ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น เช่น การจัดการกับความโกรธ เทคนิครับมือกับความเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวต่าง ๆ หาคำตอบได้ที่นี่เลย!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เหตุผลดีๆ ที่ สัตว์เลี้ยง ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ให้ดีขึ้นได้

สัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็น น้องหมา แมว หรือแม้กระทั่งปลาทอง ที่นอกจากความน่ารัก ดุ๊กดิ๊กของเจ้าพวกนี้แล้ว สัตว์เลี้ยง ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ให้คุณกับเราได้อีกด้วย ยามเหงา ไม่มีใครหันมาเมื่อไรก็ยังมีสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนอยู่เสมอ วันนี้ Hello คุณหมอมีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวประโยชน์ของสัตว์เลี้ยง ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้นได้ สัตว์เลี้ยง ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ได้อย่างไร จากการวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าสัตว์เลี้ยงนั้นมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต จากการศึกษาขนาดใหญ่โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่อาศัยอยู่กับ ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า โรคจิตเพศ (schizophrenia) โรคอารมณ์สองขั้ว และภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง พบว่าการมีสัตว์เลี้ยงนั้นช่วยให้เกิดความรู้สึกแบบ แนวคิดความมั่นคงทางภววิทยา (ontological security) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ช่วยให้รู้สึกมีความมั่นคงอุ่นใจ ผูกพัน และช่วยให้รู้สึกมีความหมายในชีวิต จากการศึกษาของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) สนับสนุนให้ผู้ปกครองมีสัตว์เลี้ยงในครอบครัว เพราะการที่มีสัตว์เลี้ยงมีส่วนช่วยในการลดอาการวิตกกังวลได้ และยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดลงของดัชนีมวลกายอีกด้วย ดอกเตอร์บรู๊คและเพื่อนรวมสถาบันเดียวกันได้ทำการสืบค้นข้อมูลทางการแพทย์ พบว่าสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นแมว หมา หนูแฮมเตอร์ หรือแม้กระทั่งปลาทอง นั้นช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตอาการดีขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสุขภาพจิตที่รุนแรงหรือมีปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพหรือความผิดปกติของพัฒนาการ จากข้อมูลทางการแพทย์ให้ข้อมูลว่าสัตว์เลี้ยงช่วยให้ผู้ป่วยจัดการกับอารมณ์ของตัวเองและช่วยให้มีอารมณ์ที่คงที่ มีสมาธิ ไม่วอกแวก สัตว์เลี้ยง ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ด้านใดบ้าง การมีสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนนั้น เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยลดความวิตกกังวลและความเครียด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ประโยชน์ของการหัวเราะ... เมื่อการหัวเราะวันละนิด มีดีมากกว่าจิตแจ่มใส

คุณน่าจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “การหัวเราะเป็นยาวิเศษ” มาบ้างแล้ว และ Hello คุณหมอ ก็อยากบอกคุณว่า คำกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องเกินจริงแต่อย่างใด เพราะผู้เชี่ยวชาญต่างก็ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า การหัวเราะสามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเราได้จริง และต่อไปนี้คือ ประโยชน์ของการหัวเราะ ที่คุณรู้แล้วจะต้องอยากหัวเราะให้มากขึ้นแน่นอน ประโยชน์ของการหัวเราะ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น งานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งของมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ให้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มหนึ่งดูรายการตลก และอีกกลุ่มดูละครดราม่า พบว่า หลังจากแต่ละกลุ่มดูรายการทีวีตามประเภทที่กำหนดแล้ว หลอดเลือดของกลุ่มที่ดูรายการตลกนั้นยืดและหดตัวได้ง่าย ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี ส่วนกลุ่มที่ดูละครดราม่านั้น หลอดเลือดกลับมีแนวโน้มตึงขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก เมื่อเลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น เลือดก็จะสามารถลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ได้มากขึ้น โดยเฉพาะหัวใจ ฉะนั้น หากคุณอยากสุขภาพหัวใจแข็งแรงก็ต้องหัวเราะเข้าไว้ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ และบรรเทาปวด เมื่อคุณหัวเราะ ความตึงเครียดทางกายจะหายไป และช่วยให้กล้ามเนื้อของคุณผ่อนคลายได้นานถึง 45 นาที นอกจากนี้ การหัวเราะยังทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งเป็นสารเคมีตามธรรมชาติที่ช่วยทำให้เรารู้สึกดี มีความสุข ทั้งยังช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ด้วย ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน การหัวเราะจะช่วยลดการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เช่น คอร์ติซอล (Cortisol) อะดรีนาลีน (Adrenaline) อิพิเนฟริน (Epinephrine) และกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่ดีต่อร่างกาย เช่น เอนดอร์ฟิน  อีกทั้งการหัวเราะยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว เซลล์ที (T […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โลกส่วนตัวสูง ผิดปกติไหม ปรับตัวอย่างไรดี

โลกส่วนตัวสูง หมายถึง ผู้ที่ไม่อยากเข้าสังคม ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือเสียหายแต่งอย่างใด แต่อาจเพราะมีเรื่องราวบางอย่างที่ทำให้บุคคลนั้นต้องการอยู่คนเดียว ไม่สุงสิงกับใคร และเป็นเรื่องที่ยากลึกเกินกว่าใครจะเข้าใจได้ โลกส่วนตัวสูง เป็นอย่างไร มีผลเสียหรือไม่ และควรแก้ไขอย่างไร [embed-health-tool-bmi] โลกส่วนตัวสูง คือบุคลิกภาพแบบใด โลกส่วนตัวสูง หมายถึง ผู้ที่มีความรู้สึกอยากอยู่กับตนเอง และมักมีอาการเหน็ดเหนื่อย หมดเรี่ยวแรงกับการใช้ชีวิตผูกติดกับสังคมรอบข้างอยู่เป็นประจำ ซึ่งสามารถสังเกตจากบุคลิกและลักษณะนิสัยต่าง ๆ ดังนี้ ชอบทำงานลุยเดี่ยว การทำงานเดี่ยวมักเป็นสิ่งที่โปรดปรานของคนที่มี โลกส่วนตัวสูง เพราะอาจทำให้มีสมาธิในการทำงานจนออกมาได้ดีในระดับหนึ่ง แม้การทำงานกลุ่มจะเป็นการเข้าสังคมอีกวิธี แต่อย่างไรก็ตาม คนที่มีโลกส่วนตัวสูงมักจะยืนยันว่าอยากจะทำงานเดี่ยวมากกว่าเสมอ ชอบใช้เวลาอยู่กับตัวเอง เป็นความสุข และการพักผ่อนอย่างหนึ่งของคนเก็บตัวที่มักจะไปไหนมาไหนอยู่คนเดียวบ่อย ๆ และมักจะทำอะไรให้ตนเองสบายใจโดยไม่ต้องพึ่งพาใคร มีเพื่อนสนิทกลุ่มเล็ก ใครว่าคน โลกส่วนตัวสูง คือการที่อยู่คนเดียวไปตลอดชีวิต จริง ๆ แล้วพวกเขาก็มีสังคม หรือเพื่อนสนิทกลุ่มเล็ก ๆ เช่นกัน เนื่องจากการไม่ชอบความวุ่นวายในผู้คนหมู่มาก ทำให้การที่มีกลุ่มเพื่อนสนิทแค่ไม่กี่คนที่คอยช่วยเหลือ คอยเข้าใจ และใช้ชีวิตไปด้วยกันอย่างสนุกสนาน ก็เป็นที่น่าพึงพอใจแล้ว ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ขณะที่กลุ่มเพื่อน ๆ ออกไปแฮงเอาท์ในคืนวันศุกร์ แต่คนโลกส่วนตัวสูงมักจะต้องการอยู่บ้าน หรืออาจออกไปบ้างบางอารมณ์แต่จำกัดเวลาเพื่อไม่ให้ตนเองรู้สึกฝืนร่างกายจนเกินไป และปลีกตัวออกมาเร็วกว่าคนอื่น ๆ เพราะอาจรู้สึกอึดอัด หรือรู้สึกว่า ไม่มีใครเข้าใจความรู้สึกของตนเอง โลกส่วนตัวสูง ผิดปกติหรือไม่ ผู้ที่ โลกส่วนตัวสูง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เอาชนะอาการ กลัวสุนัข พร้อมเปิดใจให้ความน่ารักของสัตว์แสนรู้

เป็นเรื่องที่น่าเหลือเลยทีเดียว ถึงอาการ กลัวสุนัข ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีอยู่จริง เพราะความน่ารัก ขี้เล่น และแสนรู้เช่นนี้ จะทำให้ผู้คนกลัวได้ถึงเชียวหรือ บางคนอยากจะสัมผัส แต่ก็ไม่กล้าพอที่จะเอื้อมมือไปเล่นกับเจ้าสุนัขด้วยเหตุผลบางอย่าง มาร่วมค้นหาสาเหตุของพวกเขาเหล่านี้ พร้อมเคล็ดลับเอาชนะความกลัวแปลกๆ ไปพร้อมกับ Hello คุณหมอ กันเถอะ สาเหตุที่ทำให้คุณ กลัวสุนัข มีอะไรบ้างนะ คำนิยามของอาการ กลัวสุขนัข (Cynophobia) มีที่มาจากภาษากรีก คือ Cyno ที่แปลว่า สุนัข และ Phobia ที่แปลว่ากลัว เมื่อนำมารวมกันจึงได้คำที่ตรงตัวก็คือ อาการกลัวสุขนัข หรือความกลัวสุนัข ซึ่งสาเหตุที่ผู้คนบางกลุ่มมีความหวาดกลัวต่อสัตว์สี่ขาชนิดนี้ สันนิษฐานได้ว่า อาจมาจากประสบการณ์ด้านลบกับสุนัขโดยตรง โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นกับคุณในวัยเด็ก ก่อให้เกิดการจดจำจวบจนถึงปัจจุบันที่คุณเติบโตขึ้น เช่น ถูกสุนัขกระโจนเข้าหา ได้รับบาดเจ็บการจากถูกสุนัขกัด กลัวเสียงขู่เสียงเห่า และโรคติดต่อจากสัตว์ เป็นต้น รวมถึงมาจากกรรมพันธุ์ของคนในครอบครัว และถูกปลูกฝังตั้งแต่ยังเยาว์วัย เพื่อปกป้องคุณไม่ให้ใกล้ชิดกับสุนัข เพราะอาจทำให้ได้รับอันตรายอย่างที่พวกเขาประสบมาก็เป็นได้ อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังหวาดกลัวเมื่อพบน้องหมา ถึงแม้จะอยากเข้าไปเล่นเพียงใด แต่เพียงแค่เห็นน้องหมาจ้องตาก็รู้สึกผวาในใจขึ้นมาทุกที และยังส่งผลให้มีอาการทางด้านอารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้น หายใจลำบาก ติดขัด อัตราการเต้นของหัวใจรวดเร็วขึ้น ตัวสั่น เวียนหัว มึนหัว เกิดความวิตกกังวล สูญเสียการควบคุมร่างกาย หลบหนีอย่างรวดเร็วเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่เผชิญหน้ากับสุนัข โกรธเคือง เหงื่อออก ร้องไห้ หรือกรีดร้อง พิชิตอาการ กลัวสุนัข ให้ใช้ชีวิตร่วมกันได้ อย่างมีความสุข การรักษาด้วยจิตบำบัด (Psychotherapy) โดยปรับพฤติกรรมด้านความรู้ความเข้าใจ และการสัมผัสกับสุนัขโดยตรง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

วิธีฝึกตัวเองให้เป็นคน คิดบวก มองโลกในแง่ดี เพื่อสุขภาพที่ดีในทุกวัน

การใช้ชีวิตในแต่ละวัน เราต้องเผชิญกับสิ่งที่สามารถบั่นทอนสุขภาพของเราได้มากมาย ไม่ว่าจะเหตุการณ์ในระดับประเทศ วิกฤติระดับโลก หรือเรื่องเครียดจากงาน จากการเรียน ยิ่งหากคุณชอบมองโลกในแง่ร้าย ก็มีแต่จะยิ่งทำให้สภาพจิตใจและร่างกายของเราแย่ลง และอาจกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน การเรียน และความสัมพันธ์ต่างๆ ในชีวิตได้ด้วย Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณมาสร้างเกราะป้องกันความคิดร้ายๆ ด้วยการฝึกตัวเองให้เป็นคน คิดบวก มองโลกในแง่ดี คุณจะได้มีสุขภาพดี แถมยังช่วยกระตุ้นอีคิวไอคิวให้กระฉูดด้วย วิธีฝึกตัวเองให้ คิดบวก มองโลกในแง่ดี ยิ้มแย้มร่าเริง หัวเราะให้บ่อยเข้าไว้ งานศึกษาวิจัยหลายชิ้นเผยว่า การหัวเราะสามารถช่วยลดอาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า ช่วยคลายเครียด ทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะในการจัดการปัญหา พัฒนาอารมณ์ และทำให้คุณเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้นด้วย คุณต้องทำตัวให้เฮฮา ร่าเริง และหัวเราะให้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหนก็ตาม ยิ่งถ้าต้องเจอเรื่องยากๆ คุณก็ยิ่งต้องยิ้มสู้เข้าไว้ เพราะ “เครียดไปก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น” การหัวเราะและรอยยิ้มต่างหากที่จะช่วยให้คุณผ่อนคลาย สมองปลอดโปร่ง และมองเห็นวิธีแก้ปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ต่อให้คุณขำไม่ออก ก็ต้องพยายามฝืนยิ้มให้ได้ แล้วคุณจะอารมณ์ดีขึ้น เครียดน้อยลง แถมยังคิดบวกขึ้นด้วย รู้จักขอบคุณสิ่งต่างๆ รอบตัว ความรู้สึกขอบคุณ (Gratitude) เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรมี เมื่อเราตระหนักรู้ในคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น เราก็จะรู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณสิ่งๆ นั้น เช่น รู้สึกซาบซึ้งในบุญคุณของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูมาจนเติบใหญ่ รู้สึกขอบคุณคนที่ลุกให้นั่งบนรถเมล์ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

นอกจากเจออากาศร้อนแล้ว อย่าลืมรับมือกับ อาการซึมเศร้า เมื่อเข้าฤดูร้อนด้วย

เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน สิ่งแรกที่นึกถึงก็คงเป็นแสงแดดจ้า ๆ ที่มาพร้อมกับความร้อนที่ทำให้แสบไปทั่วทั้งผิวกาย และยังตามมาด้วยเหงื่อ ที่ไหลย้อยจนชุ่มไปทั้งร่างกาย บ้างก็ส่งผลให้เกิดอาการคัน ผดผื่นในหน้าร้อน แต่ยังมีอีกหนึ่งเรื่องที่มาในหน้าร้อน ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะคาดคิดไม่ถึง นั่นก็คือ อาการซึมเศร้า เมื่อเข้าฤดูร้อน เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่า ฤดูร้อนและอาการซึมเศร้านั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ อาการซึมเศร้า เมื่อเข้าฤดูร้อน (Summer Depression) คืออะไร SAD หรือ Seasonal Affective Disorder คือ อาการซึมเศร้าตามฤดูกาล ซึ่งมักจะเริ่มต้นตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง ยาวไปจนถึงฤดูหนาว แต่บางครั้งก็สามารถเกิดขึ้นในปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงฤดูร้อนได้เช่นกัน โดย อาการซึมเศร้าในฤดูร้อน (Summer Depression) ถือเป็นอาการซึมเศร้าตามฤดูกาลอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในฤดูร้อน โดยทั่วไปแล้ว อาการซึมเศร้าตามฤดูกาลมักจะเกิดในช่วงฤดูหนาวที่กลางคืนยาวกว่ากลางวัน บวกกับอากาศที่หนาวเย็นจึงทำให้คนรู้สึกเหงาและเศร้ามากขึ้น แต่ก็มีคนอยู่ประมาณร้อยละ 10 ที่มีภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูร้อนที่มีเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดก็ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าขึ้นมาได้ จากการศึกษาพบว่า ประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร อย่างประเทศอินเดีย จะพบว่าผู้คนมักจะมีอาการซึมเศร้าในฤดูร้อนมากกว่าในช่วงฤดูหนาว แม้การศึกษานี้จะระบุแน่ชัดไม่ได้ว่า อาการซึมเศร้าในฤดูร้อนนั้นเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ แต่ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่า ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัด ความชื้น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ใครเป็น โรคกลัวแมงมุม ฟังทางนี้ วิธีเหล่านี้อาจช่วยจัดการกับอาการกลัวแมงมุมได้

แมงมุม เป็นสัตว์ที่หลายๆ คนอาจจะไม่ชอบ หรืออาจถึงขั้นเป็น โรคกลัวแมงมุม เลยก็มี ซึ่งเมื่อเห็นแมงมุม ทั้งตัวจริงหรือเห็นจากภาพก็เกิดอาการกลัวขึ้นมาทันที บางครั้งอาจใจเต้นตุบตับ ตัวสั่นอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดการกับโรคกลัวแมงมุมมาฝาก โรคกลัวแมงมุม มีอาการอย่างไร โรคกลัวแมงมุม (Arachnophobia) เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการหวาดกลัวแมงมุมอย่างรุนแรง ถึงแม้ว่าการไม่ชอบแมงมุม จะไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สำหรับผู้เป็นโรคกลัวแมงมุม นั้นนอกจากความกลัวยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างมีนัยยะสำคัญ นอกจากนี้ยังมี โรคกลัว (Phobias) อย่างอื่นอีกมายมาย เช่น กลัวความสูง กลัวรู กลัวงู กลัวทะเล เป็นต้น โฟเบีย เป็นโรคที่ทำให้คุณมีความรู้สึกว่า สิ่งที่กลัวนั้นคุกคามชีวิตของคุณ โฟเบียนั้นสามารถส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ แต่หากรู้ว่าตนเองเป็นโรคกลัวอะไร ก็สามารถหลีกเลี่ยงที่จะเจอกับสิ่งนั้น เพื่อการดำรงชีวิต อาการของโฟเบียโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นเมื่อ ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว สำหรับโรคกลัวแมงมุม นั้นก็มีอาการคล้ายๆ กับโฟเบียอื่นๆ คือเมื่อคุณเห็นแมงมุม ไม่ว่าจะเป็นรูปแมงมุม แมงมุมของเล่น แมงมุมจริงๆ บางครั้งแค่นึกถึงอาการกลัวนั้นก็จะกำเริบได้ เมื่อคุณเจอแมงมุมแม้ว่ามันจะตัวเล็กมากๆ คุณก็จะมองว่าแมงมุมนั้นตัวใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้ นอกจากนี้อาการกลัวนั้นยังอาจแสดงออกมาทางกายภาพได้ด้วย อาการโดยทั่วไปของโรคกลัวแมงมุม คือ วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ รู้สึกท้องไส้ปั่นป่วน เหงื่อออก เนื้อตัวสั่น หายใจถี่หอบ หัวใจเต้นเร็วขึ้น บางครั้งอาจจะร้องไห้ออกมาด้วยความกลัว สาเหตุที่ทำให้มีอาการ กลัวแมงมุม อาการของโรคกลัวหรือโฟเบียนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับหลายๆ อย่าง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อิทธิพลของสื่อ ที่มีผลต่อ พฤติกรรมเลียนแบบอาชญากรรม

จากข่าวการกราดยิงโคราช เมื่อช่วงต้นปี 2020 ที่ผ่านมา หลายคนอาจจะสังเกตเห็นว่า มีข่าวการยิงในที่สาธารณะเกิดขึ้นติดต่อกันหลายครั้ง นับตั้งแต่การกราดยิงครั้งใหญ่นั้น จนอดตั้งข้อสงสัยไม่ได้ว่า เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ทำไมจึงมีการยิงกันในที่สาธารณะบ่อยขนาดนี้ และคอยติดตามข่าวกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น แต่หลายคนอาจจะไม่ทันได้ตระหนักว่า พฤติกรรมเลียนแบบอาชญากรรม ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ อาจมีผลมาจากอิทธิพลของสื่อก็เป็นได้ พฤติกรรมเลียนแบบอาชญากรรม เป็นอย่างไร คำว่า พฤติกรรมเลียนแบบอาชญากรรม หรือ copycat crime หมายถึงลักษณะการก่ออาชญากรรม ที่เลียนแบบมาจากอาชญากรรมที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว โดยอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากการศึกษาค้นคว้า หรือการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน ส่วนประกอบพื้นฐาน 4 ประการ ของอาชญากรรมเลียนแบบ คือ อาชญากรรมต้นแบบ (generator crime) หมายถึงอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในโลกของความเป็นจริง เป็นตัวอาชญากรรมต้นแบบที่ทำให้เกิดการเลียนแบบขึ้น อาชญากรต้นแบบ (criminogenic models) หมายถึงตัวผู้ก่อเหตุอาชญากรรมต้นแบบ ที่ผู้ก่อเหตุเลียนแบบเอาเป็นเยี่ยงอย่าง อาชญากรรมเลียนแบบ (copycat crime) หมายถึงอาชญากรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ โดยอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากการเสพข่าวสารมากเกินไป หรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากอาชญากรต้นแบบ อาชญากรเลียนแบบ (copycat criminal) หมายถึงผู้ที่ก่อเหตุอาชญากรรม เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากสื่ออาชญากรรม อาชญากรต้นแบบ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน สื่อมีอิทธิพลอย่างไรกับการก่ออาชญากรรมเลียนแบบ พฤติกรรมเลียนแบบนี้มีมาตั้งแต่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 หลังจากการสำรวจความสัมพันธ์ของเหตุอาชญากรรมกับการรายงานข่าว โดยข่าวที่โด่งดังและเป็นที่ให้ความสนใจในช่วงนั้นคือคือ ข่าวคดีฆาตกรรมเลื่องชื่อของ “แจ็คเดอะริปเปอร์” (Jack the Ripper) […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เป็นโสด ก็ไม่แย่ และที่แน่ๆ มีข้อดีเกินกว่าที่คุณคิด

มีความรักที่ไม่ดี อยู่เป็นโสดคงจะดีไม่น้อย โดยเฉพาะสุขภาพจิตใจที่แน่นอนว่าปลอดโปร่งโล่งสบาย ไม่มีเรื่องลำบากใจของคนใกล้ตัวให้มาคอยคิดจนปวดหัว แถมยังมีอิสระกับตัวเองมากยิ่งกว่าแต่ก่อนด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีประโยชน์ของการ เป็นโสด มาฝากค่ะ เหงากับเป็นโสด เป็นเรื่องยากที่จะกล่าวว่าความเหงากับความโสดนั้นไม่สัมพันธ์กัน บางครั้งคนที่รู้สึกเหงาก็เป็นคนโสดด้วย แต่ในขณะเดียวกันคนโสดบางคนก็ไม่ได้รู้สึกเหงา หรือบางครั้งคนที่มีคนรักก็สามารถที่จะรู้สึกเหงาได้เหมือนกัน ความเหงาอาจเป็นเพียงอารมณ์ที่รู้สึกโดดเดี่ยว ต้องการใครสักคนมาอยู่ด้วยในช่วงเวลานั้น ๆ ส่วนการเป็นโสด อาจเป็นการถูกทำให้เป็นโสด เช่น อกหักเพราะถูกบอกเลิก หรืออาจพึงพอใจที่จะเป็นโสดด้วยตนเอง บางคนชอบที่จะอยู่คนเดียว ไม่ชอบการอยู่ท่ามกลางคนหมู่มาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่ชอบเก็บตัวอยากที่จะเป็นโสด ขณะเดียวกันคนที่ชอบเข้าสังคม ก็อาจไม่ได้ปรารถนาที่จะมีใครสักคนมาเคียงข้าง ดังนั้น แม้ความเหงาและความโสดจะมีบางช่วงเวลาที่ได้มาบรรจบกัน แต่ทั้งสองสิ่งยังเป็นสิ่งที่แตกต่างกัน ความเหงาจะเกี่ยวข้องกับความโดดเดี่ยว ว้าเหว่ แต่การอยู่คนเดียว อาจไม่จำเป็นต้องจำกัดความว่าเป็นโสด แต่อาจหมายถึงการต้องการเวลาส่วนตัว หรือต้องการอยู่กับตัวเอง เพราะรู้สึกว่าอยู่คนเดียวแล้วสนุกกว่า มีอิสระที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากกว่า ข้อดีของการ เป็นโสด การเป็น โสด อาจดูไม่ดีในสายตาของผู้อื่นที่รู้สึกเสียดายคุณค่าบางประการในตัวเรา เช่น “สวย/หล่อขนาดนี้เสียดายจัง น่าจะมีแฟนได้แล้ว” หรือ “เก่งขนาดนี้ล่ะมั้งเลยไม่มีแฟน” แต่ในความรู้สึกของผู้ที่เป็นโสด โดยเฉพาะผู้ที่เลือกจะเป็นโสดเพราะมองเห็นความสุขได้มากกว่า อาจมองเห็นประโยชน์ของการเป็นโสดได้มากมาย ดังนี้ สมองได้พักผ่อน สมองของคนเราต้องการการพักผ่อน การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น หรือการต้องพบปะกับผู้อื่นอยู่บ่อย ๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ภาวะควบคุมการหัวเราะร้องไห้ไม่ได้ ภาวะที่โจ๊กเกอร์ประสบ

หากใครเคยดูภาพยนตร์เรื่อง โจ๊กเกอร์ ก็จะเห็นว่าหลายๆ ครั้ง โจ๊กเกอร์ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่อง มักจะหัวเราะออกมา แม้บางครั้งก็ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่ควรจะหัวเราะ ไม่ว่าจะเป็นตอนที่โดนว่า โดนดูถูก จริงๆ แล้วภาวะที่โจ๊กเกอร์กำลังเป็นอยู่นั้นเรียกว่า ภาวะควบคุมการหัวเราะร้องไห้ไม่ได้ (Pseudobulbar Affect) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการหัวเราะและร้องไห้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวะนี้มาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ ภาวะควบคุมการหัวเราะร้องไห้ไม่ได้ (Pseudobulbar Affect หรือ PBA) คืออะไร ภาวะควบคุมการหัวเราะร้องไห้ไม่ได้เป็นภาวะที่ผู้ป่วยจะมีอาการหัวเราะ ร้องไห้ อย่างควบคุมไม่ได้ แม้จะอยู่ในสถานะการณ์ที่ไม่เหมาะสมก็ตาม โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีภาวะนี้มักจะมีอาการทางระบบประสาท หรือเกิดการบาดเจ็บซึ่งส่งผลกระทบต่อสมองในส่วนที่มีหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ ผู้ที่มีภาวะควบคุมการหัวเราะ ร้องไห้ไม่ได้ ส่วนใหญ่แล้วมักจะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือทำให้เกิดความอาย เพราะอาหารหัวเราะ หรือร้องไห้ที่เกิดขึ้นนั้น ร่างกายไม่สามารถควบคุมมันได้ บางครั้งอาการก็แสดงออกมาในเวลาที่ไม่เหมาะสม อาการของ ภาวะควบคุมการหัวเราะร้องไห้ ไม่ได้ ภาวะควบคุมการหัวเราะร้องไห้ไม่ได้เป็นภาวะที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเชื่อมต่อกันระหว่าง ส่วนของสมองส่วนหน้า (frontal lobes) ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมพฤติกรรม การแก้ปัญหา ควบคุมอารมณ์ และการแสดงออกทางอารมณ์ กับ สมองน้อย (cerebellum) และ ก้านสมอง เมื่อสมองส่วนหน้า สมองน้อย และก้านสมอง ไม่สามารถทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน จะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมหรือกระตุ้นอารมณ์ได้ ซึ่งผู้มี […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน