ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในร่างกาย เมื่อระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้อย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองและระบบประสาท รวมถึงการป้องกันและการรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระบบประสาทและสมอง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

หมวดหมู่ ระบบประสาทและสมอง เพิ่มเติม

โรคลมชักและอาการชัก

สำรวจ ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาทและสมอง

อัมพาต สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

อัมพาต (Paralysis) คือการสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วนหรือทั้งหมด เนื่องจากเส้นประสาทไม่สามารถส่งสัญญาณให้กล้ามเนื้อขยับได้ตามปกติ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) การเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะหรือไขสันหลัง การรักษาอัมพาตจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาแบบประคับประคองเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวให้ได้มากที่สุดและการทำกายภาพบำบัด [embed-health-tool-bmi] อัมพาต คืออะไร อัมพาต เป็นอาการที่เกิดจากปัญหาทางระบบประสาท ซึ่งเป็นระบบสั่งการและสื่อสารภายในร่างกายที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากสมองไปยังส่วนต่าง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย เมื่อเส้นประสาทเกิดความเสียหายจะส่งผลให้ไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อและบังคับให้กล้ามเนื้อในส่วนนั้นเคลื่อนไหวได้ ส่งผลให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไม่สามารถขยับได้ตามปกติ อัมพาต เกิดจากอะไร โดยส่วนใหญ่ อัมพาตเกิดจากภาวะสุขภาพบางอย่าง เช่น โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก ที่มักมาจากหลอดเลือดแดงที่คอหรือสมองอุดตัน ทำให้สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง หรืออาจเกิดได้จากการบาดเจ็บทางร่างกาย เช่น การบาดเจ็บที่ไขสันหลังหรือศีรษะจากอุบัติเหตุทางรถยนต์หรือการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา จนกระทบต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท นอกจากนี้ อัมพาตยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในส่วนนั้นของร่างกายถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพลง กลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre syndrome) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาททำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell's palsy) เป็นอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ทำให้ไม่ขยับใบหน้าซีกนั้นได้ตามปกติ โดยโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ ความพิการแต่กำเนิดบางประการ เช่น โรคสไปนา ไบฟิดา (Spina Bifida) ซึ่งเป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิดจนเกิดเป็นช่องว่างในกระดูกสันหลังที่นำไปสู่การเป็นอัมพาต อาการอัมพาต เป็นอย่างไร อัมพาตจะทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วนหรือเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้เลย […]


ระบบประสาทและสมอง

เซลล์ประสาท โครงสร้างและระบบการทำงานที่ควรรู้

เซลล์ประสาท จัดเป็นหน่วยทำงานที่มีขนาดเล็กที่สุดของระบบประสาท ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางและเป็นหน่วยส่งสัญญาณพื้นฐานของระบบประสาท ซึ่งเป็นระบบที่เป็นเครือข่ายที่ซับซ้อนของเซลล์ประสาทมากมายหลายพันเซลล์ที่จะทำงานร่วมกันเพื่อรักษาสมดุลของระบบในร่างกาย เซลล์ประสาทจะรับผิดชอบในการรับส่งสัญญาณทางประสาทสัมผัสจากโลกภายนอก และจะแปลงและถ่ายทอดสัญญาณไฟฟ้าไปพร้อม ๆ กัน เพื่อควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วทั้งร่างกาย [embed-health-tool-bmi] เซลล์ประสาท คืออะไร เซลล์ประสาท (Neurons หรือ Nerve cells) เป็นเซลล์ที่อยู่ภายในร่างกายเป็นจำนวนหลายพันเซลล์ที่เชื่อมโยงและรับส่งข้อมูลถึงกัน ทั้งต่อสิ่งเร้าภายในและภายนอกร่างกาย โดยอาศัยกระแสไฟฟ้าหรือที่เรียกว่ากระแสประสาท เซลล์ประสาทประกอบไปด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ตัวเซลล์ประสาท (Cell body) มีลักษณะค่อนข้างกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-25 ไมโครเมตร ตัวเซลล์ประสาทมีข้อมูลทางพันธุกรรม ทำหน้าที่ รักษาโครงสร้างเซลล์ประสาท และให้พลังงานในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบไปด้วยนิวเคลียส (nucleus) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (Endoplasmic reticulum) ไรโบโซม (Ribosome) กอลจิ แอพพาราตัส (Golgi apparatus) ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) รวมไปถึงออร์แกเนลล์ (Organelle) อื่น ๆ ที่สร้างสารสื่อประสาทซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ทั้งหมดในร่างกาย โดยตัวเซลล์ประสาทส่วนใหญ่จะอยู่ที่บริเวณระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) หรือในปมประสาท (อยู่นอกไขสันหลัง) ใยประสาท […]


ระบบประสาทและสมอง

เวียนหัว เกิดจากสาเหตุใด และรักษาได้ยังไง

เวียนหัว เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ โดยปกติ ไม่ใช่สัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง อาจเกิดได้จากการขาดน้ำ พักผ่อนไม่เพียงพอ ความดันโลหิตต่ำ น้ำตาลในเลือดต่ำ ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกเวียนหัวบ่อย ๆ ร่วมกับมีอาการผิดปกติอื่น ๆ  เช่น ปวดหัวรุนแรง อาเจียน แน่นหน้าอก ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างตรงจุด [embed-health-tool-bmi] เวียนหัว เกิดจากอะไร เวียนหัว อาจมีสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ความดันโลหิตลดลงกะทันหัน ตามปกติ ระบบประสาทอัตโนมัติจะช่วยให้ระดับความดันโลหิตมีความสมดุลเมื่อต้องลุกขึ้นกะทันหัน แต่เมื่ออายุมากขึ้นระบบนี้จะทำงานช้าลงหรือเสื่อมสภาพได้ ทำให้ความดันโลหิตลดลงชั่วคราวจนทำให้เวียนหัว ภาวะนี้อาจเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ซึ่งอาจบรรเทาได้ด้วยการใช้ยารักษาความดันโลหิตต่ำ เช่น มิโดดรีน (Midodrine) ฟลูโดรคอร์ติโซน (Fludrocortisone) ผลข้างเคียงของยา การกินยาที่ออกฤทธิ์ลดความดันโลหิตหรือขับปัสาวะอาจส่งผลให้ความดันลดต่ำมากเกินไปหรือร่างกายสูญเสียของเหลวมากเกินไปและได้รับของเหลวทดแทนไม่ทัน จนเกิดอาการหน้ามืดวิงเวียนศีรษะได้ หากเวียนหัวจากการใช้ยาควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อปรับยาที่ใช้หรือเปลี่ยนยาตัวใหม่  ภาวะขาดน้ำ เมื่อร่างกายมีของเหลวไม่เพียงพอ อาจทำให้ปริมาณเลือดลดน้อยลงไปด้วย และกระทบต่อการไหลเวียนโลหิตไปเพื่อหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และอาจทำให้มีเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนส่งผลให้เวียนหัวได้ วิธีรักษาเบื้องต้นทำได้ง่าย ๆ ด้วยการดื่มน้ำและของเหลวให้เพียงพออย่างน้อย 8-10 แก้ว/วัน และหลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ที่อาจทำให้ภาวะขาดน้ำแย่ลง ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ […]


ระบบประสาทและสมอง

ตะคริวเกิดจาก สาเหตุอะไร และวิธีป้องกันการเกิดตะคริว

ตะคริว (Muscle Cramps) อาการที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะช่วงวัยผู้สูงอายุ อาการตะคริวเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวัน แต่มักจะพบมากในเวลากลางคืน หรือเกิดตะคริวขณะนอนหลับ ความจริงแล้ว ตะคริวเกิดจาก สาเหตุอะไร วิธีป้องกันการเกิดตะคริว ทำได้อย่างไร [embed-health-tool-ovulation] ตะคริวเกิดจาก สาเหตุอะไร  ตะคริว โรคของกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทส่วนปลาย เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว หดเกร็งจนเป็นก้อนแข็ง ทำให้มีอาการปวดและเป็นก้อนแข็งของกล้ามเนื้อ เกิดได้ทั้งกล้ามเนื้อมัดเดียวหรือหลายมัด เกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่ตะคริวมักจะพบมากที่กล้ามเนื้อน่อง ต้นขา และฝ่าเท้า อาการของตะคริวมักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่เป็นอยู่เพียงชั่วขณะ ซึ่งอาการ ตะคริวเกิดจากสาเหตุ ดังนี้ การขาดน้ำ ร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ ภาวะเกลือแร่ไม่สมดุล เช่น การรับประทานอาหารที่ปรุงรส หรือมีโซเดียมในปริมาณที่มากเกินพอดี ภาวะเกลือแร่ในเลือดต่ำ เช่น โซเดียม โพแตสเซียม แคลเซียม แมกเนเซียม  การตั้งครรภ์ และร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ การใช้ยาขับปัสาวะ ยาขยายหลอดลม อาจส่งผลต่อการเกิดตะคริวได้  ตะคริวเกิดจาก การออกกำลังกายหนักหรือไม่ การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม การใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป หรือการออกกำลังกายที่ใช้แรงมาก ติดต่อกันนาน ๆ อาจทำให้เกิดตะคริวได้ เช่น วิ่งทางไกล ว่ายน้ำ และเล่นกีฬา […]


ระบบประสาทและสมอง

Hydrocephalus คือ ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ไฮโดรเซฟาลัส หรือ Hydrocephalus คือ ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง เกิดจากความไม่สมดุลของปริมาณน้ำไขสันหลังที่ผลิตออกมาและการดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลให้มีน้ำไขสันหลังสะสมอยู่ในโพรงสมองมากเกินไป ซึ่งอาจสร้างแรงกดเนื้อเยื่อสมอง และอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ภาวะนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักเกิดขึ้นกับเด็กทารกและผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต จึงควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-bmi] Hydrocephalus คือ อะไร ไฮโดรเซฟาลัส หรือ Hydrocephalus คือ ภาวะที่ร่างกายมีน้ำไขสันหลังไปหล่อเลี้ยงในโพรงสมองมากเกินไป น้ำไขสันหลัง หรือที่เรียกว่าน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง (Cerebrospinal fluid) เป็นของเหลวที่สร้างในโพรงสมองและไหลเวียนอยู่ในโพรงสมองและไขกระดูกสันหลัง ที่ทำหน้าที่คอยรับแรงกระแทกและคอยพยุงสมองและไขสันหลังไม่ให้เคลื่อนที่ ลำเลียงสารอาหารไปยังสมองและนำของเสียไปกำจัด จากนั้นน้ำไขสันหลังจะดูดซึมกลับสู่กระแสเลือด โดยทั่วไปร่างกายจะผลิตน้ำไขสันหลังในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน และดูดซึมน้ำไขสันหลังกลับคืนในปริมาณที่เท่ากัน แต่หากผลิตน้ำไขสันหลังมากเกินไปหรือดูดน้ำไขสันหลังกลับได้น้อยลงน้อยลง อาจทำให้น้ำไปคั่งอยู่ในโพรงสมอง การสะสมของน้ำอาจทำให้เกิดแรงดันในสมองโพรงสมองขยายตัวและกดทับสมองซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของสมองในหลายส่วนและอาจทำให้ศีรษะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ Hydrocephalus เกิดจากอะไร สาเหตุของ Hydrocephalus หรือภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองแต่ละประเภท อาจมีดังนี้ สาเหตุของภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองแต่กำเนิด (Congenital Hydrocephalus) เช่น โรคสไปนา ไบฟิดา (Spina bifida) เป็นความบกพร่องของกระดูกสันหลังและไขสันหลัง และโรคเกี่ยวกับความบกพร่องของท่อประสาท (Neural tube defects) ภาวะท่อระบายน้ำตีบ (Aqueductal stenosis) เป็นการตีบตันของช่องระหว่างโพรงสมองส่วนที่ 3 […]


ระบบประสาทและสมอง

ปลายประสาทอักเสบ อาการ เป็นอย่างไร มีสาเหตุจากอะไร

ประสาทส่วนปลายเป็นเครือข่ายของเส้นประสาทที่เชื่อมต่อสมองและไขสันหลังกับกล้ามเนื้อ ผิวหนัง และอวัยวะภายในร่างกาย เมื่อประสาทส่วนนี้เสียหาย จะทำให้เกิดโรค ปลายประสาทอักเสบ อาการ ที่พบได้บ่อย คือ อาการปวด เสียวแปลบ สูญเสียความรู้สึกโดยเฉพาะบริเวณเท้า สูญเสียการทรงตัวหรือเดินเซ เป็นต้น โดยอาการที่พบอาจแตกต่างไปตามส่วนของร่างกายที่ปลายประสาทเสียหาย ในบางกรณี อาจมีอาการรุนแรง เช่น ปวดแสบปวดร้อน เป็นอัมพาต โดยทั่วไปอาการจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ก็อาจเป็น ๆ หาย ๆ ได้เช่นกัน [embed-health-tool-bmi] ปลายประสาทอักเสบ คือ อะไร ปลายประสาทอักเสบ คือ ความเสียหายของเส้นประสาทบริเวณประสาทส่วนปลาย ซึ่งเป็นเครือข่ายของเส้นประสาทที่ซับซ้อน ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากสมองและไขสันหลังซึ่งเป็นตำแหน่งของระบบประสาทส่วนกลางไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เส้นประสาทส่วนปลายเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับเดอร์มาโทม (Dermatomes) หรือแนวเส้นประสาทรับความรู้สึก ซึ่งเป็นผิวหนังที่เชื่อมต่อกับเส้นประสาทไขสันหลังและเรียงตัวกันเป็นเส้นยาวอยู่ในร่างกาย ตามปกติแล้วความเสียหายของปลายประสาทจะส่งผลกระทบต่อเดอร์มาโทมส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วน และจะไปขัดขวางการสื่อสารระหว่างสมองกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จนการทำงานของร่างกายเฉพาะส่วนเสียหาย อาจทำให้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลดลง ประสาทรับความรู้สึกที่แขนขาผิดปกติ มีอาการปวดตามตัว เป็นต้น สาเหตุของโรคปลายประสาทอักเสบ  สาเหตุของโรคปลายประสาทอักเสบ อาจแบ่งตามชนิดของโรคได้ ดังนี้ 1. โรคปลายประสาทอักเสบจากโรคทางพันธุกรรม (ฮีเรดดิทารี เพอริฟเฟอเริล นิวรอพพะธี หรือ […]


ระบบประสาทและสมอง

ขาชาข้างเดียว เกิดจากอะไร และวิธีการรักษา

ผู้ที่มีอาการชาอาจมีความสงสัยว่า ขาชาข้างเดียว เกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาหรือวิธีป้องกันอย่างไร โดยทั่วไปอาการขาชาข้างเดียวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของสมองและระบบประสาท เนื่องจากความเสียหาย การกระทบกระเทือน หรือเส้นประสาทถูกกดทับ การรักษาอย่างเหมาะสมและการดูแลสุขภาพตัวเองอยู่เสมออาจเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันอาการขาชาข้างเดียวได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ขาชาข้างเดียว เกิดจากอะไร อาการขาชาข้างเดียวอาจเกิดจากความเสียหาย การกระทบกระเทือน หรือเส้นประสาทถูกกดทับ รวมถึงสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ภาวะทางสมองและระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient Ischemic Attack หรือ TIA) ไขสันหลังอักเสบ (Transverse Myelitis) ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) เนื้องอกประสาทหู (Acoustic Neuroma) โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated Disc) โรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน เส้นเลือดตีบ กลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren's Syndrome) โรคเรเนาด์ (Raynaud Disease) พอร์ไฟเรีย (Porphyria) โรคแฟเบร […]


ระบบประสาทและสมอง

IICP คือ อะไร อาการ การรักษาและการป้องกัน

IICP คือ ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased Intracranial Pressure) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหัวรุนแรง และไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการกินยาหรือนอนหลับ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นเมื่อกะโหลกเต็มไปด้วยของเหลวส่วนเกิน จนสร้างแรงกดดันภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ IICP คือ อะไร ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง หรือ IICP คือ ภาวะทางการแพทย์ที่เป็นอันตราย ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บบริเวณสมองและบริเวณอื่น ๆ ที่ทำให้ความดันศีรษะเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน อาเจียนและอ่อนแรง นอกจากนี้ แรงดันที่เพิ่มขึ้นยังอาจทำร้ายสมองและไขสันหลังได้อีกด้วย อาการ อาการของ IICP อาการภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงที่อาจพบได้บ่อย มีดังนี้ ปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน รู้สึกตื่นตัวน้อยกว่าปกติ อาเจียน มีปัญหาในการเคลื่อนไหวหรือการพูดคุย ตื่นตัวน้อยลง อ่อนแรง ขาดพลังงาน หรือง่วงนอนตลอดเวลา หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นร่วมกับอาการปวดหัวควรเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการ สาเหตุ สาเหตุของ IICP สาเหตุของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงที่อาจพบได้บ่อย คือ การบาดเจ็บที่สมองหรือกะโหลกศีรษะ เนื่องจากการบาดเจ็บอาจทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออกหรือเกิดอาการบวมภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งอาการบวมหรือปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นภายในกะโหลกศีรษะอาจทำให้เกิดแรงดันที่เป็นอันตราย และอาจสร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อสมองหรือกระดูกสันหลังได้ นอกจากนี้ โรคหลอดเลือดสมองยังอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมองอาจทำให้หลอดเลือดในสมองแตก ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปทั่วสมองจนเกิดความดันได้ สำหรับสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง อาจมีดังนี้ น้ำส่วนเกินในไขสันหลัง โรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysm) เนื้องอกในสมอง ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อ […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ไมเกรนเกิดจาก อะไร และบรรเทาอาการได้อย่างไร

ไมเกรน (Migraines) คือ อาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยมักปวดศีรษะข้างเดียว หรือเริ่มจากปวดศีรษะข้างเดียวก่อนจะปวดศีรษะทั้งสองข้างอย่างรุนแรง อาจเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้งหรือเกิดขึ้นแทบทุกวัน สาเหตุที่ทำให้เกิดไมเกรนยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เป็นไปได้ว่า ไมเกรนเกิดจาก ความผิดปกติของระดับสารเคมีในสมองที่ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดและเส้นประสาทในสมอง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายนอกอีกหลายปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้ เช่น ความเครียด ความร้อน สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง กลิ่นแรง ๆ แสงสว่างที่จ้าเกินไป การพักผ่อนไม่เพียงพอ ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในเพศหญิง การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน การไม่ได้ดื่มกาแฟในคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ การสูบบุหรี่ ทั้งนี้ การปวดไมเกรนอาจรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ จึงควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ไมเกรนเกิดจาก อะไร ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า ไมเกรนเกิดจาก สาเหตุใด แต่อาจเกิดจากเซลล์ประสาททำงานผิดปกติและส่งสัญญาณไปกระตุ้นเส้นประสาทไตรเจมินัล (Trigeminal nerve) ให้เกิดความรู้สึกบริเวณศีรษะและใบหน้า ส่งผลให้ร่างกายปล่อยสารเคมีอย่างเซโรโทนิน (Serotonin) และสาร Calcitonin gene-related peptide (CGRP) ซึ่งเป็นนิวโรเปปไทด์ชนิดหนึ่งในร่างกายโดยสาร CGRP จะทำให้หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองบวม จากนั้นสารสื่อประสาทในสมองจะทำให้เกิดการอักเสบและความรู้สึกเจ็บปวด ปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระตุ้นให้เกิดไมเกรน อาจมีดังนี้ พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นไมเกรน อาจเสี่ยงเกิดไมเกรนได้มากกว่าคนทั่วไป เพศ เพศหญิงเสี่ยงเป็นไมเกรนมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้หญิงวัย 15-55 […]


ระบบประสาทและสมอง

ปวดขมับสองข้าง เกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไร

อาการปวดศีรษะเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ทั่วไป และสามารถเกิดได้กับทุกคน คนส่วนใหญ่จะมีอาการปวดศีรษะเล็กน้อยบ้างเป็นครั้งคราว ลักษณะของอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุด คือ อาการ ปวดขมับสองข้าง ซึ่งมักเกิดจากความตึงเครียด และอาจมีอาการเกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือเกิดขึ้นเป็นประจำทุกวันได้ ทั้งนี้ การรับประทานยาบรรเทาปวด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทำกิจกรรมคลายเครียด อาจช่วยบรรเทาอาการปวดขมับสองข้างได้ [embed-health-tool-bmi] ปวดขมับสองข้าง เกิดจากอะไร สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอาการ ปวดขมับสองข้าง หรือ อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension headaches) ยังไม่แน่ชัด แต่อาจเป็นผลมาจากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม อาการปวดขมับสองข้างมักเกิดขึ้นเมื่อเครียด โกรธ หรือเหนื่อยล้า ทั้งยังอาจเกิดจากการนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสม การใช้สายตาเป็นเวลานาน การอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง ภาวะซึมเศร้า การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การขาดธาตุเหล็ก การขาดน้ำ การเป็นไข้หวัดหรือเป็นไซนัสอักเสบ เป็นต้น อาการปวดศีรษะในลักษณะปวดขมับสองข้าง เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและคอหดตัวจนเกิดการบีบรัดบริเวณขมับทั้งสองข้าง ทำให้มีอาการปวดบริเวณขมับ หรือปวดรอบศีรษะ และอาการปวดอาจลามไปที่หลังศีรษะและคอ ทำให้รู้สึกตึงและปวดกล้ามเนื้อคอ ไหล่ และกราม มักเกิดขึ้นในช่วงสาย ๆ ของวัน ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง ไม่ค่อยรุนแรงมาก เป็นการปวดแบบตื้อ ๆ ไม่มีจังหวะ หรือปวดตุบ ๆ อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัวที่ทำให้ปวดขมับสองข้าง อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน