การจัดการความเครียด

สถานการณ์ในแต่ละวัน อาจทำให้เราเกิดความเครียด และหากเราไม่รู้จัก วิธีจัดการความเครียด ที่เหมาะสม อาจส่งผลให้เครียดสะสม หรือเครียดรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ การจัดการความเครียด อย่างถูกวิธี จึงเป็นอีกหนึ่งทักษะที่คุณควรเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง

เรื่องเด่นประจำหมวด

การจัดการความเครียด

7 วิธี 'รีเฟรชสมอง' ผ่อนคลายความเครียด ไม่ต้องพึ่งยา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสถานการณ์ต่างๆ ที่เราเจออยู่ทุกวัน อาจทำให้เกิด ‘ภาวะเครียด’ ได้โดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัว ความขัดแย้งในความสัมพันธ์ หรือภาระงานที่หนักอึ้ง ซึ่งความเครียดไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต อารมณ์ ความคิด การนอนหลับ และสภาพจิตใจของเราเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และเบาหวาน เป็นต้น ดังนั้น วันนี้เราจึงได้รวบรวม 7 วิธีแก้เครียดที่ทุกคนสามารถทำตามได้เองง่ายๆ ที่จะช่วยรีเฟรชสมองและจิตใจให้กลับมาสดใสและสดชื่นพร้อมลุยวันใหม่อีกครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยา ตามมาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง?  1. รับประทานอาหารที่มี NANA นานะ เป็นส่วนประกอบ  นานะ (N-acetylneuraminic acid) หรือที่รู้จักกันในชื่อสามัญว่า ‘กรดไซอะลิค’ (Sialic Acid) มีส่วนช่วยเพิ่มการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของเซลล์ รวมถึงช่วย​​ส่งเสริมการแบ่งเซลล์และการเพิ่มจำนวนของเซลล์ ซึ่งการขาดนานะอาจทำให้เกิด Oxidative Stress หรือภาวะที่ร่างกายขาดความสมดุลระหว่างอนุมูลอิสระ (Free Radicals) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งภาวะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและโรควิตกกังวล โดยนานะสามารถพบได้ในอาหารบางจำพวก โดยเฉพาะในรังนกแท้ที่มีส่วนประกอบของ นานะ (Nana) หรือ กรดไซอะลิคในสัดส่วนที่สูงถึง […]

สำรวจ การจัดการความเครียด

การจัดการความเครียด

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความเครียด เชื่อมาผิดๆ มารู้ความจริงกันใหม่ดีกว่า

เวลาพูดถึงเรื่องของ “ความเครียด” หลายคนก็จะมีมุมมองและความรู้สึกเกี่ยวกับความเครียดที่แตกต่างกันไป บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เลิกใส่ใจก็สิ้นเรื่อง แต่สำหรับบางคนความเครียดอาจเป็นมากกว่าเรื่องเล็กน้อยในชีวิตและจำเป็นที่จะต้องก้าวผ่านไปให้ได้ บางคนเข้าใจความเครียดเป็นอย่างดี ขณะที่บางคนเข้าใจความเครียดผิดไปจากที่ควรจะเป็นอย่างมาก ดังนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอ ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความเครียด แก่คุณผู้อ่าน มาดูกันว่าคุณเคยเข้าใจความเครียดผิดไปยังไงบ้าง ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความเครียด มีอะไรบ้าง ความเครียดของทุกคนเหมือนกัน ความเครียด ของคนเราไม่เหมือนกัน เพราะเราต่างก็ได้รับประสบการณ์ในชีวิตที่แตกต่างกัน แม้จะมีเส้นเรื่องที่คล้ายกัน แต่ก็ยังถือว่ามีปัจจัยอื่น ๆ ที่แตกต่างกันอยู่ดี ขณะที่บางคนเครียดเรื่องงาน แต่อีกคนกลับจัดการกับการทำงานได้ดี บางคนเครียดเรื่องอาหาร ขณะที่บางคนไม่มีปัญหากับอาหารการกิน ทั้งนี้เพราะเราทุกคนแตกต่างกัน ทั้งความคิด ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเข้าใจในชีวิตของแต่ละคนก็แตกต่างกันด้วย ความเครียดเกิดจากสถานการณ์ทำให้เครียด แม้จะดูเหมือนเป็นเช่นนั้น แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่เสียทีเดียว ความเครียด ไม่ได้เกิดจากสถานการณ์ แต่เกิดจากความคิดต่อสถานการณ์นั้นๆ ต่างหาก ที่ส่งผลให้เกิดความเครียดขึ้นมา สถานการณ์ไม่ได้สร้างความเครียดในตัวมันเอง แต่ปฏิกิริยา ความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ของคนเราต่างหากที่เครียดไปกับสถานการณ์นั้น ๆ ความเครียดเป็นแรงผลักดันที่ดี ความเครียดและแรงผลักดันเป็นคนละเรื่องกัน จะใช้เหตุผลว่าเพราะเคยเครียดมาก่อนวันนี้จึงประสบความสำเร็จได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความเครียดจะลดประสิทธิภาพทั้งความรู้สึกนึกคิด พลังงานในการทำงาน เกิดความวิตกกังวล หงุดหงิด และลดศักยภาพในการทำงานลงด้วย ดังนั้นแล้ว […]


การจัดการความเครียด

รู้หรือไม่! รับฟังปัญหาชีวิตของผู้อื่นบ่อย ๆ อาจกลายเป็น โรคเครียดมือสอง ได้ โดยไม่รู้ตัว

คุณเคยรู้สึกเครียดกับปัญหาชีวิตของคนอื่นมากเกินไปหรือไม่ เก็บเอาปัญหาของผู้อื่นมาขบคิดจนเข้าใจว่านั่นเป็นปัญหาของตนเอง ทั้ง ๆ ที่ตนเองทำเพียงแค่ไปรับฟังเรื่องราวของเขามาเท่านั้นเอง ซึ่งถ้าคุณกำลังเครียดกับปัญหาชีวิตของคนอื่นมากจนเกินไปล่ะก็ คุณอาจกำลังอยู่ในสภาวะของ โรคเครียดมือสอง ได้ แต่อาการ ความเครียดมือสอง จะเป็นอย่างไรนั้น Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้ที่บทความนี้แล้วค่ะ โรคเครียดมือสอง คืออะไร ความเครียดมือสอง (Secondhand Stress) คือ สภาวะอาการที่เกิดจากการไปรับรู้ รับฟัง ปัญหาชีวิตของผู้อื่น จนรู้สึกว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาของตัวเองด้วย เกิดความรู้สึกเข้าถึงความเครียดนั้น และเครียดไปกับเรื่องนั้นๆ ด้วย ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง และตัวเองมีหน้าที่แค่เพียงรับฟังมาเท่านั้น โดยอาจเป็นการไปฟังเพื่อนสนิทที่มาปรึกษาปัญหาชีวิต คนในครอบครัวเอาเรื่องที่บั่นทอนใจมาเล่าให้ฟังบ่อย ๆ หรือเพื่อนที่ทำงานมาเล่าเรื่องเครียดของตัวเองให้ฟังทุกวัน นานเข้าจนคุณเองรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของความเครียดนั้น และเก็บเอามาเป็นความเครียดของตนเอง เหมือนกับการซื้อเอาสินค้ามือสองที่คนอื่นใช้แล้วมาใช้ต่อนั่นเอง สัญญาณของ ความเครียดมือสอง มีอะไรบ้าง หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ให้เริ่มสังเกตตนเองได้เลย เพราะคุณอาจกำลังอยู่ในสภาวะของ ความเครียดมือสอง โดยไม่รู้ตัว รู้สึกเครียด แต่ไม่มีสาเหตุ หากอยู่ ๆ เริ่มรู้สึกว่าตนเองมีอาการเครียด แต่จนแล้วจนรอดก็หาสาเหตุของตนเองไม่ได้ว่าเครียดเพราะอะไร ซึ่งสาเหตุนั้น อาจมาจากคนรอบตัวที่นำความทุกข์ใจมาปรึกษาและบอกกล่าว จนกระทั่งคนฟังรู้สึกเอาเองว่านั่นเป็นความเครียดและเป็นปัญหาชีวิตของตัวเองไปด้วย เริ่มมองโลกในแง่ร้าย เมื่อถูกความเครียดและปัญหาชีวิตของผู้อื่นรุมล้อม คุณจะเริ่มมองโลกในแง่ร้าย ให้ความสำคัญกับการปฏิเสธมากกว่าการมองโลกในแง่บวก หรืออาจถูกชักจูงให้รู้สึกถึงพลังลบจากปัญหาความเครียดของคนอื่นได้ง่าย ๆ กลายเป็นคนเร่งรีบ คนที่อยู่ในภาวะ ความเครียดมือสอง […]


การจัดการความเครียด

เครียดจัด คลายได้ จัดการกับความเครียด อย่างไรให้ได้ผล

ความเครียด เป็นเรื่องที่ทุก ๆ คนล้วนต้องเคยเจอกันมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการทำงาน ปัญหาทางครอบครัว หรือปัญหาทางด้านการเงิน ความเครียดอาจจะเป็นเรื่องที่สร้างความวิตกกังวล ไม่สบายใจให้กับใครหลาย ๆ คนแต่บางครั้งความเครียดบางอย่าง ก็มีข้อดีคือ ช่วยให้คุณมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถแก้ได้ตรงจุด หรือช่วยให้มีแรงฮึดสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการ จัดการกับความเครียด ที่เกิดขึ้น มาฝากกันค่ะ ทำความรู้จักกับ ความเครียด ให้มากขึ้น ความเครียดนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ สาเหตุ ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากเรื่องงาน ปัญหาสุขภาพ การเงิน หรือแม้แต่กระทั่งปัญหาด้านการเรียน ถึงแม้สาเหตุของความเครียดที่เกิดขึ้นนั้น จะเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป แต่ว่าการตอบสนองต่อความเครียดนั้นมักจะมีอาการคล้ายๆ กัน ซึ่งปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจนั้นจะทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลให้เกิด ความเครียด ซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นยังส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบประสาท ประเภทของความเครียด สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (The National Institute of Mental Health หรือ NIMH) ได้แบ่งประเภทความเครียดออกเป็น 2 ชนิด คือ […]


การจัดการความเครียด

อารมณ์โกรธ เป็นฟืนเป็นไฟ จะจัดการอารมณ์นี้อย่างไรดี

คนเราทุกคนไม่จำเป็นต้องพอใจในสิ่งเดียวกัน ตัวอย่างเช่น คนบางคนอาจจะชอบอยู่ในที่ที่คนพลุกพล่าน แต่คนบางคนอาจจะชอบอยู่ในที่ที่สงบและเมื่อจำเป็นต้องอยู่ในที่ที่คนพลุกพล่าน ก็ทำให้เกิด อารมณ์โกรธ แล้วเมื่อเกิดอารมณ์โกรธขึ้นมา ก็พาลจะเห็นอะไรขวางหูขวางตาไปเสียหมด อย่างนี้ควรจะทำอย่างไรดี วันนี้ทาง Hello คุณหมอ มีวิธีจัดการกับอารมณ์โกรธมาฝากกัน อารมณ์โกรธ คืออะไร? อารมณ์โกรธนั้นเป็นความรู้สึกที่ทรงพลังเป็นอย่างมาก มันสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคุณรู้สึกหงุดหงิด เจ็บ รำคาญ หรือแม้แต่ผิดหวัง อารมณ์โกรธที่เกิดขึ้นนั้น สามารถช่วยหรือทำร้ายตัวคุณเองก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองว่ามีปฏิกิริยาอย่างไรกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น หากคุณสามารถโต้ตอบอารมณ์โกรธที่เกิดขี้นโดยไม่ทำร้ายคนอื่นได้ มันก็อาจจะเป็นความรู้สึกในเชิงบวก แต่ในทางกลับกัน ถ้าคุณเก็บอารมณ์โกรธนี้ไว้ แล้วแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา นั่นก็อาจทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่พอใจในตัวคุณได้เช่นกัน ดังนั้น การจัดการกับอารมณ์โกรธที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม จึงถือเป็นเรื่องที่ควรกระทำเป็นอย่างมาก เพราะมันจะช่วยทำให้คุณมีสติ สามารถรับมือกับเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ คุณสามารถจัดการกับ อารมณ์โกรธ ได้อย่างไรบ้าง อารมณ์โกรธของแต่ละคนมักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป บางคนอาจจะรู้สึกโกรธเมื่อต้องเจอกับการจราจรที่ติดขัด ซึ่งความจริงแล้วมันอาจจะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับคนอื่น ๆ ก็เป็นได้ อารมณ์โกรธนั้นสามารถส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ส่วนตัว รวมถึงอาชีพของคุณได้ นอกจากนั้นมันยังส่งผลไปยังร่างกายและอารมณ์ ซึ่งมันอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และความวิตกกังวลตามมา ดังนั้น การเรียนรู้กับวิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธที่เกิดขึ้นให้ได้ จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ยิ่งคุณสามารถจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ดีมากเท่าไหร่ สุขภาพกายใจของคุณก็จะดียิ่งขึ้นเท่านั้น ซึ่งวิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธ สามารถทำได้ ดังนี้ คิดก่อนพูด ในช่วงที่คุณเกิดอารมณ์เกิดมันง่ายมากๆ ที่คุณจะพูดอะไรบางอย่างออกมาโดยที่ไม่ทันได้คิด ซึ่งนั่นอาจจะทำให้คุณต้องมานั่งเสียใจภายหลังก็เป็นได้ ดังนั้น คุณควรใช้เวลาสักครู่ เพื่อรวบรวมความคิดของคุณ […]


การจัดการความเครียด

เสพข่าวการเมืองอย่างมีสติ ก่อนเสี่ยงเป็น ภาวะเครียดทางการเมือง

สถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบันยังคงร้อนแรงและมีหลายประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ สิ่งที่สำคัญคุณควรรับข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติ มีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว ความเครียดที่เกิดขึ้นสะสมระหว่างการรับข่าวการเมือง อาจนำไปสู่ ภาวะเครียดทางการเมือง ขึ้นได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักกับภาวะเครียดทางการเมืองและวิธีรับมือและป้องกันความเครียดจากการรับข่าวทางการเมืองกันค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลย ภาวะเครียดทางการเมือง (Political Stress Syndrome) ไม่น่าเชื่อใช่ไหมคะว่าสถานการณ์การเมืองจะสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อสุขภาพจิตของเราได้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองรวมถึงการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองต่างๆ อันรวดเร็วย่อมส่งผลให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวลและความเครียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและอนาคตของประเทศ ภาวะเครียดทางการเมืองเป็นชื่อเรียกอาการเครียดที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ ในช่วงที่มีการจัดตั้งประธานาธิบดี ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ระบุว่า คนอเมริกันมีระดับความเครียดเพิ่มสูงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (รวมถึงปีที่เศรษฐกิจถดถอยที่เริ่มต้นในปี พ.ศ.2551) ความเครียดเหล่านี้มีสาเหตุมาจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ ภาวะเครียดทางการเมืองจัดว่าเป็นโรคทางจิตหรือไม่? ภาวะเครียดทางการเมืองไม่ใช่โรคที่เกิดจากปัญหาทางด้านสุขภาพจิต แต่เป็นเพียงกลุ่มอาการที่เกิดจากความเครียด ความรู้สึกวิตกกังวล ความเครียดที่ไม่สามารถคาดคะเนสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ Dr. Philip Levendusky ผู้อำนายการแผนกจิตวิทยา กล่าวว่า ภาวะเครียดทางการเมืองไม่สามารถจัดอยู่ในโรคชนิดหนึ่งได้ การตั้งชื่อโรคโดยการอิงจากสถานการณ์บ้านเมืองและทางสังคมที่ประชาชนให้ความสนใจ เป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล เสพข่าวอย่างมีสติ กับ 3 วิธีรับมือและป้องกัน ภาวะความเครียดทางการเมือง ที่อาจเกิดขึ้น หากคุณเสพข่าวทางการเมืองมากจนเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ เช่น ความรู้สึกวิตกกังวล ความเครียด ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ เป็นต้น […]


การจัดการความเครียด

บรรเทาความเครียด เสริมสร้างความสุข ด้วยน้ำมันหอมระเหย

เวลาที่เรารู้สึกเหนื่อยๆ การได้ดมกลิ่นลาเวนเดอร์ หรือกลิ่นไม้หอม อาจจะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการสกัดส่วนต่างๆ ของพืชเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการบำบัดผ่อนคลายความเครียด และใช้เพื่อรักษาสภาวะอื่นๆ กันมานานตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว แต่บางคนอาจจะยังใช้น้ำมันหอมระเหยอย่างผิดวิธีกันอยู่ บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ น้ำมันหอมระเหย เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ น้ำมันหอมระเหย ได้อย่างปลอดภัย ไร้กังวล น้ำมันหอมระเหย คืออะไร น้ำมันหอมระเหยคือน้ำมันที่ได้จากการสกัดเอาสารต่างๆ ที่มีประโยชน์มาจากพืช ทำให้ได้น้ำมันที่มีกลิ่นหอมแรงกว่าวัตถุดิบดั้งเดิม และมีสารที่ออกฤทธิ์เข้มข้นกว่าพืชที่ใช้สกัดน้ำมันนั้น วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย มีอยู่หลายวิธี ดังต่อไปนี้ การกลั่นโดยใช้ไอน้ำ กระบวนการนี้จะใช้ไอน้ำความร้อนสูง ส่งผ่านเข้าไปในหม้อควบคุมความดันที่มีวัตถุดิบของพืชที่เราต้องการกลั่นน้ำมันหอมระเหยอยู่ ไอน้ำนั้นจะกระทบกับวัตถุดิบ แล้วไหลผ่านออกไปทางท่อ โดยไอน้ำจะเอาน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในพืชติดมาด้วย หลังจากนั้นไอน้ำจะทำการควบแน่น แล้วนำมาแยกชั้น เพื่อให้ได้น้ำมันหอมระเหย วิธีการนี้จะทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยคุณภาพดี และบริสุทธิ์มากถึง 100% การสกัดเย็น การสกัดเย็น คือการสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการกดทับ หรือคั้นวัตถุดิบ เพื่อให้น้ำหรือน้ำมันไหลออกมาจากวัตุดิบ การสกัดเย็นมักจะใช้กับการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากผิวของพืชตระกูลส้ม เช่น ส้ม มะนาว หรือมะกรูด วิธีการนี้จะไม่ทำให้เกิดความร้อน จึงไม่ทำลายสารสำคัญที่อยู่ในน้ำมันมากนัก การสกัดโดยใช้ตัวทำละลาย วัตถุดิบบางชนิดอาจจะไม่สามารถกลั่นด้วยไอน้ำได้ เนื่องจากความร้อนจากไอน้ำอาจทำลายสารสำคัญที่อยู่ในวัตถุดิบได้ ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีการสกัดโดยใช้ตัวทำละลาย เช่น acetone หรือ benzene เพื่อให้ตัวทำละลายเหล่านี้สามารถดึงเอาสารที่ต้องการออกมาจากวัตถุดิบได้ ในบางครั้งหลังจากที่ได้น้ำมันสกัดออกมาแล้ว อาจจะมีการเติมน้ำมันอื่นๆ เข้าไปด้วย เพื่อให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นพอสำหรับขาย ดังนั้นน้ำมันหอมระเหยเหล่านั้นจึงมักจะไม่ใช่น้ำมันบริสุทธิ์ แต่เป็นน้ำมันผสม ทำไมเราจึงเลือกใช้น้ำมันหอมระเหย น้ำมันหอมระเหยมักจะทำมาใช้ในกระบวนการสุคนธบำบัด หรืออโรมาเทอราพี (Aromatherapy) […]


การจัดการความเครียด

6 วิธี คลายเครียดหลังเลิกงาน เหนื่อยแค่ไหนกลับบ้านมาต้องสดชื่น

การทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้เกิดความเครียดสะสม  หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้นเราจึงควรแบ่งเวลาเพื่อพักผ่อนคลายสมองบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอจึงนำ 6 วิธี คลายเครียดหลังเลิกงาน มาฝากกันคะ ภาวะหมดไฟในการทำงานคืออะไร ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ (Burnout Syndrome ) โรคที่เป็นผลจากการความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่เป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงานและไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งลักษณะอาการออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ เหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกหมดพลัง สูญเสียพลังจิตใจ มีทัศนคติเชิงลบต่อความสามารถในการทำงานของตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในความสำเร็จ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ความสัมพันธ์ในที่ทำงานเหินห่างหรือเป็นไปทางลบกับผู้ร่วมงานและลูกค้า 3 สัญญาณเตือน ว่าคุณเครียดจากการทำงาน ร่างกายอ่อนเพลีย อาการร่างกายอ่อนเพลียเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณเริ่มเครียดเกินไปจากการทำงาน หากคุณเป็นผู้ที่มักจะอ่อนเพลียบ่อยครั้ง ควรเริ่มต้นที่การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และให้พลังงานมากที่สุด โดยอาจจะเลือกเป็นเครื่องดื่มที่มีรสหวานเพื่อให้พลังงานก็ได้เช่นกัน  นอนไม่หลับ การนอนไม่หลับนับเป็นปัญหาที่หลาย ๆ คนประสบ ซึ่งการแก้ไขสามารถทำได้โดยเลือกนั่งสมาธิก่อนนอน เพื่อให้จิตใจผ่อนคลายก่อนนอน หงุดหงิดง่าย การหงุดหงิดเกิดขึ้นเพราะจิตใจไม่ปลอดโปร่ง หากเกิดอาการหงุดหงิดให้คุณลองหาวิธีแก้ด้วยการมองไปที่สาเหตุ เพราะการแก้ที่ต้นเหตุจะทำให้ความเครียดและความหงุดหงิดหายไปได้  โรคที่เกิดจากความเครียด ในการทำงาน เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เมื่อคุณเครียดต่อเนื่อง คุณอาจสังเกตว่าตัวเองเริ่มปวดหน้าอกหรือใจสั่น ทั้งนี้ความเครียดที่สามารถส่งผลทางลบต่อเส้นเลือดและหัวใจ ทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคนอนไม่หลับ หากคุณอยู่กับความเครียดทุกวัน มันก็อาจทำให้จิตใจของคุณว้าวุ่นในตอนกลางคืน คุณอาจคิดหาทางออก หรือวิตกกังวลกับสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่ การนอนไม่เพียงพอก็จะยิ่งทำให้คุณวิตกกังวลหรือเครียดมากกว่าเดิม โรคซึมเศร้า ความเครียดสามารถส่งผลจิตใจ และนั่นก็สามารถทำให้เกิดปัญหาทางจิตอย่างโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้า  6 วิธี คลายเครียดหลังเลิกงาน  นำเท้าแช่น้ำอุ่น การแช่เท้าด้วยน้ำอุ่นจะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับง่ายขึ้น ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย หลังการแช่เท้าในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 36-38 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10-15 นาที แล้วเช็ดเท้าให้แห้งแล้วพักผ่อนอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เล่นโยคะ การเล่นโยคะ ช่วยลดความตึงเครียดและผ่อนคลายร่างกาย […]


การจัดการความเครียด

เครียดแล้วอยากกินของหวาน เกิดจากสาเหตุใดกันแน่นะ

เครียดแล้วอยากกินของหวาน เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับใครหลายคน ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมเวลาที่คนเราเครียด แล้วต้องหาของหวานมากินนั้น ในบทความนี้มีข้อมูลมาฝาก แต่ก่อนที่เราจะไปรู้สาเหตุ มาสังเกตพฤติกรรมตัวเองกันหน่อยดีกว่าว่า คุณเป็นคนที่เครียดแล้วกินหรือเปล่า ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ก็มีแนวโน้มว่า เวลาที่คุณเครียด คุณอาจจะมองหาของหวาน และกินมากเกินไป เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น เช่น เวลาเครียดคุณจะอยากกินอาหารเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น คุณกินทั้งๆ ที่ไม่รู้สึกหิว หรือว่ากินทั้งๆ ที่อิ่มแล้ว คุณกินอาหารมื้อใหญ่ คุณไม่สามารถควบคุมการกินของตัวเองได้ ทำไมเวลา เครียดแล้วอยากกินของหวาน อาหารกับความเครียด เวลาที่คุณรู้สึกเครียดนั้น การกินตามอารมณ์ (Emotional eating) หรือการกินเพราะความเครียด (Stress eating) มักจะเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายตอบสนอง ต่อฮอร์โมนแห่งความเครียด งานวิจัยในปี 2010 จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ที่ได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีและไม่มีความเครียด ผลการวิจัยพบว่า เมื่อระดับฮอร์โมนความเครียด หรือฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงขึ้น กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มว่าจะกินขนมขบเคี้ยวมากขึ้น นอกจากนี้ความเครียด ยังอาจเพิ่มความอยากอาหาร โดยเฉพาะของหวาน เช่น โดนัท ไอศกรีม อาหารที่มีไขมันสูงและมีน้ำตาลสูง รวมถึงทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะกินอาหารที่มีประโยชน์น้อยลง กินผักน้อยลง และหันไปกินของหวานมากขึ้น ระวังเรื่องน้ำหนัก ถ้าคุณเป็นคนที่ ‘เครียดแล้วกิน’ จะต้องหาของหวานมากินในเวลาที่รู้สึกเครียด ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะหลายคนเป็นแบบนี้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ผู้ที่เครียดแล้วกินส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักมากกว่าหรืออ้วนกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ไม่ได้กินอาหารเวลาเครียด ของหวานกับฮอร์โมนเซโรโทนิน สาเหตุที่ทำให้เราอยากกินของหวานเวลาเครียดนั้น เป็นเพราะว่าอาหารสามารถช่วยบรรเทาความเครียดได้ เช่น คอมฟอร์ทฟู้ด (Comfort food) อย่างเช่น […]


การจัดการความเครียด

ทำงานหนักต้องระวัง เครียดเรื่องงาน อาจส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ

หากคุณมีงานมากมายที่ต้องเคลียร์ให้เสร็จ แต่มีเวลาทำเพียง 1 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าน้อยเกินไป แล้วคุณคิดว่าต้องทำไม่ทันแน่นอน หรือแม้แต่บรรยากาศในการทำงาน รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่ไม่เป็นใจ ก็สามารถทำให้เกิดความ เครียดเรื่องงาน ได้ ซึ่งนายแพทย์ไมเคิล มิลเลอร์ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ความเครียดในที่ทํางานเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพหัวใจ Hello คุณหมอ จึงขอเตือนหนุ่มสาววัยทำงาน ให้ระวังปัญหาหัวใจที่อาจเกิดจากความเครียดเรื่องงาน ดังนี้ อาการที่บอกว่า ความเครียดจากงานเริ่มส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ คุณอาจจะเกิดปัญหาในเรื่องงาน เวลาที่หัวหน้ามอบหมายงานให้มากจนเกินไป จนไม่สามารถควบคุมและจัดการกับงานได้ ซึ่งความเครียดจากงานที่เกิดขึ้น อาจทำให้คุณมีอาการเหล่านี้ ที่หมายถึงการที่ความ เครียดจากงาน เริ่มส่งผลต่อสุขภาพหัวใจแล้ว หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกที่ฝ่ามือ และความดันโลหิตสูงขึ้น คุณรู้สึกเหนื่อย และอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ จนบางครั้งคุณอาจตะคอกใส่เพื่อน หรือคนในครอบครัว คุณมีปัญหาการนอนหลับ และการมีสมาธิจดจ่อ คุณเป็นหวัดบ่อยขึ้น และหายช้าลง คุณเยียวยาตัวเองด้วยของหวาน หรือแอลกอฮอล์ วัยทำงานควรระวัง ความเครียดเรื้อรังไม่ดีต่อสุขภาพหัวใจ ความเครียดเรื้อรังอาจส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ โดยเฉพาะถ้าคุณมีไลฟ์สไตล์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากมีงานวิจัยคือรายงานในวารสารวิชาการ the European Heart Journal ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ศึกษาเป็นเวลา 12 ปี จากกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 10,000 คน ที่เป็นพนักงานออฟฟิศ […]


การจัดการความเครียด

กินแก้เครียด เครียดแล้วต้องกิน รีบแก้ไขก่อนจะสายเกินไป!

อากาศร้อน ฝนตก รถติด ผลการเรียนไม่ดี โดนเจ้านายบ่น แต่ละวันมีสารพันปัญหากระทบจิตใจ ทำให้เราเครียดจนแทบทนไม่ไหว และคงไม่มีใครอยากให้ความเครียดอยู่กับเราตลอดไป แต่ละคนจึงต้องสรรหากิจกรรมแก้เครียด เช่น อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ เล่นเกม ฟังเพลง ท่องเที่ยว และที่ขาดไม่ได้คงเป็น “การกิน” ที่ถือเป็นวิธีแก้เครียดที่ใครหลายคนโปรดปราน แต่ใครที่ชอบ กินแก้เครียด ก็ต้องระวังเอาไว้ให้ดี เพราะหากเครียดเมื่อไหร่เป็นต้องกิน อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณได้ กินแก้เครียด… ทำไมเครียดแล้วต้องกิน เมื่อคนเราเครียด ร่างกายจะหลั่งคอร์ติซอล หรือที่เรียกกันว่าฮอร์โมนความเครียดออกมาเพื่อรับมือกับความเครียด แต่หากมีคอร์ติซอลมากเกินไป อาจทำให้มีปัญหาในการนอน วิตกกังวล รวมไปถึงทำให้อยากอาหารมากกว่าปกติได้ด้วย เมื่อเราหายเครียดคอร์ติซอลในร่างกายก็จะลดลงสู่ระดับปกติ แต่หากเรามีความเครียดสะสม เกรลิน (ghrelin) ซึ่งเป็นเปปไทด์ฮอร์โมนที่สร้างจากกระเพาะอาหารและรู้จักกันในชื่อของ “ฮอร์โมนความหิว” จะถูกหลั่งออกมามากขึ้น ทำให้เรารู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารที่มีรสชาติ หวาน เค็ม หรืออาหารไขมันสูง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด เค้ก เป็นต้น ความเครียดนี้นอกจากจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการกินแล้ว ยังสร้างปัญหาให้กับระบบเมตาบอลิซึม ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้น้อยลงอีกด้วย โดยผลการวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำการศึกษากับกลุ่มอาสาสมัครหญิงระบุว่า หลังจากกินอาหารไขมันสูงไปแล้ว 7 ชั่วโมง อาสาสมัครกลุ่มที่มีอาการเครียดจากงานหรือปัญหาครอบครัวสามารถเผาผลาญพลังงานได้น้อยกว่าอาสาสมัครกลุ่มที่ไม่เครียดถึง 104 […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม