สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

สุขภาพจิต

PTSD คือ โรคเครียดจากเหตุการณ์รุนแรง ภาวะสุขภาพจิตที่ควรรู้

Post-traumatic stress disorder หรือ PTSD คือ ภาวะทางสุขภาพจิตที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองหลังจากประสบเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง สามารถพบได้ในคนทุกเพศวัย ผู้ที่มีภาวะนี้อาจเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้า หันไปใช้สารเสพติด หรือเกิดความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ เช่น โรควิตกกังวล โรคแพนิค PTSD จึงเป็นอีกหนึ่งภาวะสุขภาพที่ไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง [embed-health-tool-bmi] PTSD คือ อะไร โรคเครียดจากเหตุการณ์รุนแรง หรือ PTSD คือ ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากการประสบหรือพบเห็นสถานการณ์สะเทือนขวัญที่คุกคามชีวิต ภาวะนี้พบได้บ่อยในทหารผ่านศึกหรือผู้อพยพที่ต้องทุกข์ทนกับบาดแผลในจิตใจที่รุนแรง ผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นที่เคยมีประสบการณ์การถูกทอดทิ้งหรือถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางเพศ ร่างกาย จิตใจ หรืออารมณ์ ก็อาจประสบกับ PTSD ได้เช่นกัน ทั้งนี้ เด็กและวัยรุ่นอาจมีความเสี่ยงในการเกิด PTSD มากกว่าผู้ใหญ่ที่เคยประสบกับเรื่องเครียดหรือบาดแผลทางจิตใจแบบเดียวกัน อีกทั้งการตอบสนองต่อการบาดแผลทางจิตใจของแต่ละคนก็อาจแตกต่างกันด้วย สาเหตุของ PTSD คือ อะไร ผู้คนที่ประสบกับเหตุการณ์ที่สะเทือนจิตใจอาจมีปฏิกิริยาตอบสนองหลากหลาย ทั้งอาการช็อก โมโห วิตกกังวล หวาดกลัว หรือแม้แต่ความรู้สึกผิดในใจ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ และความรู้สึกในแง่ลบเหล่านั้นมักจะเลือนลางไปเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง แต่เนื่องจากคนเรามีความสามารถในการรับมือกับอารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรงแตกต่างกันไป ทำให้ในบางครั้งเหตุการณ์เหล่านั้นสามารถนำไปสู่ภาวะ PTSD ที่ผู้ป่วยจะยังคงติดอยู่กับความรู้สึกแย่ ๆ และความรู้สึกนั้นอาจท่วมท้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งในด้านการทำงาน […]


สุขภาพจิต

Cyberbullying : การกลั่นแกล้งออนไลน์ ปัญหาความรุนแรงที่มองไม่เห็น

Cyberbullying คือ การกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยครั้ง ส่วนหนึ่งก็เพราะโลกอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถใช้งานและปกปิดตัวตนของตัวเองได้ ผู้กลั่นแกล้งจึงสามารถปิดบังตัวตนอยู่หลังคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอมือถือโดยใช้ที่อยู่อีเมลที่ไม่ระบุตัวตนหรือใช้นามแฝง และพิมพ์ข้อความเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นเท็จ เพื่อสร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นนี้ อาจช่วยให้สามารถตระหนักได้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และรับมือกับเรื่องนี้ได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] Cyberbullying คืออะไร Cyberbullying คือ การกลั่นแกล้งรูปแบบหนึ่งที่พบได้ในช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งถึงแม้จะมีประโยชน์ในการใช้ติดต่อกับบุคคลอื่น ติดตามข่าวสาร และแชร์เรื่องราวในชีวิตประจำวัน แต่สื่อโซเชียลก็เป็นดาบสองคมที่อาจนำโทษมาให้ผู้ใช้งานได้เช่นกัน เพราะบางครั้ง โลกออนไลน์กลับถูกใช้เป็นช่องทางก่อกวนผู้อื่น เช่น การส่งข้อความหรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสม การแฮ็กเข้าสู่บัญชีผู้ใช้ของผู้อื่นแล้วเผยแพร่ข้อมูลสแปมหรือข้อความต่าง ๆ การเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับผู้อื่น การส่งรูปภาพหรือวิดีโอผิดกฎหมาย แบบสำรวจเกี่ยวกับสถานการณ์การก่อกวนออนไลน์ที่จัดทำโดยสำนักวิจัยพิว (Pew Research Center) ของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวอเมริกัน 4,248 คน พบว่า 41% ของผู้ทำแบบสำรวจเคยประสบกับการล่วงละเมิดทางออนไลน์บางรูปแบบอย่างการเรียกชื่อที่ไม่เหมาะสม (Name-calling) การทำให้อับอายโดยเจตนา รวมไปถึงการกลั่นแกล้งที่รุนแรงอย่างการขู่ทำร้ายร่างกาย การล่วงละเมิดทางเพศ และการสะกดรอยตาม (Stalk) โดยผู้ชายจะถูกเรียกด้วยชื่อที่ไม่เหมาะสม (หญิง 26% vs. ชาย 35%) และถูกขู่ทำร้ายร่างกาย (หญิง 11% […]


สุขภาพจิต

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]


ความผิดปกติทางอารมณ์

หัวร้อน เกิดขึ้นได้อย่างไร และควรควบคุมอารมณ์อย่างไร

หัวร้อน ไม่ได้หมายถึงศีรษะที่ร้อนเพราะสภาพอากาศร้อนอบอ้าวของเมืองไทย แต่หมายถึงอาการหงุดหงิดหรือโกรธซึ่งอาจเกิดจากปัญหาชีวิต การทำงาน ปัญหาสุขภาพ ปัญหาสุขภาพจิตหรือจากสาเหตุอื่น ๆ จนบางคนอาจแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อผู้อื่นทั้งทางวาจาและทางกาย ดังนั้น การเรียนรู้วิธีควบคุมอารมณ์ตัวเองและวิธีรับมือเมื่อต้องอยู่กับคนหัวร้อน จึงอาจช่วยให้หลายคนสามารถใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] หัวร้อน เกิดจากอะไร หัวร้อน คือ สภาวะทางอารมณ์ เช่น ความหงุดหงิด ความโกรธ ที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุ โดยบางคนอาจมีอารมณ์หัวร้อนอย่างเฉียบพลันจากสิ่งยั่วยุเพียงเล็กน้อย หรือบางคนอาจเกิดจากการสะสมของอารมณ์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และแสดงออกมาเป็นอารมณ์โกรธเพียงชั่ววูบ จนอาจแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น การเหวี่ยงวีน การตะคอก ด่าทอ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นทำร้ายร่างกายผู้อื่น แม้ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนกระทำผิดหรือไม่ก็ตาม หัวร้อนเป็นปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ หัวร้อนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดจากปัญหาในชีวิต ปัญหาสุขภาพ สุขภาพจิต หรือปัญหาอื่น ๆ ดังนี้ ความเครียดในชีวิต เช่น การหย่าร่าง การทำงาน ฐานะทางการเงิน ความเหงา ความเหนื่อยล้า สิ่งเหล่านี้สามารถกระตุ้นทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดและหัวร้อนได้ การนอนหลับไม่เพียงพอ จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือภาวะสุขภาพ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ปัญหาการนอนไม่หลับ สามารถทำให้ร่างกายอ่อนล้า กระตุ้นให้เกิดความเครียดมากขึ้นและอาจทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดได้เช่นกัน การรับประทานคาเฟอีน เมื่อรู้สึกอ่อนเพลียหรือนอนหลับไม่เพียงพอ การรับประทานคาเฟอีนสามารถกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นได้ แต่เมื่อคาเฟอีนหมดฤทธิ์ ความอ่อนเพลียก็จะกลับคืนมาซึ่งสามารถกระตุ้นความหงุดหงิดและทำให้หัวร้อนได้ ปัญหาสุขภาพ […]


สุขภาพจิต

ทำไมคนเราถึงชอบนินทา ถ้าถูกนินทาควรทำอย่างไร

เชื่อว่าเราทุกคนต่างเคย นินทา ผู้อื่น และถูกผู้อื่นนินทา จากเหตุการณ์ดาราสาวกลุ่มหนึ่งทำคลิปพาดพิงถึงบุคคลที่สามทำให้คนในสังคมมองว่า เป็นการจับกลุ่มนินทาซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่สมควร จริง ๆ แล้ว การนินทาเป็นเรื่องปกติหรือไม่ ทำไมเราถึงชอบนินทา การนินทามีประโยชน์หรือโทษอย่างไร ถ้ารู้ว่าถูกนินทาควรจัดการอย่างไร ลองมาหาคำตอบกัน [embed-health-tool-ovulation] ทำไมคนเราถึงชอบจับกลุ่มนินทาผู้อื่น การนินทาทำให้คนในวงสนทนารู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของแวดวงสังคมที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ เป็นที่ยอมรับ และไม่ถูกผลักออกไปเป็นคนนอกกลุ่มซึ่งมักจะเป็นผู้ที่ถูกนินทา นอกจากนี้ การนินทายังเป็นกิจกรรมทางสังคมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด และหากเป็นผู้ที่เปิดบทสนทนาจะทำให้ได้รับความสนใจจากผู้อื่น จึงไม่แปลกหากคนเราจะกระหายที่จะพูดถึงเรื่องของคนอื่นอยู่เสมอเมื่อมีโอกาส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนไกลตัวที่คุ้นเคยอย่างศิลปิน ดารา คนใกล้ตัวอย่างคนในครอบครัว เพื่อนสมัยเรียน เพื่อนบ้าน และแม้แต่เพื่อนร่วมงานก็ตาม ทั้งนี้ การนินทาเป็นเครื่องมือการสื่อสารทางสังคมที่เป็นที่นิยมมาอย่างยาวนาน การจับกลุ่มพูดคุยกันในลักษณะนี้เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของทุกคน สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA) ได้ให้คำนิยามของคำว่า นินทา (Gossip) ไว้ว่า “การพูดคุยอย่างเป็นส่วนตัวหรือการสื่อสารข้อมูลที่มักยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง การนินทาอาจเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาอื้อฉาวหรือมีเจตนามุ่งร้าย นอกจากนั้น การนินทายังมีประโยชน์ต่อความเป็นสังคมมนุษย์หรือกระบวนการสร้างกลุ่ม (Group process) ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ (Bonding) การส่งต่อบรรทัดฐาน (Norm transmission) การเสริมแรงบรรทัดฐาน (Norm reinforcement)” บทสนทนาแบบใดที่เรียกว่า นินทา การนินทามักหรือการพูดถึงผู้อื่นในขณะที่เขาไม่ได้อยู่ตรงนั้น และมักเกิดขึ้นเมื่อใครคนใดคนหนึ่งในกลุ่มทำสิ่งที่คนในกลุ่มคิดว่าแปลกแยกหรือแตกต่างไปจากตัวเอง การนินทาอาจนำไปสู่แพร่ข่าวลือหรือสร้างเรื่องน่าอับอายให้ผู้ที่ถูกนินทาได้ อย่างไรก็ตาม การนินทาอาจไม่ได้หมายถึงแค่เพียงการพูดถึงผู้อื่นลับหลังด้วยการพูดจาให้ร้ายหรือทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงเท่านั้น แต่ยังอาจหมายรวมถึงการแบ่งปันข้อมูลของผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวงสนทนาด้วย เช่น […]


การจัดการความเครียด

7 วิธีแก้เครียด 'รีเฟรชสมอง' ไม่ต้องพึ่งยา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสถานการณ์ต่างๆ ที่เราเจออยู่ทุกวัน อาจทำให้เกิด ‘ภาวะเครียด’ ได้โดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัว ความขัดแย้งในความสัมพันธ์ หรือภาระงานที่หนักอึ้ง ซึ่งความเครียดไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต อารมณ์ ความคิด การนอนหลับ และสภาพจิตใจของเราเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และเบาหวาน เป็นต้น ดังนั้น วันนี้เราจึงได้รวบรวม 7 วิธีแก้เครียดที่ทุกคนสามารถทำตามได้เองง่ายๆ ที่จะช่วยรีเฟรชสมองและจิตใจให้กลับมาสดใสและสดชื่นพร้อมลุยวันใหม่อีกครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยา ตามมาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง?  1. รับประทานอาหารที่มี NANA นานะ เป็นส่วนประกอบ  นานะ (N-acetylneuraminic acid) หรือที่รู้จักกันในชื่อสามัญว่า ‘กรดไซอะลิค’ (Sialic Acid) มีส่วนช่วยเพิ่มการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของเซลล์ รวมถึงช่วย​​ส่งเสริมการแบ่งเซลล์และการเพิ่มจำนวนของเซลล์ ซึ่งการขาดนานะอาจทำให้เกิด Oxidative Stress หรือภาวะที่ร่างกายขาดความสมดุลระหว่างอนุมูลอิสระ (Free Radicals) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งภาวะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและโรควิตกกังวล โดยนานะสามารถพบได้ในอาหารบางจำพวก โดยเฉพาะในรังนกแท้ที่มีส่วนประกอบของ นานะ (Nana) หรือ กรดไซอะลิคในสัดส่วนที่สูงถึง […]


สุขภาพจิต

โรคซึมเศร้า อาการ เป็นอย่างไร และวิธีรับมือโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า อาการ อาจสังเกตได้จากความรู้สึกด้านลบที่เกิดขึ้น เช่น ไม่มีแรงจูงใจหรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง รู้สึกว่างเปล่า หมดความสนใจในเรื่องหรือกิจกรรมที่เคยชอบมาตลอด ไปจนถึงมีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรืออยากตาย หากสังเกตเห็นว่าตัวเองหรือคนรอบข้างมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกไปจากปกติ หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม หรือแสดงออกถึงอารมณ์ด้านลบดังที่กล่าวมา อาจเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้า ซึ่งหากปล่อยไว้เรื้อรังอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าที่ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการบำบัดรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] คนที่เป็นโรคซึมเศร้า เกิดจากอะไร โรคซึมเศร้า (Depression) คือ โรคที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความรู้สึก ไปจนถึงร่างกายของผู้ป่วย พบได้บ่อยในคนทั่วไป อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันและส่งผลต่อความสัมพันธ์ของผู้ป่วยกับคนรอบข้าง โรคนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ สารเคมีในสมอง ความผิดปกติของระดับสารเคมีในสมองอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ โดยอาจเกิดจากสมองมีระดับเอนไซม์โมโนเอมีนออกซิเดส (Monoamine oxidase หรือ MAO) มากกว่าปกติ จนไปทำลายสารสื่อประสาทที่สำคัญ ส่งผลให้ระดับเซโรโทนิน (Serotonin) โดปามีน (Dopamine) และนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) ต่ำเกินไป และส่งผลต่ออารมณ์ จนทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ พันธุกรรม คนที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน อาจเสี่ยงเกิดโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนทั่วไป ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่มีญาติใกล้ชิดเป็นโรคซึมเศร้าจะเป็นโรคซึมเศร้าเสมอไป และโรคซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นกับคนที่ไม่มีองค์ประกอบทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน เหตุการณ์ที่กระทบจิตใจ เช่น ภาวะเครียดเรื้อรัง การเสียชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รัก การประสบเหตุการณ์สะเทือนใจ การถูกทำร้ายในวัยเด็ก การอยู่อย่างโดดเดี่ยวและขาดการสนับสนุนจากคนรอบข้าง […]


สุขภาพจิต

ตรวจโรคซึมเศร้า การรักษาและวิธีดูแล

โรคซึมเศร้า เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช ที่สามารถเป็นได้โดยไม่รู้ตัว โดยอาจสังเกตได้จากอารมณ์แปรปรวน การนับถือตนเองต่ำ ไม่มีสมาธิจดจ่อในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจเกิดจากความเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป ดังนั้น จึงควรเข้ารับการ ตรวจโรคซึมเศร้า และรับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อบรรช่วยเทาอาการและลดความเสี่ยงการเกิดภาวะรุนแรง เช่น การทำร้ายคนรอบตัว การทำร้ายตัวเองที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า คือ โรคทางจิตเวชที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของสารเคมีในสมองเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มีประวัติเป็นโรคทางจิตเวชมาก่อน การใช้ยาบางชนิด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ภาวะหลังคลอดบุตร ภาวะก่อนเป็นประจำเดือน และความเครียดจากปัญหารอบตัว ยกตัวอย่าง การทำงาน การเรียน ครอบครัว การเงิน ความสัมพันธ์ การสูญเสียบุคคลที่รัก เป็นต้น สัญญาณที่บ่งบอกว่าควรตรวจโรคซึมเศร้าา สัญญาณเตือนของโรคซึมเศร้า อาจสังเกตได้ดังนี้ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย รู้สึกเศร้าในใจ รู้สึกสิ้นหวัง ไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต มีความคิดอยากฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตายและทำร้ายตัวเองบ่อยครั้ง รู้สึกวิตกกังวล กระสับกระส่าย รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าและมักโทษตัวเองตลอดเวลา ไม่มีสมาธิจดจ่อ พูด เคลื่อนไหว และคิดช้า […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรค ซึมเศร้า อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรค ซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน เมื่อเป็นแล้ว จะมีอาการเศร้าสร้อย เหนื่อยหน่าย หมดหวัง รู้สึกไร้ค่า และมีอาการปวดหัวหรือปวดตามลำตัวร่วมด้วย ทั้งนี้ หากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรไปพบคุณหมอ เพราะหากปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น จนถึงขั้นทำร้ายตัวเองหรือตัดสินใจฆ่าตัวตายได้ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ โรค ซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นความผิดปกติทางจิตเวชที่เมื่อเป็นแล้วจะรู้สึกเศร้า หดหู่ หรือสิ้นหวังอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาการอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้อยากฆ่าตัวตายได้ ทั้งนี้ โรคซึมเศร้าแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ดังนี้ โรคซึมเศร้าเมเจอร์ (Major Depression) เป็นโรคซึมเศร้าที่เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และอาการของโรคซึมเศร้าจะรบกวนการทำงาน การนอน การเรียน และพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โรคซึมเศร้าชนิดเรื้อรัง (Persistent Depressive Disorder) เป็นโรคซึมเศร้าที่อาการรุนแรงน้อยกว่าโรคซึมเศร้าเมเจอร์ แต่เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการยาวนานกว่า หรืออย่างน้อย 2 ปี โรคซึมเศร้าตอนก่อนหรือหลังคลอด (Perinatal Depression) เป็นโรคซึมเศร้าเมเจอร์ที่พบได้ในหญิงตั้งครรภ์ช่วงก่อนหรือหลังคลอด โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder) […]


โรควิตกกังวล

โรค แพนิค คือ อะไร รักษาให้หายได้ไหม

โรค แพนิค เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการตื่นตระหนกหรือเป็นกังวลโดยไร้สาเหตุ หากสงสัยว่าตนเองอาจเป็นโรค แพนิค ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา เพราะหากปล่อยไว้นาน อาการของโรคจะยิ่งรุนแรงขึ้น และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในหลาย ๆ ด้าน [embed-health-tool-bmr] โรคแพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง หากเป็นโรคนี้จะมีอาการตื่นตระหนกหรือวิตกกังวลหลายครั้ง โดยปราศจากสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งแตกต่างจากคนทั่วไปอย่างชัดเจน เพราะโดยปกติ อาการตื่นตระหนกหรือเป็นกังวลจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หรือจะเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ตึงเครียดหรืออันตรายเท่านั้น ทั้งนี้ โรคแพนิคเป็นโรคที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต อายุเฉลี่ยที่เริ่มพบอาการของโรคนี้ คือระหว่าง 15-19 ปี โดย 18 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคแพนิคมักมีอาการของโรคตั้งแต่ก่อนอายุ 10 ปี นอกจากนี้ โรคแพนิคพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วน 2 ต่อ 1 โรค แพนิค เกิดจากสาเหตุใด ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคแพนิค แต่สันนิษฐานว่าความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแพนิคจะสูงขึ้นในกรณีต่อไปนี้ มีคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล หรือมีประวัติเป็นโรควิตกกังวล เคยเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้ใจสลาย เช่น การสูญเสียคนที่รัก เป็นโรคทางจิตเวช เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ติดสุราหรือยาเสพติด โรค แพนิค มีอาการอย่างไร อาการของโรคแพนิคนั้นมีหลายรูปแบบ และจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน