backup og meta

หนทางไกลแค่ไหนไม่หวั่น ขอแค่ไม่ขึ้นเครื่อง เพราะฉันเป็น โรคกลัวเครื่องบิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/12/2020

    หนทางไกลแค่ไหนไม่หวั่น ขอแค่ไม่ขึ้นเครื่อง เพราะฉันเป็น โรคกลัวเครื่องบิน

    เมื่อต้องจำเป็นที่ต้องเดินทางไกล ก็คงจะเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องใช้บริการ การเดินทางบนฟากฟ้าเพื่อให้ถึงจุดหมายโดยไวด้วยการขึ้นเครื่องบิน จนบางครั้งนั้นก็อาจทำให้คุณเกิดความกังวลขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญานเตือนแรกที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าสู่ โรคกลัวเครื่องบิน อยู่ก็เป็นได้ แต่จะมีวิธีการรักษาโรคนี้อย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความนี้จาก Hello คุณหมอ กันได้เลยค่ะ

    โรคกลัวเครื่องบิน คืออะไร

    โรคกลัวเครื่องบิน หรือ โรคกลัวการเดินทางโดยเครื่องบิน (Aerophobia) คืออาการกลัวในกลุ่มโฟเบีย (Phobia) ซึ่งเป็นความกลัวที่มีความเกี่ยวข้องกับการเดินทางด้วยยานพาหนะบนอากาศ เช่น เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น โดยสาเหตุสำคัญที่อาจทำให้คุณมีความวิตกกังวล ความเครียด และตระหนักใจ ทุกครั้งที่จำเป็นต้องขึ้นเครื่องบินนั้น อาจมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    • เป็นโรคกลัวความสูง กลัวการเข้าสังคม กลัวเชื้อโรค อยู่ทุนเดิม
    • เคยมีประสบการณ์ หรือความทรงจำฝังใจเกี่ยวกับเครื่องบิน เช่น เคยประสบอุบัติเหตุ การสูญเสียคนรอบข้างจากเหตุการณ์เกี่ยวกับเครื่องบิน
    • ถูกสภาพแวดล้อมรอบข้างจากบุคคลในครอบครัวปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็ก
    • ภาวะทางสุขภาพบางประการที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางโดยเครื่องบิน เช่น โรคหัวใจ หูอื้อ จนทำให้รู้สึกทรมานกับอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น

    นอกจากนี้ยังมีวิจัยชี้ให้เห็นอีกว่า สิ่งที่สามารถกระตุ้นให้คุณเกิดอาการกลัวเครื่องบินนั้น อาจมาจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยขณะบิน ไม่ว่าจะเป็น ฝนตกหนัก ฟ้าร้อง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ก็อาจสร้างความวิตกกังวลให้คุณ จนนำไปสู่ความ กลัวการเดินทางโดยเครื่องบิน และอยากจะหลีกเลี่ยงมากที่สุดหากเป็นไปได้

    อาการโรคกลัวเครื่องบิน มีสัญญาณเตือนอย่างไร

    ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่มีอาการกลัวเครื่องบิน มักจะแสดงอาการวิตกกังวลอย่างต่อเนื่อง และรวมไปถึงปฏิกิริยาทางร่างกายเหล่านี้ ที่อาจเกิดขึ้นร่วมด้วย ได้แก่

    • มีอารมณ์ไม่คงที่ หรือหงุดหงิดง่าย
    • อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น
    • คลื่นไส้
    • เหงื่อออกตามร่างกาย
    • ระบบความคิดมีการทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ
    • ตัวสั่น

    สำหรับผู้ป่วยบางกรณีอาจมีอาการเสียขวัญ หรือมีอาการตื่นตระหนกอย่างรุนแรง ดังนั้น หากคุณเป็นคนที่อยู่รอบข้างบุคคลเหล่านี้ คุณอาจจำเป็นต้องทำการปลอบใจ หรือพูดคุยกับพวกเขา เพื่อเป็นการสร้างความสบายใจ และลดอาการวิตกกังวลแก่พวกเขาได้มากยิ่งขึ้น

    บำบัดจิตใจ ให้คุณหายจากโรคกลัวเครื่องบิน

    ถึงอย่างไรโรคกลัวเครื่องบิน หรือ โรคกลัวการเดินทางโดยเครื่องบิน ยังเป็นโรคที่พอจะมีวิธีรักษาได้เบื้องต้น ตามขั้นตอน หรือเทคนิคที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ดังต่อไปนี้

    • การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy ; CBT)

    เป็นการรักษาขั้นแรกที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงจากความคิดเชิงลบเป็นความคิดในเชิงบวกได้มากยิ่งขึ้น จนนำไปสู่พฤติกรรมการแสดงความกลัวที่น้อยลง โดยแพทย์ หรือนักบำบัด อาจต้องมีการจำลองสถานการณ์บางอย่างให้เหมือนว่าคุณรู้สึกกำลังอยู่ในเครื่องบิน เพื่อสังเกตความกลัวตั้งแต่เบื้องต้น จนค่อย ๆ ลดลงมาตามลำดับ

    • ยา

    บางครั้งแพทย์อาจมีการกำหนดยาบางชนิดให้คุณติดตัวไว้ก่อนถึงวันออกเดินทาง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการวิตกกังวล คลื่นไส้และวิงเวียน หรืออาการต่าง ๆ ที่คุณประสบทุกครั้งเมื่อต้องขึ้นเครื่องบิน

    ทั้งนี้การรักษายังอาจขึ้นอยู่กับภาวะทางจิตใจของคุณร่วมด้วย ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนในการจะเอาชนะความกลัวเครื่องบินให้หมดไป และอาจจำต้องเรียนรู้การรับมือจากแพทย์เพิ่มเติมอีกครั้งในกรณีที่อาการของ โรคกลัวการเดินทางด้วยเครื่องบิน เกิดขึ้นอีกครั้ง เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่สุขภาพกาย และสุขภาพจิตใจของคุณตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้อย่างเท่าทัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/12/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา