สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

การเสพติด

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ไม่กล้าสัมผัสอะไร หวาดระแวงเชื้อโรค คุณอาจจะกำลังเป็น โรคกลัวความสกปรก อยู่รึเปล่า

ความหวาดกลัวต่อสิ่งสกปรกและเชื้อโรคนั้นจัดได้ว่าเป็นความรู้สึกปกติ ที่ไม่ว่าใครต่างก็ต้องมี เพราะคงไม่มีใครอยากที่จะเอามือไปสัมผัสกับสิ่งสกปรกให้เปื้อนมือ หรือสัมผัสกับเชื้อโรคให้เสี่ยงอันตรายต่อร่างกาย แต่ในบางครั้ง หากอาการกลัวสิ่งสกปรกและเชื้อโรคนั้นมีความรุนแรงอย่างมากผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็น โรคกลัวความสกปรก ก็เป็นได้ อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร และจะรักษาให้หายได้หรือไม่ หาคำตอบได้จากบทความนี้ โรคกลัวความสกปรก (Mysophobia) คืออะไร เป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วว่า สิ่งสกปรกนั้นมักจะแฝงไปด้วยเชื้อโรคตัวร้าย ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้น การหวาดกลัว ไม่อยากสัมผัสสิ่งสกปรกเหล่านี้ จึงนับได้ว่าเป็นเรื่องปกติที่ใครๆ เขาก็เป็นกัน แต่ในบางคน อาจจะมีอาการหวาดกลัวสิ่งสกปรกและเชื้อโรคเหล่านี้มากจนเกินความจำเป็น และอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ อาการแบบนี้เรามักจะเรียกว่า เป็นผู้ที่มีอาการของโรคกลัวสิ่งสกปรก โรคกลัวความสกปรก (Mysophobia) บางครั้งอาจจะเรียกว่าโรคกลัวเชื้อโรค (Germaphobia) อาการหวาดกลัวความสกปรกอย่างรุนแรงจนเข้าขั้น โฟเบีย (Phobias) นั้นจะแตกต่างไปจากความกังวลและความกลัวทั่วๆ ไป คนที่กังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อโรค มักจะแค่ล้างมือหลังจากสัมผัสสิ่งสกปรก หรือฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโรค แต่ผู้ที่เป็นโรคกลัวความสกปรกนั้น อาจจะล้างมือบ่อยครั้งซ้ำไปซ้ำมา หรือไม่กล้าสัมผัสกับใครเพราะกลัวติดเชื้อโรค อาการเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งสิ้น อาการของผู้ที่เป็นโรคกลัวความสกปรก อาการเบื้องต้นของโรคกลัวความสกปรกคือการหวาดกลัวเชื้อโรค ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละคน บางคนอาจจะหวาดกลัวเชื้อโรคเพียงชนิดเดียวเป็นพิเศษ เช่น ผู้หวาดกลัวเชื้อโควิด-19 ในขณะที่บางคนอาจจะหวาดกลัวเชื้อโรคหรือโรคทุกชนิด หรือแม้กระทั่งเศษฝุ่นเศษดินทั่วไป อาการที่พบเห็นได้ทั่วไปมีดังนี้ ล้างมือบ่อยเกินไป ใช้สบู่ เจลล้างมือ หรือน้ำยาสำหรับฆ่าเชื้อโรคในปริมาณมาก กลัวการสัมผัสกับผู้อื่น กลัวการป่วยอย่างรุนแรง แสดงออกให้เห็นถึงอาการหวาดกลัวเมื่อได้ยินข่าวเกี่ยวกับเชื้อโรคอย่างเห็นได้ชัด หมกหมุ่นอยู่กับความสะอาด ไม่ยอมเข้าใกล้สถานที่บางแห่ง เช่น แหล่งทิ้งขยะ หรือโรงพยาบาล โรคกลัวความสกปรก เกี่ยวข้องอะไรกับ โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือไม่? หลายคนอาจสังเกตเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างโรคกลัวความสกปรกกับโรคย้ำคิดย้ำทำ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง เรื่องแต่งหรือความจริงในสังคม

เด็กที่มีภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเองนั้นโดยปกติเรียกว่า คนข้ามเพศ ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายถึงคนที่ไม่แสดงตัวตนตามเพศที่เกิดมา การเป็นคนข้ามเพศนั้น ไม่ใช่อาการป่วยหรือเป็นความผิดปกติทางจิต เด็กที่มีอาการนี้ อาจประสบปัญหากับความเครียดและภาวะซึมเศร้า เพราะพวกเขานั้นมีความเสี่ยงต่อการถูกรังแก การแบ่งแยกทางสังคม และการเสื่อมเสียชื่อเสียงในรูปแบบต่างๆ จากการวิเคราะห์นั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อเด็กที่มีภาวะความไม่พอใจในเพศของตัวเองนั้นอยู่ในภาวะเครียดถึงขีดสุด หรือไม่อาจทำกิจกรรมที่โรงเรียน หรือที่บ้าน หรือสถานที่ต่างๆในสังคมได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ ภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง มาให้อ่านกันค่ะ อาการของภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง ความไม่เข้ากันระหว่างเพศที่เด็กแสดงตัวตน กับเพศที่เขาหรือเธอนั้นเกิดมาเป็น มีความรู้สึกเหมือนถูกกักขังอยู่ภายในร่างกายของคนอื่น แสดงค่านิยมในเรื่องของใช้หรือ ลักษณะ บุคลิกของเพศตรงข้าม อย่างชัดเจน มีความปรารถนาอยากจะเป็นเพศตรงข้าม รู้สึกไม่ชอบหรือไม่พอใจในอวัยวะเพศของตนเอง มีความหวังอย่างแรงกล้า ที่จะมีบุคลิกลักษณะทางเพศของเพศที่เด็กแสดงตัวตนออกมา ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิด ภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง ยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการ ถึงสาเหตุของ ภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง (gender identity disorder หรือ GID) บ่อยครั้ง ภาวะนี้นั้นถูกจัดให้เป็นปัญหาทางสังคม แม้กระทั่งในสังคมปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมยังตัดสินให้ว่าคนข้ามเพศเป็นคนแหกกฎ ดังนั้น คนข้ามเพศในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ที่อายุยังน้อยมักจะอยู่ภายใต้ความกดดันในการเข้าสังคม หรือได้รับการเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกแบ่งแยก ถูกรังแก ในขณะที่ยังต้องเผชิญกับความขัดแย้งในเรื่องเพศของตนเอง ความเครียดอย่างหนักหรือความไม่พอใจ จากความเข้ากันไม่ได้ระหว่างเพศที่ได้รับ และบทบาทของเพศที่ได้รับมาอย่างน้อย 6 เดือน นั่นอาจเป็นสัญญาณของภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง หากจะวิเคราะห์ว่าเป็นภาวะความไม่พอใจในเพศของตัวเองนั้น ผู้นั้นต้องอยู่ภายใต้ความกดดันที่มากเกินไป เกินกว่าที่จะดำเนินกิจกรรมได้อย่างปกติ หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง อาการของภาวะนี้ต้องรบกวนชีวิตของผู้นั้นและเป็นภัยต่อความเป็นอยู่ที่ดี ในการวิเคราะห์ภาวะความไม่พอใจในตัวเอง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

กลัวแมลง สัตว์ตัวเล็ก..แต่มีผลกระทบต่อใจ ทำอย่างไรถึงจะเลิกกลัว

ความกลัวหลายหลายในปัจจุบันไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนเรานั้นสามารถมีสิ่งที่ตนเองกลัวภายจิตใจกันได้ทั้งสิ้น อาการ กลัวแมลง นี้ก็เช่นเดียวกัน ที่คนใกล้ตัวคุณอาจมีภาวะตกใจ สะดุ้ง หรือส่งเสียงกรีดร้องออกมาเมื่อพบเห็น และยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มของโฟเบีย (Phobia) เหมือนดั่งโรคกลัวอื่นๆ เช่น กลัวความมืด กลัวที่แคบ เป็นต้น วันนี้ Hello จึงนำความรู้ของอาการกลัวสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยนี้ มาให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ สาเหตุที่ทำให้คุณ กลัวแมลง ตัวน้อยเมื่อพบเจอ “โรคกลัวแมลง” หรือ เรียกอีกอย่างได้ว่า “Entomophobia” เป็นหนึ่งในอาการกลัวที่พบได้บ่อยที่สุด จนทำให้เกิดความวิตกกังวลส่งผลต่อจิตใจ เพราะความหวาดระแวงต่อแมลงเหล่านี้ อาจนำพาไปสู่การทำกิจวัตรประจำที่ไม่สะดวกนัก ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้กลัวคุณกลัวแมลงมี ดังนี้ กลัวโรคที่รับมาจากแมลง เพราะแมลงบางชนิดมักนำพาหะของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจนทำให้คุณเจ็บป่วย เป็นระยะเวลานานได้ ความเจ็บปวดจากการถูกกัด แมลงบางชนิดถึงจะมีขนาดที่เล็ก แต่ก็มีพิษที่ร้ายแรง และเพิ่มความเจ็บปวดอย่างมากเมื่อถูกพวกมันกัด เช่น ผึ้ง ต่อ มด เป็นต้น รวมทั้งเคยมีประสบการณ์เชิงลบกับแมลง จึงทำให้เวลาที่พบเห็นหรือ อยู่ใกล้ จึงก่อให้เกิดสภาวะความกลัวขึ้นมาทันที เมื่อเหลือบไปเห็นแมลง ร่างกายคุณจะมีปฏิกิริยาอย่างไร นอกจากแมลงที่คุ้นเคยแล้ว เห็บ และหมัด ก็นับว่าเป็นสัตว์ชนิดเล็กที่จัดอยู่ในกลุ่มของอาการกลัวแมลงเช่นเดียวกัน จึงทำให้บุคคลบางกลุ่มนั้นอาจมีพฤติกรรมที่แสดงออกเด่นชัดถึงความกลัว ดังนี้ เหงื่อออก ตัวสั่น หายใจถี่ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น แน่นหน้าอก ปากแห้ง รู้สึกเสียขวัญ ตกใจ ผวา ร้องไห้ (อาจเป็นได้กับทุกวัย โดยเฉพาะเด็ก) รักษาอาการ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

การอยู่คนเดียว จะเพิ่มความเสี่ยงต่อ ภาวะซึมเศร้าหรือไม่

การอยู่คนเดียว ก็อาจจะมีความเหงาเข้ามาก่อกวนใจบ้าง อยู่เป็นระยะ เน็ตฟลิกซ์ก็ดูวนจนเบื่อ การได้ออกไปเจอเพื่อนฝูงก็ช่วยสลัดความเหงาออกไปได้อยู่บ้าง การมีชีวิตอยู่คนเดียวก็สบายตัวไม่ต้องยุ่งวุ่นวายกับใคร แต่บางครั้ง การอยู่คนเดียว เสี่ยง ภาวะซึมเศร้า ได้เช่นกัน แต่การอยู่คนเดียวจะเสี่ยงภาวะซึมเศร้าอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจของเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ การอยู่คนเดียว เสี่ยง ภาวะซึมเศร้า ได้จริงหรือไม่ ผู้ใหญ่ที่อยู่คนเดียวมีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติทางจิต ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยๆ คือ ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่นั้นมาจากความเหงา จากการวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS ONE ที่ได้ทำการสำรวจประชาชนในสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่คนเดียวมีความเจ็บป่วยทางจิตใจแบบทั่วไป (common mental disorders หรือ CMDs) สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้อยู่คนเดียว เนื่องจากการอยู่คนเดียวมีความสัมพันธ์กับความเจ็บป่วยทางจิตใจแบบทั่วไป ซึ่งความเหงานั้น ถือเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ผู้ที่อยู่คนเดียวเกิดปัญหาทางสุขภาพจิต จากข้อมูลการสำรวจในปี 1993 2000 และ 2550 จากผู้ใหญ่มากกว่า 20,000 คน พบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2536-2550 มีผู้ที่อยู่คนเดียวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 8.8 เป็นร้อยละ 10.7 และมีอัตราความผิดปกติทางจิตพบได้บ่อยจากร้อยละ […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

แอพหาคู่ ตัวช่วยหารัก วูบวาบหัวใจแต่ก็เสี่ยงต่อสุขภาพจิตใจเหมือนกันนะ

ปัจจุบันการใช้บริการแอพพลิเคชันสำหรับการหาคู่กำลังได้รับความนิยมอย่างไม่หยุดหย่อน ถ้าเหงาก็แค่ปัดขวา รอเวลาใครสักคนมากดไลค์ หรือปัดขวาให้ เท่านี้ก็อาจจะได้พบกับรักแท้ที่ตามหามาเนิ่นนานก็ได้ แต่…แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสมหวัง ยังมีบางคนที่ไม่ได้สมหวังกับการตามหารักแท้ในโลกโซเชียลมีเดีย แถมยิ่งยึดติดกับแอพหาคู่มากไป ก็เสี่ยงต่อสุขภาพจิตอีก วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านมามองอีกมุมหนึ่งของการไม่สมหวังจาก แอพหาคู่ และวิธีเยียวยาสุขภาพจิตเมื่อผิดหวังจากการปัดขวา ความเสี่ยงของ แอพหาคุู่ กับสุขภาพจิต มีอะไรบ้าง แอพพลิเคชันหาคู่ หรือแอพหาคู่ เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยเปิดโลกของคนเหงา คนที่ไม่มีเวลา ให้ได้เจอกับใครต่อใครมากหน้าหลายตาที่อาจจะมีความชอบแบบเดียวกัน เคยเรียนที่เดียวกัน หรืออาศัยอยู่ใกล้ๆ กัน ช่วยให้ได้สังคมและมิตรภาพที่ดีเพิ่มขึ้น จากเมื่อก่อนที่จะรู้จักกับใครสักคนก็จำเป็นจะต้องออกไปทำกิจกรรมข้างนอก ไปเที่ยว หรือไปรู้จักกับเพื่อนของเพื่อน แต่สมัยนี้แค่อยู่บ้าน ใช้งานสมาร์ทโฟน ก็สามารถที่จะรู้จักกับคนอื่นๆ ได้มากพอๆ กับการออกไปข้างนอก  แต่ทว่า การสร้างโปรไฟล์ของตนเองในแอพหาคู่เพื่อที่จะได้พบกับใครอีกคนที่กำลังมองหานั้น อาจไม่สำเร็จเหมือนกันทุกคน บางคนอาจไม่เคยประสบความสำเร็จกับการเล่น แอพพลิเคชันหาคู่ เลย แถมยิ่งไม่สำเร็จ ก็ยิ่งยึดติด จนอาจทำให้เสียสุขภาพจิต ได้ ดังนี้ การถูกปฏิเสธ เพราะ แอพพลิเคชันหาคู่ ตอบโจทย์กับความช่างเลือกของตัวเรา ในเมื่อตัวเราเองก็ปรารถนาที่จะเลือกคนที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดจนปลายนิ้วเลื่อนไปปัดขวา บางคนถูกเลือก และบางคนถูกปฏิเสธ รูปถ่ายและข้อความที่ใส่ลงไปในแอพหาคู่นั้น ถือว่าเป็นด่านหน้าที่ผู้ใช้งานคนอื่น ๆ จะมองเห็น ถ้าหากไม่ได้โดดเด่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ทำอย่างไร เมื่อฉัน กลัวการพูดในที่สาธารณะ

หลายคนมักจะมีอาการตื่นเต้น มีอาการเหงื่อออกทุกครั้งเมื่อจะต้องพูดในที่สาธารณะ  ผลของความตื่นเต้นทำให้เราพูดตะกุกตะกัก จนรู้สึกขาดความมั่นใจ และทำให้รู้สึก “กลัวการพูดในที่สาธารณะ” ไปเลย วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำเคล็ดลับเอาชนะความกลัว ให้คุณกล้าพูดในที่สาธารณะมาฝากกันค่ะ จะมีเคล็ดลับอะไรเด็ดๆ ดีๆ บ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลย กลัวการพูดในที่สาธารณะ เป็นอย่างไร อาการกลัวการพูดในที่สาธารณะ (Glossophobia) ไม่ใช่โรคอันตรายหรือโรคเรื้อรังใดๆ เป็นเพียงความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผลและมีผลต่อประชากรส่วนใหญ่ถึง 75% บางคนจะรู้สึกประหม่าเล็กน้อยเมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ ขณะที่บางคนมีอาการกลัวอย่างมาก โดยจะพยายามหลีกเลี่ยงทุกสถานการณ์เพื่อที่จะได้ไม่ต้องพูดในที่สาธารณะ แต่หากจำเป็นต้องพูดจริงๆ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้นได้ ลักษณะการแสดงออกการพูดของเขาจะมีเสียงที่สั่นเทา พูดตะกุกตะกัก อย่างไรก็ตาม ความกลัวในการพูดในที่สาธารณะ เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นกับคนทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะพบในเพศหญิงที่มีอายุน้อย Dr. Jeffrey R. Strawn  ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ ของโครงการวิจัยความผิดปกติของความวิตกกังวลในภาควิชาจิตเวชศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยซินซินเนติ กล่าวว่า บุคคลบางคนจะมีความรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นในสถานการณ์บางอย่างเมื่อตนรู้สึกไม่มั่นใจที่อาจนำมาซึ่งความอับอายให้กับตนเอง ใจเต้นแรงทุกครั้ง เมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ เมื่อคุณต้องเผชิญหน้ากับการพูดในที่สาธารณะคุณจะมีอาการวิตกกังวล ตื่นเต้น ปากแห้ง เหงื่อออก คลื่นไส้และอาเจียน ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็ว สาเหตุส่วนใหญ่ของความกลัวการพูดในที่สาธารณะนั้น อาจเกิดจากความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก เช่น ประสบการณ์ในการพูดหน้าชั้นเรียนที่ไม่ดี ความกลัวที่คิดว่าผู้รับฟังอาจปฏิเสธไม่รับฟังคำพูดของคุณ เป็นต้น จัดการความกลัวด้วยการ ปรึกษาแพทย์ดีหรือไม่ หากคุณรู้สึกว่าความกลัวการพูดในที่สาธารณะของคุณส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคุณ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยปกติแพทย์จะรักษาโดยการแนะนำให้รับประทานยากลุ่มเบนไซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย […]


การจัดการความเครียด

อารมณ์โกรธ เป็นฟืนเป็นไฟ จะจัดการอารมณ์นี้อย่างไรดี

คนเราทุกคนไม่จำเป็นต้องพอใจในสิ่งเดียวกัน ตัวอย่างเช่น คนบางคนอาจจะชอบอยู่ในที่ที่คนพลุกพล่าน แต่คนบางคนอาจจะชอบอยู่ในที่ที่สงบและเมื่อจำเป็นต้องอยู่ในที่ที่คนพลุกพล่าน ก็ทำให้เกิด อารมณ์โกรธ แล้วเมื่อเกิดอารมณ์โกรธขึ้นมา ก็พาลจะเห็นอะไรขวางหูขวางตาไปเสียหมด อย่างนี้ควรจะทำอย่างไรดี วันนี้ทาง Hello คุณหมอ มีวิธีจัดการกับอารมณ์โกรธมาฝากกัน อารมณ์โกรธ คืออะไร? อารมณ์โกรธนั้นเป็นความรู้สึกที่ทรงพลังเป็นอย่างมาก มันสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคุณรู้สึกหงุดหงิด เจ็บ รำคาญ หรือแม้แต่ผิดหวัง อารมณ์โกรธที่เกิดขึ้นนั้น สามารถช่วยหรือทำร้ายตัวคุณเองก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองว่ามีปฏิกิริยาอย่างไรกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น หากคุณสามารถโต้ตอบอารมณ์โกรธที่เกิดขี้นโดยไม่ทำร้ายคนอื่นได้ มันก็อาจจะเป็นความรู้สึกในเชิงบวก แต่ในทางกลับกัน ถ้าคุณเก็บอารมณ์โกรธนี้ไว้ แล้วแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา นั่นก็อาจทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่พอใจในตัวคุณได้เช่นกัน ดังนั้น การจัดการกับอารมณ์โกรธที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม จึงถือเป็นเรื่องที่ควรกระทำเป็นอย่างมาก เพราะมันจะช่วยทำให้คุณมีสติ สามารถรับมือกับเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ คุณสามารถจัดการกับ อารมณ์โกรธ ได้อย่างไรบ้าง อารมณ์โกรธของแต่ละคนมักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป บางคนอาจจะรู้สึกโกรธเมื่อต้องเจอกับการจราจรที่ติดขัด ซึ่งความจริงแล้วมันอาจจะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับคนอื่น ๆ ก็เป็นได้ อารมณ์โกรธนั้นสามารถส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ส่วนตัว รวมถึงอาชีพของคุณได้ นอกจากนั้นมันยังส่งผลไปยังร่างกายและอารมณ์ ซึ่งมันอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และความวิตกกังวลตามมา ดังนั้น การเรียนรู้กับวิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธที่เกิดขึ้นให้ได้ จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ยิ่งคุณสามารถจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ดีมากเท่าไหร่ สุขภาพกายใจของคุณก็จะดียิ่งขึ้นเท่านั้น ซึ่งวิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธ สามารถทำได้ ดังนี้ คิดก่อนพูด ในช่วงที่คุณเกิดอารมณ์เกิดมันง่ายมากๆ ที่คุณจะพูดอะไรบางอย่างออกมาโดยที่ไม่ทันได้คิด ซึ่งนั่นอาจจะทำให้คุณต้องมานั่งเสียใจภายหลังก็เป็นได้ ดังนั้น คุณควรใช้เวลาสักครู่ เพื่อรวบรวมความคิดของคุณ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณกำลังเป็นพวก ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อ (Victim Mentality)

คุณเคยมีเพื่อนหรือคนรู้จักที่ชอบโทษว่า ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตเขา เป็นความผิดของสิ่งต่างๆ หรือคนอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวกันบ้างไหม ผู้ที่ ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อ เหล่านี้ มักจะโทษทุกอย่างยกเว้นโทษตัวเอง และในบางครั้งอาจจะเป็นการยากที่จะต้องอยู่ร่วมกับคนแบบนี้ บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับลักษณะของผู้ที่ ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อ และวิธีในการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ อาการ ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อ เป็นอย่างไร บางครั้งคุณอาจจะสังเกตเห็นคนบางคนที่มักจะตกเป็นเหยื่อในทุกๆ สถานการณ์ ทั้งยังชอบโทษว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความผิดของผู้อื่น หรือสิ่งอื่นๆ รอบตัว ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เขาหกล้ม ก็จะโทษว่าถนนไม่ดี ทำให้เขาต้องเจ็บตัว ผู้ที่ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อ (Victim Mentality) เหล่านี้จะไม่ยอมรับผิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้น อาจมีสาเหตุเนื่องมาจากตัวเอง แต่จะพยายามโทษผู้อื่นก่อนเสมอ แม้ว่าการกล่าวโทษนั้นจะไม่สมเหตุสมผลแค่ไหนก็ตาม สัญญาณที่เห็นได้ชัดมีดังนี้ รู้สึกไม่มีความสามารถพอที่จะแก้ปัญหา คนที่ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อ มักจะเชื่อว่าพวกเขาไม่มีพลัง อำนาจ และความสามารถมากพอที่จะรับมือกับปัญหา หรือเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ชื่นชอบสถานการณ์ที่เป็นอยู่ และอยากให้อะไรๆ มันดีขึ้น แต่พวกเขาก็ยังมองว่า ตัวเองไม่สามารถทำอะไรให้ดีขึ้นได้อยู่ดี หลีกเลี่ยงการรับผิดชอบ พวกเขามักจะชอบพยายามโทษคนอื่น สร้างข้ออ้าง และพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อที่ตัวเองจะไม่ต้องรับผิดชอบกับสิ่งแย่ๆ ที่เกิดขึ้น แม้ว่าปัญหานั้นอาจจะเกิดขึ้นเนื่องมาจากการกระทำของพวกเขาก็ตาม เช่น บางคนอาจจะเดินชนโต๊ะ แล้วโทษว่าโต๊ะเกะกะ ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นคนเดินไปชน มองว่าปัญหาคือความโชคร้าย พวกเขามักจะชอบโทษปัญหาที่เกิดขึ้น ว่ามีสาเหตุเนื่องมาจากความซวยของตัวเอง จริงอยู่ว่าในบางครั้งปัญหานั้นก็อาจจะเกิดขึ้นจากโชคร้ายได้จริง แต่ก็ใช้ว่าจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป คิดว่าคนอื่นจงใจทำร้ายตัวเอง ในบางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นเพียงแค่เรื่องบังเอิญ หรือเกิดจากความผิดของตัวคุณเอง แต่ผู้ที่ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อจะมองว่าอีกฝ่ายตั้งใจหาเรื่องจ้องจะจับผิดพวกเขา […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

15 สิ่งที่ไม่ควรทำเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น อยากมีชีวิตที่ดีต้องหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง มาดูกัน

ไม่ว่าใครก็ล้วนแล้วแต่ต้องการที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้นด้วยกันทั้งนั้น เพราะการมีชีวิตที่ดีขึ้น ย่อมหมายถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ มีสุขภาพกายสมบูรณ์ และมีสุขภาพจิตที่แจ่มใส แต่การจะมีชีวิตดี ๆ ได้นั้น ต้องเริ่มจากการปฏิวัติตัวเอง หยุดทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม และเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดีกว่าที่เป็น วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำแนะนำ 15 สิ่งที่ไม่ควรทำเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น ถ้าอยากแฮปปี้กับชีวิตที่ดีล่ะก็ไม่ควรพลาด 15 สิ่งที่ไม่ควรทำเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น โทษคนอื่น หากต้องการมี ชีวิตที่ดี ก็อย่าโทษคนอื่นหรือแม้แต่โชคชะตาชีวิตของตัวเอง เพราะเมื่อคุณเป็นนายของตัวเอง หากคนอื่นเข้ามาทำให้ชีวิตของคุณยุ่งเหยิงแม้เพียงเสี้ยวหนึ่ง มันก็คือความผิดของคุณที่ปล่อยให้พวกเขาทำกับคุณ ฉะนั้นเลิกโทษคนอื่นเสียดีกว่า เก็บความรู้สึกของตัวเอง การเก็บความรู้สึกทุกครั้งอาจเป็นการกระทำที่ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะคงไม่มีใครเข้าใจคุณได้ตลอด หากคุณไม่แสดงความรู้สึกให้พวกเขาเห็นบ้าง การเก็บความรู้สึกไว้กับตัวเองนั้น อาจนำไปสู่การคิดเชิงลบ ควรหมั่นแสดงข้อคิดเห็นของคุณต่อสิ่งต่างๆ เปิดเผยความรู้สึกและแบ่งปันสิ่งที่อยู่ในใจให้ผู้อื่นได้รับรู้บ้าง การนินทา การพูดถึงคนอื่นลับหลังไม่ทำให้ชีวิตของคุณดีขึ้นเลย มีแต่จะนำไปสู่สถานการณ์ที่ทำร้ายความรู้สึกของคนอื่นโดยไม่ตั้งใจ และยังเป็นการทำลายความเชื่อใจ และความเคารพที่ผู้อื่นมีให้คุณอีกด้วย ปล่อยให้คนอื่นข่มคุณ ถึงแม้ว่าความสุภาพจะเป็นมารยาทสำคัญที่ทุกคนพึงมี แต่การเป็นคนสุภาพผิดที่ผิดทาง อาจเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นทับถมคุณ หรือใช้คุณเป็นกระโถนรับความรู้สึก ดังนั้น สุภาพได้แต่จะต้องไม่อ่อนแอ การวิ่งหนีเมื่อได้รับคำชม นี่เป็นการกระทำของคนที่ไม่มีความมั่นใจ การมีความมั่นใจน้อยหรือไม่มีเลย อาจเป็นการปัดโอกาสดี ๆ ที่คนอื่นจะมอบให้ และท้ายที่สุดโอกาสนั้นอาจตกไปอยู่กับคนอื่น โดยที่คนนั้นอาจจะไม่ได้เก่งเท่าคุณ แต่มีความมั่นใจ และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ วันหนึ่งก็สามารถที่จะเก่งเท่าคุณหรือเก่งกว่าคุณก็ได้ การไม่ให้ความสนใจในสุขภาพของตน สุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญของการมี ชีวิตที่ดี การรับประทานอาหารขยะ ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การออกกำลังกายน้อยหรือการไม่ออกกำลังกายเลย สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ทั้งสิ้น เพราะเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง […]


การจัดการความเครียด

เสพข่าวการเมืองอย่างมีสติ ก่อนเสี่ยงเป็น ภาวะเครียดทางการเมือง

สถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบันยังคงร้อนแรงและมีหลายประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ สิ่งที่สำคัญคุณควรรับข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติ มีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว ความเครียดที่เกิดขึ้นสะสมระหว่างการรับข่าวการเมือง อาจนำไปสู่ ภาวะเครียดทางการเมือง ขึ้นได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักกับภาวะเครียดทางการเมืองและวิธีรับมือและป้องกันความเครียดจากการรับข่าวทางการเมืองกันค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลย ภาวะเครียดทางการเมือง (Political Stress Syndrome) ไม่น่าเชื่อใช่ไหมคะว่าสถานการณ์การเมืองจะสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อสุขภาพจิตของเราได้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองรวมถึงการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองต่างๆ อันรวดเร็วย่อมส่งผลให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวลและความเครียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและอนาคตของประเทศ ภาวะเครียดทางการเมืองเป็นชื่อเรียกอาการเครียดที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ ในช่วงที่มีการจัดตั้งประธานาธิบดี ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ระบุว่า คนอเมริกันมีระดับความเครียดเพิ่มสูงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (รวมถึงปีที่เศรษฐกิจถดถอยที่เริ่มต้นในปี พ.ศ.2551) ความเครียดเหล่านี้มีสาเหตุมาจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ ภาวะเครียดทางการเมืองจัดว่าเป็นโรคทางจิตหรือไม่? ภาวะเครียดทางการเมืองไม่ใช่โรคที่เกิดจากปัญหาทางด้านสุขภาพจิต แต่เป็นเพียงกลุ่มอาการที่เกิดจากความเครียด ความรู้สึกวิตกกังวล ความเครียดที่ไม่สามารถคาดคะเนสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ Dr. Philip Levendusky ผู้อำนายการแผนกจิตวิทยา กล่าวว่า ภาวะเครียดทางการเมืองไม่สามารถจัดอยู่ในโรคชนิดหนึ่งได้ การตั้งชื่อโรคโดยการอิงจากสถานการณ์บ้านเมืองและทางสังคมที่ประชาชนให้ความสนใจ เป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล เสพข่าวอย่างมีสติ กับ 3 วิธีรับมือและป้องกัน ภาวะความเครียดทางการเมือง ที่อาจเกิดขึ้น หากคุณเสพข่าวทางการเมืองมากจนเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ เช่น ความรู้สึกวิตกกังวล ความเครียด ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ เป็นต้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน