ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในร่างกาย เมื่อระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้อย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองและระบบประสาท รวมถึงการป้องกันและการรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระบบประสาทและสมอง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

หมวดหมู่ ระบบประสาทและสมอง เพิ่มเติม

โรคลมชักและอาการชัก

สำรวจ ระบบประสาทและสมอง

ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย

กลุ่มอาการทีโอเอส (Thoracic Outlet Syndrome)

กลุ่มอาการทีโอเอส (Thoracic Outlet Syndrome) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดและเส้นประสาทในช่องว่างระหว่างกระดูกและซี่โครงแรกของคุณ (เส้นประสาทบริเวณระหว่างฐานคอกับรักแร้ไปจนถึงด้านหน้าอก) เกิดการกดทับกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดไหล่ และคอ มีอาการชาที่นิ้วมือ คำจำกัดความกลุ่มอาการทีโอเอส (Thoracic Outlet Syndrome) คืออะไร กลุ่มอาการทีโอเอส (Thoracic Outlet Syndrome) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดและเส้นประสาทในช่องว่างระหว่างกระดูกและซี่โครงแรกของคุณ (เส้นประสาทบริเวณระหว่างฐานคอกับรักแร้ไปจนถึงด้านหน้าอก)  เกิดการกดทับกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดไหล่ และคอ มีอาการชาที่นิ้วมือ พบได้บ่อยเพียงใด กลุ่มอาการทีโอเอสมักพบได้ในเพศหญิงอายุ 20-40 ปี อาการกลุ่มอาการทีโอเอส อาการทีโอเอสเกิดจากการกดทับหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ดังต่อไปนี้ ปวดบริเวณคอและไหล่ อาการชาบริเวณปลายแขนและนิ้วมือ มือและแขนมีอาการอ่อนล้า อาการบวมบริเวณแขน มือ และแขนเย็นผิดปกติ  ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของกลุ่มอาการทีโอเอส โดยทั่วไปสาเหตุของกลุ่มอาการทีโอเอสนั้นคือการบีบรัดของเส้นประสาทหรือหลอดเลือด ซึ่งสาเหตุของการถูกบีบรัดจะแตกต่างกันออกไป ดังนี้ ความผิดปกติทางร่างกายแต่กำเนิด  เช่น การมีซี่โครงในกระดูกงอกออกมาแต่กำเนิด การได้รับบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ที่อาจทำให้เกิดการกระทบเทือนจิตใจจนทำให้เส้นประสาทเกิดการบีบรัด การทำกิจกรรมเดิม ๆซ้ำ ๆ  เช่น การนั่งใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ รวมถึงนักกีฬาที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ เช่น นักว่ายน้ำ นักเบสบอล การตั้งครรภ์ กลุ่มอาการทีโอเอสอาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ครั้งแรก เนื่องจากข้อต่อคลายระหว่างตั้งครรภ์ ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการทีโอเอส เพศ เพศหญิงมีปัจจัยเสี่ยงต่อกลุ่มอาการทีโอเอสมากกว่าเพศชาย อายุ โดยส่วนใหญ่เพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดหัวไมเกรนมากจนทนไม่ไหว ลองวิธี นวดแก้ปวดหัวไมเกรน ด้วยตัวเอง กันดีกว่า

ไมเกรน (Migraine) อาการปวดหัวที่รุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จัดเป็นปัญหาสำคัญที่สามารถพบได้บ่อยโดยเฉพาะกับคนวัยทำงาน ซึ่งไมเกรนอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งหลายคนมักจะต้องรับประทานยา หรือวางงานทุกอย่างลงแล้วพักผ่อน เพื่อให้อาการปวดหัวทุเลาลง แต่วิธีการเหล่านี้ต่างก็กินเวลาไม่น้อย วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำวิธีการ นวดแก้ปวดหัวไมเกรน ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองกันค่ะ [embed-health-tool-bmi] การนวด ส่งผลอย่างไรต่ออาการปวดหัวไมเกรน ดร. ดอว์น บุส (Dawn Buse) รองศาสตราจารย์จากคณะแพทยศาตร์ วิชาประสาทวิทยา แห่งวิทยาลัยการแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein College of Medicine) ได้กล่าวไว้ว่า ในปัจจุบันนี้ งานวิจัยและข้อมูลเกี่ยวกับการนวดและอาการปวดหัวไมเกรนนั้นยังคงมีอยู่อย่างจำกัด แต่ก็แสดงให้เห็นถึงข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้น่าพึงพอใจ ในปี 2006 งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ได้ทำการทดลองโดยการให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวไมเกรนสุ่มเข้ารับการบำบัดด้วยการนวด พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการนวดบำบัดเพื่อลดอาการปวดหัวไมเกรน จะมีอาการไมเกรนกำเริบน้อยกว่า และสามารถนอนหลับได้ดีกว่าปกติ โดยงานวิจัยนั้นได้พบว่า การนวดสามารถช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนได้อย่างมีนัยสำคัญ วิธีการ นวดแก้ปวดหัวไมเกรน ด้วยตัวเอง นวดแก้ไมเกรน ในบริเวณใบหน้า เริ่มจากใช้นิ้วโป้ง กดลงไปที่โหนกแก้ม ใกล้กับบริเวณหูทั้งสองข้าง ใช้นิ้วชี้ […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

แนวทาง การบำบัดไมเกรน ด้วยแสงสีเขียว แนวทางใหม่ที่อาจช่วยบำบัดไมเกรนได้

อาการปวดหัวไมเกรน เป็นอาการปวดหัวที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยจะมีอาการปวดแบบตุบๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอาการปวดแค่ข้างเดียว แค่ก็สามารถปวด 2 ข้างได้เช่นกัน ในตอนแรกอาการปวดจะยังปวดเพียงเล็กน้อย และจะค่อย ๆ มีอาการปวดรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่จากการวิจัยพบว่าแสงสามารถรักษาอาการปวดหัวไมเกรนได้ โดยเฉพาะแสงสีเขียว วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การบำบัดไมเกรน ด้วยแสงสีเขียว มาให้อ่านกันค่ะ แสงสีเขียวคืออะไร แสงทั้งหมดจะมีการสร้างสัญญาณไฟฟ้าในเรตินา ด้านหลังดวงตาและเยื่อหุ้มสมอง ซึ่งแสงสีแดงและแสงสีฟ้าเป็นแสงที่สร้างสัญญาณที่ใหญ่ที่สุด ส่วนแสงสีเขียวนั้นจะสร้างสัญญาณที่เล็กที่สุด นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่แสงสีเขียวไม่รบกวนผู้ที่มีอาการกลัวแสง  และช่วยให้บางคนอาการไมเกรนดีขึ้น การบำบัดไม่เกรน ด้วยแสงสีเขียวนั้นเป็นมากกว่าการใช้หลอดไฟสีเขียวหรือแสงสีเขียว แต่จะเป็นการใช้แสงสีเขียว แถบสีเขียวที่มีความเจาะจงและแคบจากหลอดไฟแบบพิเศษ ซึ่งขณะที่ใช้แสงสีเขียวจะต้องมีการกรองแสงอื่นๆ ทั้งหมด การบำบัดไมเกรน ด้วยแสงสีเขียว ทำได้อย่างไร จากการศึกษา ผู้ที่เข้ารับการทดสอบการบำบัดด้วยไมเกรนนั้น จะต้องนั่งอยู่ในห้องมืด ๆ ที่มีแสงสีเขียวเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมงต่อวันในทุก ๆ วัน ผู้ที่เข้าร่วมการศึกษานั้นสามารถทำกิจกรรมใด ๆ ก็ได้ในนั้น แต่ห้ามใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดแสงสีอื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ แทปเล็ต ที่สำคัญผู้ที่เข้าร่วมการทดลองนั้นไม่ควรมองเข้าไปที่แหล่งกำเนิดแสงโดยตรง และควรพยายามลืมตาอยู่ตลอดเวลา ไม่นอนหลับ แต่สามารถเลือกทำกิจกรรมอื่นๆ […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

แพทย์เผย! ปิดปาก-ปิดจมูก ขณะจาม อาจเสี่ยง โรคลมเข้าสมอง

นายแพทย์. มนูญ ลีเชวงวงศ์ อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ  กล่าวถึง คนไทยที่ป่วยเป็น “โรคลมเข้าสมอง” หลังจากเอามือปิดปาก-ปิดจมูกขณะจาม ชี้เป็นคนแรกของโลกที่เกิดขึ้น 2 ครั้ง ในช่วงเวลาห่างกัน 3 ปี วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำรายละเอียดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ มาฝากทุกคนกันค่ะ จะมีรายละเอียดอะไรบ้างนั้น ติดตามอ่านในบทความนี้เลย โรคลมเข้าสมอง (Pneumocephalus) คืออะไร โรคลมเข้าสมอง (Pneumocephalus) เกิดขึ้นจากการที่มีอากาศเข้าไปภายในสมองแล้วค้างอยู่ภายในสมอง โดยมีสาเหตุเกิดจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น หลังจากการผ่าตัดกะโหลกศีรษะ อุบัติเหตุที่ศีรษะหรือที่เกี่ยวข้องกับฐานกะโหลกศีรษะ เนื้องอกฐานกะโหลกศีรษะ เป็นต้น การทำซีที สแกน (Computerized Tomography Scan) จะช่วยให้เราสามารถตรวจหาอากาศที่ถูกเก็บไว้ในสมอง จะเห็นถึงอากาศที่ถูกอัดอยู่ในสมองส่วนหน้า เป็นสัญลักษณ์ของภูเขาไฟฟูจิ โดยชื่อนี้ได้มาจากความคล้ายคลึงของสมองที่เหมือนกับภูเขาไฟฟูจิ ในประเทศญี่ปุ่น อาการของผู้ป่วยโรคลมเข้าสมอง นายแพทย์ Markham ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านศัลยกรรมระบบประสาท มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เมืองพาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการสำรวจผู้ป่วย 300 ราย พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคลมเข้าสมอง จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน อาการชัก หมอมนูญ […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

สาวผมยาวแสนเศร้าใจ ไม่รู้ทำไม มัดผมทีไร ปวดหัวทุกที

หนึ่งในปัญหาที่สาว ๆ ที่ไว้ผมยาวหลายคนอาจะเคยเจอ คงหนีไม่พ้นอาการปวดหัวจากการมัดผม โดยเฉพาะหากเรามัดผมตึง ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ ก็จะยิ่งเพิ่มความปวดหัวไปขึ้นไปอีก อาการ มัดผมแล้วปวดหัว นี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นเพียงแค่อุปาทานหมู่ที่เราคิดกันไปเอง หาคำตอบได้จาก Hello คุณหมอ [embed-health-tool-bmi] อาการ มัดผมแล้วปวดหัว มีจริง หรือคิดไปเอง งานวิจัยเมื่อปี 2004 ได้ทำการสำรวจผู้หญิงที่มัดผมเป็นประจำเป็นจำนวน 93 คน พบว่ามี 50 คนในจำนวนนั้นที่มีอาการปวดหัวจากการมัดผม โดยที่อาการปวดนั้นจะเริ่มจากบริเวณที่มัดผม ก่อนที่อาการปวดจะกระจายไปยังหน้าผาก กระหม่อม แล้วก็คอ เวด คูเปอร์ D.O. (Wade Cooper, D.O.) นักประสาทวิทยาการปวดหัว แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้กล่าวว่า “อาการปวดหัวจากการมัดผมนั้น เป็นอาการปวดหัวเนื่องจากสิ่งกระตุ้นภายนอก อยู่ในกลุ่มเดียวกับอาการ Allodynia” โดยอาการปวดแบบ Allodynia หมายถึง ความผิดปกติหรือความปวด ที่เกิดจากการกระตุ้นโดยสิ่งที่จะไม่ทำให้เกิดความปวดในภาวะปกติ และเมื่อมีแรงกระตุ้นนั้นมาถึงสมอง อาการปวดก็จะเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ควรจะเป็น ตามปกติแล้วการมัดผมนั้นไม่ควรจะทำให้เกิดอาการปวดใด ๆ แต่อาการนี้กลับพบได้มาก โดยเฉพาะกับผู้ที่มัดผมแบบแน่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถพบได้กับผู้ที่สวมหมวก หรือใส่หมวกกันน็อคได้เช่นกัน ใครบ้างที่จะมีโอกาสเกิดอาการนี้ได้มากกว่าปกติ อาการนี้เป็นอาการที่พบได้มาก […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

7 รูปแบบ ของ อาการปวดหัวยอดฮิต ที่คนส่วนใหญ่นิยมเป็น

ปวดศีรษะจนไม่อันเป็นทำอะไร ทั้งรบกวนการพักผ่อนระหว่างวัน อยากจะหลับตาให้สนิทก็ยังยาก แถมยังไม่รู้ว่าตนเองปวดหัวชนิดใดอีก ทำได้แค่ภาวนาให้อาการนี้บรรเทาลงในคืนเร็ววัน แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อทุกคนได้รู้จักและทำความเข้าใจกับ 7 รูปแบบของ อาการปวดหัวยอดฮิต ที่ Hello คุณหมอได้นำ สาเหตุเบื้องต้น และวิธีรักษามาให้ทุกคนได้ทราบกันแล้ว ในบทความนี้ รู้จักกับ 7 รูปแบบ ของ อาการปวดหัวยอดฮิต กันเถอะ ไมเกรน เป็นการกระตุ้นอย่างรุนแรงภายในส่วนที่ลึกของศีรษะคุณ เป็นความเจ็บปวดที่อยู่ได้ยาวนาน และติดต่อกันหลายวัน มักปวดด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว มีความรู้สึกที่ไวต่อการรับกลิ่น และแสงรอบตัว รวมถึงอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนด้วยเล็กน้อย สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ สาเหตุที่ทำให้ไมเกรน ความเครียด การถูกรบกวนการนอนหลับ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ผลกระทบจากยา หรืออาหารบางชนิด วิธีรักษาอาการไมเกรน ยาที่จำหน่ายตามเคาน์เตอร์ร้านขายยา หรือได้รับการอนุญาตจากแพทย์ และเภสัชกร เช่น ไอบูโพนเฟน (Ibuprofen) แอสไพริน (Aspirin) โทพิราเมท (Topiramate) โพรพราโนลอล (Propranolol) และ อะมิทริปไทลีน ( Amitriptyline) พักผ่อนในที่เงียบสงบไร้เสียงดังรบกวน นำเจลเย็น หรือน้ำแข็งประกบบริเวณหน้าผาก ดื่มน้ำให้พอเหมาะต่อวัน หากรักษาตามวิธีข้างต้นแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น หรือมากกว่า 15 วัน ควรเข้าขอรับคำแนะนำ และการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง View this post on […]


โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส

สัญญาณเตือน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ภัยร้ายวัยทำงาน

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและไขสันหลัง ซึ่งจะส่งผลต่อร่างกายต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการมองเห็น อาการชาที่แขนและขา นอกจากนี้ยังมี สัญญาณเตือน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อื่นๆ อีกมากมาย วันนี้ Hello คุณหมอ มีสัญญาณเตือนอื่นๆ ที่อาจกำลังบ่งบอกว่าคุณอาจเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคืออะไร โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis; MS) เป็นโรคที่อาจทำให้สมองพิการและส่งผลกระทบต่อไขสันหลัง (ระบบประสาทส่วนกลาง) ได้ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันจะโจมตีปลอกหุ้ม ที่มีหน้าที่ในการหุ้มเส้นใยประสาท เมื่อเส้นใยประสาทถูกโจมตี ทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารระหว่างสมองและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จนส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อประสาท อาการของโรคปลอกประสาทอักเสบนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปริมาณ ความเสียหายของเส้นประสาท และเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ สำหรับบางคนที่มีอาการของโรคที่รุนแรงมากๆ นั้นอาจถึงขั้นสูญเสียความสามารถในการเดินได้เลยทีเดียว สัญญาณเตือน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคที่มีอาการและสัญญาณเตือนที่หลากหลาย เพราะอาการนั้นจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณ ความเสียหายของเส้นประสาท และเส้นประสาทที่ได้รับผลกระบ มีปัญหาในการมองเห็น ปัญหาด้านการมองเห็น เป็นหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เพราะการอักเสบที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทตาและขัดขวางการทำงานของดวงตา ทำให้เกิดปัญหาในการมองเห็น ซึ่งอาจทำให้เห็นภาพซ้อน สำหรับบางคนที่อาหารหนักมากๆ ก็อาจจะสูญเสียการมองเห็นได้เลย คุณอาจไม่สังเกตเห็นปัญหาการมองเห็นในทันที เนื่องจากการเสื่อมของการมองเห็นที่ชัดเจนอาจช้า ความเจ็บปวดเมื่อคุณเงยหน้าขึ้นหรือไปด้านใดด้านหนึ่ง นอกจากนี้ยังสามารถมาพร้อมกับการสูญเสียการมองเห็น วิธีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง มีหลากหลายวิธี รู้สึกเสียวแปลบปลาบและชา โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อเส้นประสาทและไขสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทต่างๆ ของร่างกาย […]


โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส

ดนตรีบำบัด โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคที่มีอาการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเคลื่อนไหว ความจำ ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยในบางราย แต่การใช้ดนตรีบำบัดนั้นช่วยให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว คำพูดภาษาและการรับรู้ที่ดีขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ดนตรีบำบัด โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง มาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง คืออะไร โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis หรือ MS) เป็นโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันจะทำลาย ไมอิลีน ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยป้องกัน เส้นใยประสาท ส่วนใหญ่แล้วโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มาอายุระหว่าง 20-40 ปี ผู้ที่ป่วยเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง จะมีอาการหลากหลาย เนื่องจากอาการของโรคจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน และอาการอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลาที่เกิดขึ้น แต่อาการที่มักพบได้ในโรคนี้คือ อาการเหนื่อยล้า ตามัว มองภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน กลืนลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน แขนขาอ่อนแรง หากไม่รีบรักษา หรือไม่รีบรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็อาจจะทำให้พิการได้ ดนตรีบำบัด โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ได้อย่างไร คุณหมอ Victoria Leavitt แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา กล่าวว่า การใช้ดนตรีบำบัดนั้นมีประโยชน์หลากหลายด้าน เพราะว่าดนตรีเป็นกิจกรรมที่ทำให้ช่วยส่งเสริมทักษะทางความคิดสร้างสรรค์ การมีสมาธิ เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีส่วนช่วยในการแยกประสาทสัมผัส และยังช่วยในกระบวนการประมวลผลด้วย ที่สำคัญการใช้ดนตรีบำบัดควบคู่กับการรักษาโรคช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสนุก มีส่วนร่วมไปกับการรักษา Caitlin Hyatt นักดนตรีบำบัดโรคระบบประสาท กล่าวว่า มีสิ่งสำคัญ 3 สิ่งที่ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง คือ […]


ความผิดปกติทางสมองและกระดูกสันหลัง

สมองบกพร่องระดับเบา (Mild cognitive impairment)

คำจำกัดความสมองบกพร่องระดับเบา คืออะไร สมองบกพร่องระดับเบา (Mild Cognitive Impairment – MCI) เป็นระยะเริ่มต้นระหว่างอาการเสื่อมสภาพทางสมองเมื่ออายุเพิ่มขึ้นและอาการที่รุนแรงมากขึ้นของโรคสมองเสื่อม อาการนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาทางความจำ ภาษา ความคิด และการตัดสินใจ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากกว่าช่วงอายุปกติ หากคุณมีภาวะสมองบกพร่องระดับเบา คุณอาจตระหนักได้ว่าความทรงจำหรือสภาพจิตใจมีการถดถอย ครอบครัวและเพื่อนที่ใกล้ชิดอาจสังเกตได้ถึงการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ โดยทั่วไปไม่ได้รุนแรงพอที่จะปรากฏขึ้นชัดในชีวิตประจำวันหรือกิจวัตรทั่วไป ภาวะสมองบกพร่องระดับเบา อาจเพิ่มความเสี่ยงของอาการสมองเสื่อมได้ในอนาคต ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคอัลไซเมอร์หรืออาการทางประสาทอื่นๆ แต่ในบางคนที่มีภาวะสมองบกพร่องระดับเบา ไม่ได้มีอาการทรุดลง และบางคนมีอาการดีขึ้น สมองบกพร่องระดับเบา พบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะสมองบกพร่องระดับเบาเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป โปรดปรึกษากับหมอของคุณ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของภาวะสมองบกพร่องระดับเบา อาการที่พบได้ทั่วไปของภาวะสมองบกพร่องระดับเบา ได้แก่ คุณลืมสิ่งของบ่อยครั้ง คุณลืมเหตุการณ์สำคัญ อย่างเช่น การนัดหมายหรือการพบปะในสังคม คุณลืมความคิดที่อยู่ในหัวหรือลืมหัวข้อสนทนา ชื่อหนังสือหรือชื่อหนัง คุณรู้สึกกดดันมากขึ้นเมื่อคุณต้องทำการตัดสินใจ วางแผนการทำงานให้เสร็จ หรืออธิบายคำแนะนำต่างๆ คุณเริ่มมีปัญหาในการหาเส้นทางในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย คุณกลายเป็นคนใจร้อนมากขึ้นหรือแสดงถึงการติดสินใจพลาดบ่อยครั้ง ครอบครัวหรือเพื่อนของคุณสังเกตได้ถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ โรคซึมเศร้า มีความฉุนเฉียวและรุนแรง วิตกกังวล  ไร้ความรู้สึก อาจมีอาการบางประเภทที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ข้างบน ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาหมอของคุณ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการอะไรก็ตามที่เหมือนอาการตามด้านบน หรือ หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษากับหมอของคุณ ร่างกายของทุกคนแสดงออกแตกต่างกันไป มันจึงดีที่สุดเสมอในการปรึกษากับหมอของคุณ ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของภาวะสมองบกพร่องระดับเบา ภาวะสมองบกพร่องระดับเบานั้นไม่มีสาเหตุและอาการผิดปกติที่โดดเด่น อาการของภาวะสมองบกพร่องระดับเบา อาจคงที่เป็นเวลานานหลายปี และพัฒนาไปสู่โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อมประเภทอื่น หรืออาการดีขึ้นเมื่อผ่านไปเป็นเวลานาน มีหลักฐานชี้ชัดถึงภาวะสมองบกพร่องระดับเบาที่เพิ่มระดับของการเปลี่ยนทางสมองแบบเดิมอยู่บ่อยครั้ง ประเภทเดียวกันกับที่พบในโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมประเภทอื่น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้บางส่วน ได้ถูกระบุไว้ในงานวิจัยศพของผู้ที่มีภาวะสมองบกพร่องระดับเบา การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ได้แก่ ความผิดปกติของก้อนโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ (beta-amyloid protein) และก้อนโปรตีนขนาดเล็กเทา (tau) ซึ่งเป็นลักษณะของโปรตีนในโรคอัลไซเมอร์ (tangles) เลวี […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

เลือดออกในสมอง (Brain Hemorrhage)

คำจำกัดความเลือดออกในสมอง คืออะไร เลือดออกในสมอง หรือภาวะตกเลือดในสมอง เป็นภาวะหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเลือดออกในสมองเกิดจากการที่มีเลือดไหลเข้าสู่เนื้อสมองเฉียบพลัน ทำให้สมองเกิดความเสียหาย เลือดนั้นจะทำให้เนื้อเยื่อในสมองบวม เรียกว่าภาวะสมองบวมน้ำ และเลือดที่สะสมอาจจะรวมกันกลายเป็นก้อนเลือดในสมอง ส่งผลต่อการบีบจัวของเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ และทำให้เซลล์ในสมองเสียหายในที่สุด ภาวะนี้เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาทันที คนส่วนใหญ่ที่เกิดภาวะนี้ อาจจะเป็นอัมพาต แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจสามารถฟื้นตัวอย่างได้อย่างสมบูรณ์ เลือดออกในสมองพบบ่อยแค่ไหน ภาวะนี้สามารถเกิดกับคนทุกเพศทุกวัย โดยทั่วไปแล้วจะมีผลต่อเพศชายมากกว่าเพศหญิง สามารถป้องกันได้โดยลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของเลือดออกในสมอง อาการที่พบบ่อยในภาวะเลือดออกในสมองคือ: ปวดหัวอย่างรุนแรง แขนและขาอ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน เชื่องช้า พูดลำบากหรือมีปัญหาในการพูด การกลืนลำบาก การเขียนหรือการอ่านลำบาก มีปัญหาในการมองเห็นทั้งสองข้าง สูญเสียการทรงตัวและมีอาการวิงเวียน มีความเฉื่อยชา ง่วงนอนและเซื่องซึม หมดสติ มีความสับสน และมึนงง การรับรู้รสชาติลดลง อาจมีอาการบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น  โปรดปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ควรพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของเลือดออกในสมอง การบาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะเลือดออกในสมองสำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า50 ปี ความดันโลหิตสูง ภาวะเรื้อรังนี้สามารถเกิดเป็นช่วงเวลานาน หรือจากผนังหลอดเลือดที่อ่อนแอ ความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นสาเหตุสำคัญของอาการเลือดออกในสมอง หลอดเลือดโป่งพอง เกิดจากความอ่อนตัวของหลอดเลือดและมีการบวม ซึ่งสามารถแตกออกและมีเลือดออกในสมองที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดในสมอง ความผิดปกติของเส้นเลือด ความอ่อนแอของเส้นเลือดรอบๆ สมองอาจเกิดขึ้นได้และจะสามารถวินิจฉัยเมื่อมีอาการเท่านั้น อัมพฤกษ์ นี่คือความผิดปกติของผนังหลอดเลือดที่บางครั้งอาจเกิดขึ้นจากความชรา และความดันโลหิตสูง อาจทำให้เลือดออกเล็กน้อยที่ไม่สามารถสังเกตเห็น ก่อนที่มันจะรวมเป็นก้อนใหญ่ ความผิดปกติของเลือด และโรคโลหิตจางอาจทำให้ระดับเม็ดเลือดมีปริมาณลดลง โรคตับ ภาวะนี้อาจพบในการตกเลือดโดยทั่วไป เนื้องอกในสมอง ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของเลือดออกในสมอง มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับภาวะเลือดออกในสมองเช่น โรคหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง เพศ อาการเลือดออกในสมอง เกิดขึ้นบ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุ เลือดออกในสมองมักเกิดขึ้นในหมู่วัยรุ่นแอฟริกัน อเมริกา และญี่ปุ่น การวินิจฉัยและการรักษาโรคข้อมูลที่เผยแพร่นี้ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยเลือดออกในสมอง แพทย์ของคุณสามารถตัดสินใจได้ว่าบริเวณใดในสมองของคุณที่ได้รับผลกระทบตามอาการของคุณ โดยอาจใช้การทดสอบต่างๆ เช่น ซีทีสแกน ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นภายในของเลือดที่ออกหรือการสะสมของเลือด หรือ เอ็มอาร์ไอ ซึ่งอาจจะแสดงให้เห็นของการบวมในเส้นประสาทตาได้ การรักษาเลือดออกในสมอง การรักษาภาวะเลือดออกในสมองขึ้นอยู่กับสถานที่ สาเหตุ และบริเวณที่เลือดที่ออก อาจจำเป็นต้องผ่าตัด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน