สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

เช็กอาการ PTSD หลังแผ่นดินไหว และวิธีการรับมือ

แผ่นดินไหว คือภัยพิบัติทางธรรมชาติจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน โดยเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของชั้นหินและดิน ซึ่งอาจมีตั้งแต่การสั่นสะเทือนระดับเบาไปจนถึงรุนแรง และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ถนนหรือตึก และอาจส่งผลให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเกิดความวิตกกังวลหรือภาวะ PTSD ได้หลังจากนั้น [embed-health-tool-bmi] PTSD ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว PTSD (Post-traumatic stress disorder) คือ ความผิดปกติของสภาพจิตใจที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์รุนแรง ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยปกติแล้ว คนที่ผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงอาจจะปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ในช่วงสั้น ๆ ได้ยาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการก็มักจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หากอาการยังคงไม่ดีขึ้นแม้เวลาจะผ่านไป และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ก็จะถือว่าคนนั้นมีอาการ PTSD ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหว 7.7 ริกเตอร์ที่เมียนมาร์ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนไปจนถึงประเทศโดยรอบ รวมไปถึงประเทศไทย จนทำให้เกิดเหตุการณ์ตึกถล่ม ซึ่งส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งคนที่อยู่ในเหตุการณ์ คนใกล้เคียง หรือแม้แต่ผู้ที่ได้รับรู้ผ่านทางข่าวจากช่องทางต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีโอกาสเกิด PTSD จากเหตุการณ์นี้ได้ทั้งสิ้น  การเข้ารับการรักษาหลังจากมีอาการ PTSD เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถรับมือและจัดการกับสภาพจิตใจให้ดียิ่งขึ้นได้ อาการ PTSD อาการ PTSD มักจะปรากฏภายในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากเหตุการณ์รุนแรง แต่บางคนอาจมีอาการหลังจากนั้นหลายปีก็ได้เช่นกัน  อาการของ PTSD ที่พบได้ มีดังนี้ มองเห็นเหตุการณ์เดิมซ้ำ ๆ […]

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

แค่นอน ฟังเสียงฝน ลดความเครียด ได้จริงหรือไม่

ในช่วงฤดูฝนแบบนี้ หลาย ๆ คนคงจะเกลียดความเฉอะแฉะของน้ำเจิ่งนองหลังฝนตก หรือเกลียดความยากลำบากในการเดินทางในวันฝนตก ทั้งถนนลื่น รถติด คนแน่นไปหมด แต่ในความยากลำบากของฤดูฝน ก็ยังมีสิ่งที่ดี ๆ ที่ช่วยให้เราผ่อนคลาย ลดความเครียด ด้วยการนอน ฟังเสียงฝน ลดความเครียด ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการนอนฟังเสียงฝนตกนั้น มีส่วยช่วยลดความเครียดได้อย่างไรบ้าง ไปอ่านกันเลยค่ะ เสียงจากธรรมชาติส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างไรบ้าง การเดินในป่า หรือแม้กระทั่งการได้ยินเสียงธรรมชาติจากแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก็ส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ และยังช่วยส่งผลต่อสมองอีกด้วย เมื่อได้ฟังเสียงน้ำไหล เสียงทะเล หรือเสียงใบไม้ไหว หรือแม้กระทั่งเสียงนกร้อง สมองของคุณก็จะรู้สึกปลอดโปร่ง นักวิจัยได้พยายามหาคำอธิบายว่า ทำไมเสียงจากธรรมชาติ มีส่วนในการฟื้นฟูจิตใจของคนเราได้ จากการศึกษาพบว่า เสียงจากธรรมชาติเหล่านี้จะช่วยปรับการสื่อสารในสมอง ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายลงได้เองเมื่อได้ยินเสียงจากธรรมชาติ งานวิจัยบางชิ้นที่ได้ทำการศึกษา ผู้ใหญ่ที่มีร่างกายที่แข็งแรงจำนวน 11 คน โดยให้พวกเขาเข้ารับการตรวจการทำงานของสมองด้วยรูปแบบ Functional magnetic resonance imaging (FMRI) ในขณะที่กำลังฟังเสียงของธรรมชาติ และเสียงที่เกิดจากคนทำ เปรียบเทียบกัน พบว่าในขณะที่พวกเขาได้ฟังเสียงที่เกิดจากการที่คนทำขึ้น สมองจะมีทำงานโดยสนใจแต่ตนเอง ทำให้เกิดความเครียด อาการซึมเศร้า และความวิตกกังวล ที่สำคัญผู้ที่เข้ารับการทดลองโดยการฟังเสียงที่เกิดจากคนนั้นมีการตอบสนองที่ช้า ในขณะที่คนที่ฟังเสียงจากธรรมชาติพบว่าการทำงานของสมองมีการผ่อนคลายขึ้น และยังมีส่วนช่วยเพิ่มการตอบสนองของการทำงานของระบบประสาท […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคกลัวตุ๊กตา (Pediophobia) อีกหนึ่งอาการกลัวสุดประประหลาด ที่หลอกหลอนเรามาตั้งแต่เด็ก

หลาย ๆ คนเคยรู้สึกกลัวตุ๊กตาของตัวเองกันบ้างหรือเปล่าคะ โดยเฉพาะตุ๊กตาที่มีรูปร่างเหมือนคน หรือสามารถกระพริบตาได้ ยิ่งมองดูก็ยิ่งรู้สึกเหมือนว่าตุ๊กตาเหล่านี้มีชีวิต ทำเอาเด็ก ๆ หลายคนร้องไห้เวลาได้รับตุ๊กตาเสียไปอย่างนั้น อาการกลัวตุ๊กตาเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณของ โรคกลัวตุ๊กตา หนึ่งในโรคกลัวแปลก ๆ แต่กลับพบเห็นได้มาก โดยเฉพาะในเด็ก อาการของโรคนี้มีอะไรบ้าง Hello คุณหมอ มีข้อมูลมาฝากกันในบทความนี้ โรคกลัวตุ๊กตา คืออะไร โรคกลัวตุ๊กตา (Pediophobia) หมายถึงอาการที่เรารู้สึกหวาดกลัว และหวาดระแวงต่อตุ๊กตาอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีเหตุผล โรคกลัวตุ๊กตานี้จัดอยู่ในกลุ่ม ‘Automatonphobia’ หมายถึงความกลัวที่มีต่อสิ่งที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับมนุษย์ เช่น รูปปั้น หุ่นลองเสื้อ หุ่นขี้ผึ้ง หรือหุ่นยนต์ เป็นต้น ผู้ที่เป็นโรคกลัวตุ๊กตานั้น บางคนอาจจะรู้สึกกลัวตุ๊กตาทุกประเภท แต่บางคนก็อาจจะกลัวแค่เฉพาะบางประเภท เช่น ตุ๊กตาโบราณแบบญี่ปุ่น ตุ๊กตากระเบื้องเคลือบ ตุ๊กตาเด็กทารก หรือตุ๊กตายัดนุ่น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นตุ๊กตาที่มีลักษณะคล้ายกับมนุษย์หรือเด็กตัวเล็ก ๆ คือ มีตา มีปาก ขยับแขนขาได้ หรือกระพริบตาได้ ทำให้มีความรู้สึกน่ากลัว โรคกลัวตุ๊กตานี้สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาทางจิตใจในอดีตที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตุ๊กตา หรืออิทธิพลจากการอ่านและการดูหนังสยองขวัญที่มักจะนำตุ๊กตามาเป็นมาส่วนประกอบ หรือความเกี่ยวข้องระหว่างตุ๊กตากับไสยศาสตร์ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ล้วนแล้วแต่ก็สามารถหล่อหลอม และกลายเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เรารู้สึกกลัวตุ๊กตาได้ทั้งสิ้น อาการของโรคกลัวตุ๊กตา เมื่อผู้ป่วยโรคกลัวตุ๊กตาเห็นตุ๊กตา […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ไม่พูด ไม่ได้แปลว่าฉันหยิ่ง แต่ฉันเพียง กลัวการถูกเยาะเย้ย ในสังคม

การที่ถูกสังคมรอบข้างพูดหยอกล้อ ในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะด้วยเจตนาดี หรือเจตนาไม่ดีนั้น เราไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าแท้จริงแล้ว ความรู้สึกของผู้ถูกกระทำจะเป็นเช่นไร เพราะเพียงแค่เราเผลอพลั้งสนุกปากออกไปโดยไม่ไตร่ตรอง ก็อาจทำให้คนที่รับฟังเก็บไปคิดมาก ยิ่งผู้ที่มีภาวะจิตใจอ่อนไหว คำพูดของคุณอาจสร้างปมภายในใจจนเกิดความวิตกกังวล สูญเสียความมั่นใจ และนำไปสู่อาการทางจิตอย่างโรค กลัวการถูกเยาะเย้ย ด้วยเช่นกัน Hello คุณหมอ จึงมีบทความดี ๆ ที่จะขอพาทุกคนผู้ที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าว มาทราบถึงวิธีจัดการกับความกลัวนี้ไปพร้อม ๆ กันค่ะ อาการ กลัวการถูกเยาะเย้ย คืออะไร อาการกลัวการถูกเยาะเย้ย (Gelotophobia) คือ ความกลัวที่เกิดขึ้นเมื่อมีบุคคลแปลกหน้า หรือสังคมรอบข้างต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว หัวเราะเยาะในการกระทำบางอย่างของคุณ เวลาคุณทำพลาดในสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจลงไป และนำมาพูดล้อเลียนเป็นเรื่องตลกขบขัน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ค้นพบว่าอาการกลัวการถูกหัวเราะเยาะ มักเกิดขึ้นกับในช่วงวัยผู้ใหญ่ได้มากกว่าวัยอื่น ๆ จากการสอบถาม 22,000 คน ทั้ง 73 ประเทศ รวม 93 ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่า การกระทำเช่นนี้ถือเป็นสิ่งอันตรายที่สามารถกระทบต่อจิตใจพวกเขาโดยตรงอย่างมากเลยทีเดียว เมื่อต้องพบเจอผู้คน ร่างกายของคุณอาจมีปฏิกิริยาเหล่านี้ แน่นอนว่าการถูกหัวเราะเยาะ หรือการถูกเยาะเย้ย เป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่าอายเวลาที่มีผู้มาพูดท่ามกลางคนหมู่มาก และเป็นการโจมตีที่รุนแรงต่อจิตใจด้วยวาจา […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สุขภาพจิตดีขึ้นได้ เพียงออกกำลังกายด้วยการวิ่ง

การวิ่งออกกำลังกาย เป็นรูปแบบการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ซึ่งการออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้นมีส่วนช่วยในการทำให้เลือดสูบฉีดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น ทำให้สมองของเรานั้นปลอดโปร่ง คิดได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การวิ่งยังช่วยให้ร่างกายปล่อยสารประกอบบางอย่างที่ช่วยให้อารมณ์มีความคงที่ นอกเหนือจากประโยชน์สุขภาพอย่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแล้ว การวิ่ง ส่งเสริมสุขภาพจิต ด้วย Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากผู้อ่านกันค่ะ การวิ่ง ส่งเสริมสุขภาพจิต ด้านใดบ้าง การวิ่งนอกจากจะช่วยส่งเสริมสุขภาพเราให้แข็งแรงแล้ว ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การวิ่งช่วยเปลี่ยนแปลงภายในสมองได้ การออกกำลังกายด้วยการวิ่งนั้น มีส่วนช่วยในการฝึกจิตใจได้มากเท่า ๆ กับการฝึกร่างกายเลยทีเดียว เพราะการวิ่งช่วยให้คุณเรียนรู้ถึงการมุ่งมั่นที่จะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ทั้งความเหนื่อยล้า และระยะทาง การวิ่งจะช่วยให้คุณได้มุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับปัญหาทั้งใหญ่และเล็ก ความอดทนในการวิ่ง ความแข็งแกร่งของร่างกาย ระยะทางเมื่อคุณพยายามเพื่อที่จะผ่านสิ่งเหล่านี้มามันจะทำให้คุณรู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในสมองนั่นเอง จากการศึกษาที่พิมพ์ในวารสาร Frontiers in Human Neuroscience โดยนักวิจัยได้ทำการสแกนสมองของนักวิ่งหลังจากการแข่งวิ่งระยะไกล พบว่าสมองของนักวิ่งที่ทำงานได้ดี เกี่ยวข้องกับสมองส่วนที่ควบคุมตนเองและความจำในการทำงาน นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานชี้ให้เห็นว่า การวิ่งนั้นมีประโยชน์กับสมองอีก ในการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ พบว่าผู้ที่วิ่งเป็นประจำนั้นมีความยืดหยุ่นทางความคิดมากที่สุด ช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหา การมีความคิดยืดหยุ่นนั้น จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและพร้อมรับมือกับปัญหาได้อย่างดี การวิ่งช่วยให้คุณมีความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตนเอง การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้ตนเองเหมือนกับการออกกำลังกายในกีฬารูปแบบอื่น ๆ การวิ่งจะช่วยให้นักวิ่งเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ที่เจอในขณะวิ่ง ในการวิ่งแต่ละครั้ง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ออกไปข้างนอกทีสุดแสนจะลำบาก เพราะฉันมีอาการ กลัวการข้ามถนน

อุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับเราทุกคนอย่างมาก ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุทางยานพาหนะ หรือแม้กระทั่งเพียงแค่ก้าวข้ามผ่านถนน เหตุการณ์เหล่านี้นับได้ว่าเป็นสิ่งที่รุนแรงต่อจิตใจอย่างมาก จนก่อให้เกิดอาการหวาดกลัวทุกครั้งที่มองเห็นรถยนต์ หรือทางข้าม เป็นต้น วันนี้  Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนไปรู้ถึงวิธีรักษาอาการ กลัวการข้ามถนน เพื่อให้คุณจะได้ใช้ชีวิตสะดวกยิ่งขึ้น และเลิกหวาดระแวง มาฝากกันค่ะ กลัวการข้ามถนน อย่างหนัก เกิดมาจากสาเหตุใด อาการกลัวการข้ามถนน มีชื่อเรียกว่า โดรโมโฟเบีย (Dromophobia) สำหรับผู้ที่มีอาการเช่นนี้ เป็นไปได้ว่าอาจมาจากพันธุกรรมทางครอบครัว ที่มีประวัติด้านทางจิตใจเล็กน้อย หรือมีอาการวิตกกังวลอยู่สูง ดังนั้นจึงมีโอกาสที่ถูกถ่ายทอดมาแก่บุตรหลานได้ อีกทั้งยังอาจเกิดจากเหตุการณ์กระทบกระเทือนอย่างรุนแรงทางสภาพจิตใจ เช่น เหตุการณ์เกือบโดนรถชนจากการข้ามถนน หรือเคยถูกอุบัติรุนแรงมาก่อนแล้ว จึงทำให้บางครั้งเมื่อเห็นภาพท้องถนน ทางม้าลาย สัญญาณไฟ อาจทำให้นึกถึงภาพช่วงวลานั้น ๆ ที่เคยเกิดขึ้น จนทำให้ร่างกายผู้ป่วยเกิดอาการบางอย่างฉับพลันขึ้นมาทันที สัญญาณของร่างกายเบื้องต้น เมื่อคุณเหลือบไปเห็นถนน ความกลัวการข้ามถนนมีทั้งการแสดงออกแบบด้านกายภาพ และทางอารมณ์จิตใจ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายของผู้ป่วยตอบสนองอย่างรวดเร็ว ดังต่อนี้ไป อาการทางกายภาพ เหงื่อออก รู้สึกร้อนวูบวาบ หายใจถี่ หายใจลำบาก อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น แน่นหน้าอก ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียนศีรษะ คล้ายเป็นลม หูอื้อ ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น อาการทางด้านอารมณ์ และจิตใจ รู้สึกโกรธ หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน กังวล หวาดกลัว รู้สึกว่าตนเองสิ้นหวัง เสียการควบคุมตนเอง รู้สึกโทษตัวเองอยู่บ่อยครั้ง อยากใช้ชีวิตแบบปกติสุข ควรรักษาอาการ กลัวการข้ามถนนอย่างไร หากเช็กอาการเบื้องต้นแล้ว ว่าตัวคุณ หรือคนรอบข้างคุณ เริ่มมีอาการดังกล่าว โปรดเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ โดยบอกอาการอย่างละเอียด ส่วนในการรักษานั้น นักบำบัด […]


การจัดการความเครียด

ความเครียดทางการเงิน ไม่เพียงแต่ทำให้คุณร้อนใจ แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพมากมาย

ความเครียดทางการเงิน นั้นเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนอาจเคยพบเจอ ยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจมีความย่ำแย่ ยิ่งทำให้เกิดปัญหาทางการเงินได้ง่าย จะใช้จ่ายแต่ละทีต้องคิดให้รอบครอบ ปัญหาทางการเงินนอกจากจะทำให้เกิดความร้อนใจ ไม่สบายใจแล้ว ปัญหาทางการเงิน ส่งผลต่อสุขภาพของเราได้ด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ปัญหาทางการเงินส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร พร้อมเคล็ดลับดี ๆ ที่ช่วย จัดการปัญหาเหล่านี้ ความเครียดทางการเงิน ส่งผลต่อสุขภาพ อย่างไรบ้าง ถึงแม้ว่าความเครียดจะส่งผลต่อสุขภาพของเรา แต่ปัญหาความเครียดทางการเงินนั้นส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าความเครียดอื่นๆ ความเครียดทางการเงินนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ดังนี้ มีปัญหาสุขภาพทางด้านร่างกาย ความเครียดที่เกิดจากปัญหาทางการเงินนั้น เป็นความเครียดสะสม ปัญหาทางการเงินนั้นเป็นปัญหาที่เกิดต่อเนื่อง ติดต่อกัน ความเครียดที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีส่วนที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดไมเกรน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน รวมถึงมีปัญหาในการนอนหลับ หากปัญหาสุขภาพเหล่านี้ยังไม่ได้รับการรักษา ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดเรื้อรังจนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้น้อยลง ปัญหาทางการเงิน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ไม่ว่าจะเป็น ไมเกรน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นโรคที่มีความอันตราย ควรเข้ารับการรักษา แต่ด้วยปัญหาทางการเงิน ทำให้หลาย ๆ คนเลือกที่จะไม่เข้ารับการรักษา จากการสำรวจประชากรชาวอเมริกันพบว่า มีชาวอเมริกันจำนวนร้อยละ 29 ไม่เข้ารับการรักษาเพราะปัญหาทางการเงิน ถึงแม้การไม่เข้ารับการรักษาจะเป็นวิธีการประหยัดเงินที่ดี แต่แน่นอนว่ามันต้องแลกมาด้วยกับปัญหาสุขภาพที่ย่ำแย่ลงจนบางครั้งอาจทำให้เสียเงินรักษาแพงขึ้นเมื่ออาการหนักขึ้นก็ได้ จะยิ่งทีให้สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพจิต ความเครียดจากปัญหาทางการเงินย่อมที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต […]


การจัดการความเครียด

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความเครียด เชื่อมาผิดๆ มารู้ความจริงกันใหม่ดีกว่า

เวลาพูดถึงเรื่องของ “ความเครียด” หลายคนก็จะมีมุมมองและความรู้สึกเกี่ยวกับความเครียดที่แตกต่างกันไป บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เลิกใส่ใจก็สิ้นเรื่อง แต่สำหรับบางคนความเครียดอาจเป็นมากกว่าเรื่องเล็กน้อยในชีวิตและจำเป็นที่จะต้องก้าวผ่านไปให้ได้ บางคนเข้าใจความเครียดเป็นอย่างดี ขณะที่บางคนเข้าใจความเครียดผิดไปจากที่ควรจะเป็นอย่างมาก ดังนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอ ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความเครียด แก่คุณผู้อ่าน มาดูกันว่าคุณเคยเข้าใจความเครียดผิดไปยังไงบ้าง ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความเครียด มีอะไรบ้าง ความเครียดของทุกคนเหมือนกัน ความเครียด ของคนเราไม่เหมือนกัน เพราะเราต่างก็ได้รับประสบการณ์ในชีวิตที่แตกต่างกัน แม้จะมีเส้นเรื่องที่คล้ายกัน แต่ก็ยังถือว่ามีปัจจัยอื่น ๆ ที่แตกต่างกันอยู่ดี ขณะที่บางคนเครียดเรื่องงาน แต่อีกคนกลับจัดการกับการทำงานได้ดี บางคนเครียดเรื่องอาหาร ขณะที่บางคนไม่มีปัญหากับอาหารการกิน ทั้งนี้เพราะเราทุกคนแตกต่างกัน ทั้งความคิด ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเข้าใจในชีวิตของแต่ละคนก็แตกต่างกันด้วย ความเครียดเกิดจากสถานการณ์ทำให้เครียด แม้จะดูเหมือนเป็นเช่นนั้น แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่เสียทีเดียว ความเครียด ไม่ได้เกิดจากสถานการณ์ แต่เกิดจากความคิดต่อสถานการณ์นั้นๆ ต่างหาก ที่ส่งผลให้เกิดความเครียดขึ้นมา สถานการณ์ไม่ได้สร้างความเครียดในตัวมันเอง แต่ปฏิกิริยา ความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ของคนเราต่างหากที่เครียดไปกับสถานการณ์นั้น ๆ ความเครียดเป็นแรงผลักดันที่ดี ความเครียดและแรงผลักดันเป็นคนละเรื่องกัน จะใช้เหตุผลว่าเพราะเคยเครียดมาก่อนวันนี้จึงประสบความสำเร็จได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความเครียดจะลดประสิทธิภาพทั้งความรู้สึกนึกคิด พลังงานในการทำงาน เกิดความวิตกกังวล หงุดหงิด และลดศักยภาพในการทำงานลงด้วย ดังนั้นแล้ว […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

บำบัดสุขภาพจิต ด้วยการ ขี่ม้า กีฬาอีกชนิดที่สำหรับคนรักสัตว์

การออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬาที่เราถนัด เป็นตัวช่วยอย่างดีในเรื่องของการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และฟื้นฟูสภาพจิตใจของเราให้ลืมความเครียดต่าง ๆ ไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการเลือกวิธี ขี่ม้า ก็เช่นเดียวกัน ที่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาเปิดโลกการเล่นกีฬาในรูปแบบใหม่ จนอาจทำให้คุณหลงไปกับความน่ารักแสนรู้ของเจ้าม้าทั้งหลายได้เลยทีเดียว ขี่ม้า สามารถปรับปรุงสุขภาพจิตให้ดีขึ้นได้อย่างไร ในสมัยก่อนนั้นมนุษย์มักใช้ม้าเป็นยานพาหนะขับเคลื่อนไปยังสถานที่ต่าง ๆ ก่อนที่จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ในปัจจุบันตามการพัฒนาของเทคโนโลยี จากนั้นสัตว์ขนาดใหญ่นี้ก็ถูกนำมาเป็นผู้ช่วยในการรักษาสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตใจทดแทน ศาสตร์ตราจารย์ด้านสังคมสงเคราะห์ของมหาวิทยาลัยเทกซัส อาร์ลิงตัน ได้กล่าวไว้ว่า “ม้า” เป็นสัตว์อีกชนิดที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และไวต่อการรับรู้ทางด้านสภาวะทางอารมณ์ของผู้คนได้ดีกว่าสุนัข หรือสัตว์อื่น ๆ ที่อยู่ในโปรแกรมการบำบัดเดียวกัน ที่สำคัญพวกเขามีศักยภาพในการตอบสนองต่อเจตนารมณ์ของผู้ป่วยได้เองผ่านกระบวนการรับรู้ของพวกเขา และยังช่วยกำจัดความกลัว เพิ่มความสบายใจให้แก่ผู้ขี่ที่อยู่บนหลังได้เป็นอย่างดี ใครที่เหมาะสมกับการใช้วิธี ขี่ม้า บำบัด มากที่สุด จริง ๆ แล้วกีฬาขี่ม้าเหมาะกับทุกเพศทุกวัยตามแต่วัตถุประสงค์ เช่น การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การเพิ่มความสมดุลทางด้านทรงตัว หรือเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ร่างกาย เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่จะใช้ในการรักษาสุขภาพจิตอาจเหมาะกับแค่บุคคลบางกลุ่มเท่านั้น เนื่องจากเทคนิคการขี่อาจไม่เหมือนกัน เพราะต้องอยู่ในการดูแลของนักบำบัดอีกที ซึ่งการขี่ม้าอาจเหมาะกับผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะ ดังต่อไปนี้ โรคซึมเศร้า ผู้ที่มีความวิตกกังวลบ่อยครั้ง อารมณ์ไม่คงที่แปรปรวนง่าย โรคเครียดหลังจากผ่านเหตการณ์รุนแรง (Post-traumatic stress disorder; PTSD) พฤติกรรมก้าวร้าว ติดสารเสพติด สมาธิสั้น กลัวการเข้าสังคม ไม่เชื่อมั่นในตนเอง อุปกรณ์ที่ควรมีเพื่อความปลอดภัย ก่อนการเริ่มขี่ม้า โดยปกตินักบำบัด หรือผู้เจ้าหน้าที่ที่คอยควบคุมม้าจะทำการพูดคุยถึงอุปกรณ์เบื้องต้นจนถึงขั้นตอนการเริ่มขี่ และคอยดูแลคุณใกล้ชิดเพื่อไม่ให้คุณเกิดอันตรายในระหว่างการบำบัดบนหลังม้า ซึ่งอย่างแรกที่ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองอาจแนะนำสิ่งที่คุณควรมีนั่นก็คือ หมวกกันน็อคสำหรับกีฬาขี่ม้า รองเท้าหนังฉพาะสำหรับขี่ม้า ถุงมือหนังป้องกันการบาดของสายบังเหียน แส้ สนับเข่า กางเกงยืดหยุ่นสำหรับการนั่งบนอาน การบำบัดครั้งนี้อาจมีข้อเสียในเรื่องบประมาณค่าใช้จ่ายเล็กน้อย […]


การจัดการความเครียด

รู้หรือไม่! รับฟังปัญหาชีวิตของผู้อื่นบ่อย ๆ อาจกลายเป็น โรคเครียดมือสอง ได้ โดยไม่รู้ตัว

คุณเคยรู้สึกเครียดกับปัญหาชีวิตของคนอื่นมากเกินไปหรือไม่ เก็บเอาปัญหาของผู้อื่นมาขบคิดจนเข้าใจว่านั่นเป็นปัญหาของตนเอง ทั้ง ๆ ที่ตนเองทำเพียงแค่ไปรับฟังเรื่องราวของเขามาเท่านั้นเอง ซึ่งถ้าคุณกำลังเครียดกับปัญหาชีวิตของคนอื่นมากจนเกินไปล่ะก็ คุณอาจกำลังอยู่ในสภาวะของ โรคเครียดมือสอง ได้ แต่อาการ ความเครียดมือสอง จะเป็นอย่างไรนั้น Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้ที่บทความนี้แล้วค่ะ โรคเครียดมือสอง คืออะไร ความเครียดมือสอง (Secondhand Stress) คือ สภาวะอาการที่เกิดจากการไปรับรู้ รับฟัง ปัญหาชีวิตของผู้อื่น จนรู้สึกว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาของตัวเองด้วย เกิดความรู้สึกเข้าถึงความเครียดนั้น และเครียดไปกับเรื่องนั้นๆ ด้วย ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง และตัวเองมีหน้าที่แค่เพียงรับฟังมาเท่านั้น โดยอาจเป็นการไปฟังเพื่อนสนิทที่มาปรึกษาปัญหาชีวิต คนในครอบครัวเอาเรื่องที่บั่นทอนใจมาเล่าให้ฟังบ่อย ๆ หรือเพื่อนที่ทำงานมาเล่าเรื่องเครียดของตัวเองให้ฟังทุกวัน นานเข้าจนคุณเองรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของความเครียดนั้น และเก็บเอามาเป็นความเครียดของตนเอง เหมือนกับการซื้อเอาสินค้ามือสองที่คนอื่นใช้แล้วมาใช้ต่อนั่นเอง สัญญาณของ ความเครียดมือสอง มีอะไรบ้าง หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ให้เริ่มสังเกตตนเองได้เลย เพราะคุณอาจกำลังอยู่ในสภาวะของ ความเครียดมือสอง โดยไม่รู้ตัว รู้สึกเครียด แต่ไม่มีสาเหตุ หากอยู่ ๆ เริ่มรู้สึกว่าตนเองมีอาการเครียด แต่จนแล้วจนรอดก็หาสาเหตุของตนเองไม่ได้ว่าเครียดเพราะอะไร ซึ่งสาเหตุนั้น อาจมาจากคนรอบตัวที่นำความทุกข์ใจมาปรึกษาและบอกกล่าว จนกระทั่งคนฟังรู้สึกเอาเองว่านั่นเป็นความเครียดและเป็นปัญหาชีวิตของตัวเองไปด้วย เริ่มมองโลกในแง่ร้าย เมื่อถูกความเครียดและปัญหาชีวิตของผู้อื่นรุมล้อม คุณจะเริ่มมองโลกในแง่ร้าย ให้ความสำคัญกับการปฏิเสธมากกว่าการมองโลกในแง่บวก หรืออาจถูกชักจูงให้รู้สึกถึงพลังลบจากปัญหาความเครียดของคนอื่นได้ง่าย ๆ กลายเป็นคนเร่งรีบ คนที่อยู่ในภาวะ ความเครียดมือสอง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ที่ไม่ชอบไปโรงพยาบาล เพราะฉันเป็น โรคกลัวหมอ

วันนี้ Hello คุณหมอ พาทุกคนมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งอาการกลัว ทื่เชื่อว่าต้องเกิดขึ้นกับใครหลายคนในช่วงวัยเด็กอย่างแน่นอน  เวลาคุณพ่อคุณแม่พาไปโรงพยาบาลหาหมอทีไร มักเกิดอาการกลัวหมอ ร้องไห้ งอแง ทุกที  ถึงแม้ว่าความรู้สึกกลัวหมอจะเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่มักเกิดขึ้นกับเด็ก แต่อาการกลัวดังกล่าวนี้อาจส่งผลจนถึงปัจจุบัน ให้คุณรู้สึกกลัวคุณหมอขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผล นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคกลัวหมอ” นั่นเอง เรามาทำความรู้จักกับโรคกลัวหมอให้มากขึ้นกันค่ะ ทำความรู้จัก โรคกลัวหมอ (Iatrophobia) โรคกลัวหมอ (Iatrophobia) คือ เมื่อผู้ป่วยเห็นคุณหมอจะเกิดความรู้กลัวขึ้นมาแบบไม่มีเหตุผล  มีความเครียด วิตกกังวลแม้จะรู้ว่าสิ่งนั้นไม่ได้ร้ายแรงและน่ากลัวอย่างที่คิด แต่ไม่สามารถหยุดความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นได้  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักหลีกเลี่ยงการหาหมอ แม้ว่าจะมีอาการป่วยหนักแค่ไหนก็ตาม บางรายเมื่อรู้ตัวว่าจะต้องไปหาหมอ จะมีอาการวิตกกังวล ตัวสั่น คลื่นไส้อาเจียน อย่างไรก็ตามอาการกลัวดังกล่าวนี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก แต่หากเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะสาเหตุใดถึงทำให้คุณกลัวคุณหมอกันนะ ความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก ความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็กที่ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจที่เกี่ยวข้องกับคุณหมอ เช่น การรับประทานยาที่มีรสชาติขม การโดนฉีดวัคซีน เป็นต้น ประสบกับเหตุการณ์เชิงลบ ในช่วงวัยเด็กคุณอาจเห็นภาพคุณหมอที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ หรือการเสียชีวิตในโรงพยาบาล ความทรงจำด้านลบ การดูข่าวหรือภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ เช่น ฉากการผ่าตัดที่น่ากลัว ข่าวที่ไม่ดีที่เกี่ยวกับการแพทย์ สามารถปลูกฝังภาพลบที่นำไปสู่ความกลัวได้ 5 อาการ ที่บ่งบอกว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคกลัวหมอ ผู้ป่วยโรคกลัวคุณหมอ สามารถพูดคุยกับคนทั่วไปได้อย่างปกติมั่นใจ แต่เมื่อไหร่ที่ต้องไปโรงพยาบาล พบคุณหมอแล้วล่ะก็จะมีอาการตัวสั่นหรือไม่สามารถพูดคุยได้ โดยส่วนใหญ่มักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้ คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกวิตกกังวล เครียด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม