backup og meta

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อีกหนึ่งภาวะสุขภาพที่ลูกหลานควรใส่ใจ

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อีกหนึ่งภาวะสุขภาพที่ลูกหลานควรใส่ใจ

โรคซึมเศร้าจัดเป็นโรคทางอารมณ์ที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่คนบางช่วงวัย โดยเฉพาะ วัยผู้สูงอายุ ก็อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากกว่าคนวัยอื่น ๆ จากสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ชาวอเมริกันที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าประมาณ 6 ล้านคน และจำนวนผู้ป่วยในแต่ละปีก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ Hello คุณหมอ ก็มีข้อมูลว่าประเทศไทยเองก็เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว นั่นทำให้ โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่ลูกหลานไม่ควรมองข้าม เพราะหากผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงวัยสูงอายุ มักเป็นสาเหตุให้เกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย เช่น

และยิ่งหากผู้สูงอายุมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ก็ยิ่งมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น

  • เป็นผู้หญิง
  • มีสถานภาพโสด ไม่ได้แต่งงาน หย่าร้าง หรือเป็นม่าย
  • ขาดการปฏิสัมพันธ์กับลูกหลาน เพื่อน หรือคนรอบข้าง
  • สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า
  • ใช้ยาเสพติด หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีอาการอย่างไร

อาการหรือสัญญาณที่บ่งชี้ว่าผู้สูงอายุอาจเป็นโรคซึมเศร้า ได้แก่

  • รู้สึกเศร้า วิตกกังวล หรือรู้สึกว่างเปล่าติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • หมดความสนใจในงานอดิเรก หรือกิจกรรมโปรดของตน
  • รู้สึกสิ้นหวัง หรือหมดอาลัยตายอยาก
  • รู้สึกไร้ค่า หรือรู้สึกว่าตัวเองไม่มีประโยชน์
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
  • มีปัญหาด้านความจำ การตัดสินใจ และการรวบรวมสมาธิ
  • มีปัญหาในการนอนหลับ ตื่นเช้าเกินไป หรือนอนเยอะเกินไป
  • ความอยากอาหาร หรือน้ำหนักเปลี่ยนแปลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • มีความคิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย
  • หงุดหงิดง่าย
  • มีอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ปวดศีรษะ เป็นตะคริว หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ที่หาสาเหตุไม่ได้ หรือรักษาแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น

หากเป็นแล้วจะรักษาอย่างไรได้บ้าง

วิธีรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่นิยมใช้ได้แก่ การใช้ยาและจิตบำบัด โดยแพทย์อาจสั่งจ่ายยาที่เรียกว่า ยาต้านซึมเศร้าแก่ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคนี้ ส่วนใหญ่แล้ว อาการบางอย่างจะเริ่มดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์หลังจากเริ่มใช้ยา และอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ กว่ายาจะออกฤทธิ์ได้เต็มที่ แต่การใช้ยาต้านซึมเศร้ามักก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้และอาเจียน น้ำหนักขึ้น ท้องเสีย ง่วงซึม มีความผิดปกติทางเพศ ฉะนั้น หากผู้สูงอายุใช้ยาแล้วเกิดอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ทันที แพทย์จะได้ปรับขนาดยา หรือเปลี่ยนยาให้

ส่วนการรักษาด้วยจิตบำบัด หรือการบำบัดด้วยการพูดคุย จะช่วยปรับเปลี่ยนวิธีคิดหรือพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า ทำให้ผู้สูงอายุสามารถรับมือกับโรคซึมเศร้าได้ดีขึ้น โดยงานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า การรักษาด้วยจิตบำบัดให้ผลดีเทียบเท่ากับการใช้ยาต้านซึมเศร้า ผู้สูงอายุบางรายที่ต้องใช้ยารักษาโรคอื่น ๆ อยู่แล้ว จึงนิยมรักษาโรคซึมเศร้าด้วยวิธีจิตบำบัดอย่างเดียว เพราะจะได้ไม่ต้องกินยาเพิ่มอีก แต่หากโรคซึมเศร้าอยู่ในขั้นรุนแรง การรักษาด้วยยา หรือการใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด ก็อาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่า

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบคุณหมอ

หากคุณสังเกตเห็นว่าผู้สูงอายุในครอบครัวมีอาการซึมเศร้า หดหู่บ่อย ๆ หรือมีอาการเรื้อรัง จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ควรพาท่านไปพบคุณหมอทันที แพทย์จะได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุหรือไม่ และหากเป็น แพทย์จะได้รักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมที่สุด เพราะหากปล่อยไว้ไม่รักษา โรคซึมเศร้าอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา หรือทำให้ปัญหาสุขภาพที่มีอยู่แล้วแย่ลงได้ และหากผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง ก็อาจเสี่ยงทำร้ายตัวเองหรือเสี่ยงฆ่าตัวตายได้ด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Depression in Older Adults. https://familydoctor.org/depression-in-older-adults/. Accessed October 14, 2020

Depression and Older Adults. https://www.nia.nih.gov/health/depression-and-older-adults. Accessed October 14, 2020

Depression in older adults. https://www.rcpsych.ac.uk/mental-health/problems-disorders/depression-in-older-adults. Accessed October 14, 2020

Depression In the Elderly. https://www.webmd.com/depression/guide/depression-elderly#1. Accessed October 14, 2020

Older Adults and Depression. https://www.nimh.nih.gov/health/publications/older-adults-and-depression/index.shtml. Accessed October 14, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/10/2020

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีออกกำลังกายในน้ำ เสริมสร้างความฟิตให้ผู้สูงอายุ

ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ต้องตรวจอะไรบ้างถึงจะดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 22/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา