ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในร่างกาย เมื่อระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้อย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองและระบบประสาท รวมถึงการป้องกันและการรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระบบประสาทและสมอง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

หมวดหมู่ ระบบประสาทและสมอง เพิ่มเติม

สำรวจ ระบบประสาทและสมอง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส

วิธีบรรเทาอาการปวด จาก อาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ แบบที่ไม่ต้องพึ่งการผ่าตัด

กลุ่มอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ นั้นเป็นภาวะที่ทำให้เราเกิดอาการมือไม้อ่อนแรง นิ้วกระตุก มือชา หรืออาจทำให้เรารู้สึกปวดเส้นประสาท จนไม่สามารถใช้งานมือข้างนั้นได้อย่างเต็มที่ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยจะมาแนะนำวิธีดีๆ ในการ ลดอาการปวดจากอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ มาให้คุณผู้อ่านกันค่ะ เทคนิคการ ลดอาการปวดจากอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ พักผ่อน การพักผ่อน และงดเว้นการเคลื่อนไหวในบริเวณมือข้างที่มีอาการ เป็นวิธีการที่ดีที่สุด ที่จะช่วยลดอาการปวดเส้นประสาท จากอาการเส้นประสาทกดทับที่มือได้ เพราะหากคุณยิ่งใช้มือข้างที่มีปัญหา ก็อาจจะยิ่งทำให้อาการอักเสบและบวมในบริเวณข้อมือนั้นยิ่งมีอาการรุนแรงขึ้นได้ หากคุณกลัวว่าตัวเองจะเผลอใช้ข้อมือที่มีอาการนั้น อาจใช้วิธีการพันผ้าพันแผลในข้อมือข้างที่มีอาการ เพื่อตรึงให้ข้อมืออยู่นิ่งได้มากขึ้น นอกจากนี้แพทย์ก็อาจจะใช้วิธีการใส่เฝือกที่ข้อมือ เพื่อช่วยตรึงข้อมือให้อยู่นิ่ง และลดโอกาสการเคลื่อนไหวของข้อมือได้มากยิ่งขึ้น เปลี่ยนท่า ปัญหาการกดทับของเส้นประสาทที่ข้อมือนั้น มักจะมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนไหวข้อมือด้วยท่าเดิมซ้ำๆ หรือมาจากการวางมือทำงานในลักษณะที่ไม่เหมาะสม เช่น การวางมือขณะพิมพ์งาน วาดรูป หรือเล่นเปียโน การเคลื่อนไหวข้อมือในลักษณะเดิมซ้ำๆ นั้นจะทำให้เกิดความตึงเครียดต่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อในบริเวณมือ และส่งผลให้เกิดการอักเสบ บวม และเส้นประสาทกดทับได้ ลองเปลี่ยนท่าทางการใช้ข้อมือดู โดยอาจจะเริ่มจากการพักการใช้มือ มายืดเส้นยืดสายเล็กน้อย ทุกๆ 30 นาที และพยายามจัดวางมือให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม เป็นธรรมชาติ ไม่ยกสูงหรือต่ำจนเกินไป หากคุณต้องพิมพ์งานหรือเขียนงานเป็นเวลานานๆ อาจลองปรับท่านั่งให้ถูกต้อง และหาอะไรนุ่มๆ มารองในบริเวณข้อมือ จะช่วยให้มืออยู่ในท่าที่เหมาะสม และช่วยให้อาการปวดลดน้อยลงได้ เลือกรับประทานอาหาร การเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดจากอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือได้เช่นกัน โดยอาหารที่คุณควรเลือกรับประทานมีดังนี้ พริกหยวกแดง หนึ่งในปัญหาจากอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือนั้น คืออาการอักเสบและอาการบวมที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อมือ […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

แมกนีเซียมบรรเทาอาการไมเกรน ได้จริงหรือไม่

เมื่ออาการปวดหัวไมเกรน เข้าโจมตีคุณเมื่อไร อาการปวดนั้นก็จะทำให้คุณทุกข์ทรมาน หลายๆ คนก็อาจจะหาวิธีในการบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนว่าควรทำอย่างไร และแน่นอนว่าการใช้ แมกนีเซียมบรรเทาอาการไมเกรน อาจจะผ่านตาหลาย ๆ คนมาบ้างแล้ว แต่หลายคนคงมีคำถามในใจว่า แล้วแมกนีเซียมนั้นมีส่วนช่วยในการป้องกันและบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้จริงหรือไม่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่มีความน่าสนใจนี้มาให้อ่านกันแล้วค่ะ ประเภทของแมกนีเซียม แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยในการสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้แมกนีเซียมยังมีบทบาทและประโยชน์อื่นๆ ต่อร่างกายอีกด้วย แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีหลายประเภท ดังนี้ แมกนีเซียมออกไซด์ (magnesium oxide) เป็นแมกนีเซียมในปริมาณสูง มักใช้ในการรักษาไมเกรน และใช้เพื่อเสริมในผู้ที่มีภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ แมกนีเซียมซัลเฟต (magnesium sulfate) เป็นอาหารเสริมที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ แมกนีเซียมคาร์บอเนต (magnesium carbonate) เป็นเกลืออนินทรีย์ที่มีระดับแมกนีเซียมสูง ส่วนใหญ่แล้วต้องผ่านกระบวนการเผาเพื่อให้ได้ แมกนีเซียมออกไซด์ แมกนีเซียมคลอไรด์ (magnesium chloride) เป็นสารตั้งต้นที่มักจะนำมาผลิตสารประกอบแมกนีเซียมอื่น ๆ แมกนีเซียมซิเตรต (magnesium citrate) เป็นแร่ธาตุที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ในปริมาณมาก มักใช้เพื่อกระตุ้นในการขับถ่าย มีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อน ๆ แมกนีเซียมบรรเทาอาการไมเกรน ได้อย่างไร จากการวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีปัญหาไมเกรนนั้นมีระดับแมกนีเซียมในร่างกายที่ต่ำกว่าผู้ที่ไม่มีปัญหาไมเกรน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าการบริโภคแมกนีเซียมเป็นประจำนั้นมีส่วนช่วยลดความถี่ในการเกิดไมเกรนได้ถึงร้อยละ 41.6 นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการได้รับอาหารเสริมแมกนีเซียมมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดไมเกรนที่มาจากประจำเดือนได้อีกด้วย อาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม สำหรับผู้ที่มีปริมาณแมกนีเซียมต่ำ และต้องการเสริมแมกนีเซียมให้ร่างกาย อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่มีแมกนีเซียมอยู่ตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะพบแมกนีเซียมในผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักใบเขียวหนึ่งถ้วยให้แมกนีเซียมมากถึงร้อยละ 38-40 […]


ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย

ทำความรู้จัก อาการยึกยือ อวัยวะเคลื่อนไหวเองแบบไม่ได้ตั้งใจ

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ อาการยึกยือ อีกหนึ่งความผิดปกติทางระบบประสาท โดยมักเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยารักษาโรคจิตเภท  ส่งผลให้กล้ามเนื้อขยับเองโดยไม่สามารถควบคุมได้ เช่น นิ้วกระตุกเอง แขนสะบัดเองโดยไม่ตั้งใจ เป็นต้น ทำความรู้จัก อาการยึกยือ (Tardive Dyskinesia) อาการยึกยือ (Tardive Dyskinesia)  เกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยารักษาทางจิตเภท ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ตากระพริบเอง นิ้วกระตุก อย่างไรก็ตาม อาการยึกยือไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่ทานยารักษาโรคทางจิตเภท ดังนั้นหากคุณรับประทานยาทางจิตเภทและพบว่าตนเองมีอาการเสี่ยงต่อการเป็นอาการยึกยือควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม สาเหตุของอาการยึกยือ สาเหตุของอาการยึกยือ เกิดจากผลข้างเคียงของการรับประทานยาที่รักษาโรคทางจิตเภท โดยยาที่รักษาโรคจิตเภทจะไปยับยั้งการทำงานของสารโดพามีน (Dopamine)  (สารโดพามีนมีหน้าที่ช่วยให้ระบบกล้ามเนื้อสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น) โดยเฉพาะในผู้ที่รับประทานยารักษาโรคทางจิตเภทนาน 3 เดือน ขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการยึกยือ ซึ่งยาส่วนใหญ่ที่มีผลต่อการเกิดอาการยึกยือ มีดังต่อไปนี้ ยาฮาโลเพอริดอล (Haloperidol) ยาฟลูนาริซีน (Flunarizine) ยาริสเพอริโดน (Risperidone) โอแลนซาปีน (Olanzapine) หากคุณรับประทานยาที่เกี่ยวกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน กรดไหลย้อน และยาที่ใช้ในการรักษาเกี่ยวกับโรคกระเพาะ นานเกิน 3 เดือน อาจทำให้เกิดอาการยึกยือได้เช่นกัน เช่น ยาเมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) คลอร์โปรมาซีน (Chlorpromazine) นอกจากนี้ยังสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการยึกยือ เช่น ผู้หญิงสูงอายุวัย 55 ปี […]


โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส

ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)

ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)เป็นโรคที่อาจทำให้สมอง ไขสันหลัง และระบบประสาทส่วนกลางปิด นอกจากนั้นยังสามารถทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารระหว่างสมองและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้อีกด้วย ดังนั้น ลองมาทำความรู้จักกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งให้มากขึ้น กับบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันได้เลย คำจำกัดความ ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) คืออะไร โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคเอ็มเอส (MS) เป็นโรคที่ส่งผลต่อสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทในดวงตา ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น การทรงตัว การควบคุมกล้ามเนื้อ และการทำงานพื้นฐานอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละคนจะแตกต่าง บางคนมีอาการเพียงเล็กน้อยและไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่บางคนอาจจะส่งผลต่อการเดินทางและการทำงานในชีวิตประจำวัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณโจมตีสารไขมัน (Fatty Material) ที่มีชื่อเรียกว่า ไมอีลิน (Myelin) ซึ่งทำหน้าที่ในการปกป้องเส้นประสาทด้วยการพันรอบใยประสาท หากไม่มีไมอีลิน เส้นประสาทของคุณจะเสียหาย เนื้อเยื่อแผลเป็นก็อาจจะก่อตัวขึ้น ความเสียหายดังกล่าว หมายความว่า สมองคุณจะไม่สามารถส่งสัญญาณผ่านร่างกายได้อย่างถูกต้อง ประสาทของคุณจะไม่ทำงานได้เท่าที่ควร เพื่อช่วยให้คุณเคลื่อนไหวและรู้สึกได้ เป็นผลทำให้คุณอาจมีอาการ ดังต่อไปนี้ มีปัญหาในการเดิน รู้สึกเหนื่อย กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือกระตุก การมองเห็นไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน อาการชาหรือเสียวซ่า ปัญหาทางเพศ การควบคุมกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ไม่ดี ความเจ็บปวด ซึมเศร้า ปัญหาในการโฟกัสหรือจดจำ ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง พบบ่อยเพียงใด อาการแรกเริ่มมักจะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงอายุ 20-40 ปี คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง จะมีอาการกำเริบหรืออาการทรุดลงอย่างเห็นได้ชัด และมักจะฟื้นตัวเมื่ออาการดีขึ้น ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์พบวิธีการรักษาใหม่ๆ มากมาย ที่มักจะช่วยป้องกันการกำเริบของโรคและชะลอผลของโรคได้ อาการอาการของ […]


โรคลมชักและอาการชัก

ลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure)

ลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure)  จัดเป็นโรคทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการชัก เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวในการทำงานของระบบสมอง (มีอาการสั้นกว่า 15 วินาที) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหยุดนิ่งไปชั่วขณะ  ไม่มีอาการตอบสนองชั่วคราว คำจำกัดความลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure)  คืออะไร ลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure)  จัดเป็นโรคทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการชัก เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวในการทำงานของระบบสมอง (มีอาการสั้นกว่า 15 วินาที และจะกลับมาหายเอง) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหยุดนิ่งไปชั่วขณะ ไม่มีอาการตอบสนองชั่วคราว อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าอาการลมชักชนิดเหม่อจะเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ  แต่การสูญเสียสติแม้ในระยะเวลาสั้น ๆ สามารถทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้  ดังนั้นหากพบอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม พบได้บ่อยเพียงใด ลมชักชนิดเหม่อสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย  โดยส่วนใหญ่มักพบบ่อยในวัยเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ถึง 9 ปี อาการอาการของลมชักชนิดเหม่อ โดยส่วนใหญ่อาการของลมชักชนิดเหม่อจะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5-9 ปี ซึ่งจะมีอาการที่แสดงออกแตกต่างกันออกไป ดังนี้ มีอาการสับสน หน้ามืด หยุดการเคลื่อนไหวไปชั่วขณะ ไม่ตอบสนองต่อคำแนะนำและคำถาม มีอาการเหม่อลอย กระพริบตาถี่ขึ้น เม้มปากแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีท่าท่าเหมือนกำลังเคี้ยวอาหาร มือทั้งสองข้างขยับขึ้นเอง ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของลมชักชนิดเหม่อลอย ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการลมชักชนิดเหม่อ  โดยทั่วไปอาการชักเกิดจากการกระตุ้นของประจุไฟฟ้าที่ผิดปกติจากเซลล์ประสาทในสมอง  รวมถึงสาเหตุอื่นๆ ดังนี้ การบาดเจ็บทางศีรษะ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ โรคหลอดเลือดสมองและเนื้องอก การได้รับบาดเจ็บก่อนคลอด หรือความผิดปกติทางสมองก่อนคลอด ปัจจัยเสี่ยงของลมชักชนิดเหม่อลอย อายุ  พบได้บ่อยในวัยเด็ก เพศ พบได้บ่อยในเพศหญิง ประวัติครอบครัว หากสมาชิกในครัวเคยมีประวัติที่เกี่ยวกับอาการชัก […]


ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย

อาการชา สัญญาณเตือนโรคปลายประสาทอักเสบ ที่ร่างกายรับรู้ได้เมื่อ ขาดวิตามินบี

หลาย ๆ คนอาจจะเคยสงสัยว่าทำไมรู้สึกมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชาที่แขนและขา ปลายมือ ปลายเท้า เสียการทรงตัวหรือเดินเซ หากใครมีอาการเหล่านั้น ควรระวังกันไว้นะคะ เพราะคุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรค ปลายประสาทอักเสบอยู่ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาคุณมารู้จักกับอาการของ โรคปลายประสาทอักเสบ พร้อมอาหารเสริมที่ควรกินเพื่อป้องกันโรคปลายประสาทอักเสบ เพราะถ้าเรารู้เท่าทัน สัญญาณเตือนโรคปลายประสาทอักเสบ ก็จะป้องกันพร้อมสร้างสุขภาพที่ดีห่างไกลโรคได้.. โรคปลายประสาทอักเสบ คืออะไร “โรคปลายประสาทอักเสบ” ( Peripheral Neuropathy ) เป็นภาวะหนึ่งของระบบปลายประสาท ซึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณจากสมองส่งไปยังไขสันหลังและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อปลายประสาทอักเสบ จะทำให้การทำงานของเส้นประสาทผิดปกติจนไม่สามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าได้ตามปกติ และเกิดอาการต่าง ๆ ตามมา เช่น รู้สึกเจ็บแปลบ ๆ เจ็บคล้ายโดยไฟลน ตะคริว ชาตามมือเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุกไม่สามารถควบคุมได้ เป็นโรคที่พบได้ในคนที่มีอายุเฉลี่ย 30 ปีขึ้นไป และกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากขึ้น ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน ทำงานหนักพักผ่อนน้อย ดื่มสุราหรือแอลกอฮอลล์เป็นประจำ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือรับประทานยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงต่อเส้นประสาท และที่สำคัญไปกว่านั้น […]


ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย

ยิ้มไม่สวย ถ่ายรูปไม่ปัง! ระวังคุณอาจกำลังเสี่ยงป่วยเป็น โรคปากเบี้ยวครึ่งซีก

หากคุณถ่ายเซลฟีแล้วสังเกตพบว่า ทำไมทุกครั้งถ่ายรูปตนเองออกมา องศาของใบหน้ากลับดูแปลกไป อาจจะยิ้มไม่สวยเหมือนดั่งที่คาดเอาไว้ นอกจากปัจจัยที่เกี่ยวกับมุมกล้องแล้ว อาจเป็นที่มาของอาการแรกเริ่มของ โรคปากเบี้ยวครึ่งซีก ก็เป็นได้ ดังนั้นบทความของ Hello วันนี้ จึงขอนำความรู้เบื้องต้นของโรคดังกล่าว มาฝากกันค่ะ เพื่อให้ทุกคนได้เริ่มเช็กตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนเกิดอาการรุนแรงขึ้นในอนาคต โรคปากเบี้ยวครึ่งซีก คืออะไร โรคปากเบี้ยวครึ่งซีก หรือโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s Palsy) เป็นหนึ่งในอาการอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทใต้ใบหน้าที่เกิดการอักเสบ ซึ่งมักจะเป็นเพียงแค่ด้านใดด้านหนึ่ง จึงทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ บางครั้งอาจทำให้คุณประสบกับปัญหาในการพูดคุย การยิ้ม และต่อมรับรสเกิดความบกพร่อง อีกทั้งยังอาจมาจากปัจจัยอื่น ๆ ที่กระทบต่อทางสุขภาพ จนนำไปสู่การอัมพาตของใบหน้า เช่น ไวรัสงูสวัด เชื้อเอชไอวี ไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein-Barr Virus) โรคไลม์ (Lyme Disease) ไวรัสจาก โรคมือเท้าปากเปื่อย (Coxsackievirus) เป็นต้น โดยส่วนใหญ่โรคปากเบี้ยวครึ่งซีกสามารถหายไปเองได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ หรืออาจมีอาการดีขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับการรักดูแลรักษา อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่อายุ 16-60 ปี ขึ้นไป ถึงอย่างไรโรคดังกล่าวยังถูกจัดเป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็ไม่ควรที่จะประมาทได้ มาเช็กอาการของ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยวิธีที่คุณเองก็ทำได้

ในปี 2019 กรมควบคุมโรคได้ระบุว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ข้อมูลของประชาชนในปี 2562 ยังพบว่าประชากรทุกๆ 4 คนจะพบเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน ส่วนข้อมูลของประเทศไทยพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงและยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทยอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีวิธี ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้มาให้อ่านกันค่ะ โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)  เป็นโรคที่เกิดเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่มคือ ภาวะที่ไม่มีเลือดไปเลี้ยงสมอง และภาวะที่มีเลือดออกในสมอง ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถพบได้ในทุกวัย และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังช่วยเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้ด้วย นอกจากนี้การใช้ยาบางชนิดยังทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดได้ด้วย เช่น ทำให้เกิดการอุดตัน หลอดเลือดอักเสบ สิ่งที่คุณควรทำเพื่อ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดสมองหรือการควบคุมสภาวะสุขภาพที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งวิธีการเหล่านี้ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมีส่วนช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีประโยชน์ เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ต่ำ และอาหารที่คอเลสเตอรอลต่ำ นอกจากนี้การเลือกรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ยังช่วยป้องกันคอเลสเตอรอลสูงได้ด้วย ที่สำคัญหารลดปริมาณโซเดียมในอาหารลงยังช่วยลดความดันโลหิต เพราะทั้งคอเลสเตอรอลและโซเดียมต่างเป็นตัวการสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ เมื่อร่างกายมีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรืออ้วนขึ้นนั้นช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งการคำนวณค่า […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ควรทำอย่างไรเมื่อ ไมเกรนกำเริบเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง

อาการปวดหัวไมเกรน เป็นอาการปวดหัวที่มักจะปวดแบบตุบ ๆ เพียงข้างเดียวของศีรษะ แต่สำหรับบางคนก็อาจจะมีอาการปวดได้ทั้งสองข้างของศีรษะ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้อาการปวดหัวไมเกรนกำเริบนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายๆ สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ทำ อาหารที่รับประทาน หรือแม้แต่กระทั่งอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปก็ทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับที่น่าสนใจสำหรับ วิธีรับมือสำหรับผู้ที่ ไมเกรนกำเริบเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง สาเหตุที่ไมเกรนกำเริบเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง การกำเริบของไมเกรนนั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน สำหรับบางคนที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพ หากอากาศเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้อาการปวดหัวไมเกรนนั้นกำเริบได้ ซึ่งอากาศต่าง ๆ เหล่านี้สามารถทำให้ไมเกรนกำเริบได้ทั้งสิ้น เช่น แสงแดดจ้า อากาศร้อนจัด อาการเย็นจัด ความชื้นสูง อากาศแห้ง การเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศ เมื่อสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง อาจทำให้สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล จนทำให้อาการปวดหัวไมเกรนกำเริบได้ หากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนั้นส่งผลทำให้อาการไมเกรนแย่ลง จนทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิด รับมืออย่างไรเมื่อ ไมเกรนกำเริบเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง ไป อาการปวดหัวไมเกรนนั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีสัญญาณเตือนก่อนว่า อาการปวดไมเกรนนั้นกำลังจะกำเริบแล้ว บางคนอาจมีสัญญาณก่อน 48 ชั่วโมง ก่อนที่อาการปวดหัวจะโจมตี ซึ่งอาการก่อนเกิดไมเกรนนั้นมักเรียกว่า อาการนำ (Prodromal) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอาการ ดังนี้ หงุดหงิด ซึมเศร้า หาวบ่อย รู้สึกตื่นเต้นบ่อย ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้มักจะเป็นสัญญาณเตือนว่าอาการไมเกรนนั้นจะโจมตีคุณในไม่ช้า ในช่วงนี้คุณจะต้องจดบันทึกทุกวัน เพื่อดูว่าวันใดบ้างที่มีอาการปวดหัว แล้ววันต่าง ๆ เหล่านั้นมีสภาพอากาศเป็นเช่นไร เพื่อดูว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้อาการไมเกรนแย่ลงหรือไม่ ที่สำคัญจะต้องจดบันทึกอย่างน้อยนาน 3 เดือนเพื่อรู้การเปลี่ยนแปลง โดยการจดบันทึกในแต่ละครั้งนั้นคุณจะต้องบันทึกว่า มีอาการเช่นไร ปวดบริเวณไหน และลักษณะการปวดเป็นเช่นไร […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Cerebral arteriovenous malformation)

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Cerebral arteriovenous malformation)  เกิดจากความผิดปกติที่เชื่อมกันระหว่างหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงในสมอง โดยหลอดเลือดแดง ทำหน้าที่ ในการถ่ายเลือดออกจากหัวใจ ที่มีปริมาณออกซิเจน ไปเลี้ยงสมอง และหลอดเลือดดำนำเลือดที่เสียของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ เพื่อนำกลับมาฟอกที่ปอด โดยโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มจะเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานนี้ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก สูญเสียการมองเห็น เป็นต้น คำจำกัดความโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม(Cerebral arteriovenous malformation) คืออะไร   โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Cerebral arteriovenous malformation)  เกิดจากความผิดปกติที่เชื่อมกันระหว่างหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงในสมอง อย่างไรก็ตามหลอดเลือดแดง ทำหน้าที่ ในการถ่ายเลือดออกจากหัวใจ ที่มีปริมาณออกซิเจน ไปเลี้ยงสมอง และ หลอดเลือดดำนำเลือดที่เสียของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ เพื่อนำกลับมาฟอกที่ปอด โดยโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มจะเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานนี้ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก สูญเสียการมองเห็น เป็นต้น พบได้บ่อยเพียงใด โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเพศชายที่มีอายุระหว่าง 10-40 ปี อาการอาการโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม ผู้ป่วยสตรีมีครรภ์โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มอาจมีอาการรุนแรงมากกว่าปกติ เนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดและความดันโลหิต รวมถึงเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี มักกมีอาการชัก มีเลือดคั่งที่หัวใจ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม จะมีอาการแสดงออก ดังนี้ ชัก ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียการมองเห็น อัมพาต สับสน ไม่สามารถเข้าใจการสื่อสารของผู้อื่น ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน