมาณ 20 ปี ถูกล่วงละเมิดทางเพศ สาเหตุหลักของปัญหาเหล่านี้ส่วนใหญ่มากจากความรุนแรง การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนทำให้เกิดความก้าวร้าวในวัยรุ่น เอชไอวี/ เอดส์ เอชไอวี (HIV) เป็นโรคหนึ่งที่คุกคามสุขภาพวันรุ่นเนื่องจากวัยนี้เป็นวัยอยากรู้อยากลองจึงอาจเกิด การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การใช้สารเสพติด ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น หรือ […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

ดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

ดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น เป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรใส่ใจ  เพราะสุขภาพจิตด้วยตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์แข็งแรงมากที่สุด หากตอนนี้คุณกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต หรืออยากเริ่มดูแลสุขภาพจิต [embed-health-tool-ovulation] การดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น สำคัญอย่างไร การดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ก็ไม่ควรละเลยสุขภาพจิตด้วยเช่นกัน เพราะสุขภาพจิตที่ดีจะช่วยให้สามารถรับมือกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ การตัดสินใจ และความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น ที่เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง และเป็นรอยต่อก่อนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ พ่อแม่ผู้ปกครองควรใส่ใจและดูแลสุขภาพจิตของลูกในช่วงวัยรุ่น คอยสังเกตอารมณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ แต่ไม่เข้าใกล้หรือสั่งสอนจนทำให้ลูกอึดอัด แต่แสดงออกและบอกให้ลูกในช่วงวัยรุ่นรู้ว่า ครอบครัวพร้อมจะสนับสนุน เป็นกำลังใจ และพร้อมให้คำปรึกษาเมื่อพวกเขาต้องการ วิธีการ ดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น เคล็ดลับในการดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น อาจทำได้ ดังนี้ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การดูแลให้วัยรุ่นรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ นอกจากจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตด้วย เพราะแร่ธาตุบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 มีส่วนสำคัญต่อการสร้างสมดุลทางอารมณ์ ช่วยจัดการกับความเครียด และความวิตกกังวล นอกจากนี้ การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ยังอาจเป็นผลดีต่อสุขภาพจิต เพราะคาเฟอีนอาจทำให้รู้สึกกระวนกระวายและวิตกกังวลได้ งดเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และเสพยาเสพติด สามารถส่งผลต่อ สุขภาพจิต ทำให้รู้สึกหดหู่ วิตกกังวล และขาดสมาธิมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ร่างกายขาดสารไทอามีน (Thiamine) ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง ถ้าขาดไทอามีนอาจนำไปสู่ปัญหาทางความจำอย่างรุนแรง ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

โรคทางเดินหายใจในเด็ก คืออะไร? สร้างปัญหาให้ลูกรักมากแค่ไหน มาดูกัน

โรคทางเดินหายใจในเด็ก เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจและส่วนอื่น ๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน รวมไปถึงเด็ก ๆ โรคทางเดินหายใจมีอยู่หลายชนิดมากมาย แต่วันนี้เราขอนำ โรคทางเดินหายใจในเด็ก ที่พบบ่อยมาแบ่งปันให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนได้รู้จัก เพื่อเรียนรู้โรคและเฝ้าระวังไม้ให้เกิดกับลูกรักของคุณ ป้องกันลูกรักให้ห่างไกลจากโรคร้าย มาเช็คตารางวัคซีนได้ ที่นี่ โรคทางเดินหายใจ คืออะไร? โรคทางเดินหายใจ หมายถึงโรคที่ส่งผลต่อปอดและอวัยวะอื่น ๆ ในระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก คอ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อ การหายใจเอาควันบุหรี่มือสอง การสืบทอดทางพันธุกรรม การผ่าตัด และการติดเชื้อ โดยเฉพาะกับเด็กที่ยังมีระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงพอที่จะต่อต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรียต่าง ๆ จนส่งผลให้เกิดโรคทางเดินหายใจในเด็ก โรคทางเดินหายใจในเด็ก ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง? โรคระบบทางเดินหายใจในเด็กที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหอบหืด โรคหอบหืดเป็นภาวะที่ทำให้ทางเดินหายใจมีอาการแคบลงและบวมขึ้น อาจผลิตเมือกเพิ่มขึ้น และทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ซึ่งอาการหอบหืดอาจเกิดขึ้นเมื่อคุณออกกำลังกาย หรืออาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเกิดอาการ ดังนี้ หายใจถี่ แน่นหน้าอกหรือเจ็บ เมื่อหายใจออกมีเสียงดัง ปัญหาการนอนหลับเกี่ยวกับการหายใจถี่ หรือหายใจมีเสียงหวีด อาการไอ หากอาการแย่ลงอาจแสดงสัญญาณเหล่านี้ มีอาการโรคหอบหืดบ่อยครั้งขึ้น หายใจลำบากขึ้น และจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease : COPD) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นหนึ่งใน โรคทางเดินหายใจ ที่ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ โดยจะมีอาการหลัก ๆ อยู่ 2 กลุ่ม คือ ถุงลมโป่งพอง […]


โรคระบบประสาทในเด็ก

สัญญาณโรคระบบประสาทในเด็ก สังเกตอย่างไร

ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตบุตรหลานว่ามี สัญญาณโรคระบบประสาทในเด็ก หรือไม่? เพราะโรคระบบประสาทอาจสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตของลูกน้อย หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้รับมือและรักษาอาการของโรคได้อย่างทันท่วงที ทำให้ลูกน้อยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ [embed-health-tool-vaccination-tool] ประเภทของโรคระบบประสาทในเด็ก โรคระบบประสาทนั้นมีอยู่มากกว่า 100 ชนิด แบ่งตามประเภทของเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ และลักษณะความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ โรคระบบประสาทที่พบได้มากในเด็กคือ โรคปลายประสาทอักเสบ (Polyneuropathy หรือ Peripheral Neuropathy) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้ โรคปลายประสาทอักเสบเรื้อรัง (Chronic symmetrical peripheral neuropathy) หมายถึง โรคปลายประสาทอักเสบที่มีอาการนานหลายเดือนขึ้นไป โรคปลายประสาทอักเสบหลายเส้น (Multiple mononeuropathy) หมายถึง โรคปลายประสาทอักเสบที่เกิดความเสียหายกับเส้นประสาทอย่างน้อย 2 เส้นขึ้นไป โรคปลายประสาทอักเสบเฉียบพลัน (Acute symmetrical peripheral neuropathy) เป็นโรคที่พบได้น้อย แต่อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยปกติมักจะมีสาเหตุมาจาก กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre Syndrome) ซึ่งเป็นความผิดปกติของกลุ่มระบบประสาทจนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สัญญาณโรคระบบประสาทในเด็ก มีอะไรบ้าง? สัญญาณของโรคระบบประสาทในเด็ก อาจแตกต่างกันไปตามประเภทของเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ โดยสัญญาณโรคระบบประสาทในเด็ก ที่พบได้บ่อย มีดังนี้ […]


โรคระบบประสาทในเด็ก

โรคระบบประสาทในเด็ก ภัยแฝงที่อาจรุกรานลูกของคุณโดยไม่รู้ตัว

โรคระบบประสาทในเด็ก เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรืออาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันด้วยสาเหตุอื่น ๆ และสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน เพื่อรู้สาเหตุของโรคระบบประสาทในเด็กและวิธีรักษา Hello คุณหมอ ได้รวบรวมรวมสิ่งที่น่าสนใจมากฝากคุณแล้วค่ะ เช็คตารางการฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้ลูกน้อยของคุณ ที่นี่ โรคระบบประสาทในเด็ก คืออะไร โรคระบบประสาท หรือเรียกอีกชื่อว่า โรคปลายประสาทอักเสบ เป็นสภาวะที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายต่อระบบประสาทส่วนปลาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการส่งสัญญาณระหว่างระบบประสาทส่วนกลางและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ความรู้สึกเย็นที่เท้า รู้สึกเจ็บปวดเมื่อโดนน้ำร้อนลวก และยังส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายให้เคลื่อนไหว หดเกร็งกล้ามเนื้อ รวมถึงการเต้นของหัวใจ การย่อยอาหาร การปัสสาวะ รวมไปถึงภูมิคุ้มกันของร่างกาย ความรุนแรงของอาการ โรคระบบประสาท ขึ้นอยู่กับชนิดของเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ แต่โดยส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต อาการของโรคระบบประสาทอาจเกิดขึ้นอาจมีระยะเวลาแค่ไม่กี่วัน หรือยาวนานเป็นปีก็ได้เช่นกัน โรคระบบประสาทในเด็ก อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ หรืออาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันจากความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความไม่สมดุลของฮอร์โมน เนื้อเยื่อบาดเจ็บ โรคเบาหวาน เกิดจากโภชนาการที่ไม่ดี หรืออาจเกิดจากการอยู่นิ่งเป็นเวลานานอย่างการนั่งรถเป็นเวลานาน และเด็กที่เป็นโรคระบบประสาทส่วนปลายจะมีอาการดังต่อไปนี้ อาการปวด แสบร้อน รู้สึกเสียวซ่าบริเวณเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ เช่น มือ เท้า การรักษา โรคระบบประสาท ในเด็ก การรักษาโรคระบบประสาทในเด็ก จะมุ่งเน้นไปที่การจัดการสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคระบบประสาท และเพื่อบรรเทาอาการของโรค โดยใช้วิธีดังนี้ ใช้ยา ยาเป็นตัวช่วยในการรักษาและบรรเทาอาการของ โรคระบบประสาท ที่อาจเกิดขึ้น ยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบ จะช่วยบรรเทาอาการปวดที่ยังไม่รุนแรงมาก ยากันชัก ช่วยบรรเทาอาการปวดเส้นประสาท ยานี้อาจมีผลข้างเคียงคือ ง่วงนอน […]


ช่วงวัยเรียน

ปัญหาสุขภาพเด็กวัยเรียน ที่พบบ่อย ควรดูแลอย่างไร

ปัญหาสุขภาพเด็กวัยเรียน ในช่วงอายุระหว่าง 6-12 ปี ย่อมสร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กวัยเรียน ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะต้านทานโรคได้ และการอยู่ร่วมกับเพื่อน ๆ ในห้องเรียนอาจทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายและติดต่อกันได้ง่าย จึงทำให้ป่วยบ่อย โดยโรคที่มักพบในเด็กวัยเรียน เช่น โรคหวัด โรคภูมิแพ้ โรคมือเท้าปาก โรคท้องร่วง คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพเด็กวัยเรียน ด้วยการสังเกตอาการและพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกอย่างใกล้ชิดเมื่อพวกเขากลับมาถึงบ้าน และหากพบความผิดปกติ ควรพาลูกไปหาหมอ [embed-health-tool-vaccination-tool] ปัญหาสุขภาพเด็กวัยเรียน ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง  ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยใน เด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี มีดังนี้ 1. โรคหวัดและอาการไอ โรคหวัด เป็นปัญหาสุขภาพเด็กวัยเรียนที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างบ่อย และจะพบมากในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ปลายฝนต้นหนาว เนื่องจากร่างกายของเด็ก ๆ ยังไม่มีระบบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโรคหวัดที่แข็งแรงพอ อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็ก ๆ เติบโตขึ้นร่างกายจะค่อย ๆ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้นจนสามารถต้านทานเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดีขึ้นและทำให้เป็นหวัดน้อยลง การไอ เด็กมักมีอาการไอเมื่อเป็นหวัด เพื่อช่วยขจัดเสมหะที่อยู่ในระบบทางเดินหายใจออก ทำให้จมูกปลอดโปร่ง หายใจง่ายขึ้น 2. ท้องร่วงและอาเจียน ท้องร่วง เป็นวิธีกำจัดเชื้อโรคของร่างกาย ส่วนใหญ่มักมีอาการ 2-3 […]


ช่วงวัยเรียน

เคล็ดลับ ดูแล เด็กวัยเรียน ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์

การ ดูแลเด็กวัยเรียน ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ สามารถทำได้อย่างไร เรื่องนี้อาจเป็นปัญหาของผู้ปกครองหลายคน เพราะเด็กแต่ละช่วงวัยต่างต้องการดูแลเอาใจใส่ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะ เด็กวัยเรียนซึ่งเป็นช่วงวัยแห่งการเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่างเป็นระบบ ทั้งการเข้าสู่สังคมโรงเรียน การสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำไมจึงต้องดูแล เด็กวัยเรียน   เด็กวัยเรียน เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงและต้องปรับตัวค่อนข้างสูง ทั้งทางกายและทางสติปัญญา เด็กสามารถเริ่มทำทุกอย่างได้ด้วยตนเอง ทั้งผูกเชือกรองเท้า แต่งตัว หยิบจับสิ่งของ วิ่งเล่น และมีอิสระจากครอบครัวมากขึ้น การดูแลเด็กวัยเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก การเสริมสร้างความรู้ การฝึกฝนทักษะ การให้รางวัลและบทลงโทษก็เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลเด็กวัยเรียน ให้เด็กได้เรียนรู้และเข้าใจ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่สังคมในอนาคต เคล็ดลับการดูแลเด็ก วัยเรียน การดูแลเด็กวัยเรียน อาจดูเหมือนเป็นเรื่องยาก แต่หากมองในแง่ดี คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองก็ได้ฝึกเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กับลูกรัก โดยอาจลองปฏิบัติตามคำแนะนำ ต่อไปนี้ ควรแสดงออกถึงความรักอยู่เสมอ ชื่นชมและยินดีต่อความสำเร็จ สร้างความรับผิดชอบให้กับเด็ก เช่น ขอให้เด็กช่วยรับผิดชอบงานบ้านบางอย่าง พูดคุยเกี่ยวกับเพื่อน โรงเรียน และสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สอนให้เด็กรู้จักการเคารพผู้อื่น และรู้จักช่วยเหลือคนอื่น สอนให้เด็กรู้จักการตั้งเป้าหมายที่ต้องทำให้สำเร็จ เพื่อให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง สอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะอดทน ยอมให้คนอื่นก่อน หรือยอมทำงานให้เสร็จก่อนออกไปเล่น เพื่อกระตุ้นให้เด็กรู้ถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อทำสิ่งตามเป้าหมายเสร็จแล้ว […]


ช่วงวัยเรียน

การเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียน ได้อย่างไร

การเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียน จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กในหลายด้านทั้งทางกายภาพและพัฒนาการทางปัญญา นอกจากนี้ การเล่นยังอาจช่วยเตรียมความพร้อมของเด็กในการเข้าสู่สังคมโรงเรียนได้อีกด้วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเล่นเสริมสร้างพัฒนาการเด็กวันเรียน เพื่อจะได้เสริมสร้างพัฒนาการได้อย่างเหมาะสม การเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียน สำคัญอย่างไร เด็กวัยเรียน ในช่วงอายุ 6-9 ปี จะเริ่มมีพัฒนาการมากขึ้น การเสริมสร้างพัฒนาการในช่วงนี้การเล่นจึงอาจเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เด็กวัยเรียนพัฒนาได้หลายด้าน ดังนี้ การเล่นเกมที่มีกฎง่าย ๆ จะช่วยให้เด็กเรียนรู้และคุ้นเคยเกี่ยวกับกฎเกณฑ์มากขึ้น การเล่นเกมกับเพื่อนยังช่วยให้เด็กได้สร้างสัมพันธ์กับเพื่อน รู้จักการผลัดกันเล่น และประนีประนอมกันผู้อื่น พัฒนาความสนใจใหม่ ๆ และงานอดิเรกผ่านการเล่น เช่น เด็กอาจจะเริ่มอ่านหนังสือในเรื่องที่สนใจมากขึ้น สนุกกับความท้าทายในการเล่น เช่น การปีนต้นไม้ การปั่นจักรยานด้วยความเร็ว ความท้าทายเหล่านี้สร้างความสนุกและความตื่นเต้นให้กับเด็ก อีกทั้งสร้างทักษะทางกายภาพ การใช้กล้ามเนื้อ การทำงานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ และสายตา ช่วยพัฒนากระบวนการแก้ปัญหา พัฒนาการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กรู้ถึงขีดจำกัดทางร่างกายและอารมณ์ การเล่นกับเพื่อนจะช่วยให้เด็กรู้จักการสร้างมิตรภาพไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศกัน โดยคุณพ่อคุณแม่ควรร่วมเล่นหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ กับเด็ก เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว เช่น เตะฟุตบอลในสนามหน้าบ้าน ทำอาหารร่วมกัน การเล่นกับเพื่อน หรือการผจญภัยที่โรงเรียนอาจเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กวัยเรียนได้ แต่เด็กยังคงต้องการคำแนะนำและความช่วยเหลือจากคุณพ่อคุณแม่ เพื่อช่วยจัดการกับความกังวลต่าง ๆ การเล่นกับเด็กอาจเป็นช่องทางในการสื่อสารที่ดี การเล่นกับพัฒนาการทางปัญญาในวัยเรียน การเล่นนอกจากจะให้ประโยชน์ทางกายภาพแล้วยังช่วยพัฒนาความรู้ความเข้าใจของเด็กวัยเรียน ในเรื่องของความสามารถในการคิด เข้าใจ สื่อสาร จดจำ […]


ช่วงวัยเรียน

พัฒนาการด้าน การเข้าสังคมของเด็กวัยเรียน

พัฒนาการด้าน การเข้าสังคมของเด็กวัยเรียน เป็นกระบวนการที่เด็กเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น พัฒนาทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ อีกทั้งยังสามารถจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการเข้าสังคมของเด็กวัยนี้ให้ดี เพื่อจะได้ช่วยฝึกฝนทักษะของเด็กให้เป็นไปตามวัย สาเหตุที่ทำให้เด็กวัยเรียนปฏิเสธการเข้าสังคม เด็กวัยเรียน บางคนอาจจะปฏิเสธการเข้าสังคมหรือปฏิเสธการไปโรงเรียน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ความรู้สึกไม่ดี เด็กอาจกำลังพยายามหลีกเลี่ยงบางสิ่งที่โรงเรียนเหรือเพื่อนทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือรู้สึกลำบากใจ เช่น การแกล้งกัน การถูกทำร้าย หลีกเลี่ยงปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เด็กอาจมีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ปัญหาการสร้างมิตรภาพกับเพื่อน หรืออาจไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเมื่อเจอกับเหตุการณ์นั้น มีความสนใจนอกโรงเรียน เด็กอาจสนใจทำกิจกรรม เล่นเกม ดูทีวีอยู่ที่บ้านมากกว่าการมาโรงเรียน ติดพ่อแม่ เด็กอาจติดพ่อแม่ ไม่ชอบที่จะแยกจากพ่อแม่จึงทำให้เกิดการปฏิเสธสังคมขึ้น การเข้าสังคมของเด็กวัยเรียน ส่งผลต่อเด็กอย่างไร ประสบการณ์การใช้ชีวิตประจำวันกับผู้ปกครองเป็นสิ่งพื้นฐานในการพัฒนาการเข้าสังคมของวัยเรียน พ่อแม่ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาความสัมพันธ์ พูดคุย โต้ตอบกัน เป็นแบบอย่างที่เด็กสามารถจดจำ และนำไปใช้โต้ตอบกับคนรอบข้างได้ เด็กที่อายุ 5 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีพัฒนาการทางสังคม เด็กวัยเรียน ส่วนใหญ่จะใช้เวลาทั้งวันไปกับการพูดคุย เล่น กับเด็กคนอื่น ๆ ดังนี้ สร้างมิตรภาพ พยายามทำให้เพื่อนพอใจ หรือพยายามทำตามเพื่อน เรียนรู้การสร้างสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น ๆ รับรู้ถึงการถูกรังแก กลัวการรังแก หรือเริ่มทำตัวรังแกผู้อื่น เด็กบางคนที่มีอายุ 10 ขวบขึ้นไป อาจเริ่มปฏิเสธความคิดเห็นของพ่อแม่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน